IAMS TH
cat article detail banner
cat article detail banner

adp_description_block164
เปิด 4 เคล็ดลับการให้อาหารลูกแมวตัวน้อย

  • แบ่งปัน

เมื่อพูดถึงการดูแลลูกแมวตัวน้อย สิ่งสำคัญที่ทาสแมวทุกคนต้องทำความเข้าใจคือการให้อาหารอย่างถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ ซึ่งในบทความนี้ เราก็มีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมวมาฝากกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสม การปรับเปลี่ยนปริมาณตามช่วงเวลา และการประเมินความต้องการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย สำหรับทาสแมวมือโปรหรือมือใหม่ที่ต้องการให้เจ้าตัวน้อยสุขภาพดีมีความสุขในทุกวัน ลองทำตามเคล็ดลับการให้อาหารต่อไปนี้กันได้เลย

ตารางการให้อาหารตามความต้องการทางโภชนาการของลูกแมว

สิ่งสำคัญในการให้อาหารลูกแมวคือการกำหนดปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละช่วงวัย ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับทาสแมวหลาย ๆ คน เราจึงสร้างตารางการให้อาหารแนะนำมาเพื่อช่วยคุณโดยเฉพาะ โดยในตารางนี้จะบอกปริมาณอาหารที่แนะนำต่อวันตามน้ำหนักตัวของลูกแมว 

อายุ

อาหารและปริมาณที่แนะนำ

0 – 4 สัปดาห์ 

น้ำนมแม่

1 – 6 เดือน 

ให้อาหารสูตรสำหรับลูกแมว 4 – 5 ครั้งต่อวัน

6 – 12 เดือน 

ค่อย ๆ ลดจำนวนมื้ออาหารต่อวัน

12 เดือนขึ้นไป

ค่อย ๆ เปลี่ยนมาให้อาหารสูตรแมวโต โดยให้อาหารเปียกทั้งเช้าและเย็น ส่วนอาหารเม็ดและน้ำสะอาดต้องเข้าถึงได้ง่ายตลอดวัน

 

ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกแมวจะขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัว ทั้งนี้ตารางข้างต้นเป็นเพียงคำแนะนำทั่วไป ลูกแมวของคุณอาจมีความต้องการแตกต่างออกไป คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อประเมินความต้องการของพวกเค้าเพิ่มเติมได้

เคล็ดลับดี ๆ ในการให้อาหารลูกแมวตัวน้อย – เราควรให้อาหารลูกแมวบ่อยแค่ไหน?

ความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวจะเปลี่ยนไปตามช่วงวัย และมีข้อควรคำนึงถึงเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย

  1. ควรให้อาหารลูกแมวเป็นมื้อเล็ก ๆ 3 – 4 มื้อต่อวัน แทนการให้อาหารมื้อใหญ่ 1 – 2 มื้อ วิธีนี้จะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและลดปัญหาการหิวระหว่างวันได้ดี
  2. อาหารสำหรับลูกแมวควรมีโปรตีนและไขมันสูง มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาหารเปียกเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเพราะมีโปรตีนและปริมาณน้ำมากกว่าอาหารเม็ด
  3. ลูกแมวที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนควรได้รับอาหารสูตรเฉพาะสำหรับเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต หลังจากหกเดือนจึงค่อยเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรแมวโตได้
  4. ในการเลือกอาหาร ควรระวังส่วนผสมที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือท้องไส้ปั่นป่วน เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สารกันบูดและสารแต่งเติมต่าง ๆ

