

adp_description_block302
คู่มือการดูแลและการเลี้ยงดูลูกสุนัข
- แบ่งปัน
-
Opens a new window
ลูกสุนัขตัวเล็กพร้อมนำความสุขมาให้พวกเราตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้าบ้าน และการดูแลพวกเค้าอย่างดีก็กลายเป็นนิสัยติดตัวของเรา เชื่อว่าเจ้าของหลาย ๆ คนอาจมีคำถามว่า “เราควรดูแลลูกสุนัขอย่างไรดี?” บอกได้เลยว่าการดูแลลูกสุนัขนั้นแสนง่ายดาย หากรู้วิธีที่ถูกต้อง ซึ่งไอแอมส์ได้รวบรวมคำตอบและเทคนิคดี ๆ อีกมากมายมาให้คุณแล้ว
ทำไมลูกสุนัขถึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ?
เจ้าตัวน้อยสี่ขาต้องการอาหารที่ดีมีคุณภาพ และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพราะพวกเค้าช่างเปราะบาง มีโอกาสเจ็บป่วยและติดโรคร้ายได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีนิสัยชอบเคี้ยวสิ่งของต่าง ๆ จึงต้องคอยระมัดระวังไม่ให้กลืนสิ่งของอันตรายลงท้อง และควรจัดเตรียมของเล่นสำหรับกัดแทะไว้ให้พวกเค้าแทน
การดูแลโภชนาการ และการฝึกอย่างเหมาะสมในช่วงวัยลูกสุนัข ส่งผลต่อสุขภาพของพวกเค้าอย่างไรบ้าง?
หากเลือกให้อาหารคุณภาพดีตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข พวกเค้าก็จะเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย การดูแลโภชนาการอย่างเหมาะสมเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี มันช่วยลดความเสี่ยงในการล้มป่วยและการมีปัญหาสุขภาพลง นอกจากนี้ควรพาน้องหมาไปออกกำลังกายเป็นประจำ หากไม่ได้ออกกำลังหรือไม่ทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเลย อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ ซึ่งทั้งสองข้อนี้คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืน
ตามติดพัฒนาการของลูกสุนัขในแต่ละช่วงวัย
ตารางพัฒนาการนี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยของเจ้าตัวน้อยที่แสนน่ารักได้ดียิ่งขึ้น:
พัฒนาการลูกสุนัข |
0-7 สัปดาห์ |
7-8 สัปดาห์ |
8-10 สัปดาห์ |
8-16 สัปดาห์ |
4-6 เดือน |
6-12 เดือน |
12-18 เดือน |
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง |
ลูกสุนัขเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม เช่น การกัด การยอมจำนน การให้ความสนใจ และการโต้ตอบกับน้องหมาตัวอื่น |
เป็นช่วงวัยที่ดีที่สุดในการเชื่อมความสัมพันธ์กับเจ้าของ |
ถือเป็นช่วงเวลาที่ลูกสุนัขอ่อนแอที่สุด อาจเรียกอีกอย่างว่า 'ช่วงเวลาแห่งความกลัว' เป็นการดีที่สุดหากช่วยให้ลูกสุนัขมีประสบการณ์เชิงบวก |
สามารถเริ่มฝึกทักษะต่าง ๆ ได้แล้วในช่วงนี้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษขณะฝึก |
ลูกสุนัขจะมีความมั่นใจ และต้องการอิสระมากขึ้น |
เป็นช่วงเวลาในการปลดปล่อยพลังงาน ควรจัดหากิจกรรมมาให้พวกเค้าทำแก้เบื่อด้วยนะ |
เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยนี้ ลูกสุนัขจะเริ่มมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคงขึ้น |
เริ่มฝึกทักษะขั้นพื้นฐานให้พวกเค้าได้แล้ว |
ควรปลอบโยนเวลาที่พวกเค้ารู้สึกกลัวหรือเสียใจ |
สามารถทำหมันได้เมื่อมีอายุ 6 เดือน |
ควรเตรียมของเล่นที่หลากหลายไว้ให้พร้อม |
ในช่วงนี้ น้องหมาจะพยายามขึ้นเป็นจ่าฝูง และพยายามยืนยันสถานะของตัวเอง |
เคล็ดลับการดูแลสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง
การต้อนรับลูกสุนัขมาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัว ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องจัดการหลังพาพวกเค้าเข้าบ้านแล้ว และนี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้การดูแลนั้นง่ายขึ้น:
- เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ชามสแตนเลส ชามอาหาร ชามน้ำ
- เตรียมเบาะนอนและผ้าห่มเพิ่มความอบอุ่น
- ให้เวลาพวกเค้าได้ปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ
- เริ่มต้นก้าวแรกอย่างดีด้วยการเลือกอาหารคุณภาพเยี่ยมให้พวกเค้า
- เตรียมปลอกคอพร้อมป้ายชื่อที่มีข้อมูลติดต่อของคุณให้เรียบร้อย
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัขตัวน้อย:
- การดูแลลูกสุนัขแรกเกิดที่ถูกต้องควรทำอย่างไร?
