IAMS TH
Does-Your-Cat-Have-Allergies-banner
Does-Your-Cat-Have-Allergies-banner

adp_description_block231
วิธีช่วยเจ้าแมวอ้วนลดน้ำหนักอย่างได้ผล

  • แบ่งปัน

ภูมิแพ้ในแมวเกิดจากการตอบสนองที่ผิดปกติต่อสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หากพบว่าพวกเค้ามีท่าทางไม่สบายตัว จามอย่างต่อเนื่อง และเกาตัวเองไม่หยุด อาการเหล่านี้คืออาการแพ้ในแมวที่พบได้บ่อย

อาการแพ้ของแมวมีหลากหลายรูปแบบ อย่างอาการคันหรืออาการระคายเคือง อาจทำให้น้องแมวเกาหรือกัดแทะตัวเองไม่หยุด แต่สำหรับอาการที่ส่งผลต่อการหายใจถือว่าร้ายแรงที่สุด และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

 หากระบุได้ว่าสารก่อภูมิแพ้ชนิดใดส่งผลกับน้องแมว เราก็สามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ และหาวิธีดูแลพวกเค้าได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

อะไรคือสาเหตุของภูมิแพ้ในแมว?

ขั้นตอนแรกในการรักษาโรคภูมิแพ้แมวคือค้นหาว่าอะไรเป็นสาเหตุ โดยการไปพบสัตวแพทย์เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการค้นหาตัวกระตุ้นการแพ้ของแมว

ภูมิแพ้ในแมวอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่อาการทั้งหมดมักเกิดจาก 3 สาเหตุหลัก นั่นคือภูมิแพ้น้ำลายหมัด ภูมิแพ้อาหาร และภูมิแพ้สารในสิ่งแวดล้อม(โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง)  

  • ภูมิแพ้น้ำลายหมัด

เป็นอาการแพ้ที่พบบ่อยที่สุด มักเกิดจากการโดนหมัดกัดหรือเป็นผลข้างเคียงจากยากำจัดหมัด โดยอาการคันจะเป็นอาการที่เด่นชัดที่สุดของภูมิแพ้ประเภทนี้ หากพบว่าน้องแมวเกาหรือกัดแทะตัวเองบ่อย ๆ โดยเฉพาะบริเวณโคนหาง มันอาจเป็นไปได้ว่าพวกเค้ากำลังแพ้น้ำลายหมัด

  • ภูมิแพ้อาหาร

การแพ้อาหารอาจทำให้น้องแมวอาเจียน ท้องเสีย และอาจมีอาการคันร่วมด้วย โดยเฉพาะบริเวณคอและศีรษะ ในกรณีที่มีอาการรุนแรง น้องแมวอาจมีปัญหาขนร่วงเป็นหย่อม ควรรีบไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าพวกเค้าแพ้อาหารชนิดใด และขอคำแนะนำเรื่องการเลือกสูตรอาหารที่เหมาะสม

  • ภูมิแพ้สารในสิ่งแวดล้อม

การแพ้สารในสิ่งแวดล้อมอาจมีตัวกระตุ้นที่แตกต่างกัน เช่น ต้นไม้บางชนิด  ละอองเกสร และเชื้อรา น้องแมวบางตัวอาจแพ้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือน้ำหอมจากทรายแมว นอกจากนี้น้องแมวยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบในแมวด้วย โดยพวกเค้าจะมีอาการคันอย่างรุนแรง ซึ่งนำไปสู่การอักเสบที่ผิวหนัง มีรอยแดง มีแผลตกสะเก็ด และขนร่วง

อาการแพ้ของแมว

บางอาการก็เพียงแค่สร้างความน่ารำคาญให้พวกเค้า แต่บางอาการก็เป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ลักษณะอาการและความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับชนิดของภูมิแพ้

  • ท้องเสีย

สำหรับน้องแมวบางสายพันธุ์ที่มีอาการท้องเสีย จะมีคราบสกปรกติดอยู่บริเวณบั้นท้าย ส่วนในน้องแมวทั่วไป เราสามารถสังเกตอาการได้จากลักษณะของอุจจาระ หากพบว่าน้องแมวอุจจาระกึ่งเหลวหรืออุจจาระเหลวบ่อยเกินสองวัน ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

หายใจลำบาก

อาการนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นเพราะก้อนขนอุดตันในทางเดินอาหาร หรืออาจแพ้สิ่งเร้า อย่างเกสรดอกไม้ เชื้อรา และควันบุหรี่ การหายใจลำบากหรือหายใจดังยังเป็นผลมาจากความเครียดได้ด้วย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างกะทันหัน และควรให้เวลาน้องแมวปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ด้วย

  • ตาแฉะ

อาการตาแฉะหรือมีคราบน้ำตาเป็นอาการแพ้ของแมวที่เด่นชัดกว่าอาการอื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น เชื้อรา 

หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้าน แต่ในขณะเดียวกันก็อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง อย่างการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียได้ด้วยเช่นกัน

ตาแฉะ
 

  • รอยแดงและอาการคัน

อาการคันหรือรอยแดงบนผิวหนังอาจเกี่ยวข้องกับโรคผื่นผิวหนังอักเสบในแมว โดยผิวหนังของพวกเค้าจะมีอาการบวมแดง มีแผลพุพองขนาดเล็กจากอาการระคายเคือง หรือจากอาการแพ้สิ่งเร้าภายนอก

รอยแดงและอาการคัน
 

การรักษาโรคภูมิแพ้แมวมีวิธีอย่างไรบ้าง?

