IAMS TH
cat article detail banner
cat article detail banner

adp_description_block117
เปิด 4 เคล็ดลับการให้อาหารลูกแมวตัวน้อย

  • แบ่งปัน

เมื่อพูดถึงการดูแลลูกแมวตัวน้อย สิ่งสำคัญที่ทาสแมวทุกคนต้องทำความเข้าใจคือการให้อาหารอย่างถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ ซึ่งในบทความนี้ เราก็มีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมวมาฝากกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสม การปรับเปลี่ยนปริมาณตามช่วงเวลา และการประเมินความต้องการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย สำหรับทาสแมวมือโปรหรือมือใหม่ที่ต้องการให้เจ้าตัวน้อยสุขภาพดีมีความสุขในทุกวัน ลองทำตามเคล็ดลับการให้อาหารต่อไปนี้กันได้เลย

ตารางการให้อาหารตามความต้องการทางโภชนาการของลูกแมว

สิ่งสำคัญในการให้อาหารลูกแมวคือการกำหนดปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละช่วงวัย ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับทาสแมวหลาย ๆ คน เราจึงสร้างตารางการให้อาหารแนะนำมาเพื่อช่วยคุณโดยเฉพาะ โดยในตารางนี้จะบอกปริมาณอาหารที่แนะนำต่อวันตามน้ำหนักตัวของลูกแมว 

อายุ

อาหารและปริมาณที่แนะนำ

0 – 4 สัปดาห์ 

น้ำนมแม่

1 – 6 เดือน 

ให้อาหารสูตรสำหรับลูกแมว 4 – 5 ครั้งต่อวัน

6 – 12 เดือน 

ค่อย ๆ ลดจำนวนมื้ออาหารต่อวัน

12 เดือนขึ้นไป

ค่อย ๆ เปลี่ยนมาให้อาหารสูตรแมวโต โดยให้อาหารเปียกทั้งเช้าและเย็น ส่วนอาหารเม็ดและน้ำสะอาดต้องเข้าถึงได้ง่ายตลอดวัน

 

ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกแมวจะขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัว ทั้งนี้ตารางข้างต้นเป็นเพียงคำแนะนำทั่วไป ลูกแมวของคุณอาจมีความต้องการแตกต่างออกไป คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อประเมินความต้องการของพวกเค้าเพิ่มเติมได้

เคล็ดลับดี ๆ ในการให้อาหารลูกแมวตัวน้อย – เราควรให้อาหารลูกแมวบ่อยแค่ไหน?

ความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวจะเปลี่ยนไปตามช่วงวัย และมีข้อควรคำนึงถึงเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย

  1. ควรให้อาหารลูกแมวเป็นมื้อเล็ก ๆ 3 – 4 มื้อต่อวัน แทนการให้อาหารมื้อใหญ่ 1 – 2 มื้อ วิธีนี้จะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและลดปัญหาการหิวระหว่างวันได้ดี
  2. อาหารสำหรับลูกแมวควรมีโปรตีนและไขมันสูง มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาหารเปียกเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเพราะมีโปรตีนและปริมาณน้ำมากกว่าอาหารเม็ด
  3. ลูกแมวที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนควรได้รับอาหารสูตรเฉพาะสำหรับเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต หลังจากหกเดือนจึงค่อยเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรแมวโตได้
  4. ในการเลือกอาหาร ควรระวังส่วนผสมที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือท้องไส้ปั่นป่วน เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สารกันบูดและสารแต่งเติมต่าง ๆ

เปิด 4 เคล็ดลับในการให้อาหารลูกแมวที่เจ้าของทุกคนควรรู้

  1. เริ่มต้นด้วยจัดตารางการให้อาหารเป็นเวลาทุกวัน เช่น ให้อาหารลูกแมวในเวลาเดียวกันทุกเช้าและเย็น
  2. ค่อย ๆ ปรับตารางการให้อาหารเมื่อลูกแมวโตขึ้น หากยังอยู่ในช่วงวัยลูกแมว ควรให้อาหารมื้อย่อย 3 มื้อต่อวัน แต่เมื่อลูกแมวโตเต็มวัยแล้ว สามารถปรับให้เหลือเพียง 2 มื้อต่อวันได้
  3. สามารถปรับเปลี่ยนตารางการให้อาหารได้ตามความต้องการของลูกแมว เนื่องจากลูกแมวบางตัวอาจต้องการอาหารมากกว่าตัวอื่น ๆ และบางตัวอาจหิวบ่อยในบางช่วงเวลาของวัน
  4. คอยสังเกตน้ำหนักของลูกแมวและปรับตารางอาหารเมื่อจำเป็น หากลูกแมวดูซูบผอมหรือน้ำหนักลดลง พวกเค้าอาจต้องการปริมาณอาหารมากขึ้น ในทางกลับกัน หากลูกแมวของคุณดูอ้วนหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น อาจต้องปรับปริมาณอาหารให้น้อยลง โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับเจ้าตัวน้อยเพิ่มเติมได้

