IAMS TH
cat article
cat article

adp_description_block398
วิธีดูแลลูกแมวแรกเกิด

  • แบ่งปัน

ลูกแมวตัวน้อยเต็มไปด้วยความน่ารัก และเหมาะสำหรับการเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านที่สุด แม้ว่าการมีลูกแมวจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่เจ้าของควรทำความเข้าใจความต้องการที่แตกต่างไปตามช่วงวัย และวิธีการดูแลเจ้าตัวน้อยอย่างถูกวิธีด้วย สำหรับทาสแมวมือใหม่อาจเกิดข้อสงสัยว่า “แล้ววิธีการดูแลลูกแมวที่ถูกต้องเป็นอย่างไรกัน?” ซึ่งไอแอมส์ได้รวบรวมคำตอบและเทคนิคดี ๆ อีกมากมายมาให้แล้ว รับรองเลยว่าการดูแลลูกแมวแรกเกิดจะกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณเลยหล่ะ

 

อะไรคือเหตุผลที่การดูแลลูกแมวมีความสำคัญมาก?

การดูแลลูกแมวคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะเติบโตมาอย่างแข็งแรง ในช่วงวัยนี้พวกเค้ายังต้องปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ การอยู่เคียงข้างพวกเค้าจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

 

อะไรคือความหมายที่แท้จริงของการเลี้ยงดูลูกแมวให้เติบโต?

ลูกแมวตัวน้อยกลายเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวตั้งแต่วันแรกที่คุณพาพวกเค้าเข้าบ้าน แม้การเลี้ยงดูลูกแมวอาจเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับทาสแมวมือใหม่ แต่มันก็มีช่วงเวลาที่สนุกสนาน ซึ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคุณและเจ้าตัวน้อยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นได้

 

อะไรคือสิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวตัวน้อย?

สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลลูกแมวประกอบไปด้วยปัจจัยเหล่านี้:

  • การดูแลความสะอาด:

    การรักษาความสะอาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ควรทำความสะอาดเบาะนอน หรือพื้นที่ที่ลูกแมวอยู่เป็นประจำ
  • การให้อาหารคุณภาพดี:

    ลูกแมวต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเหมาะสม เราขอแนะนำอาหารแมวจากไอแอมส์™ ที่ได้รับการพัฒนาสูตรโดยสัตวแพทย์ และผลิตจากเนื้อไก่คุณภาพดี การเลือกอาหารที่ดีมีคุณภาพ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสมอง และเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • การตรวจสุขภาพเป็นประจำ:

    ควรพบสัตวแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามพัฒนาการและความประพฤติกรรมของลูกแมวอย่างใกล้ชิด
  • การทำความสะอาดขน:

    ควรฝึกพวกเค้าให้คุ้นเคยกับการทำความสะอาดขนตั้งแต่ยังเป็นลูกแมว โดยเฉพาะน้องแมวขนยาว

ตามติดพัฒนาการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย

สำหรับทาสแมวมือใหม่ คุณอาจไม่ทันสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยของเจ้าตัวน้อย แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้จากตารางต่อไปนี้:

พัฒนาการลูกแมว 0-2 สัปดาห์ (ช่วงแรกเกิด) 2-7 สัปดาห์ (ช่วงเข้าสังคม) 7-14 สัปดาห์ (ช่วงนักสำรวจ) 3-6 เดือน (ช่วงเรียนรู้ความสำคัญ) 6-18 เดือน (ช่วงวัยรุ่น)
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง เริ่มเคลื่อนไหวเข้าหาเสียงต่าง ๆ เรียนรู้ที่จะเข้าสังคม เป็นช่วงวัยที่ลูกแมวกระตือรือร้นมากที่สุด เป็นช่วงวัยที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากแม่แมวหรือพี่น้องในครอก เติบโตอย่างเต็มที่ในช่วงวัยนี้
  ตาของลูกแมวจะเปิดในช่วงนี้ ประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นและการได้ยินพัฒนาอย่างเต็มที่ในสัปดาห์ที่ 4 เริ่มแสดงความรักผ่านการกอดและการเลีย เริ่มทำความเข้าใจและจัดลำดับความสำคัญของผู้คนรอบตัว หากยังไม่ทำหมัน จะเริ่มแสดงพฤติกรรมทางเพศ
  หากลูกแมวถูกแยกออกจากแม่หรือพี่น้อง อาจมีแนวโน้มที่จะก้าวร้าวกับผู้คนและแมวตัวอื่น ๆ การมองเห็นพัฒนาอย่างเต็มที่ในสัปดาห์ที่ 5 และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถใช้อุ้งเท้า ปาก ในการจับสิ่งของได้ดีขึ้น    
    เริ่มเลียขนทำความสะอาดตัวเอง เริ่มเล่นไล่งับหางตัวเอง และกระโจนไปมา    
    เริ่มพัฒนานิสัยการนอน การเคลื่อนไหว และการโต้ตอบกับ      
    สิ่งต่าง ๆ รอบตัว      

เตรียมความพร้อมให้กับเจ้าลูกแมวตัวน้อย

  • ควรดูแลลูกแมวในแต่ละช่วงวัยอย่างไร?

    การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการดูแลลูกแมวคือการเปลี่ยนอาหาร แมวต้องการสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเพื่อมีสุขภาพที่ดี ทาสแมวควรเลือกอาหารคุณภาพดี เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนจากการให้อาหารสูตรลูกแมวมาเป็นสูตรแมวโตเต็มวัย
  • ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากลูกแมวไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม:

    หากลูกแมวถูกละเลย และขาดการดูแลเอาใจใส่ที่ดี พวกเค้าอาจเกิดภาวะซึมเศร้า และมีร่างกายอ่อนแอ รวมถึงมีโอกาสติดเชื้อโรคร้ายสูง หากไม่ได้รับการดูแลความสะอาด
  • มีวิธีการป้องกันอะไรบ้างที่สามารถนำมาใช้กับลูกแมวได้?

    ในช่วงวัยลูกแมว ควรพาพวกเค้าไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำ และหมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติอย่างใกล้ชิด
  • เคล็ดลับการดูแลสำหรับทาสแมวมือใหม่

    ตามมาดูเคล็ดลับดี ๆ ที่ทาสแมวมือใหม่ควรรู้กัน :
    • หลังต้อนรับลูกแมวเข้าบ้านแล้ว ควรฝึกให้ใช้กระบะทรายทันที
    • ให้เวลาพวกเค้าทำความคุ้นเคยกับพื้นที่ส่วนตัว
    • หากลูกแมวเริ่มมีพฤติกรรมงับมือ ให้พูดอย่างจริงจังว่า “ไม่” เพื่อให้พวกเค้ารู้ว่านี่คือสิ่งที่ไม่ควรทำ
    • ให้รางวัลลูกแมวทุกครั้งเมื่อพวกเค้าเชื่อฟังคำสั่ง เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีให้กับพวกเค้า

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลลูกแมว:

  1. ควรให้ลูกแมวนอนตรงไหนดีนะ?
  2. แนะนำให้ฝึกพวกเค้านอนบนเบาะของตัวเอง คุณอาจเตรียมผ้าห่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับพวกเค้า

  3. จะดูแลลูกแมวกำพร้าที่ปราศจากแม่แมวอย่างไร?
  4. การดูแลลูกแมวกำพร้าแม่ต้องใช้ความอดทนและความตั้งใจมาก เจ้าของต้องให้อาหารผ่านขวดนม โดยต้องให้กินนมสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะ รวมถึงช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และทำความสะอาดตัวพวกเค้าหลังขับถ่ายเสมอ

  5. อาหารที่ลูกแมวควรกินมีอะไรบ้าง?
  6. เมื่อลูกแมวมีอายุประมาณ 4 สัปดาห์ หรือเข้าสู่วัยหย่านม สามารถเปลี่ยนมาให้อาหารแมวไอแอมส์™ สูตรเพอร์เฟค พอร์ชันส์ คิทเท่น พรีเมียม เพท รสไก่ได้แล้ว นี่คือขั้นตอนที่ควรทำเมื่อลูกแมวของคุณเข้าสู่วัยหย่านม

    ขั้นที่หนึ่ง: เติมน้ำลงในจานทรงตื้นเพียงเล็กน้อย

    ขั้นที่สอง: ผสมอาหารแมวไอแอมส์™ กับน้ำที่เติมลงไป ทั้งนี้ควรเตรียมน้ำสะอาดแยกอีกชามให้พร้อม

    ขั้นที่สาม: เมื่อเวลาผ่านไป ให้เพิ่มปริมาณอาหารและลดปริมาณน้ำลง จนกว่าลูกแมวจะเริ่มกินอาหารเพียงอย่างเดียว

    ขั้นที่สี่: แนะนำให้เริ่มจากอาหารแมวไอแอมส์™ แบบเปียก สูตรโปรแอคทีฟ เฮลท์™ สำหรับลูกแมว ก่อนจะเปลี่ยนเป็นให้อาหารเม็ด

    หากทำตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว การเปลี่ยนอาหารให้ลูกแมวก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป และเพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่แข็งแรง แนะนำให้เลือกอาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ ที่พัฒนาสูตรโดยสัตวแพทย์ รับรองเลยว่าดีต่อสุขภาพเจ้าตัวน้อยที่คุณรักอย่างแน่นอน

