IAMS TH
dog article
dog article

adp_description_block372
การควบคุมน้ำหนักมาตรฐานของสุนัข

  • แบ่งปัน

เช่นเดียวกันกับคน ปัญหาน้ำหนักเกินเป็นต้นเหตุของโรคร้ายมากมายในสุนัข โดยสาเหตุหลักมาจากการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ และการให้อาหารปริมาณที่มากเกินไป หากคุณพบว่าน้องหมามีน้ำหนักตัวขึ้น โดยที่ให้อาหารปริมาณเท่าเดิม และออกกำลังเป็นประจำ นั่นอาจเป็นผลข้างเคียงจากความผิดปกติของฮอร์โมน ทั้งนี้น้องหมาที่มีน้ำหนักเกินอาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ กระดูกเสื่อม ข้อต่ออักเสบ และโรคร้ายอีกมากมาย เราจึงควรดูแลให้พวกเค้ามีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม 

 

ทำความเข้าใจมาตรฐานน้ำหนักของน้องหมากันก่อน

มาดูกันว่าเจ้าตัวน้อยของคุณอยู่ระดับไหนในตารางน้ำหนักนี้



Weight Management — Laytonsville Veterinary Practice

 

 








 

น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์: คุณสามารถสังเกตเห็นกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานของพวกเค้าได้อย่างชัดเจน ไม่มีไขมันส่วนเกินปกคลุมส่วนไหนของร่างกาย พวกเค้าอาจมีภาวะกล้ามเนื้อลีบ

น้ำหนักมาตรฐาน: คุณสามารถคลำเจอกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานได้โดยง่าย เห็นเอวได้อย่างชัดเจนเมื่อมองจากด้านบนและด้านข้าง สำหรับน้องหมาขนสั้นอาจสังเกตเห็นกระดูกซี่โครงบางส่วน ในขณะที่พวกเค้าบิดตัว วิ่งเล่น หรือออกกำลังกาย 

น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์: น้องหมาที่มีน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์ คือมีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักมาตรฐาน 10 - 20 % คลำเจอกระดูกซี่โครงได้ยาก มีไขมันส่วนเกินปกคลุมบริเวณท้องและหาง แผ่นหลังนูนและกว้างขึ้น แนะนำให้จัดตารางออกกำลังกายเพื่อกำจัดน้ำหนักส่วนเกินออกไป

ภาวะอ้วน: น้องหมาที่มีภาวะอ้วน คือมีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักมาตรฐาน 20% ขึ้นไป คลำไม่พบกระดูกซี่โครงเพราะมีไขมันปกคลุม บริเวณคอและท้องห้อยย้อยอย่างเห็นได้ชัด

 

วิธีการชั่งน้ำหนักน้องหมา

หากคุณเลี้ยงน้องหมาพันธุ์เล็ก คุณสามารถชั่งน้ำหนักให้พวกเค้าได้เองที่บ้าน ด้วย 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

ขั้นที่หนึ่ง – เริ่มจากชั่งน้ำหนักตัวคุณเองก่อน พร้อมจดน้ำหนักเอาไว้

ขั้นที่สอง – อุ้มน้องหมาขึ้นมาด้วยความระมัดระวัง ขึ้นชั่งน้ำหนักอีกครั้ง พร้อมจดน้ำหนักเอาไว้

ขั้นที่สาม – คำนวณน้ำหนักของน้องหมา ด้วยการลบน้ำหนักตัวคุณออกจากน้ำหนักที่ชั่งพร้อมกับน้องหมา

วิธีการนี้ไม่เหมาะสำหรับน้องหมาพันธุ์กลางและใหญ่ เพราะขนาดตัวทำให้อุ้มได้ยาก และเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แนะนำให้ไปพบสัตวแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสมและปลอดภัย

 

บทสรุปที่สำคัญในการดูแลน้ำหนักตัวของน้องหมา

คุณสามารถดูแลน้องหมาที่คุณรักให้มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐานได้ง่าย ๆ หากปฏิบัติตามคำแนะนำ และขั้นตอนที่สำคัญดังต่อไปนี้ 

 

หลีกเลี่ยงการให้อาหารปรุงเองกับน้องหมา

น้องหมาจะมีสุขภาพดีเมื่อมีการควบคุมปริมาณอาหารอย่างเหมาะสม และถูกฝึกให้กินอาหารตรงเวลา ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารปรุงเอง เพราะพวกเค้ามีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างจากคน และมันอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้องหมามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

 

เลือกอาหารคุณภาพดีและเหมาะสม

มีอาหารสุนัขมากมายให้เราได้เลือกซื้อกันในท้องตลาด ซึ่งมีส่วนประกอบและสารอาหารที่แตกต่างกันไป แต่หากคำนึงถึงเรื่องการควบคุมน้ำหนักเป็นสำคัญ อาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรควบคุมน้ำหนักสำหรับสุนัขโตเต็มวัย และอาหารสุนัขไอแอมส์™ เฮลท์ตี้ เนเชอรัล™ สูตรควบคุมน้ำหนัก รสไก่ คือตัวเลือกที่ดีสำหรับน้องหมา

 

งดการแบ่งอาหารให้น้องหมา

ด้วยความน่ารักและสายตาที่ออดอ้อนของเจ้าตัวน้อย อาจทำให้เราเผลอตัวแบ่งเบคอนแสนอร่อยหรือเนื้อชิ้นโตให้กับพวกเค้าได้อย่างง่ายดาย แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะอดทนกับการอ้อนที่แสนน่ารัก แต่เราต้องทำให้ได้ เพราะการแบ่งอาหารที่เรากิน คือการเพิ่มปริมาณไขมันให้น้องหมา และส่งเสริมให้พวกเค้าติดนิสัยขอกินอาหารตลอดเวลา