การให้อาหารอย่างเหมาะสมมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมและพัฒนาการของลูกแมว โดยเคล็ดลับง่าย ๆ ในการให้อาหารลูกแมวคือการทำความเข้าใจความต้องการด้านโภชนาการของลูกแมวและเลือกสูตรอาหารที่เหมาะกับช่วงวัย เนื่องจากลูกแมวมีความต้องการแตกต่างจากน้องแมวโตเต็มวัย เจ้าของจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามต้องการ

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมว

  1. วิธีที่ดีที่สุดในการให้อาหารลูกแมวคืออะไร?
  2. วิธีที่ดีที่สุดคือการเลือกอาหารคุณภาพดีและออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวโดยเฉพาะ ในหนึ่งวัน ควรให้อาหารลูกแมวประมาณ 4 – 6 ครั้งต่อวัน จนกว่าจะมีอายุประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้น จึงสามารถเปลี่ยนเป็น 3 มื้อใหญ่ต่อวันได้

  3. ควรให้อาหารลูกแมวมากน้อยแค่ไหน?
  4. ในการกำหนดปริมาณอาหารให้ลูกแมวแต่ละครั้ง ควรให้อาหารเปียกหรืออาหารเม็ดประมาณ 3 – 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ และควรแบ่งออกเป็นมื้อเล็ก ๆ 2 – 3 มื้อต่อวัน โดยจำเป็นต้องปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกแมวของคุณ

  5. ควรให้อาหารเม็ดหรืออาหารเปียกกับลูกแมว?
  6. คุณสามารถให้อาหารลูกแมวได้ทั้งแบบเปียกและแบบเม็ดรวมกัน เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยจะได้รับคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล โดยอาหารเปียกจะช่วยให้น้องแมวได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้น ส่วนอาหารเม็ดจะมีส่วนช่วยในการขัดฟัน ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  7. ลูกแมวชอบกินอาหารกลางดึกหรือไม่?
  8. ลูกแมวบางตัวอาจกินอาหารตอนกลางดึก เจ้าของจึงควรจัดเตรียมอาหารและน้ำให้เข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะลูกแมวในช่วงวัยเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม หากพบว่าพวกเค้ามีพฤติกรรมการกินมากเกินไปหรือผิดปกติ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ในทันที

     

  9. ควรเทอาหารเม็ดทิ้งไว้ข้ามคืนหรือไม่?
  10. ไม่แนะนำให้เทอาหารเม็ดทิ้งไว้ข้ามคืน เนื่องจากลูกแมวมีกระเพาะขนาดเล็กและควรได้รับปริมาณอาหารที่เหมาะสม การเทอาหารเม็ดทิ้งไว้อาจทำให้พวกเค้ากินมากเกินไปและน้ำหนักขึ้นได้ง่าย นอกจากนี้การเทอาหารทิ้งไว้ยังสามารถดึงดูดสัตว์รบกวนและอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรีย เจ้าของควรให้อาหารเป็นเวลาและแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ ตลอดวัน

  • ทำไมไฟเบอร์จึงมีบทบาทสำคัญในอาหารแมว?
    ทำไมไฟเบอร์จึงมีบทบาทสำคัญในอาหารแมว?
    adp_description_block449
    ประโยชน์ของอาหารแมวไฟเบอร์สูง

    • แบ่งปัน

    ไฟเบอร์นับเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของอาหารแมว มีทั้งหมด 2 ชนิด หนึ่งคือไฟเบอร์ละลายน้ำได้ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด สองคือไฟเบอร์ไม่ละลายน้ำ จะเพิ่มกากใยในลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายง่าย รวมถึงก่อให้เกิดกรดไขมันสายสั้น (SCFA) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์และช่วยเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีในลำไส้ ไฟเบอร์ในอาหารแมวยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี ทำให้อิ่มท้องนาน ป้องกันการกินอาหารมากเกินไป
     