- สิ่งที่สำคัญและถือเป็นการดูแลขั้นพื้นฐาน คือการจัดหาน้ำสะอาด โภชนาการที่เหมาะสม และการนอนหลับที่ดี
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย
- รับมือกับความต้องการทางจิตวิทยา อย่างการฝึกเข้าสังคม
- ทำอย่างไรให้ลูกสุนัขแรกเกิดมีสุขภาพที่แข็งแรง?
- ควรเริ่มฝึกลูกสุนัขตอนไหนดีนะ?
- สิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากรับเลี้ยงลูกสุนัขคืออะไร?
- ฝึกให้น้องหมาทำความคุ้นเคยกับพื้นที่สำหรับขับถ่าย หากพวกเค้าขับถ่ายถูกต้องก็อย่าลืมให้รางวัลด้วยนะ
- เตรียมพื้นที่พักผ่อนพร้อมของเล่น และอุปกรณ์ที่จำเป็น และปล่อยให้พวกเค้าทำความคุ้นเคย แต่ถ้าน้องหมาเริ่มกัดแทะสิ่งของ หรือฉี่ทับ ให้รีบย้ายข้าวของออกมาในทันที
- สังเกตพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อยเมื่ออยู่ในพื้นที่ส่วนตัว แม้จะอยู่ในช่วงปรับตัวกับพื้นที่ใหม่ แต่คุณสามารถชวนพวกเค้าเล่นสนุกด้วยได้นะ
ในฐานะเจ้าของ คุณต้องเรียนรู้วิธีการดูแล และคำนึงถึงปัจจัยสำคัญเหล่านี้:
แนะนำให้ทำความสะอาดพื้นที่อยู่อาศัยของลูกสุนัขเป็นประจำ ฉีดวัคซีนให้ครบตามการนัดหมายของสัตวแพทย์ หมั่นสังเกตพฤติกรรมและความผิดปกติที่เกิดขึ้น คุณสามารถให้ขนมที่ดีต่อสุขภาพกับพวกเค้าได้ด้วยเช่นกัน
สามารถเริ่มต้นด้วยการฝึกขั้นพื้นฐานโดยใช้คำสั่ง เช่น “นั่ง”, “นอนราบ” และ “อยู่นิ่ง” ได้ เมื่อลูกสุนัขมีอายุประมาณ 7 สัปดาห์ ทั้งนี้คุณควรตั้งชื่อให้พวกเค้าตั้งแต่วันแรกที่เจอ เพื่อทำให้พวกเค้าสนใจเมื่อถูกเรียกชื่อ และมีส่วนช่วยให้การฝึกง่ายขึ้นอีกด้วย สุดท้ายนี้ การฝึกลูกสุนัขไม่ควรใจร้อน แต่ควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป
แนะนำให้กำหนดตารางเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้พวกเค้า หรือทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:
adp_related_article_block35 383 สุนัขของคุณอาจะชอบสิ่งนี้
- adp_description_block464มารู้จักว่าสุนัขของคุณกินอะไร และ ให้อาหารสุนัขของคุณอย่างไร
- แบ่งปัน
-
Opens a new window
การเลือกอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุลให้น้องหมาไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คุณคิด! มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่า อะไรคืออาหารที่ใช่สำหรับน้องหมา ปริมาณอาหารที่จำเป็นในแต่ละวัน รวมไปถึงวิธีการให้ขนม และอาหารเสริมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
-
เราควรเลือกอาหารให้น้องหมาอย่างไร?