เปิด 4 เคล็ดลับในการให้อาหารลูกแมวที่เจ้าของทุกคนควรรู้

  1. เริ่มต้นด้วยจัดตารางการให้อาหารเป็นเวลาทุกวัน เช่น ให้อาหารลูกแมวในเวลาเดียวกันทุกเช้าและเย็น
  2. ค่อย ๆ ปรับตารางการให้อาหารเมื่อลูกแมวโตขึ้น หากยังอยู่ในช่วงวัยลูกแมว ควรให้อาหารมื้อย่อย 3 มื้อต่อวัน แต่เมื่อลูกแมวโตเต็มวัยแล้ว สามารถปรับให้เหลือเพียง 2 มื้อต่อวันได้
  3. สามารถปรับเปลี่ยนตารางการให้อาหารได้ตามความต้องการของลูกแมว เนื่องจากลูกแมวบางตัวอาจต้องการอาหารมากกว่าตัวอื่น ๆ และบางตัวอาจหิวบ่อยในบางช่วงเวลาของวัน
  4. คอยสังเกตน้ำหนักของลูกแมวและปรับตารางอาหารเมื่อจำเป็น หากลูกแมวดูซูบผอมหรือน้ำหนักลดลง พวกเค้าอาจต้องการปริมาณอาหารมากขึ้น ในทางกลับกัน หากลูกแมวของคุณดูอ้วนหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น อาจต้องปรับปริมาณอาหารให้น้อยลง โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับเจ้าตัวน้อยเพิ่มเติมได้

การให้อาหารอย่างเหมาะสมมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมและพัฒนาการของลูกแมว โดยเคล็ดลับง่าย ๆ ในการให้อาหารลูกแมวคือการทำความเข้าใจความต้องการด้านโภชนาการของลูกแมวและเลือกสูตรอาหารที่เหมาะกับช่วงวัย เนื่องจากลูกแมวมีความต้องการแตกต่างจากน้องแมวโตเต็มวัย เจ้าของจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามต้องการ

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมว

  1. วิธีที่ดีที่สุดในการให้อาหารลูกแมวคืออะไร?
  2. วิธีที่ดีที่สุดคือการเลือกอาหารคุณภาพดีและออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวโดยเฉพาะ ในหนึ่งวัน ควรให้อาหารลูกแมวประมาณ 4 – 6 ครั้งต่อวัน จนกว่าจะมีอายุประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้น จึงสามารถเปลี่ยนเป็น 3 มื้อใหญ่ต่อวันได้

  3. ควรให้อาหารลูกแมวมากน้อยแค่ไหน?
  4. ในการกำหนดปริมาณอาหารให้ลูกแมวแต่ละครั้ง ควรให้อาหารเปียกหรืออาหารเม็ดประมาณ 3 – 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ และควรแบ่งออกเป็นมื้อเล็ก ๆ 2 – 3 มื้อต่อวัน โดยจำเป็นต้องปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกแมวของคุณ

  5. ควรให้อาหารเม็ดหรืออาหารเปียกกับลูกแมว?
  6. คุณสามารถให้อาหารลูกแมวได้ทั้งแบบเปียกและแบบเม็ดรวมกัน เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยจะได้รับคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล โดยอาหารเปียกจะช่วยให้น้องแมวได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้น ส่วนอาหารเม็ดจะมีส่วนช่วยในการขัดฟัน ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  7. ลูกแมวชอบกินอาหารกลางดึกหรือไม่?
  8. ลูกแมวบางตัวอาจกินอาหารตอนกลางดึก เจ้าของจึงควรจัดเตรียมอาหารและน้ำให้เข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะลูกแมวในช่วงวัยเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม หากพบว่าพวกเค้ามีพฤติกรรมการกินมากเกินไปหรือผิดปกติ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ในทันที

     

  9. ควรเทอาหารเม็ดทิ้งไว้ข้ามคืนหรือไม่?
  10. ไม่แนะนำให้เทอาหารเม็ดทิ้งไว้ข้ามคืน เนื่องจากลูกแมวมีกระเพาะขนาดเล็กและควรได้รับปริมาณอาหารที่เหมาะสม การเทอาหารเม็ดทิ้งไว้อาจทำให้พวกเค้ากินมากเกินไปและน้ำหนักขึ้นได้ง่าย นอกจากนี้การเทอาหารทิ้งไว้ยังสามารถดึงดูดสัตว์รบกวนและอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรีย เจ้าของควรให้อาหารเป็นเวลาและแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ ตลอดวัน

  • การรักษาโรคผิวหนังแมว
    การรักษาโรคผิวหนังแมว
    adp_description_block485
    การรักษาโรคผิวหนังแมว

