IAMS TH
dog article
dog article

adp_description_block360
การควบคุมน้ำหนักมาตรฐานของสุนัข

  • แบ่งปัน

เช่นเดียวกันกับคน ปัญหาน้ำหนักเกินเป็นต้นเหตุของโรคร้ายมากมายในสุนัข โดยสาเหตุหลักมาจากการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ และการให้อาหารปริมาณที่มากเกินไป หากคุณพบว่าน้องหมามีน้ำหนักตัวขึ้น โดยที่ให้อาหารปริมาณเท่าเดิม และออกกำลังเป็นประจำ นั่นอาจเป็นผลข้างเคียงจากความผิดปกติของฮอร์โมน ทั้งนี้น้องหมาที่มีน้ำหนักเกินอาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ กระดูกเสื่อม ข้อต่ออักเสบ และโรคร้ายอีกมากมาย เราจึงควรดูแลให้พวกเค้ามีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม 

 

ทำความเข้าใจมาตรฐานน้ำหนักของน้องหมากันก่อน

มาดูกันว่าเจ้าตัวน้อยของคุณอยู่ระดับไหนในตารางน้ำหนักนี้



Weight Management — Laytonsville Veterinary Practice

 

 








 

น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์: คุณสามารถสังเกตเห็นกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานของพวกเค้าได้อย่างชัดเจน ไม่มีไขมันส่วนเกินปกคลุมส่วนไหนของร่างกาย พวกเค้าอาจมีภาวะกล้ามเนื้อลีบ

น้ำหนักมาตรฐาน: คุณสามารถคลำเจอกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานได้โดยง่าย เห็นเอวได้อย่างชัดเจนเมื่อมองจากด้านบนและด้านข้าง สำหรับน้องหมาขนสั้นอาจสังเกตเห็นกระดูกซี่โครงบางส่วน ในขณะที่พวกเค้าบิดตัว วิ่งเล่น หรือออกกำลังกาย 

น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์: น้องหมาที่มีน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์ คือมีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักมาตรฐาน 10 - 20 % คลำเจอกระดูกซี่โครงได้ยาก มีไขมันส่วนเกินปกคลุมบริเวณท้องและหาง แผ่นหลังนูนและกว้างขึ้น แนะนำให้จัดตารางออกกำลังกายเพื่อกำจัดน้ำหนักส่วนเกินออกไป

ภาวะอ้วน: น้องหมาที่มีภาวะอ้วน คือมีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักมาตรฐาน 20% ขึ้นไป คลำไม่พบกระดูกซี่โครงเพราะมีไขมันปกคลุม บริเวณคอและท้องห้อยย้อยอย่างเห็นได้ชัด

 

วิธีการชั่งน้ำหนักน้องหมา

หากคุณเลี้ยงน้องหมาพันธุ์เล็ก คุณสามารถชั่งน้ำหนักให้พวกเค้าได้เองที่บ้าน ด้วย 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

ขั้นที่หนึ่ง – เริ่มจากชั่งน้ำหนักตัวคุณเองก่อน พร้อมจดน้ำหนักเอาไว้

ขั้นที่สอง – อุ้มน้องหมาขึ้นมาด้วยความระมัดระวัง ขึ้นชั่งน้ำหนักอีกครั้ง พร้อมจดน้ำหนักเอาไว้

ขั้นที่สาม – คำนวณน้ำหนักของน้องหมา ด้วยการลบน้ำหนักตัวคุณออกจากน้ำหนักที่ชั่งพร้อมกับน้องหมา

วิธีการนี้ไม่เหมาะสำหรับน้องหมาพันธุ์กลางและใหญ่ เพราะขนาดตัวทำให้อุ้มได้ยาก และเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แนะนำให้ไปพบสัตวแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสมและปลอดภัย

 

บทสรุปที่สำคัญในการดูแลน้ำหนักตัวของน้องหมา

คุณสามารถดูแลน้องหมาที่คุณรักให้มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐานได้ง่าย ๆ หากปฏิบัติตามคำแนะนำ และขั้นตอนที่สำคัญดังต่อไปนี้ 