     

  7. เราสามารถอาบน้ำให้ลูกแมวได้ตอนอายุเท่าไหร่?
  8. ลูกแมวเรียนรู้การเลียขนทำความสะอาดตัวเองเมื่อมีอายุ 2-4 สัปดาห์ แต่เพื่อทำความสะอาดอย่างเหมาะสม คุณสามารถอาบน้ำให้ลูกแมวได้เมื่อมีอายุอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องเพิ่มเติม

  • การรักษาโรคผิวหนังแมว
    การรักษาโรคผิวหนังแมว
    adp_description_block119
    การรักษาโรคผิวหนังแมว

    • แบ่งปัน

    ผิวหนังและเส้นขนเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของสุขภาพโดยรวมของแมว โดยลักษณะขนที่มีสุขภาพดีจะต้องสวยเงางามและไม่หยาบกระด้าง ส่วนผิวหนังจะต้องอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น ไม่มัน ไม่เป็นขุยหรือขรุขระ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับแมวจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิวหนังและเส้นขนที่ดี เช่นเดียวกับการดูแลขนและการอาบน้ำแมวเป็นประจำ

     

    เราสามารถดูแลสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การให้อาหารคุณภาพดีไปจนถึงการลงทุนซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลที่เหมาะสม การดูแลรักษาโรคผิวหนังของแมวก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก อ่านบทความของเราเพื่อทำความเข้าใจสภาพผิวหนังของแมว พร้อมเรียนรู้วิธีดูแลสุขภาพผิวหนังและเส้นขนให้แข็งแรง

     

    ลักษณะผิวหนังที่มีสุขภาพดี

    เนื่องจากแมวแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะขนต่างกัน ขนที่มีสุขภาพดีจึงมีลักษณะต่างกันด้วย เช่น

    • มีขนปกคลุมบาง ๆ เหมือนไร้ขน (แมวพันธุ์สฟิงซ์)

    • ขนหยิก หลุดร่วงเล็กน้อย (แมวพันธุ์เร็กซ์)

    • ขนสั้นและเรียบลื่น (แมวพันธุ์โอเรียนทัล)

    • แมวบ้านมักจะมีขนชั้นนอกสั้นและขนชั้นในที่อ่อนนุ่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่น

    • ขนยาว นุ่มและเรียบ แต่ขนพันกันง่าย

    สารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นขนของแมว

    เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย การดูแลผิวหนังจึงมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ โดยผิวของแมวส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยขนที่หลุดร่วงและขนที่งอกขึ้นมาใหม่ วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลรักษาสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวคือการให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล อาหารแมวที่ดีควรประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุคุณภาพสูงที่ย่อยได้ง่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้แมวได้รับพลังงานเพียงพอต่อความต้องการแล้ว มันยังช่วยให้ตับและไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

     

    กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 คือสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของลูกแมว สารอาหารสองชนิดนี้ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ควรมีอยู่ในอาหารแมว กรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น กรดอัลฟาไลโนเลนิก (ALA) และกรดไอโคซาเพนตะอิโนอิก (EPA) จะช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นขน รวมถึงช่วยรักษาระดับการซึมผ่านของน้ำในผิวหนังด้วย ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 6 เช่น กรดไลโนเลอิกและกรดอะราซิโดนิก จะช่วยให้เนื้อเยื่อบุผิวในร่างกายของแมวมีสุขภาพดี

     

    คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อค้นหาอาหารที่เหมาะกับช่วงวัยและความต้องการของแมวได้ หากพบว่าแมวผิวแห้ง มีขนหยาบกระด้างและหลุดร่วงมากผิดปกติ ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเพิ่มเติม

     

    วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมว

    วิตามินเป็นสารอาหารที่สำคัญ และแมวควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสม วิตามินที่สำคัญพบได้ในส่วนผสมหลายชนิดในอาหารแมว การกินอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าครบถ้วนและสมดุลจึงเป็นกุญแจสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดี สำหรับวิตามินที่แมวควรได้รับจากอาหารมีดังนี้

    1. วิตามินเอ – จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินเอช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันและการมองเห็น อย่างไรก็ตาม วิตามินเอในปริมาณมากอาจเป็นพิษต่อแมว ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ

    2. วิตามินซี – เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยสมานแผลและช่วยให้แมวใช้โปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    3. วิตามินดี – ช่วยกักเก็บฟอสฟอรัสและแคลเซียมในร่างกายของแมว เป็นที่รู้จักกันในนาม “วิตามินแสงแดด” เนื่องจากช่วยให้กระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาททำงานได้ดี