    • แบ่งปัน

    ผิวหนังและเส้นขนเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของสุขภาพโดยรวมของแมว โดยลักษณะขนที่มีสุขภาพดีจะต้องสวยเงางามและไม่หยาบกระด้าง ส่วนผิวหนังจะต้องอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น ไม่มัน ไม่เป็นขุยหรือขรุขระ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับแมวจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิวหนังและเส้นขนที่ดี เช่นเดียวกับการดูแลขนและการอาบน้ำแมวเป็นประจำ

     

    เราสามารถดูแลสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การให้อาหารคุณภาพดีไปจนถึงการลงทุนซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลที่เหมาะสม การดูแลรักษาโรคผิวหนังของแมวก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก อ่านบทความของเราเพื่อทำความเข้าใจสภาพผิวหนังของแมว พร้อมเรียนรู้วิธีดูแลสุขภาพผิวหนังและเส้นขนให้แข็งแรง

     

    ลักษณะผิวหนังที่มีสุขภาพดี

    เนื่องจากแมวแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะขนต่างกัน ขนที่มีสุขภาพดีจึงมีลักษณะต่างกันด้วย เช่น

    • มีขนปกคลุมบาง ๆ เหมือนไร้ขน (แมวพันธุ์สฟิงซ์)

    • ขนหยิก หลุดร่วงเล็กน้อย (แมวพันธุ์เร็กซ์)

    • ขนสั้นและเรียบลื่น (แมวพันธุ์โอเรียนทัล)

    • แมวบ้านมักจะมีขนชั้นนอกสั้นและขนชั้นในที่อ่อนนุ่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่น

    • ขนยาว นุ่มและเรียบ แต่ขนพันกันง่าย

    สารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นขนของแมว

    เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย การดูแลผิวหนังจึงมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ โดยผิวของแมวส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยขนที่หลุดร่วงและขนที่งอกขึ้นมาใหม่ วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลรักษาสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวคือการให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล อาหารแมวที่ดีควรประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุคุณภาพสูงที่ย่อยได้ง่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้แมวได้รับพลังงานเพียงพอต่อความต้องการแล้ว มันยังช่วยให้ตับและไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

     

    กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 คือสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของลูกแมว สารอาหารสองชนิดนี้ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ควรมีอยู่ในอาหารแมว กรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น กรดอัลฟาไลโนเลนิก (ALA) และกรดไอโคซาเพนตะอิโนอิก (EPA) จะช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นขน รวมถึงช่วยรักษาระดับการซึมผ่านของน้ำในผิวหนังด้วย ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 6 เช่น กรดไลโนเลอิกและกรดอะราซิโดนิก จะช่วยให้เนื้อเยื่อบุผิวในร่างกายของแมวมีสุขภาพดี

     

    คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อค้นหาอาหารที่เหมาะกับช่วงวัยและความต้องการของแมวได้ หากพบว่าแมวผิวแห้ง มีขนหยาบกระด้างและหลุดร่วงมากผิดปกติ ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเพิ่มเติม

     

    วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมว

    วิตามินเป็นสารอาหารที่สำคัญ และแมวควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสม วิตามินที่สำคัญพบได้ในส่วนผสมหลายชนิดในอาหารแมว การกินอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าครบถ้วนและสมดุลจึงเป็นกุญแจสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดี สำหรับวิตามินที่แมวควรได้รับจากอาหารมีดังนี้

    1. วิตามินเอ – จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินเอช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันและการมองเห็น อย่างไรก็ตาม วิตามินเอในปริมาณมากอาจเป็นพิษต่อแมว ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ

    2. วิตามินซี – เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยสมานแผลและช่วยให้แมวใช้โปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    3. วิตามินดี – ช่วยกักเก็บฟอสฟอรัสและแคลเซียมในร่างกายของแมว เป็นที่รู้จักกันในนาม “วิตามินแสงแดด” เนื่องจากช่วยให้กระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาททำงานได้ดี

    4. วิตามินบี 1 (ไทอามีน) – จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายน้ำได้ มันมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบการเผาผลาญ รวมถึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการส่งกระแสประสาท

    5. วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) – ช่วยให้สลายคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เพื่อผลิตพลังงานและช่วยขนส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย วิตามินชนิดนี้ยังช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนังและเส้นขนอีกด้วย