เมื่อพูดถึงเรื่องการเลือกอาหารที่ใช่สำหรับน้องหมาแล้ว เราควรพิจารณาจาก 3 ปัจจัยดังต่อไปนี้
- ช่วงวัยของน้องหมา
- กิจวัตรประจำวัน (หรือการออกกำลังกาย)
- เงื่อนไขด้านสุขภาพ (สุขภาพโดยรวมและน้ำหนักตัว)
-
เราควรให้อาหารน้องหมากี่มื้อในหนึ่งวัน?
หากเป็นลูกสุนัขในวัยหย่านม (อายุ 3 – 6 สัปดาห์) ควรให้อาหารพวกเค้า 3 มื้อต่อวัน เมื่อมีอายุครบ 4 เดือน ให้ลดลงเหลือเพียง 2 มื้อต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนมื้ออาหารของน้องหมาส่วนใหญ่ แต่ก็มีน้องหมาบางส่วนที่สามารถกินอาหารเพียงวันละ 1 มื้อได้
-
ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับน้องหมาคือเท่าใด?
ปริมาณอาหารที่น้องหมาควรได้รับจะขึ้นอยู่กับอายุ ขนาดตัว และกิจวัตรประจำวันของพวกเค้า หรือจะเลือกให้อาหารตามตารางแนะนำที่ระบุไว้บนซองอาหารสุนัขทุกซองของไอแอมส์™ ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณอาหารตามความต้องการของน้องหมาได้ และอย่าลืมแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสมหากคุณให้อาหารพวกเค้ามากกว่า 1 ครั้งต่อวัน
-
ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกสุนัขตัวน้อยคือเท่าใด?
การกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกสุนัข จะพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลักดังนี้ สายพันธุ์ น้ำหนักตัว และช่วงวัย หรือเลือกให้อาหารตามตารางแนะนำดังต่อไปนี้
ลูกสุนัข
น้ำหนักตัว (กก.)
ปริมาณอาหารที่แนะนำต่อวัน
<3 เดือน 3-6 เดือน 6-9 เดือน 9-12 เดือน 12-18 เดือน
พันธุ์ทอย
1-3
15-72
32-83
37-83
3-5
33-106
72-121
83-121
พันธุ์เล็ก
(25-50)
5-8
48-151
106-172
111-172
111-170
เปลี่ยนมาให้อาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™สำหรับสุนัขโตเต็มวัย
8-10
69-178
151-204
170-204
170-201
พันธุ์กลาง
10-20
82-299
178-343
201-343
201-339
20-25
137-346
339-404
339-404
339-404
พันธุ์ใหญ่
25-40
136-492
346-575
404-575
396-575
396-563
40-50
191-509
493-675
575-681
563-681
553-676
อาหารปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงาน 390 กิโลแคลอรี่ นอกจากปริมาณอาหารที่ควรใส่ใจแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วยนะ
-
เราควรเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตเต็มวัยเมื่อไหร่?
ไม่แนะนำให้เปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน เพราะอาจส่งผลเสียต่อท้องน้อย ๆ ของลูกสุนัขได้ ควรให้เวลาพวกเค้าได้ปรับตัว และทำความคุ้นเคยกับอาหารใหม่กันก่อน สำหรับการกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสม และวิธีการเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตเต็มวัยอย่างถูกวิธี เจ้าของสามารถทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
- วันที่หนึ่ง – ผสมอาหารสูตรลูกสุนัข 75% เข้ากับอาหารสูตรสุนัขโต 25%
- วันที่สอง – ผสมอาหารทั้งสองสูตรในปริมาณที่เท่ากัน หรือในสัดส่วน 50-50
- วันที่สาม – เพิ่มปริมาณอาหารสูตรสุนัขโตเป็น 75% และลดปริมาณอาหารสูตรลูกสุนัขลงเหลือ 25%
- วันที่สี่ – เปลี่ยนมาให้อาหารสูตรสุนัขโต 100%
ตารางน้ำหนักตัวและช่วงวัยที่แนะนำสำหรับการเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรสุนัขโตเต็มวัย
ตารางน้ำหนัก
ช่วงวัยที่เริ่มเปลี่ยนสูตรอาหารได้
สุนัขพันธุ์เล็กที่มีน้ำหนัก < 20 ปอนด์
9 - 12 เดือน
สุนัขพันธุ์กลางที่มีน้ำหนัก 20 ถึง 50 ปอนด์
12 - 14 เดือน
สุนัขพันธุ์ใหญ๋ที่มีน้ำหนักมากกว่า 50 ปอนด์ขึ้นไป
12 - 24 เดือน
-
เราควรเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขสูงวัยเมื่อไหร่?