 

หลีกเลี่ยงการให้อาหารปรุงเองกับน้องหมา

น้องหมาจะมีสุขภาพดีเมื่อมีการควบคุมปริมาณอาหารอย่างเหมาะสม และถูกฝึกให้กินอาหารตรงเวลา ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารปรุงเอง เพราะพวกเค้ามีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างจากคน และมันอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้องหมามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

 

เลือกอาหารคุณภาพดีและเหมาะสม

มีอาหารสุนัขมากมายให้เราได้เลือกซื้อกันในท้องตลาด ซึ่งมีส่วนประกอบและสารอาหารที่แตกต่างกันไป แต่หากคำนึงถึงเรื่องการควบคุมน้ำหนักเป็นสำคัญ อาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรควบคุมน้ำหนักสำหรับสุนัขโตเต็มวัย และอาหารสุนัขไอแอมส์™ เฮลท์ตี้ เนเชอรัล™ สูตรควบคุมน้ำหนัก รสไก่ คือตัวเลือกที่ดีสำหรับน้องหมา

 

งดการแบ่งอาหารให้น้องหมา

ด้วยความน่ารักและสายตาที่ออดอ้อนของเจ้าตัวน้อย อาจทำให้เราเผลอตัวแบ่งเบคอนแสนอร่อยหรือเนื้อชิ้นโตให้กับพวกเค้าได้อย่างง่ายดาย แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะอดทนกับการอ้อนที่แสนน่ารัก แต่เราต้องทำให้ได้ เพราะการแบ่งอาหารที่เรากิน คือการเพิ่มปริมาณไขมันให้น้องหมา และส่งเสริมให้พวกเค้าติดนิสัยขอกินอาหารตลอดเวลา

 

ออกกำลังกายเป็นประจำ

อีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมน้ำหนักตัวของน้องหมา หากคุณมีตารางเวลาที่ยุ่งวุ่นวาย อาจแบ่งเวลาบางช่วงมาชวนน้องหมาเล่นเกมสนุก ๆ อย่างชักเย่อ หรือพากันไปวิ่งจ๊อกกิ้งระยะสั้น ๆ แต่หากมีเวลามากขึ้น อาจชวนพวกเค้าเล่นคาบจานร่อน หรือฝึกเคลื่อนไหวข้ามสิ่งกีดขว้าง ทั้งนี้น้องหมาที่ไม่ได้ออกกำลังอย่างเหมาะสม อาจมีแนวโน้มให้เกิดภาวะเครียดได้

 

ควบคุมปริมาณขนมในแต่ละวัน

แน่นอนว่าเมื่อน้องหมาเป็นเด็กดีเชื่อฟัง เราก็ต้องอยากให้รางวัลเป็นขนมแสนอร่อย ซึ่งสามารถทำได้แต่ต้องระมัดระวังปริมาณแคลอรี่และไขมันที่อาจมากเกินความต้องการด้วย จึงควรเลือกชนิดของขนมและควบคุมปริมาณอย่างเหมาะสม

 

หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลง

โดยส่วนใหญ่ปัญหาน้ำหนักเกิน เกิดจากการกินที่มากกว่าการเบิร์นออก แต่หากควบคุมอาหารแล้ว ออกกำลังกายเป็นประจำก็แล้ว แต่น้ำหนักตัวของน้องหมายังไม่ลดลง แนะนำให้พาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กโรคไทรอยด์ เช็กการทำงานของระบบเผาผลาญ หรือความผิดปกติฮอร์โมนอื่น ๆ เพิ่มเติม

ทั้งนี้อย่าเพิ่งหมดกำลังใจกันไปก่อน หากการลดน้ำหนักจะไม่เห็นผลในทันที การต่อสู้กับโรคอ้วนต้องอาศัยการปลูกฝังนิสัยการกินที่ดี และมีวินัยในการออกกำลังกาย หากคุณทำตามคำแนะนำข้างต้นด้วยความตั้งใจและอดทนแล้ว การคุมน้ำหนักให้น้องหมาก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายไปเลยหล่ะ