    6. วิตามินบี 3 (ไนอะซิน) – เป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ซึ่งจะถูกกำจัดออกทางปัสสาวะ แมวควรได้รับวิตามินชนิดนี้เป็นประจำ มันช่วยเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และยังมีส่วนช่วยให้ผิวหนังของแมวแข็งแรง

    7. วิตามินบี 6 – ช่วยสลายไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเพื่อผลิตพลังงานและจ่ายออกซิเจนไปทั่วร่างกาย

    เช่นเดียวกับวิตามิน แร่ธาตุก็จำเป็นต่อร่างกายของแมวเช่นกัน มันช่วยส่งเสริมการสร้างเอนไซม์ การลำเลียงออกซิเจน การนำสารอาหารไปใช้ และการรักษาความสมดุลของความเป็นกรดด่าง (pH) โดยอาหารของแมวควรมีแร่ธาตุต่อไปนี้

    1. แคลเซียม

    2. ธาตุเหล็ก

    3. โซเดียม

    4. แมกนีเซียม

    5. คลอไรด์

    อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ

     

    โรคผิวหนังในแมวที่พบบ่อยและวิธีการรักษา

    โรคผิวหนังของแมวที่พบได้บ่อย เช่น เชื้อราในแมว แมวคันผิวหนัง ทำให้เกาหรือเลียมากผิดปกติ ผิวหนังมีรอยแดงและบวม ขนร่วง หรือคุณอาจพบว่าแมวผิวเป็นสะเก็ดและเป็นขุย ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณสามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการเกิดปัญหา

    1. ให้อาหารแมวคุณภาพดี

    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเลือกอาหารที่ดีที่สุดสำหรับแมว เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล วิธีนี้จะช่วยให้แมวได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวด้วย

    1. แปรงขนเป็นประจำ

    การแปรงขนเป็นประจำช่วยให้ผิวหนังและขนของแมวมีสุขภาพดีได้จริง มันช่วยป้องกันปัญหาขนสังกะตังและขนพันกันเป็นก้อน ปัญหาเหล่านี้มักจะทำให้แมวรู้สึกไม่สบายตัว ขนร่วง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ด้วย แนะนำให้เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะกับลักษณะขนของแมว เพื่อลดอาการระคายเคืองหรือความรู้สึกไม่สบาย

    1. อาบน้ำเพื่อรักษาสภาพผิวหนัง

    การอาบน้ำแมวไม่จำเป็นต้องทำบ่อย เนื่องจากแมวมีนิสัยชอบดูแลตัวเอง และส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบอาบน้ำ อย่างไรก็ตาม หากแมวเริ่มเกาตัวบ่อยขึ้นหรือเนื้อตัวเริ่มสกปรก ควรอาบน้ำให้พวกเค้าด้วยแชมพูที่ออกแบบมาเพื่อแมวโดยเฉพาะ ไม่แนะนำให้ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยเนื่องจากเป็นพิษต่อผิวหนังและขนของแมว ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการอาบน้ำแมวและการเลือกแชมพูที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้

    1. ป้องกันเห็บหมัด

    การติดเชื้อเห็บหมัดเป็นปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดในแมว และควรได้รับการรักษาทันที การติดเชื้ออาจทำให้แมวคันผิวหนัง แมวอาจเกาและเลียตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักจะทำให้เกิดบาดแผลหรือขนร่วงเป็นหย่อม

    1. จัดการกับความเครียด

    หากแมวมีอาการวิตกกังวลและเครียดอย่างรุนแรง พวกเค้ามักจะเลียขนบ่อยจนผิดปกติ พฤติกรรมนี้อาจทำให้ขนร่วงเป็นจำนวนมาก นอกจากจะส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ความเครียดและความวิตกกังวลยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว หากพบว่าแมวเลียตัวบ่อยเกินไป แนะนำให้พาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายเพิ่มเติม

     

    สภาพผิวหนังของแมวมักเป็นสัญญาณของความไม่สมดุลในร่างกาย หากคุณสังเกตสัญญาณเตือนของโรคผิวหนังในแมว เช่น เชื้อราในแมว แมวผิวแห้ง ผิวหนังบวมและแดง แมวผิวเป็นสะเก็ดหรือเป็นขุย ขนร่วงและหยาบกระด้าง ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบและรับการรักษาอย่างเหมาะสม