น้ำหนักตัวคือปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องเปลี่ยนอาหารจากสูตรสุนัขโตเต็มวัยมาเป็นสูตรสุนัขสูงวัย เรามาดูตารางแนะนำที่จะช่วยให้การเปลี่ยนอาหารเป็นไปอย่างถูกต้องกันได้เลย
ตารางน้ำหนัก
ช่วงวัยที่เริ่มเปลี่ยนสูตรอาหารได้
น้ำหนักมากกว่า 90 ปอนด์ขึ้นไป
5 ปี
51 - 90 ปอนด์
6 ปี
21 - 50 ปอนด์
7 ปี
น้ำหนัก 20 ปอนด์ขึ้นไป
7 ปี
-
วิธีใดดีที่สุดในการแนะนำอาหารสูตรใหม่ให้น้องหมา?
การปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปคือกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนอาหารให้น้องหมา ช่วงแรกควรให้อาหารในอัตราส่วนต่อไปนี้ อาหารเก่า 75% อาหารใหม่ 25% และหลังจากนั้น 3 วัน ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารใหม่ และลดปริมาณอาหารเก่าลง
-
เราควรให้อาหารสุนัขที่มีน้ำหนักเกินอย่างไรจึงจะเหมาะสม?
หากน้องหมาของคุณมีปัญหาน้ำหนักเกิน แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง และเพิ่มความถี่ในการออกกำลังกาย หรือเลือกอาหารสุนัขแบบเม็ดจากไอแอมส์™ ที่มีไขมันต่ำ สารอาหารครบถ้วน มีส่วนผสมของเส้นใยอาหารและพรีไบโอติก ซึ่งมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยและขับถ่ายดี รวมถึงมี แอล – คาร์นิทีน ช่วยเสริมการทำงานของระบบเผาผลาญ นอกจากคุณภาพอาหารแล้ว ปริมาณอาหารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับน้องหมาที่มีน้ำหนักเกิน ต้องมั่นใจว่าให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ไม่ลดน้อยจนทำให้ขาดสารอาหารอย่างโปรตีนและกรดไขมันที่จำเป็น
-
เราควรให้อาหารแม่สุนัขที่กำลังตั้งท้องอย่างไร?
แม่สุนัขที่กำลังตั้งท้องต้องการสารอาหารแตกต่างจากสุนัขทั่วไป แนะนำให้เลือกอาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สำหรับแม่และลูกสุนัข ที่อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพดี ช่วยให้คุณแม่สี่ขามีร่างกายแข็งแรงและมีน้ำนมที่ดีสำหรับลูกตัวน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลก
-
จำเป็นต้องให้อาหารทั้งแบบเม็ดและแบบเปียกกับน้องหมาหรือไม่?
อาหารสุนัขแบบเปียกคือที่สุดของความอร่อยสำหรับเจ้าตัวน้อย จะให้เพียงอย่างเดียวหรือผสมกับอาหารเม็ดเพิ่มความฟินด้วยก็ได้ แนะนำให้ลองกันเลยสำหรับอาหารสุนัขแบบเปียกจากไอแอมส์™ ที่อัดแน่นไปด้วยสารอาหารครบถ้วนและสมดุล มาพร้อมรสชาติความอร่อยที่ถูกใจ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเสิร์ฟอาหารเปียกทุกมื้อ สามารถสลับกับการให้อาหารเม็ดจากไอแอมส์™ เป็นบางมื้อก็ได้ เพราะอาหารสุนัขของเรามีโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่ เนื้อแกะ และเนื้อปลา อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้เม็ดอาหารยังมีเนื้อสัมผัสที่เหมาะกับการขัดฟัน ช่วยให้น้องหมามีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดี รวมถึงช่วยลดการสะสมของคราบหินปูนได้อีกด้วย
-
น้องหมาจะเบื่อหรือไม่ หากต้องกินอาหารเดิม ๆ เป็นประจำทุกวัน?