 

ออกกำลังกายเป็นประจำ

อีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมน้ำหนักตัวของน้องหมา หากคุณมีตารางเวลาที่ยุ่งวุ่นวาย อาจแบ่งเวลาบางช่วงมาชวนน้องหมาเล่นเกมสนุก ๆ อย่างชักเย่อ หรือพากันไปวิ่งจ๊อกกิ้งระยะสั้น ๆ แต่หากมีเวลามากขึ้น อาจชวนพวกเค้าเล่นคาบจานร่อน หรือฝึกเคลื่อนไหวข้ามสิ่งกีดขว้าง ทั้งนี้น้องหมาที่ไม่ได้ออกกำลังอย่างเหมาะสม อาจมีแนวโน้มให้เกิดภาวะเครียดได้

 

ควบคุมปริมาณขนมในแต่ละวัน

แน่นอนว่าเมื่อน้องหมาเป็นเด็กดีเชื่อฟัง เราก็ต้องอยากให้รางวัลเป็นขนมแสนอร่อย ซึ่งสามารถทำได้แต่ต้องระมัดระวังปริมาณแคลอรี่และไขมันที่อาจมากเกินความต้องการด้วย จึงควรเลือกชนิดของขนมและควบคุมปริมาณอย่างเหมาะสม

 

หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลง

โดยส่วนใหญ่ปัญหาน้ำหนักเกิน เกิดจากการกินที่มากกว่าการเบิร์นออก แต่หากควบคุมอาหารแล้ว ออกกำลังกายเป็นประจำก็แล้ว แต่น้ำหนักตัวของน้องหมายังไม่ลดลง แนะนำให้พาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กโรคไทรอยด์ เช็กการทำงานของระบบเผาผลาญ หรือความผิดปกติฮอร์โมนอื่น ๆ เพิ่มเติม

ทั้งนี้อย่าเพิ่งหมดกำลังใจกันไปก่อน หากการลดน้ำหนักจะไม่เห็นผลในทันที การต่อสู้กับโรคอ้วนต้องอาศัยการปลูกฝังนิสัยการกินที่ดี และมีวินัยในการออกกำลังกาย หากคุณทำตามคำแนะนำข้างต้นด้วยความตั้งใจและอดทนแล้ว การคุมน้ำหนักให้น้องหมาก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายไปเลยหล่ะ

 

คุณประโยชน์ของอาหารสุนัขไอแอมส์™

การลดน้ำหนักน้องหมาควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำตามขั้นตอนอย่างเหมาะสม และเพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ควรให้อาหารที่มีไขมันต่ำอย่างอาหารสุนัขไอแอมส์™ สูตรควบคุมน้ำหนัก ที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดี รวมถึงควรพาพวกเค้าออกกำลังกายเป็นประจำด้วย

อาหารสุนัขไอแอมส์™ อัดแน่นด้วยคุณประโยชน์ดังต่อไปนี้

  1. ผลิตจากเนื้อไก่คุณภาพดี มีปริมาณไขมันน้อยลงถึง 17% ซึ่งมีส่วนช่วยให้ควบคุมน้ำหนักของน้องหมาได้เป็นอย่างดี
  2. มีส่วนผสมของแอล – คาร์นิทีน ที่เป็นตัวช่วยในการเกิดออกซิเดชันของไขมัน และมีส่วนช่วยให้น้องหมากลับมามีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
  3. แอล – คาร์นิทีน ยังช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบเผาผลาญอีกด้วย
  4. อาหารสุนัขไอแอมส์™ ผ่านการพัฒนาสูตรโดยสัตวแพทย์ เพื่อให้ตอบโจทย์สุนัขทุกสายพันธุ์ รวมถึงมีส่วนผสมของไฟเบอร์คุณภาพดี พรีไบโอติก และบีทพัลพ์ ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยและขับถ่าย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก

  1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้องหมามีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม?
  2. หากน้องหมาของคุณมีน้ำหนักตามมาตรฐาน คุณจะสังเกตเห็นเอวได้อย่างชัดเจน แต่หากมองจากด้านบนแล้วพบว่าเอวหาย  หรือบริเวณเอวและสะโพกใหญ่มาก จนมองเห็นเป็นทรงกลม นั่นแปลว่าพวกเค้ามีน้ำหนักเกินแล้ว ทั้งนี้คุณสามารถเทียบลักษณะต่าง ๆ ของน้องหมาเพิ่มเติมได้จากตารางน้ำหนักข้างต้น

  3. หากสัมผัสเจอกระดูกสันหลังของน้องหมาถือเป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่?
  4. หากน้องหมาของคุณมีน้ำหนักตามมาตรฐาน คุณจะสามารถคลำเจอกระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงของพวกเค้าได้ แต่หากสามารถมองเห็นกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง และเอวคอดได้อย่างชัดเจน นั่นหมายความว่าน้องหมาของคุณกำลังขาดสารอาหาร และต้องเพิ่มน้ำหนักตัว

  5. การพาน้องหมาไปเดินเล่นช่วยลดน้ำหนักได้หรือไม่?
  6.   ได้อย่างแน่นอน การเดินเล่นเป็นวิธีออกกำลังกายที่ดี และช่วยลดน้ำหนักได้

  7. ทำไมน้องหมากินน้อยแต่มีปัญหาน้ำหนักเกิน?
  8. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอาจไม่ได้เกิดจากปริมาณอาหารที่กินเสมอไป มันอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเผาผลาญอาหาร หรือความผิดปกติของฮอร์โมนได้เช่นกัน

  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block13
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน