IAMS TH
รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันหมดอายุของอาหารสุนัขที่เจ้าของไม่ควรพลาด
รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันหมดอายุของอาหารสุนัขที่เจ้าของไม่ควรพลาด

adp_description_block148
อาหารสุนัขหมดอายุหรือไม่? และมีวิธีดูวันหมดอายุอย่างไร?

  • แบ่งปัน

สำหรับพ่อแม่ของเจ้าตัวน้อยสี่ขา พวกคุณคงอยากรู้ว่า “อาหารสุนัขสามารถเก็บได้นานแค่ไหน?” เชื่อเลยว่ามันเป็นหนึ่งในคำถามชวนสงสัยอันดับต้น ๆ ซึ่งในบทความนี้เราจะบอกข้อควรรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับวันหมดอายุของอาหารสุนัขให้คุณเอง
 

น้องหมาควรได้รับปริมาณอาหารและพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน โดยเจ้าของสามารถเลือกให้อาหารแบบเม็ดหรือแบบเปียกก็ได้ โดยอาหารเม็ดจะมีความกรุบกรอบ อร่อยเคี้ยวเพลิน ในขณะที่อาหารเปียกจะมีส่วนผสมของชิ้นเนื้อนุ่มและน้ำเกรวี่ที่อุดมไปด้วยธัญพืช วิตามิน และแร่ธาตุ แต่ไม่ว่าจะเป็นอาหารชนิดใด ก็ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล


อาหารสุนัขที่ดีควรมีโปรตีนสูงและควรมีกรดไขมันจำเป็นอย่างโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยให้สุขภาพผิวหนังของน้องหมาแข็งแรงและมีเส้นขนนุ่มเงางาม นอกจากนี้อาหารสุนัขควรมีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างการทำงานของระบบทางเดินอาหารและเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ


สำหรับการให้อาหารน้องหมา สิ่งสำคัญไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องคุณค่าทางโภชนาการหรือปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น แต่เจ้าของควรตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่าอาหารยังคงสดใหม่อยู่ การเสิร์ฟอาหารสุนัขที่หมดอายุอาจทำให้เจ้าตัวน้อยได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นจึงควรอ่านฉลากและเช็กวันหมดอายุก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง

 

อายุในการเก็บรักษา VS วันหมดอายุ

ระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์สามารถใช้ได้และเหมาะสำหรับการบริโภคจะเรียกว่าอายุการเก็บรักษา ส่วนวันหมดอายุจะเป็นวันแสดงการสิ้นสุดของคุณภาพของอาหาร โดยหลังจากวันที่กำหนด อาหารอาจเริ่มเน่าเสีย
 

ซึ่งอาหารสุนัขก็มีวันหมดอายุเช่นเดียวกับอาหารชนิดอื่น ๆ แม้ว่าจะมีการใช้สารกันบูดบางประเภทเพื่อต่ออายุการเก็บรักษาแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของเหล่าน้องหมาตัวน้อย ผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงจึงกำหนดวันหมดอายุหรือวันที่ควรบริโภคก่อนเอาไว้บนบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น อาหารกระป๋องที่ยังไม่เปิดจะมีอายุการใช้งาน 2 ปีนับจากวันที่ผลิต ในขณะที่อาหารเม็ดมักมีอายุการเก็บรักษา 12 – 18 เดือน

 

ผลของการกินอาหารสุนัขที่หมดอายุ

ตามมาดูผลกระทบจากการเสิร์ฟอาหารหมดอายุให้น้องหมากัน:

  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

หลังจากกินอาหารที่หมดอายุหรือเน่าเสียแล้ว น้องหมามักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเช่นเดียวกับคน อาการเหล่านี้อาจรวมถึงการอาเจียน ท้องเสีย และท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารหมดอายุอาจมีแบคทีเรียที่ทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล ร่างกายจึงขับของเหลวออกมามากขึ้น นอกจากนี้อาหารสุนัขที่หมดอายุอาจมีเชื้อรา เช่น อาเจียนิท็อกซิน ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอย่างรุนแรง

  • โรคโบทูลิซึม

โรคโบทูลิซึมจะสร้างความเสียหายแก่ระบบประสาท ส่งผลให้น้องหมามีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต ถือเป็นภาวะที่พบได้ยาก โดยเกิดจากกินอาหารที่ปนเปื้อน สารพิษจะถูกดูดซึมเข้าสู่ลำไส้และเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้น้องหมาเป็นอัมพาต

  • ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

อีกหนึ่งผลกระทบจากการให้อาหารหมดอายุคือการขาดสารอาหาร อาหารที่หมดอายุแล้วมักสูญเสียวิตามินและแร่ธาตุสำคัญไป น้องหมาก็จะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน ส่งผลให้พวกเค้าอาจมีอาการเซื่องซึม กระดูกผิดปกติ และการทำงานของอวัยวะล้มเหลว ทั้งนี้ปัญหาขาดสารอาหารที่ควรได้รับการแก้ไขโดยทันที

 

วิธีจัดเก็บอาหารสุนัขอย่างเหมาะสม

แม้ว่าอาหารจะยังไม่หมดอายุและอยู่ในสภาพที่ดี แต่การจัดเก็บที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่การปนเปื้อนและการเสื่อมสภาพได้ ต่อไปนี้คือขั้นตอนการจัดเก็บเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและถนอมคุณภาพของอาหาร:

  • หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารตุนจำนวนมาก

การซื้ออาหารจำนวนมากอาจช่วยให้คุณประหยัดเวลาและไม่ต้องเดินทางไปมาบ่อย ๆ แต่การกักตุนอาหารจำนวนมากก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงให้อาหารสุนัขของคุณเสียก่อนที่จะบริโภคหมด

  •  เก็บอาหารเปียกในตู้เย็น

สามารถยืดอายุการเก็บรักษาของอาหารเปียกได้โดยเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง อาหารกระป๋องที่ยังไม่ได้เปิดควรห่อทับด้วยพลาสติก จากนั้นจึงเก็บไว้ในตู้เย็น

  • เก็บอาหารแห้งในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท

อาจใช้คลิปหนีบเพื่อปิดผนึกถุงอาหารและป้องกันความชื้น สามารถเก็บอาหารไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิมได้ แต่ควรจัดเก็บไว้ในพื้นที่ที่เย็นและแห้ง ไม่ค่อยร้อนและมีแสงเพียงเล็กน้อย หลีกเลี่ยงการเปิดบรรจุภัณฑ์ทิ้งไว้นาน ๆ

 

ควรทำอย่างไรกับอาหารสุนัขที่หมดอายุ?

อาหารสุนัขที่หมดอายุแล้วจะต้องถูกทิ้งทันที โดยอาจนำไปย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักได้

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวันหมดอายุของอาหารสุนัข

  1. ให้น้องหมากินอาหารที่หมดอายุแล้วได้หรือไม่?
  2. คำตอบสั้น ๆ คือไม่ เมื่ออาหารสุนัขหมดอายุ คุณควรทิ้งทันที อาหารดังกล่าวอาจอยู่ในสภาพที่ไม่น่ากิน และยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของน้องหมาด้วย โดยอาจทำให้พวกเค้ามีอาการอาเจียนหรือท้องเสียได้

  3. จะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารหมดอายุแล้ว?
  4. โดยทั่วไปจะมีวันหมดอายุระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ สามารถเช็กได้บริเวณด้านข้างหรือด้านล่างของบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้อาหารเสียเปล่า ควรบริโภคให้หมดก่อนวันหมดอายุ

  5. อาหารสุนัขแบบเม็ดเก็บได้นานแค่ไหน?
  6. อาหารสุนัขแบบเม็ดมักจะเก็บไว้ได้นานถึง 18 เดือนหลังการผลิตหากมีการจัดเก็บอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าควรบริโภคให้หมดภายใน 6 สัปดาห์หลังจากเปิดบรรจุภัณฑ์

  7.  อาหารสุนัขแบบเปียกเก็บได้นานแค่ไหน?
  8. คุณอาจจะแปลกใจที่รู้ว่าอาหารสุนัขแบบเปียกก็มีวันหมดอายุ โดยอายุการเก็บรักษาคือ 2 ปีหลังจากวันที่ผลิต