 

คุณประโยชน์ของอาหารสุนัขไอแอมส์™

การลดน้ำหนักน้องหมาควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำตามขั้นตอนอย่างเหมาะสม และเพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ควรให้อาหารที่มีไขมันต่ำอย่างอาหารสุนัขไอแอมส์™ สูตรควบคุมน้ำหนัก ที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดี รวมถึงควรพาพวกเค้าออกกำลังกายเป็นประจำด้วย

อาหารสุนัขไอแอมส์™ อัดแน่นด้วยคุณประโยชน์ดังต่อไปนี้

  1. ผลิตจากเนื้อไก่คุณภาพดี มีปริมาณไขมันน้อยลงถึง 17% ซึ่งมีส่วนช่วยให้ควบคุมน้ำหนักของน้องหมาได้เป็นอย่างดี
  2. มีส่วนผสมของแอล – คาร์นิทีน ที่เป็นตัวช่วยในการเกิดออกซิเดชันของไขมัน และมีส่วนช่วยให้น้องหมากลับมามีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
  3. แอล – คาร์นิทีน ยังช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบเผาผลาญอีกด้วย
  4. อาหารสุนัขไอแอมส์™ ผ่านการพัฒนาสูตรโดยสัตวแพทย์ เพื่อให้ตอบโจทย์สุนัขทุกสายพันธุ์ รวมถึงมีส่วนผสมของไฟเบอร์คุณภาพดี พรีไบโอติก และบีทพัลพ์ ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยและขับถ่าย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก

  1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้องหมามีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม?
  2. หากน้องหมาของคุณมีน้ำหนักตามมาตรฐาน คุณจะสังเกตเห็นเอวได้อย่างชัดเจน แต่หากมองจากด้านบนแล้วพบว่าเอวหาย  หรือบริเวณเอวและสะโพกใหญ่มาก จนมองเห็นเป็นทรงกลม นั่นแปลว่าพวกเค้ามีน้ำหนักเกินแล้ว ทั้งนี้คุณสามารถเทียบลักษณะต่าง ๆ ของน้องหมาเพิ่มเติมได้จากตารางน้ำหนักข้างต้น

  3. หากสัมผัสเจอกระดูกสันหลังของน้องหมาถือเป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่?
  4. หากน้องหมาของคุณมีน้ำหนักตามมาตรฐาน คุณจะสามารถคลำเจอกระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงของพวกเค้าได้ แต่หากสามารถมองเห็นกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง และเอวคอดได้อย่างชัดเจน นั่นหมายความว่าน้องหมาของคุณกำลังขาดสารอาหาร และต้องเพิ่มน้ำหนักตัว

  5. การพาน้องหมาไปเดินเล่นช่วยลดน้ำหนักได้หรือไม่?
  6.   ได้อย่างแน่นอน การเดินเล่นเป็นวิธีออกกำลังกายที่ดี และช่วยลดน้ำหนักได้

  7. ทำไมน้องหมากินน้อยแต่มีปัญหาน้ำหนักเกิน?
  8. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอาจไม่ได้เกิดจากปริมาณอาหารที่กินเสมอไป มันอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเผาผลาญอาหาร หรือความผิดปกติของฮอร์โมนได้เช่นกัน

  • ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
    ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
    adp_description_block174
    ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    • แบ่งปัน

    ยินดีด้วย! หากคุณเพิ่งได้รับลูกสุนัขตัวใหม่ เรารู้ดีว่าการพาลูกสุนัขเข้าบ้านครั้งแรกเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกและตื่นเต้น แต่ในขณะเดียวกัน การเลี้ยงเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ก็มักจะมาพร้อมความท้าทายและความรับผิดชอบใหม่ ๆ ซึ่งหน้าที่แรกของพ่อแม่มือใหม่คือการเตรียมสิ่งของที่จำเป็นให้พร้อม เจ้าตัวน้อยของคุณจะได้อยู่ในบ้านหลังใหม่อย่างมีความสุข
     

    โดยควรเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นหลังรับลูกสุนัขเข้าบ้านแล้ว ทั้งนี้พ่อแม่มือใหม่บางคนอาจรู้สึกกังวลเมื่อต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัย เราจึงรวบรวมรายชื่อสิ่งของที่จำเป็น พร้อมด้วยเคล็ดลับดี ๆ อีกมากมายที่จะช่วยให้การต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ของคุณง่ายยิ่งขึ้น
     

    วิธีอุ้มลูกสุนัขที่ถูกต้อง

    ความน่ารักน่ากอดของลูกสุนัขไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ สิ่งนี้ทำให้ทุกคนอดรนทนไม่ไหว ต้องอุ้มพวกเค้าขึ้นมากอดมาคลอเคลียทุกครั้งที่พบเจอ อย่างไรก็ตาม ลูกสุนัขอยู่ในช่วงวัยกำลังพัฒนา หากอุ้มผิดวิธีอาจทำให้พวกเค้ารู้สึกไม่สบายตัวหรือถึงขั้นได้รับบาดเจ็บ จึงขอแนะนำให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

    1. ขั้นตอนที่ 1 – วางมือข้างหนึ่งไว้ใต้สะโพกของลูกสุนัข ส่วนอีกมือหนึ่งให้วางไว้ใต้หน้าอก
    2. ขั้นตอนที่ 2 – ยกลูกสุนัขขึ้นด้วยแขนทั้งสองข้าง คุณสามารถใช้เทคนิคนี้กับสุนัขตัวเล็กได้ แต่สำหรับสุนัขตัวใหญ่ ให้โอบแขนทั้งสองข้างรอบขา จากนั้นดึงไปที่หน้าอกแล้วค่อยยกขึ้น

    รวมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัข

    เช็กลิสต์สิ่งจำเป็นที่ควรเตรียมให้พร้อมก่อนพาเจ้าตัวน้อยกลับบ้าน มีดังนี้

    1. อาหารสุนัข – แนะนำให้เลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้าต้องการแคลเซียม ฟอสฟอรัส ไขมัน และโปรตีนปริมาณมาก ซึ่งทำให้อาหารสำหรับลูกสุนัขมีปริมาณแคลอรีสูงกว่าสูตรอื่น ๆ ทั้งนี้โภชนาการมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี ผู้เลี้ยงจึงควรเลือกอาหารคุณภาพดี เหมาะกับขนาดและช่วงวัย อย่างอาหารสุนัขไอแอมส์™ ที่ผลิตจากวัตถุดิบเกรดพรีเมียม ย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี มั่นใจได้เลยว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนแม้ว่าจะกินในปริมาณน้อย
    2. ขนมสำหรับสุนัข – ขนมสำหรับสุนัขมักจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือขนมสูตรเฮลตี้ ดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมขัดฟัน และขนมสำหรับใช้ฝึก
    3. เตียงนอน – น้องหมาควรได้ทิ้งตัวลงบนที่นอนนุ่ม ๆ หลังออกไปผจญภัยหรือวิ่งเล่นกันมาทั้งวัน โดยเตียงนอนที่ดีต้องเหมาะกับขนาดตัวของน้องหมา อาจเตรียมหมอนหนุนหรือผ้าห่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้พวกเค้าเพิ่มเติมได้
    4. ชามอาหารและชามน้ำ – เป็นอีกหนึ่งไอเทมสำคัญสำหรับน้องหมาทุกตัว โดยแนะนำให้เลือกจากขนาดและวิธีการกินของลูกสุนัข ไม่ควรใช้ชามใบเดียวกันทั้งสำหรับให้อาหารและให้น้ำ อาจเลือกใช้เป็นชามสเตนเลส เนื่องจากแข็งแรงทนทาน ทำความสะอาดง่าย และไม่ดูดซับกลิ่น
    5. กรงหรือกระเป๋าสำหรับสุนัข – ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเมื่อต้องพาน้องหมาออกนอกบ้านหรือเดินทางไกล ทั้งกรงและกระเป๋ามีให้เลือกหลากหลายแบบ แต่ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดและสายพันธุ์ของน้องหมา หรือหากต้องการพาน้องหมาขึ้นเครื่องบิน ก็ควรเลือกรูปแบบที่ได้รับการรับรองจากสายการบินนั้น ๆ เพราะจะทำให้เดินทางได้ง่ายขึ้น
    6. เสื้อผ้า – ในช่วงที่มีอากาศเย็นหรืออากาศชื้น ควรใส่เสื้อผ้าที่แห้งและสะอาดให้กับน้องหมา เพื่อเพิ่มความอบอุ่นและป้องกันไม่ให้เจ้าตัวน้อยของคุณเป็นหวัด ตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่าเนื้อผ้าไม่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง
    7. ปลอกคอและสายจูง – ขนาดของปลอกคอและสายจูงเป็นสิ่งสำคัญ น้องหมาต้องหายใจสะดวก ไม่อึดอัด และเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเมื่อสวมใส่ ควรเลือกปลอกคอที่ปรับขนาดได้และถอดออกง่าย เมื่อใส่แล้วควรมีพื้นที่ว่างระหว่างปลอกคอประมาณสองนิ้วมือ ส่วนสายจูงควรเลือกที่ทำจากเชือกไนลอนยาว 6 ฟุตหรือประมาณ 1.8 เมตร และควรมีความกว้างประมาณ ½ - ¾ นิ้ว
    8. ของเล่น – เพื่อความสุขและความสนุกของเจ้าตัวน้อย ผู้เลี้ยงควรเตรียมของเล่นหลาย ๆ ชนิดติดบ้านเอาไว้ เช่น ของเล่นสำหรับกัดแทะ ตุ๊กตานุ่มนิ่มสำหรับกอดนอน และของเล่นสำหรับฝึกทักษะ ของเล่นเหล่านี้จะช่วยให้พวกเค้ากระฉับกระเฉงและสดชื่น หลีกเลี่ยงการซื้อของเล่นขนาดเล็ก เพื่อป้องกันน้องหมากินหรือกลืนเข้าไปจนเกิดอันตราย
    9. ถุงเก็บมูลสัตว์ – เมื่อพาน้องหมาออกไปเดินเล่นในที่สาธารณะ เจ้าของควรเตรียมถุงเก็บมูลสัตว์เพื่อทำความสะอาดหลังน้องหมาขับถ่าย เพราะในหลายพื้นที่มีกฎและข้อกำหนดสำหรับเรื่องนี้ หากไม่ทำตามอาจถูกปรับและโดนตักเตือนได้
    10. อุปกรณ์สำหรับการกรูมมิ่ง – แชมพู แปรงและหวี กรรไกรตัดเล็บ ยาสีฟันและแปรงสีฟัน น้ำยาทำความสะอาดสำหรับสุนัข ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณ
    11. ป้ายชื่อ – อย่าลืมสั่งทำป้ายชื่อน่ารัก ๆ ห้อยกับปลอกคอของเจ้าตัวน้อยกันด้วย ป้ายชื่อควรระบุชื่อของลูกสุนัข หมายเลขโทรศัพท์ของคุณ หรือหมายเลขโทรศัพท์คลินิกสัตว์ที่คุณไปประจำ
    12. รั้วหรือประตูกั้น – สิ่งสุดท้ายที่ควรมีคือรั้วหรือประตูกั้น สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันการรบกวนเมื่อคุณต้องการเวลาส่วนตัวหรือเมื่อมีเด็กเล่นในบ้านได้เป็นอย่างดี

    การเตรียมพร้อมเพื่อช่วยให้ลูกสุนัขปรับตัวได้ดียิ่งขึ้น

    ผู้เลี้ยงอาจต้องจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งของบางอย่างเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ลูกสุนัขปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น โดยคุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้

