IAMS TH
cat article detail banner
cat article detail banner

adp_description_block425
เปิด 4 เคล็ดลับการให้อาหารลูกแมวตัวน้อย

  • แบ่งปัน

เมื่อพูดถึงการดูแลลูกแมวตัวน้อย สิ่งสำคัญที่ทาสแมวทุกคนต้องทำความเข้าใจคือการให้อาหารอย่างถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ ซึ่งในบทความนี้ เราก็มีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมวมาฝากกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสม การปรับเปลี่ยนปริมาณตามช่วงเวลา และการประเมินความต้องการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย สำหรับทาสแมวมือโปรหรือมือใหม่ที่ต้องการให้เจ้าตัวน้อยสุขภาพดีมีความสุขในทุกวัน ลองทำตามเคล็ดลับการให้อาหารต่อไปนี้กันได้เลย

ตารางการให้อาหารตามความต้องการทางโภชนาการของลูกแมว

สิ่งสำคัญในการให้อาหารลูกแมวคือการกำหนดปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละช่วงวัย ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับทาสแมวหลาย ๆ คน เราจึงสร้างตารางการให้อาหารแนะนำมาเพื่อช่วยคุณโดยเฉพาะ โดยในตารางนี้จะบอกปริมาณอาหารที่แนะนำต่อวันตามน้ำหนักตัวของลูกแมว 

อายุ

อาหารและปริมาณที่แนะนำ

0 – 4 สัปดาห์ 

น้ำนมแม่

1 – 6 เดือน 

ให้อาหารสูตรสำหรับลูกแมว 4 – 5 ครั้งต่อวัน

6 – 12 เดือน 

ค่อย ๆ ลดจำนวนมื้ออาหารต่อวัน

12 เดือนขึ้นไป

ค่อย ๆ เปลี่ยนมาให้อาหารสูตรแมวโต โดยให้อาหารเปียกทั้งเช้าและเย็น ส่วนอาหารเม็ดและน้ำสะอาดต้องเข้าถึงได้ง่ายตลอดวัน

 

ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกแมวจะขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัว ทั้งนี้ตารางข้างต้นเป็นเพียงคำแนะนำทั่วไป ลูกแมวของคุณอาจมีความต้องการแตกต่างออกไป คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อประเมินความต้องการของพวกเค้าเพิ่มเติมได้

เคล็ดลับดี ๆ ในการให้อาหารลูกแมวตัวน้อย – เราควรให้อาหารลูกแมวบ่อยแค่ไหน?

ความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวจะเปลี่ยนไปตามช่วงวัย และมีข้อควรคำนึงถึงเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย

  1. ควรให้อาหารลูกแมวเป็นมื้อเล็ก ๆ 3 – 4 มื้อต่อวัน แทนการให้อาหารมื้อใหญ่ 1 – 2 มื้อ วิธีนี้จะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและลดปัญหาการหิวระหว่างวันได้ดี
  2. อาหารสำหรับลูกแมวควรมีโปรตีนและไขมันสูง มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาหารเปียกเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเพราะมีโปรตีนและปริมาณน้ำมากกว่าอาหารเม็ด
  3. ลูกแมวที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนควรได้รับอาหารสูตรเฉพาะสำหรับเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต หลังจากหกเดือนจึงค่อยเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรแมวโตได้
  4. ในการเลือกอาหาร ควรระวังส่วนผสมที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือท้องไส้ปั่นป่วน เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สารกันบูดและสารแต่งเติมต่าง ๆ

เปิด 4 เคล็ดลับในการให้อาหารลูกแมวที่เจ้าของทุกคนควรรู้

  1. เริ่มต้นด้วยจัดตารางการให้อาหารเป็นเวลาทุกวัน เช่น ให้อาหารลูกแมวในเวลาเดียวกันทุกเช้าและเย็น
  2. ค่อย ๆ ปรับตารางการให้อาหารเมื่อลูกแมวโตขึ้น หากยังอยู่ในช่วงวัยลูกแมว ควรให้อาหารมื้อย่อย 3 มื้อต่อวัน แต่เมื่อลูกแมวโตเต็มวัยแล้ว สามารถปรับให้เหลือเพียง 2 มื้อต่อวันได้
  3. สามารถปรับเปลี่ยนตารางการให้อาหารได้ตามความต้องการของลูกแมว เนื่องจากลูกแมวบางตัวอาจต้องการอาหารมากกว่าตัวอื่น ๆ และบางตัวอาจหิวบ่อยในบางช่วงเวลาของวัน
  4. คอยสังเกตน้ำหนักของลูกแมวและปรับตารางอาหารเมื่อจำเป็น หากลูกแมวดูซูบผอมหรือน้ำหนักลดลง พวกเค้าอาจต้องการปริมาณอาหารมากขึ้น ในทางกลับกัน หากลูกแมวของคุณดูอ้วนหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น อาจต้องปรับปริมาณอาหารให้น้อยลง โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับเจ้าตัวน้อยเพิ่มเติมได้