  9.  จะเกิดอะไรขึ้นหากน้องหมากินอาหารหมดอายุเข้าไป?
  10. น้องหมาที่กินอาหารหมดอายุหรือเน่าเสียเข้าไป อาจมีอาการอาเจียนหรือท้องเสีย

  • ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
    ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
    adp_description_block77
    ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    • แบ่งปัน

    ยินดีด้วย! หากคุณเพิ่งได้รับลูกสุนัขตัวใหม่ เรารู้ดีว่าการพาลูกสุนัขเข้าบ้านครั้งแรกเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกและตื่นเต้น แต่ในขณะเดียวกัน การเลี้ยงเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ก็มักจะมาพร้อมความท้าทายและความรับผิดชอบใหม่ ๆ ซึ่งหน้าที่แรกของพ่อแม่มือใหม่คือการเตรียมสิ่งของที่จำเป็นให้พร้อม เจ้าตัวน้อยของคุณจะได้อยู่ในบ้านหลังใหม่อย่างมีความสุข
     

    โดยควรเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นหลังรับลูกสุนัขเข้าบ้านแล้ว ทั้งนี้พ่อแม่มือใหม่บางคนอาจรู้สึกกังวลเมื่อต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัย เราจึงรวบรวมรายชื่อสิ่งของที่จำเป็น พร้อมด้วยเคล็ดลับดี ๆ อีกมากมายที่จะช่วยให้การต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ของคุณง่ายยิ่งขึ้น
     

    วิธีอุ้มลูกสุนัขที่ถูกต้อง

    ความน่ารักน่ากอดของลูกสุนัขไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ สิ่งนี้ทำให้ทุกคนอดรนทนไม่ไหว ต้องอุ้มพวกเค้าขึ้นมากอดมาคลอเคลียทุกครั้งที่พบเจอ อย่างไรก็ตาม ลูกสุนัขอยู่ในช่วงวัยกำลังพัฒนา หากอุ้มผิดวิธีอาจทำให้พวกเค้ารู้สึกไม่สบายตัวหรือถึงขั้นได้รับบาดเจ็บ จึงขอแนะนำให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

    1. ขั้นตอนที่ 1 – วางมือข้างหนึ่งไว้ใต้สะโพกของลูกสุนัข ส่วนอีกมือหนึ่งให้วางไว้ใต้หน้าอก
    2. ขั้นตอนที่ 2 – ยกลูกสุนัขขึ้นด้วยแขนทั้งสองข้าง คุณสามารถใช้เทคนิคนี้กับสุนัขตัวเล็กได้ แต่สำหรับสุนัขตัวใหญ่ ให้โอบแขนทั้งสองข้างรอบขา จากนั้นดึงไปที่หน้าอกแล้วค่อยยกขึ้น

    รวมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัข

    เช็กลิสต์สิ่งจำเป็นที่ควรเตรียมให้พร้อมก่อนพาเจ้าตัวน้อยกลับบ้าน มีดังนี้

    1. อาหารสุนัข – แนะนำให้เลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้าต้องการแคลเซียม ฟอสฟอรัส ไขมัน และโปรตีนปริมาณมาก ซึ่งทำให้อาหารสำหรับลูกสุนัขมีปริมาณแคลอรีสูงกว่าสูตรอื่น ๆ ทั้งนี้โภชนาการมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี ผู้เลี้ยงจึงควรเลือกอาหารคุณภาพดี เหมาะกับขนาดและช่วงวัย อย่างอาหารสุนัขไอแอมส์™ ที่ผลิตจากวัตถุดิบเกรดพรีเมียม ย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี มั่นใจได้เลยว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนแม้ว่าจะกินในปริมาณน้อย
    2. ขนมสำหรับสุนัข – ขนมสำหรับสุนัขมักจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือขนมสูตรเฮลตี้ ดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมขัดฟัน และขนมสำหรับใช้ฝึก
    3. เตียงนอน – น้องหมาควรได้ทิ้งตัวลงบนที่นอนนุ่ม ๆ หลังออกไปผจญภัยหรือวิ่งเล่นกันมาทั้งวัน โดยเตียงนอนที่ดีต้องเหมาะกับขนาดตัวของน้องหมา อาจเตรียมหมอนหนุนหรือผ้าห่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้พวกเค้าเพิ่มเติมได้
    4. ชามอาหารและชามน้ำ – เป็นอีกหนึ่งไอเทมสำคัญสำหรับน้องหมาทุกตัว โดยแนะนำให้เลือกจากขนาดและวิธีการกินของลูกสุนัข ไม่ควรใช้ชามใบเดียวกันทั้งสำหรับให้อาหารและให้น้ำ อาจเลือกใช้เป็นชามสเตนเลส เนื่องจากแข็งแรงทนทาน ทำความสะอาดง่าย และไม่ดูดซับกลิ่น
    5. กรงหรือกระเป๋าสำหรับสุนัข – ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเมื่อต้องพาน้องหมาออกนอกบ้านหรือเดินทางไกล ทั้งกรงและกระเป๋ามีให้เลือกหลากหลายแบบ แต่ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดและสายพันธุ์ของน้องหมา หรือหากต้องการพาน้องหมาขึ้นเครื่องบิน ก็ควรเลือกรูปแบบที่ได้รับการรับรองจากสายการบินนั้น ๆ เพราะจะทำให้เดินทางได้ง่ายขึ้น
    6. เสื้อผ้า – ในช่วงที่มีอากาศเย็นหรืออากาศชื้น ควรใส่เสื้อผ้าที่แห้งและสะอาดให้กับน้องหมา เพื่อเพิ่มความอบอุ่นและป้องกันไม่ให้เจ้าตัวน้อยของคุณเป็นหวัด ตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่าเนื้อผ้าไม่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง
    7. ปลอกคอและสายจูง – ขนาดของปลอกคอและสายจูงเป็นสิ่งสำคัญ น้องหมาต้องหายใจสะดวก ไม่อึดอัด และเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเมื่อสวมใส่ ควรเลือกปลอกคอที่ปรับขนาดได้และถอดออกง่าย เมื่อใส่แล้วควรมีพื้นที่ว่างระหว่างปลอกคอประมาณสองนิ้วมือ ส่วนสายจูงควรเลือกที่ทำจากเชือกไนลอนยาว 6 ฟุตหรือประมาณ 1.8 เมตร และควรมีความกว้างประมาณ ½ - ¾ นิ้ว
    8. ของเล่น – เพื่อความสุขและความสนุกของเจ้าตัวน้อย ผู้เลี้ยงควรเตรียมของเล่นหลาย ๆ ชนิดติดบ้านเอาไว้ เช่น ของเล่นสำหรับกัดแทะ ตุ๊กตานุ่มนิ่มสำหรับกอดนอน และของเล่นสำหรับฝึกทักษะ ของเล่นเหล่านี้จะช่วยให้พวกเค้ากระฉับกระเฉงและสดชื่น หลีกเลี่ยงการซื้อของเล่นขนาดเล็ก เพื่อป้องกันน้องหมากินหรือกลืนเข้าไปจนเกิดอันตราย
    9. ถุงเก็บมูลสัตว์ – เมื่อพาน้องหมาออกไปเดินเล่นในที่สาธารณะ เจ้าของควรเตรียมถุงเก็บมูลสัตว์เพื่อทำความสะอาดหลังน้องหมาขับถ่าย เพราะในหลายพื้นที่มีกฎและข้อกำหนดสำหรับเรื่องนี้ หากไม่ทำตามอาจถูกปรับและโดนตักเตือนได้
    10. อุปกรณ์สำหรับการกรูมมิ่ง – แชมพู แปรงและหวี กรรไกรตัดเล็บ ยาสีฟันและแปรงสีฟัน น้ำยาทำความสะอาดสำหรับสุนัข ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณ
    11. ป้ายชื่อ – อย่าลืมสั่งทำป้ายชื่อน่ารัก ๆ ห้อยกับปลอกคอของเจ้าตัวน้อยกันด้วย ป้ายชื่อควรระบุชื่อของลูกสุนัข หมายเลขโทรศัพท์ของคุณ หรือหมายเลขโทรศัพท์คลินิกสัตว์ที่คุณไปประจำ
    12. รั้วหรือประตูกั้น – สิ่งสุดท้ายที่ควรมีคือรั้วหรือประตูกั้น สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันการรบกวนเมื่อคุณต้องการเวลาส่วนตัวหรือเมื่อมีเด็กเล่นในบ้านได้เป็นอย่างดี