  • ใช้แชมพูสูตรสำหรับรักษาอาการผื่นผิวหนังอักเสบโดยเฉพาะ

หากน้องแมวมีอาการแพ้ไม่มากและมีอาการคันเพียงเล็กน้อย แชมพูประเภทนี้เป็นตัวช่วยที่ดีเลย

  • ใช้ยาสำหรับรักษาอาการคัน

การใช้ยารักษาอาการคันและยาต้านการอักเสบที่ช่วยลดรอยแดงและบวม อย่างยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการคันอย่างรุนแรงในแมว แต่จำเป็นต้องปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัย

  • ใช้ยากำจัดหมัด

ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเลือกวิธีป้องกันเห็บหมัดที่เหมาะสำหรับน้องแมวของคุณ การป้องกันนี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อภูมิแพ้น้ำลายหมัดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ควรทำความสะอาดบ้านเป็นประจำเพื่อตัดวงจรชีวิตของหมัด โดยเฉพาะในช่วงเดือนที่มีอากาศอบอุ่น  แม้ว่าน้องแมวจะไม่มีหมัดบนตัว แต่ก็ควรใช้ยาป้องกันหมัดและถ่ายพยาธิ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาหนอนพยาธิในแมว และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรสิตตัวร้ายเหล่านี้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้

จำกัดการให้อาหารน้องแมว โดยเลือกให้ทีละชนิดหรือทีละประเภท เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้องแมวแพ้อาหารชนิดไหน โดยส่วนใหญ่น้องแมวมักแพ้อาหารจำพวกโปรตีน ซึ่งอาหาร 3 อันดับแรก ได้แก่ เนื้อวัว (18%) เนื้อปลา (17%) และเนื้อไก่ (5%) การหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้จะช่วยลดความรุนแรงของอาการแพ้ในแมวลง

อาการภูมิแพ้ในแมว

อาการแพ้ของแมวที่พบบ่อยที่สุดคืออาการบริเวณผิวหนัง มันอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ และพบได้ในน้องแมวทุกเพศทุกวัย ทั้งนี้ในลูกแมวอาจไม่มีอาการแสดงอย่างชัดเจน แต่ก็ไม่ได้หมายความพวกเค้าจะไม่มีอาการแพ้ ดังนั้นหากพบอาการใด ๆ ต่อไปนี้ ควรรีบพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์ในทันที

  • เกา เลีย และกัดแทะผิวหนังอย่างต่อเนื่อง
  • ไถหน้าและหูไปมากับพื้นหรือกำแพง
  • ผิวอักเสบ ขนร่วง และมีกลิ่นเหม็น
  • ไอ จาม น้ำตาไหล และน้ำมูกไหล
  • อาเจียนหรือท้องเสียบ่อย  

าการแพ้ของแมวแต่ละตัวอาจแตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลที่เหมาะสม

 

วิธีสังเกตและดูแลอาการภูมิแพ้ในแมว
วิธีสังเกตและดูแลอาการภูมิแพ้ในแมว

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ในแมว

  1. อาการแพ้ในแมวที่พบบ่อยที่สุดคืออะไร?
  2. แมวมีความไวต่อสิ่งเร้าที่หลากหลาย พวกเค้าอาจแพ้อาหาร ยา พืช และอื่น ๆ อีกหลายอย่าง อย่างไรก็ตามการแพ้หมัด แพ้สารในสิ่งแวดล้อม และ/หรือแพ้อาหารเป็นภูมิแพ้ที่พบบ่อยที่สุดในแมว

  3. การดูแลอาการแพ้ในแมวทำอย่างไรได้บ้าง?
  4. เพียงแค่ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ เลือกใช้ทรายแมวที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม ป้องกันเห็บหมัดให้น้องแมว หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอม และไม่สูบบุหรี่ใกล้กับบริเวณที่น้องแมวอยู่

  5. จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวเป็นภูมิแพ้?
  6. หากน้องแมวเป็นภูมิแพ้ คุณจะสังเกตเห็นอาการ พฤติกรรม และสภาพร่างกายบางอย่างที่ได้รับผลกระทบจากการแพ้ เช่น:

    • ตาแฉะ
    • น้ำมูกไหล
    • มีอาการคัน
    • ไอหรือจาม
    • อาเจียนหรือท้องเสีย 

     

  7. โรคภูมิแพ้ในแมวรักษาหายหรือไม่?
  8. ขึ้นอยู่กับว่าน้องแมวของคุณแพ้อะไร แพ้สิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อมหรือแพ้อาหาร หากพวกเค้าแพ้อาหาร ก็จำเป็นต้องเลือกอาหารสูตรใหม่ที่เหมาะสม แต่หากน้องแมวมีอาการแพ้บริเวณผิวหนัง การกินอาหารสูตรใหม่และน้ำที่สะอาดตลอดระยะเวลา 8 - 10 สัปดาห์ อาการก็จะค่อย ๆ หายไป

  9. การดูแลอาการแพ้ในแมวในเวลานานแค่ไหน?
  10. น้องแมวส่วนใหญ่ที่เป็นภูมิแพ้ทางเดินหายใจ มักจะแพ้สิ่งเร้าหลากหลายชนิด แต่อาการคันอาจเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งหากอากาศไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยหรือมีตัวกระตุ้นน้อย

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    adp_description_block231
    รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนแมว

    • แบ่งปัน

    แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
     

    วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
     

    วัคซีนแต่ละชนิดและช่วงวัยที่เหมาะสมของแมว

    การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก

    1. วัคซีน FVRCP

    ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี

    1. วัคซีน FeLV

    วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์

    1. วัคซีน FPV

    วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี

    1. วัคซีนรวม 4 โรค

    วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี

    1. วัคซีนรวม 5 โรค

    วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

    หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้

    1. อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    2. อยากอาหารลดลง

    3. อาเจียน

    4. มีไข้ 

    5. ท้องเสีย

    6. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้