    แม้ไฟเบอร์จะมีประโยชน์มากมาย แต่ถ้าได้รับมากเกินความต้องการ อาจขัดขวางการดูดซึมสารอาหารบางชนิดได้ ดังนั้นควรตรวจสอบและกำหนดปริมาณของไฟเบอร์ให้เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบย่อยอาหาร ซึ่งมีส่วนช่วยให้แมวอายุยืนยาว มีชีวิตชีวา และมีความเป็นอยู่ที่ดี
     

    สิ่งที่ดีสำหรับคุณอาจไม่ดีสำหรับแมวของคุณ

    ทุกวันนี้ ผู้คนต่างตระหนักถึงประโยชน์และบทบาทของไฟเบอร์มากขึ้น หลายคนปรับเปลี่ยนวิธีการเลือกอาหารของตัวเองและสัตว์เลี้ยง แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่ดี แต่ผู้ผลิตบางรายกลับคิดค้นอาหารแมวที่มีไฟเบอร์สูงตามหลักโภชนาการของคน ซึ่งอาจไม่เหมาะกับสุขภาพของแมว เนื่องจากแมวมีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างจากเรา พวกเค้าเป็นสัตว์กินเนื้อ จึงต้องการสารอาหารจากเนื้อสัตว์มากกว่าพืช อีกทั้งยังมีระบบทางเดินอาหารสั้นกว่าเรามาก นี่เป็นเหตุผลที่นักโภชนาการสัตว์เลี้ยงของไอแอมส์ทุ่มเทศึกษานานกว่า 60 ปี เพื่อคิดค้นอาหารที่ตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของแมวโดยเฉพาะ
     

    ไมโครไบโอมในแมวคืออะไร?

    ไมโครไบโอมคือชุมชนของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ไมโครไบโอมส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของแมว มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร สนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และยังส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมด้วย การรักษาความสมดุลภายในไมโครไบโอมจึงถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นอยู่โดยรวมของแมว
     

    การตอบสนองของไมโครไบโอมในลำไส้ต่ออาหารที่มีไฟเบอร์

    เมื่อพูดถึงโภชนาการและสุขภาพลำไส้ของแมว ไฟเบอร์ส่งผลอย่างมากต่อการรักษาและเปลี่ยนแปลงความสมดุลของไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหาร โดยก่อให้เกิดการตอบสนองและผลลัพธ์ดังนี้
     

    การตอบสนองแบบไดนามิก –

    เมื่อแมวกินอาหารที่มีไฟเบอร์เข้าไป ไมโครไบโอมในลำไส้จะปรับตัวให้เข้ากับการทะลักเข้ามาของไฟเบอร์ที่ย่อยไม่ได้
     

    แบคทีเรียพรีไบโอติก –

    ไฟเบอร์บางชนิดก็ทำหน้าที่เป็นพรีไบโอติก ส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ เช่น บิฟิโดแบคทีเรียมและแลคโตบาซิลลัส ซึ่งจำเป็นต่อสุขภาพของลำไส้
     

    ผลิตกรดไขมันสายสั้น –

    การหมักไฟเบอร์ด้วยแบคทีเรียในลำไส้ส่งผลให้เกิดการผลิตกรดไขมันสายสั้น (SCFA) รวมถึงอะซิเตท โพรพิโอเนต และบิวทิเรต
     

    บำรุงเซลล์ในลำไส้ –

    กรดไขมันสายสั้นมีบทบาทสำคัญในการบำรุงเซลล์เยื่อบุลำไส้ มีส่วนช่วยให้เยื่อเมือกสมบูรณ์ เสริมการดูดซึมสารอาหารและการทำงานของลำไส้โดยรวม
     

    ควบคุมความเป็นกรด-ด่าง (pH) –

    การหมักย่อยของไฟเบอร์ก่อให้เกิดแก๊สและผลพลอยได้อื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อระดับ pH ในลำไส้ ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่สนับสนุนการเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นอันตราย
     