    การเตรียมพร้อมเพื่อช่วยให้ลูกสุนัขปรับตัวได้ดียิ่งขึ้น

    ผู้เลี้ยงอาจต้องจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งของบางอย่างเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ลูกสุนัขปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น โดยคุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้

    1. ขั้นตอนที่ 1 – จัดเตรียมพื้นที่ขับถ่ายให้พร้อมและเริ่มฝึกพวกเค้าให้ขับถ่ายเป็นที่ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากลูกสุนัขขับถ่ายในที่ที่ถูกต้อง ก็ควรให้ขนมเป็นรางวัล
    2. ขั้นตอนที่ 2 – วางกรงและเบาะนอนของลูกสุนัขไว้ในที่เฉพาะ เลือกพื้นที่ที่สงบและห่างจากความวุ่นวาย เพื่อให้พวกเค้าได้พักผ่อนอย่างเต็มที่โดยเฉพาะในช่วงวันแรก ๆ
    3. ขั้นตอนที่ 3 – ปล่อยให้เจ้าตัวน้อยได้สำรวจบ้านใหม่และทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ้าน แต่ก่อนอื่นควรเก็บกวาดบ้านให้เรียบร้อย เก็บของมีคมหรือข้าวของอันตรายให้มิดชิด และอย่าปล่อยให้พื้นลื่น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
    4. ขั้นตอนที่ 4 – แนะนำทุกคนให้รู้จักกับลูกสุนัขตัวใหม่กันตั้งแต่วันแรก คุณอาจพบว่าลูกสุนัขจะตื่นเต้นมากและจะพยายามคลุกคลีกับทุกคนรอบตัว โดยสามารถชวนลูกสุนัขเล่นด้วยได้ แต่ต้องไม่บังคับหรือทำให้พวกเค้ารู้สึกเครียด หากพวกเค้าพยายามซ่อนตัว ก็ควรปล่อยให้ใช้เวลาตามลำพัง อาจลองให้ขนมหรือลูบตัวเบา ๆ เพื่อให้พวกเค้ารู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

    การเลี้ยงลูกสุนัขตัวใหม่ให้อยู่ร่วมกับเด็กเล็ก

    ควรให้โอกาสลูก ๆ ของคุณมีส่วนร่วมในการรับเลี้ยงลูกสุนัขตัวใหม่ เพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกผูกพันกับสมาชิกใหม่ของครอบครัวมากขึ้น เมื่อได้ลูกสุนัขกลับบ้านแล้ว คุณสามารถปล่อยให้พวกเค้าเล่นด้วยกันได้ แต่ควรจำกัดเวลาการเล่นให้อยู่ในช่วง 15 – 30 นาที สองครั้งหรือสามครั้งต่อวัน เนื่องจากลูกสุนัขอยู่ในวัยที่ต้องการเวลาพักผ่อนมาก นอกจากนี้ช่วงเวลาที่เด็ก ๆ อยู่กับลูกสุนัข ควรมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย
     

    การแนะนำลูกสุนัขตัวใหม่กับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น

    ลูกสุนัขส่วนใหญ่มีนิสัยอยากรู้อยากเห็นและยังคงไร้เดียงสา จึงจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเมื่อต้องแนะนำให้พวกเค้ารู้จักกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้าน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการปะทะ เริ่มด้วยการพาลูกสุนัขไปหาสุนัขที่โตกว่า ปล่อยให้พวกเค้าใช้เวลาร่วมกัน ไม่ต้องกังวลหากพวกเค้าจะดมหรือเลียกันเพราะเป็นการทักทายกันตามปกติ แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มกัดหรือเห่าใส่กัน ให้รีบเข้าไปแยกออก
     

    แม้ว่าการนำลูกสุนัขกลับบ้านจะเป็นช่วงเวลาที่สนุกสนาน แต่อย่าลืมเตรียมสิ่งของที่จำเป็นทั้งหมดให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อุปกรณ์ดูแลขน เตียงนอน และขนมแสนอร่อย นอกจากนี้คุณควรสร้างสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยและมั่นคงเพื่อให้ลูกสุนัขเติบโตอย่างแข็งแรง