การให้อาหารอย่างเหมาะสมมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมและพัฒนาการของลูกแมว โดยเคล็ดลับง่าย ๆ ในการให้อาหารลูกแมวคือการทำความเข้าใจความต้องการด้านโภชนาการของลูกแมวและเลือกสูตรอาหารที่เหมาะกับช่วงวัย เนื่องจากลูกแมวมีความต้องการแตกต่างจากน้องแมวโตเต็มวัย เจ้าของจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามต้องการ

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมว

  1. วิธีที่ดีที่สุดในการให้อาหารลูกแมวคืออะไร?
  2. วิธีที่ดีที่สุดคือการเลือกอาหารคุณภาพดีและออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวโดยเฉพาะ ในหนึ่งวัน ควรให้อาหารลูกแมวประมาณ 4 – 6 ครั้งต่อวัน จนกว่าจะมีอายุประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้น จึงสามารถเปลี่ยนเป็น 3 มื้อใหญ่ต่อวันได้

  3. ควรให้อาหารลูกแมวมากน้อยแค่ไหน?
  4. ในการกำหนดปริมาณอาหารให้ลูกแมวแต่ละครั้ง ควรให้อาหารเปียกหรืออาหารเม็ดประมาณ 3 – 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ และควรแบ่งออกเป็นมื้อเล็ก ๆ 2 – 3 มื้อต่อวัน โดยจำเป็นต้องปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกแมวของคุณ

  5. ควรให้อาหารเม็ดหรืออาหารเปียกกับลูกแมว?
  6. คุณสามารถให้อาหารลูกแมวได้ทั้งแบบเปียกและแบบเม็ดรวมกัน เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยจะได้รับคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล โดยอาหารเปียกจะช่วยให้น้องแมวได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้น ส่วนอาหารเม็ดจะมีส่วนช่วยในการขัดฟัน ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  7. ลูกแมวชอบกินอาหารกลางดึกหรือไม่?
  8. ลูกแมวบางตัวอาจกินอาหารตอนกลางดึก เจ้าของจึงควรจัดเตรียมอาหารและน้ำให้เข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะลูกแมวในช่วงวัยเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม หากพบว่าพวกเค้ามีพฤติกรรมการกินมากเกินไปหรือผิดปกติ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ในทันที

     

  9. ควรเทอาหารเม็ดทิ้งไว้ข้ามคืนหรือไม่?
  10. ไม่แนะนำให้เทอาหารเม็ดทิ้งไว้ข้ามคืน เนื่องจากลูกแมวมีกระเพาะขนาดเล็กและควรได้รับปริมาณอาหารที่เหมาะสม การเทอาหารเม็ดทิ้งไว้อาจทำให้พวกเค้ากินมากเกินไปและน้ำหนักขึ้นได้ง่าย นอกจากนี้การเทอาหารทิ้งไว้ยังสามารถดึงดูดสัตว์รบกวนและอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรีย เจ้าของควรให้อาหารเป็นเวลาและแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ ตลอดวัน

  • สาเหตุของแมวอ้วกและวิธีการรักษา
    สาเหตุของแมวอ้วกและวิธีการรักษา
    adp_description_block13
    สาเหตุของแมวอ้วกและวิธีการรักษา

    • แบ่งปัน

    สำหรับคนเลี้ยงแมว คุณคงเคยเห็นแมวอาเจียนบ้างเป็นครั้งคราว บางครั้งแมวก็อ้วกออกมาเป็นก้อนขน หรือบางครั้งคุณอาจพบว่าแมวอ้วกเป็นอาหารที่กินเข้าไป การอาเจียนแบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติ แต่แมวที่มีสุขภาพดีไม่ควรอาเจียนบ่อยเกินไป การอาเจียนบ่อยครั้งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทางที่ดีควรไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่และรับการรักษาอย่างทันท่วงที

     

    ดังที่กล่าวไปแล้ว การอาเจียนเป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องน่ากังวล คุณไม่จำเป็นต้องรีบพาแมวไปพบสัตวแพทย์ แต่ควรไปพบเมื่อแมวอ้วกหลังอาหารทุกมื้อหรือทุกวัน อ่านบทความของเราเพื่อเรียนรู้สาเหตุและวิธีดูแลรักษาอาการอาเจียนในแมวเพิ่มเติม

     

    แมวอาเจียนเพราะอะไร?