    4. วิตามินบี 1 (ไทอามีน) – จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายน้ำได้ มันมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบการเผาผลาญ รวมถึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการส่งกระแสประสาท

    5. วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) – ช่วยให้สลายคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เพื่อผลิตพลังงานและช่วยขนส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย วิตามินชนิดนี้ยังช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนังและเส้นขนอีกด้วย

    6. วิตามินบี 3 (ไนอะซิน) – เป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ซึ่งจะถูกกำจัดออกทางปัสสาวะ แมวควรได้รับวิตามินชนิดนี้เป็นประจำ มันช่วยเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และยังมีส่วนช่วยให้ผิวหนังของแมวแข็งแรง

    7. วิตามินบี 6 – ช่วยสลายไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเพื่อผลิตพลังงานและจ่ายออกซิเจนไปทั่วร่างกาย

    เช่นเดียวกับวิตามิน แร่ธาตุก็จำเป็นต่อร่างกายของแมวเช่นกัน มันช่วยส่งเสริมการสร้างเอนไซม์ การลำเลียงออกซิเจน การนำสารอาหารไปใช้ และการรักษาความสมดุลของความเป็นกรดด่าง (pH) โดยอาหารของแมวควรมีแร่ธาตุต่อไปนี้

    1. แคลเซียม

    2. ธาตุเหล็ก

    3. โซเดียม

    4. แมกนีเซียม

    5. คลอไรด์

    อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ

     

    โรคผิวหนังในแมวที่พบบ่อยและวิธีการรักษา

    โรคผิวหนังของแมวที่พบได้บ่อย เช่น เชื้อราในแมว แมวคันผิวหนัง ทำให้เกาหรือเลียมากผิดปกติ ผิวหนังมีรอยแดงและบวม ขนร่วง หรือคุณอาจพบว่าแมวผิวเป็นสะเก็ดและเป็นขุย ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณสามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการเกิดปัญหา

    1. ให้อาหารแมวคุณภาพดี

    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเลือกอาหารที่ดีที่สุดสำหรับแมว เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล วิธีนี้จะช่วยให้แมวได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวด้วย

    1. แปรงขนเป็นประจำ

    การแปรงขนเป็นประจำช่วยให้ผิวหนังและขนของแมวมีสุขภาพดีได้จริง มันช่วยป้องกันปัญหาขนสังกะตังและขนพันกันเป็นก้อน ปัญหาเหล่านี้มักจะทำให้แมวรู้สึกไม่สบายตัว ขนร่วง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ด้วย แนะนำให้เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะกับลักษณะขนของแมว เพื่อลดอาการระคายเคืองหรือความรู้สึกไม่สบาย

    1. อาบน้ำเพื่อรักษาสภาพผิวหนัง

    การอาบน้ำแมวไม่จำเป็นต้องทำบ่อย เนื่องจากแมวมีนิสัยชอบดูแลตัวเอง และส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบอาบน้ำ อย่างไรก็ตาม หากแมวเริ่มเกาตัวบ่อยขึ้นหรือเนื้อตัวเริ่มสกปรก ควรอาบน้ำให้พวกเค้าด้วยแชมพูที่ออกแบบมาเพื่อแมวโดยเฉพาะ ไม่แนะนำให้ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยเนื่องจากเป็นพิษต่อผิวหนังและขนของแมว ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการอาบน้ำแมวและการเลือกแชมพูที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้

    1. ป้องกันเห็บหมัด

    การติดเชื้อเห็บหมัดเป็นปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดในแมว และควรได้รับการรักษาทันที การติดเชื้ออาจทำให้แมวคันผิวหนัง แมวอาจเกาและเลียตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักจะทำให้เกิดบาดแผลหรือขนร่วงเป็นหย่อม

    1. จัดการกับความเครียด

    หากแมวมีอาการวิตกกังวลและเครียดอย่างรุนแรง พวกเค้ามักจะเลียขนบ่อยจนผิดปกติ พฤติกรรมนี้อาจทำให้ขนร่วงเป็นจำนวนมาก นอกจากจะส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ความเครียดและความวิตกกังวลยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว หากพบว่าแมวเลียตัวบ่อยเกินไป แนะนำให้พาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายเพิ่มเติม

     

    สภาพผิวหนังของแมวมักเป็นสัญญาณของความไม่สมดุลในร่างกาย หากคุณสังเกตสัญญาณเตือนของโรคผิวหนังในแมว เช่น เชื้อราในแมว แมวผิวแห้ง ผิวหนังบวมและแดง แมวผิวเป็นสะเก็ดหรือเป็นขุย ขนร่วงและหยาบกระด้าง ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบและรับการรักษาอย่างเหมาะสม