    ปริมาณไฟเบอร์และการหมักย่อย

    จากการวิจัยของไอแอมส์ เราพบว่าปริมาณไฟเบอร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแมวจะอยู่ในช่วง 1.4 – 3.5% เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อการสลายตัวของสารอาหาร แต่ในบางกรณี เช่น แมวมีปัญหาก้อนขนอุดตัน อาหารที่มีไฟเบอร์สูงกว่านี้อาจเป็นประโยชน์
     

    ลักษณะเด่นของไฟเบอร์คือความสามารถในการหมักย่อยหรือความสามารถในการย่อยสลายโดยแบคทีเรียในลำไส้ได้เป็นอย่างดี การย่อยสลายนี้ทำให้เกิดกรดไขมันสายสั้นซึ่งเป็นแหล่งพลังงานแก่ลำไส้ ไฟเบอร์แตกต่างกันไปตามความสามารถในการหมักย่อย แหล่งไฟเบอร์ที่ใช้ในอาหารสัตว์เลี้ยงได้แก่ เซลลูโลส ซึ่งหมักย่อยได้ไม่ค่อยดี บีทพัลพ์หมักย่อยได้ในระดับปานกลาง ส่วนยางไม้และเพกทินหมักย่อยได้ดีมาก อย่างไรก็ตาม การวิจัยแสดงให้เห็นว่าไฟเบอร์ที่หมักย่อยได้ในระดับปานกลางนั้น มีประโยชน์และให้พลังงานได้มากโดยไม่มีผลกระทบ เช่น อุจจาระมากไปหรือมีแก๊สในทางเดินอาหารมากเกินไป มันจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
     

    ข้อดีของอาหารแมวไฟเบอร์สูง

    การเพิ่มไฟเบอร์เข้าไปในอาหารแมวมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่โดยรวมของแมว โดยข้อดีของอาหารแมวที่มีไฟเบอร์สูงมีดังนี้
     

    เสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร –

    ไฟเบอร์มีส่วนช่วยเสริมการย่อยอาหารและเพิ่มกากใย ทำให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายง่าย และลดอาการท้องผูก
     

    ช่วยควบคุมน้ำหนัก –

    ไฟเบอร์ในอาหารจะทำให้แมวรู้สึกอิ่มท้องนานขึ้น ป้องกันการกินอาหารมากเกินพอดี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมน้ำหนัก
     

    ลดปัญหาก้อนขนอุดตัน –

    ปริมาณไฟเบอร์ที่เพิ่มขึ้นช่วยควบคุมและลดก้อนขนที่อุดตันอยู่ในระบบทางเดินอาหาร โดยกากใยจะช่วยจับเส้นขนรวมกันเป็นก้อน ทำให้เคลื่อนผ่านทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น 
     

    ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด –

    อาหารแมวไฟเบอร์สูงมีบทบาทสำคัญในการจัดการโรคเบาหวานในแมว กากใยที่เพิ่มขึ้นช่วยให้การย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตช้าลง ส่งผลให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
     

    ลดไขมันในเลือด –

    ไฟเบอร์ละลายน้ำได้มีคุณสมบัติในการลดไขมันในเลือดหรือคอเลสเตอรอล ด้วยการจับกับโมเลกุลของคอเลสเตอรอลและส่งเสริมการขับถ่าย
     

    ตัวเลือกของแมวที่มีอาการป่วยเฉพาะ –

    อาหารแมวไฟเบอร์สูงเหมาะสำหรับแมวที่เป็นโรคอ้วน เบาหวาน หรือมีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากช่วยน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
     

    ข้อเสียของอาหารแมวไฟเบอร์ต่ำ

    ในบางกรณี อาจมีการแนะนำให้เลือกอาหารแมวที่มีไฟเบอร์ต่ำ แต่คุณก็ต้องพิจารณาข้อเสียที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแมวด้วย
     

    ความเสี่ยงต่ออาการท้องผูก –

    อาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาท้องผูกในแมวได้ เนื่องจากขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้อาการท้องผูกอาจส่งผลให้แมวรู้สึกไม่สบายและเกิดอาการแทรกซ้อนได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
     

    ประสิทธิภาพการย่อยอาหารลดลง –

    อาหารแมวไฟเบอร์ต่ำอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร ทำให้ดูดซึมสารอาหารที่ไม่เพียงพอ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ของแมว
     

    ความเสี่ยงต่อโรคอ้วน –

    แม้ว่าอาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ แต่หากไม่ดูแลอย่างระมัดระวัง เจ้าเหมียวอาจกินอาหารมากขึ้นเพื่อชดเชยปริมาณแคลอรีที่ลดลง
     

    ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ –

    การกินอาหารไฟเบอร์ต่ำอย่างต่อเนื่องอาจทำให้แมวได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลทางโภชนาการและปัญหาด้านสุขภาพ
     

    การตระหนักถึงข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจและเลือกอาหารแมวได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวมของแมว
     

    ไฟเบอร์ในอาหารแมวไอแอมส์™

    ในการเลือกอาหารสัตว์เลี้ยง ไฟเบอร์ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่พ่อแม่แมวทุกคนต้องพิจารณา แนะนำให้เลือกอาหารที่มีปริมาณไฟเบอร์เหมาะสม มีแหล่งที่มาจากบีทพัลพ์ เพราะมีประโยชน์และให้พลังงานได้ดีโดยไม่ส่งผลกระทบด้านลบ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารแมวที่มีไฟเบอร์ต่ำ เพราะอาจทำให้แมวได้รับแคลอรีน้อยลงและขาดสารอาหารที่ต้องการ
     

    ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงทั้งหมดของไอแอมส์™ เช่น ไอแอมส์ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแมวโตเต็มวัย มีส่วนผสมของบีทพัลพ์ซึ่งหมักย่อยได้ในระดับปานกลาง ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีของลำไส้ เป็นสูตรเฉพาะของไอแอมส์™ และได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาหมายเลข 5,616,569 สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงที่มีไฟเบอร์ที่หมักย่อยได้และใช้ในกระบวนการรักษาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
     

    การควบคุมปริมาณไฟเบอร์ในอาหารแมวไอแอมส์™

    การดูแลและกำหนดปริมาณไฟเบอร์ให้เพียงพอต่อความต้องการของแมวถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยคุณสามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้ได้
     

    อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ –

    บนบรรจุภัณฑ์ของอาหารแมวไอแอมส์™ มีการระบุข้อมูลทางโภชนาการโดยละเอียด คุณสามารถตรวจสอบปริมาณไฟเบอร์ที่แนะนำและเพียงพอต่อความต้องการของแมวในแต่ละวันได้
     

    เลือกสูตรอาหารที่เหมาะสม –

    อาหารแมวไอแอมส์™ มีให้เลือกหลากหลายประเภท รวมถึงสูตรที่ออกแบบมาเพื่อความต้องการเฉพาะ เช่น การควบคุมน้ำหนัก การจัดการปัญหาก้อนขน และการดูแลสุขภาพทางเดินอาหาร 
     

    เปลี่ยนอาหารแบบค่อยเป็นค่อยไป –

    หากคุณอยากเปลี่ยนมาให้อาหารแมวไอแอมส์™ สูตรใหม่ แนะนำให้เปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ระบบย่อยอาหารของแมวปรับตัว
     

    ปรึกษาสัตวแพทย์ –

    แมวแต่ละตัวมีความต้องการและพฤติกรรมการกินแตกต่างกัน ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดปริมาณไฟเบอร์ที่เหมาะสม โดยคุณหมอจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ น้ำหนัก และสุขภาพโดยรวม
     

    กำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสม –

    ไอแอมส์ระบุแนวทางการให้อาหารบนบรรจุภัณฑ์ คุณสามารถตรวจสอบและปรับเปลี่ยนปริมาณอาหารได้ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาได้จากระดับกิจกรรมหรือเป้าหมายในการควบคุมน้ำหนัก
     

    เพิ่มความหลากหลาย –

    อาหารแมวไอแอมส์™ มีให้เลือกทั้งแบบเปียกและแบบเม็ด การให้อาหารทั้งสองชนิดจะช่วยให้คุณมั่นใจว่าแมวจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
     

    ตรวจสุขภาพเป็นประจำ –

    การตรวจสุขภาพจะทำให้คุณรู้ว่าแมวแข็งแรงหรือไม่ มีปัญหาแอบแฝงอยู่หรือเปล่า รวมถึงสามารถตรวจสอบการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้ด้วย หากมีข้อสงสัยหรือความกังวลเกี่ยวกับการบริโภคไฟเบอร์ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้ในระหว่างการนัดตรวจเหล่านี้
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารแมวไอแอมส์™ จะช่วยให้แมวของคุณได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล นอกจากอาหารของเรายังมีไฟเบอร์สูง ช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ของแมวด้วย

Close modal