    การอาเจียนของแมวเกิดได้จากหลายสาเหตุ แมวอาจอาเจียนเมื่อสัมผัสกับสารพิษ เช่น พืชบางชนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการอาเจียนเรื้อรังได้ นอกจากนี้แมวยังมีนิสัยอยากรู้อยากเห็น พวกเค้าอาจรับสารพิษเข้าไปแบบไม่รู้ตัวในขณะที่สำรวจสิ่งต่าง ๆ จนนำไปสู่การอาเจียนในที่สุด

     

    การอาเจียนไม่สามารถระบุความเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อที่เฉพาะเจาะจงได้ โรคในแมวเกือบทั้งหมดส่งผลให้แมวมีอาการอาเจียน ทั้งนี้เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง คุณจะต้องพาเจ้าเหมียวไปพบสัตวแพทย์ โดยการอาเจียนอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ ความผิดปกติของอวัยวะ ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร อาหาร การติดเชื้อ โรคมะเร็ง และอื่น ๆ

     

    สาเหตุของการอาเจียนในแมว

    สาเหตุที่ทำให้แมวอ้วกมีอะไรบ้าง ตามมาดูไปพร้อม ๆ กันเลย

    1. ก้อนขนอุดตัน – 

    แมวชอบดูแลตัวเอง พวกเค้ามักจะเลียทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอ และลิ้นที่มีหนามเล็ก ๆ อาจเกี่ยวติดขนที่ใกล้หลุดร่วงออกมา ทำให้แมวกลืนขนบางส่วนลงไป ขนเหล่านี้จะสะสมอยู่ในท้องจนเกิดการอุดตัน แมวจึงต้องขย้อนมันออกมา การขย้อนก้อนขนเป็นเรื่องปกติและไม่น่ากังวล แต่หากแมวขย้อนก้อนขนบ่อยเกินไป นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาระบบทางเดินอาหาร ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์

     

    1. ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร – 

    อาจเรียกว่าเป็นอาการท้องไส้ปั่นป่วนก็ได้ สาเหตุนี้อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยา ปัญหาเกี่ยวกับอาหาร และการได้รับสารพิษ ปัญหาในระบบทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงและหายได้เอง ในขณะที่สาเหตุอื่น ๆ อาจก่อให้เกิดอาการเรื้อรังและต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ

    • สิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งกีดขวาง – หากแมวของคุณชอบกัดหรือเคี้ยวสิ่งของ มันก็มีโอกาสที่พวกเค้าจะกลืนชิ้นส่วนเล็ก ๆ ลงไป ทำให้เกิดการอุดตันในระบบทางเดินอาหารและเกิดการอาเจียนได้ ในกรณีนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน ทางที่ดีควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กอาการเพิ่มเติม

    • อาการภูมิแพ้แมวและโรคลำไส้อักเสบ – การแพ้อาหารจะเกิดขึ้นเมื่อแมวได้กินอาหารบางชนิดเข้าไป ซึ่งอาจทำให้แมวอ้วกออกมาทันทีเนื่องจากการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร บางครั้งการแพ้อาหารก็ทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรังได้เช่นกัน

    • อาการเจ็บป่วย – โรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น ตับอ่อนอักเสบ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป โรคไต และอื่น ๆ อาจทำให้แมวรู้สึกคลื่นไส้และอาเจียนได้ หากแมวอ้วกบ่อยจนผิดปกติ คุณควรพาพวกเค้าไปตรวจเช็กร่างกายเพื่อค้นหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่

    • การติดเชื้อปรสิต – ปรสิตตัวร้ายมักจะทำให้ลูกแมวมีอาการอาเจียน แต่สาเหตุนี้เกิดขึ้นได้กับแมวทุกวัยเช่นกัน แนะนำให้ตรวจสอบอาเจียนของแมวเพื่อหาพยาธิที่มีชีวิต ข่าวดีคือการอาเจียนจากปรสิตสามารถรักษาให้หายได้ 100%

    • โรคมะเร็ง – มะเร็งในระบบทางเดินอาหารพบได้บ่อยมากในแมว ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้แมวมีอาการอาเจียน อย่างไรก็ตาม มะเร็งในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายก็อาจทำให้อาเจียนได้เช่นกัน

    ลักษณะอาเจียนของแมว

    ลักษณะของอาเจียนมีความสำคัญต่อการรักษา เนื่องจากสามารถบ่งบอกถึงสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงได้ แนะนำให้สังเกตหรือตรวจดูอาเจียนของแมวเพื่อแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบ โดยลักษณะอาเจียนของแมวที่พบบ่อยมีดังนี้

     

    อาเจียนสีเหลือง

    แมวอ้วกเป็นสีเหลืองอาจเป็นเพราะอาหารย่อยได้แค่บางส่วนหรือเป็นน้ำดีในท้อง

    อาเจียนสีใส

    อาเจียนสีใสอาจเกิดขึ้นจากอาการท้องว่างหรือการสำรอกน้ำลายออกจากหลอดอาหาร

    อาเจียนสีขาว มีฟอง

    การขย้อนก้อนขนในขณะท้องว่างอาจทำให้แมวอาเจียนเป็นฟองสีขาวได้

    อาเจียนเป็นเลือด 

    อาเจียนเป็นเลือดอาจเกิดจากการอักเสบในกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร หรือลำไส้ส่วนบน

    อาเจียนสีน้ำตาล มีกลิ่น

    อาเจียนสีน้ำตาลและมีกลิ่นอาจเป็นสัญญาณของการมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังอาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับไตหรือตับด้วย

     

    ป้องกันไม่ให้แมวอาเจียนได้อย่างไร?

    เราสามารถป้องกันไม่ให้แมวอ้วกได้หลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการดูแลเรื่องอาหารการกิน ในกรณีที่มีอาการภูมิแพ้แมวหรือมีอาการแพ้อาหาร ควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากสัตวแพทย์ วิธีนี้จะช่วยป้องกันปัญหาอาเจียนเรื้อรังได้

     

    ขอแนะนำให้เลือกอาหารแมวที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล หลีกเลี่ยงการให้อาหารของคน คอยจับตาดูแมวขณะเล่นและอย่าปล่อยให้พวกเค้ากินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป สำหรับปัญหาก้อนขนอุดตัน คุณอาจเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรลดก้อนขนหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่สัตวแพทย์แนะนำเพิ่มเติมได้

     

    การรักษาอาการอาเจียนในแมว

    การสังเกตลักษณะอาเจียนเป็นส่วนสำคัญในการรักษา คุณควรสังเกตว่าอาเจียนของแมวเป็นแบบใด แมวอ้วกเป็นอาหารที่กินเข้าไปหรือแมวอาเจียนเป็นฟองสีขาว ทั้งนี้พ่อแม่แมวหลายคนพยายามหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันหรือลดการอาเจียนมาใช้กับแมว แต่การอาเจียนเกิดจากหลายสาเหตุ การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาจึงเป็นเรื่องยาก หากแมวของคุณอาเจียนเพราะปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกายหรือโรคมะเร็ง สิ่งแรกที่ควรทำคือเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม แต่หากแมวของคุณมีอาการอาเจียนเพียงเล็กน้อย สัตวแพทย์อาจสั่งยาแก้อาเจียนหรือยาลดกรดให้ สำหรับปัญหาระบบทางเดินอาหาร คุณอาจต้องเปลี่ยนสูตรอาหารที่เหมาะสมกับอาการ 

     

    การวินิจฉัยและการตรวจสอบโดยสัตวแพทย์

    สัตวแพทย์จะตัดสินใจว่าควรทดสอบและใช้วิธีการรักษาแบบใดโดยพิจารณาจากประเด็นเหล่านี้

    1. แมวมีไข้ อ่อนเพลีย หรือเซื่องซึมหรือไม่

    2. แมวมีอาการเบื่ออาหารไหม? น้ำหนักลดลงหรือเปล่า?

    3. แมวอ้วกเป็นเลือดหรือไม่?

    4. แมวมีอาการเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวไหม?

    5. ช่องท้องของแมวได้รับผลกระทบหรือไม่?

    6. แมวอ้วกบ่อยครั้งในหนึ่งวันหรือแค่หลังมื้ออาหาร?

    7. อาเจียนของแมวมีกลิ่นเหม็นไหม? แล้วอาเจียนมีสีอะไร?