น้องหมาแตกต่างจากนิสัยของคน น้องหมามักไม่มีอาการเบื่ออาหาร หรือเบื่อที่ต้องกินอาหารเดิม ๆ โดยทั่วไปแล้วพวกเค้ากินอาหารเพื่อเพิ่มพลังงานและรับสารอาหารที่จำเป็นเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น นอกจากนี้พวกเค้ายังมีระบบย่อยอาหารที่สั้นมาก การเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหันจึงส่งผลเสียกับท้องน้อย ๆ ของพวกเค้า และการเปลี่ยนอาหารบ่อย ๆ ยังส่งเสริมให้พวกเค้ามีนิสัยเลือกกินอีกด้วย
-
เราสามารถเติมน้ำลงในอาหารแบบเม็ดได้หรือไม่?
การเติมน้ำไม่ทำให้คุณค่าทางโภชนาการของอาหารเปลี่ยนแปลงไป แต่แนะนำให้น้องหมากินอาหารในทันที เพื่อป้องกันการเน่าเสีย ขอแนะนำอาหารเม็ดจากไอแอมส์™ ที่ทั้งเอร็ดอร่อยและมีส่วนช่วยให้น้องหมาของคุณมีสุขภาพช่องปากที่ดี ลองเลยวันนี้!
-
น้องหมากินอาหารแมวได้หรือไม่?
น้องหมาและน้องแมวต้องการสารอาหารแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น น้องแมวต้องการกรดอะมิโนอย่างทอรีนสูงกว่าน้องหมา จึงไม่แนะนำให้กินอาหารชนิดเดียวกัน การกินอาหารแมวเป็นครั้งคราวอาจไม่เป็นอันตราย แต่ก็ไม่แนะนำให้น้องหมากินเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลเสียกับร่างกายของพวกเค้าได้
-
ในหนึ่งวัน เราสามารถให้ขนมบิสกิตกับน้องหมาได้มากน้อยเท่าใด?
ปริมาณที่แนะนำคือ 2-4 ชิ้นต่ออาหารหนึ่งถ้วยตวง ทั้งนี้การให้ขนมคือการเพิ่มปริมาณแคลอรี่ จึงควรปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสมต่อความต้องการในแต่ละวัน รวมถึงควรเช็กปริมาณแคลอรี่ของขนมให้ดีก่อน เพราะขนมแต่ละชนิดมีขนาดและปริมาณแคลอรี่ที่แตกต่างกัน
-
เราสามารถให้อาหารเสริมที่เป็นวิตามิน แร่ธาตุ หรือกรดไขมันนอกเหนือจากอาหารสุนัขได้หรือไม่?
อาหารสุนัขของไอแอมส์™ อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล การเพิ่มอาหารเสริมเข้าไปอาจทำให้พวกเค้าได้รับสารอาหารเกินความจำเป็น การเลือกให้อาหารคุณภาพดี มีสารอาหารจำเป็นและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็สามารถช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้แล้ว
-
ทำไมน้องหมาจึงจำเป็นต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม?
โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญและควรเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารสุนัข เพราะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง รวมถึงช่วยให้มีสุขภาพผิวหนังที่ดีและขนนุ่มเงางามอีกด้วย
-
ทำไมจึงควรให้อาหารน้องหมาตรงเวลา?
ควรให้อาหารตรงเวลาทุกวันและฝึกให้กินแค่ในช่วงเวลานั้น เพื่อหลีกเลี่ยงนิสัยขอกินอาหารตลอดเวลา
-
อาหารต้องห้ามที่ไม่ควรให้น้องหมากินมีอะไรบ้าง?
ไม่ควรให้น้องหมากินขนมอบ ลูกอม หมากฝรั่ง ช็อกโกแลต มะนาว หัวหอม และองุ่น ทั้งหมดนี้อาจเป็นอันตรายกับระบบย่อยอาหารของพวกเค้า และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้
-
ทำไมจึงควรเลือกอาหารสุนัข ไอแอมส์™ ให้กับน้องหมามากกว่าการให้อาหารปรุงเอง?
อาหารสุนัข ไอแอมส์™ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของน้องหมา นอกจากนี้ยังผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไก่ เนื้อปลา กรดไขมัน บีทพัลพ์สูตรเฉพาะ ธัญพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และพรีไบโอติกจากธรรมชาติ
-
ฉันจะเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการของสัตว์เลี้ยงเพิ่มเติมผ่านช่องทางใดได้บ้าง?
หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโภชนาการของสัตว์เลี้ยง สามารถติดต่อเราได้ที่นี่
adp_related_article_block357 270 แมวของคุณอาจะชอบสิ่งนี้