    1. ขั้นตอนที่ 1 – จัดเตรียมพื้นที่ขับถ่ายให้พร้อมและเริ่มฝึกพวกเค้าให้ขับถ่ายเป็นที่ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากลูกสุนัขขับถ่ายในที่ที่ถูกต้อง ก็ควรให้ขนมเป็นรางวัล
    2. ขั้นตอนที่ 2 – วางกรงและเบาะนอนของลูกสุนัขไว้ในที่เฉพาะ เลือกพื้นที่ที่สงบและห่างจากความวุ่นวาย เพื่อให้พวกเค้าได้พักผ่อนอย่างเต็มที่โดยเฉพาะในช่วงวันแรก ๆ
    3. ขั้นตอนที่ 3 – ปล่อยให้เจ้าตัวน้อยได้สำรวจบ้านใหม่และทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ้าน แต่ก่อนอื่นควรเก็บกวาดบ้านให้เรียบร้อย เก็บของมีคมหรือข้าวของอันตรายให้มิดชิด และอย่าปล่อยให้พื้นลื่น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
    4. ขั้นตอนที่ 4 – แนะนำทุกคนให้รู้จักกับลูกสุนัขตัวใหม่กันตั้งแต่วันแรก คุณอาจพบว่าลูกสุนัขจะตื่นเต้นมากและจะพยายามคลุกคลีกับทุกคนรอบตัว โดยสามารถชวนลูกสุนัขเล่นด้วยได้ แต่ต้องไม่บังคับหรือทำให้พวกเค้ารู้สึกเครียด หากพวกเค้าพยายามซ่อนตัว ก็ควรปล่อยให้ใช้เวลาตามลำพัง อาจลองให้ขนมหรือลูบตัวเบา ๆ เพื่อให้พวกเค้ารู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

    การเลี้ยงลูกสุนัขตัวใหม่ให้อยู่ร่วมกับเด็กเล็ก

    ควรให้โอกาสลูก ๆ ของคุณมีส่วนร่วมในการรับเลี้ยงลูกสุนัขตัวใหม่ เพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกผูกพันกับสมาชิกใหม่ของครอบครัวมากขึ้น เมื่อได้ลูกสุนัขกลับบ้านแล้ว คุณสามารถปล่อยให้พวกเค้าเล่นด้วยกันได้ แต่ควรจำกัดเวลาการเล่นให้อยู่ในช่วง 15 – 30 นาที สองครั้งหรือสามครั้งต่อวัน เนื่องจากลูกสุนัขอยู่ในวัยที่ต้องการเวลาพักผ่อนมาก นอกจากนี้ช่วงเวลาที่เด็ก ๆ อยู่กับลูกสุนัข ควรมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย
     

    การแนะนำลูกสุนัขตัวใหม่กับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น

    ลูกสุนัขส่วนใหญ่มีนิสัยอยากรู้อยากเห็นและยังคงไร้เดียงสา จึงจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเมื่อต้องแนะนำให้พวกเค้ารู้จักกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้าน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการปะทะ เริ่มด้วยการพาลูกสุนัขไปหาสุนัขที่โตกว่า ปล่อยให้พวกเค้าใช้เวลาร่วมกัน ไม่ต้องกังวลหากพวกเค้าจะดมหรือเลียกันเพราะเป็นการทักทายกันตามปกติ แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มกัดหรือเห่าใส่กัน ให้รีบเข้าไปแยกออก
     

    แม้ว่าการนำลูกสุนัขกลับบ้านจะเป็นช่วงเวลาที่สนุกสนาน แต่อย่าลืมเตรียมสิ่งของที่จำเป็นทั้งหมดให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อุปกรณ์ดูแลขน เตียงนอน และขนมแสนอร่อย นอกจากนี้คุณควรสร้างสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยและมั่นคงเพื่อให้ลูกสุนัขเติบโตอย่างแข็งแรง