    8. คุณเพิ่งเปลี่ยนอาหารให้แมวใหม่หรือเปล่า มีการให้อาหารเสริมหรือไม่?

    9. แมวของคุณชอบเคี้ยวของเล่นหรือกินอาหารอื่นเข้าไปหรือเปล่า?

    10. แมวตัวอื่นในบ้านมีอาการเหมือนกันไหม?

    การตรวจวินิจฉัยและการรักษาวิธีอื่น

    หากแมวของคุณอาเจียนบ่อยครั้งและคุณสงสัยว่าพวกเค้ามีปัญหาสุขภาพอื่นแอบแฝง สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมและทำการรักษาในเชิงรุก หากแมวสูญเสียเลือดหรืออิเล็กโทรไลต์จำนวนมากจากการอาเจียนบ่อย ๆ คุณอาจต้องพาพวกเค้าไปรักษาในโรงพยาบาล

     

    สาเหตุอื่น ๆ ของการอาเจียนในแมว

    ก่อนจะเรียนรู้วิธีรักษาอาการอาเจียนของแมว เรามาดูสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้แมวอาเจียนกันก่อน

    1. สารพิษ

    • การอาเจียนจากการได้รับสารพิษขณะเลียขนเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด

    • แมวชอบเคี้ยวใบไม้ดอกไม้ในบ้าน ซึ่งพืชบางชนิดก็เป็นพิษกับแมว

    • ขณะที่เราทำความสะอาดบ้านด้วยสารเคมีต่าง ๆ แมวอาจสูดดมหรือเลียเข้าไป ทำให้เกิดการอาเจียนได้

    1. อาหาร

    • หากแมวไม่ยอมกินอาหารหรือกินช้าลงกว่าปกติ คุณอาจพบว่าแมวอ้วกเป็นอาหารที่ไม่ได้ย่อยออกมา

    • อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แมวอาเจียนบ่อยคือการเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน คุณควรเปลี่ยนอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 1 – 2 สัปดาห์ โดยค่อย ๆ ปรับปริมาณอาหารเดิมให้น้อยลง และเพิ่มปริมาณอาหารใหม่ให้มากขึ้น

    1. ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร

    • การได้รับสิ่งแปลกปลอม มลพิษ หรือผลข้างเคียงของยา อาจทำให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหารได้ เช่น มีอาการปวดท้อง

    • บางกรณีอาจไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่บางกรณีอาจร้ายแรงและควรได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์

    1. ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้

    • การกลืนสิ่งแปลกปลอม เช่น เชือกหรือของเล่นชิ้นเล็ก ๆ อาจทำให้เกิดการอุดตันที่กระเพาะหรือลำไส้ 

    • ลำไส้อุดตันเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องได้รับการดูแลรักษาทันที อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น เนื้องอก หรือการบีบตัวผิดปกติของลำไส้

    • อาการที่สังเกตได้ทั่วไป เช่น แมวอ้วกบ่อย ไม่สามารถกลืนน้ำหรืออาหารได้

    1. ความผิดปกติของอวัยวะ

    • ความผิดปกติเรื้อรัง เช่น ตับอ่อนอักเสบ โรคไต และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนเรื้อรังในแมวได้

    • การระบุโรคที่เป็นต้นเหตุเป็นสิ่งสำคัญเพื่อค้นหาวิธีดูแลรักษาอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต

    1. ปัญหาต่อมไร้ท่อ

    • หนึ่งในโรคต่อมไร้ท่อในแมวที่พบบ่อยที่สุดคือไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป 

    • การทำงานมากเกินไปของต่อมไทรอยด์เกิดจากเนื้องอก (โดยปกติจะไม่เป็นอันตราย)

    • อัตราการเผาผลาญที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้แมวอาเจียนได้

    อาการอาเจียนแบบใดที่น่ากังวล?

    พ่อแม่แมวไม่ควรละเลยหากแมวอาเจียนอย่างต่อเนื่อง เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาเจียนแบบไหนถือว่าผิดปกติ? หากแมวอ้วก 1 – 3 ครั้งต่อเดือน จะถือว่าเป็นเรื่องปกติ

     

    กรณีที่ร้ายแรงหรือน่ากังวลคือแมวอ้วกวันละสองครั้งเป็นเวลาสองหรือสามวัน หากแมวของคุณไม่ยอมกินอาหาร มีอาการปวดท้อง อาเจียนอย่างต่อเนื่องหรืออาเจียนมีเลือดปน ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

Close modal