IAMS TH
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health

adp_description_block448
เรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงลูกแมวให้มีสุขภาพดี

  • แบ่งปัน

ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าบรรดาลูกแมวตัวน้อยมอบความสุขและเสียงหัวเราะไม่รู้จบมาให้เราทุกครอบครัว ดังนั้นเพื่อตอบแทนความรักของพวกเค้า เจ้าของจำเป็นต้องทำความเข้าใจวิธีดูแลและข้อควรระวังต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแมว อย่างเรื่องอาหารการกิน ลูกแมวมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง พวกเค้าควรได้รับอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล รวมถึงควรได้รับการดูแลความสะอาด ตัดแต่งขน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พวกเค้าแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ โดยคุณสามารถอ่านคำแนะนำและเทคนิคในการดูแลลูกแมวให้เติบโตเป็นแมวโตเต็มวัยที่มีความสุขและมีสุขภาพดีได้ในบทความนี้

สิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวให้มีสุขภาพดี

ทาสแมวมือใหม่หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าควรดูแลลูกแมวอย่างไรให้แข็งแรงและมีความสุข ต้องบอกก่อนเลยว่าการดูแลลูกแมวอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในช่วงแรก แต่ถ้ารู้วิธีที่ถูกต้องแล้ว ทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน เพื่อช่วยให้การดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณง่ายขึ้น คำแนะนำเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรรู้

  1. รักษาความสะอาด – การอาบน้ำและแปรงขนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลลูกแมวให้แข็งแรง วิธีนี้จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยแนะนำให้เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ออกแบบมาเพื่อลูกแมวโดยเฉพาะ และควรเช็ดตัวให้แห้งทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ
  2. ให้อาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน – ลูกแมวมีความต้องการทางโภชนาการที่เฉพาะเจาะจง จึงควรเลือกให้อาหารที่มีคุณภาพสูงและมีสารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะ เพื่อให้เสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม
  3. ฝึกการเข้าสังคม – แมวก็เป็นสัตว์สังคมเช่นเดียวกันกับเรา เจ้าของควรเปิดโอกาสให้พวกเค้าได้ทำความรู้จักผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเค้าพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและป้องกันปัญหาของพฤติกรรมในอนาคต
  4. สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค – การตรวจเช็กสุขภาพ การฉีดวัคซีน และการดูแลป้องกันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกแมวแข็งแรงและปราศจากโรคต่าง ๆ ลูกแมวตัวน้อยของคุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้อยลงหากฉีดวัคซีนครบตามกำหนดหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

พัฒนาการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย

ทำความเข้าใจพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อยเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้

อายุ

พัฒนาการที่สำคัญ

5 – 6 เดือน

เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

8 เดือน

ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่

9 เดือน

ความสามารถในการย่อยอาหารเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

12 เดือน (ตัวเมีย) และ 18 เดือน (ตัวผู้)

น้ำหนักตัวเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

อายุระหว่าง 10 – 12 เดือน

ความต้องการพลังงานลดลง

 

อยากรู้ไหมว่าน้องแมวอายุเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคน มาค้นหาคำตอบได้กันจากตารางเทียบอายุด้านล่างนี้

ช่วงวัยอายุแมวอายุแมวเปรียบเทียบกับคน
ลูกแมว0 – 1 เดือน0 – 1 ปี
2 เดือน2 ปี
3 เดือน4 ปี
4 เดือน6 ปี
5 เดือน8 ปี
6 เดือน10 ปี
ลูกแมวในวัยเจริญเติบโต7 เดือน12 ปี
12 เดือน15 ปี
18 เดือน21 ปี
2 ปี24 ปี
น้องแมวโตเต็มวัย3 ปี28 ปี
4 ปี32 ปี
5 ปี36 ปี
6 ปี40 ปี
น้องแมวช่วงวัยอาวุโส7 ปี44 ปี
8 ปี48 ปี
9 ปี52 ปี
10 ปี56 ปี
น้องแมวสูงวัย11 ปี60 ปี
12 ปี64 ปี
13 ปี68 ปี
14 ปี72 ปี
น้องแมววัยชรา15 ปี76 ปี
16 ปี80 ปี
17 ปี84 ปี
18 ปี88 ปี
19 ปี92 ปี
20 ปี96 ปี
21 ปี100 ปี
22 ปี104 ปี
23 ปี108 ปี
24 ปี112 ปี
25 ปี116 ปี

 

เช็กลิสต์การตรวจสอบสภาพร่างกายของลูกแมว

การดูแลส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมว ซึ่งหนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการตรวจสภาพร่างกายของลูกแมวอย่างใกล้ชิด โดยคุณสามารถทำตามเช็กลิสต์ต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี

  1. หู – ตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น รอยแดงหรือของเหลวแปลก ๆ ในช่องหู วิธีนี้จะช่วยให้คุณพบสิ่งผิดปกติได้เร็วและหาวิธีดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที
  2. ดวงตา – คอยสังเกตสิ่งที่ไหลออกมาจากดวงตาหรือความขุ่นมัวในดวงตา ลูกแมวที่แข็งแรงควรมีดวงตาที่สดใสและไม่ขุ่นมัว
  3. จมูก – หากพบว่าลูกแมวมีน้ำมูกไหลผิดปกติหรือมีเลือดคั่งในจมูก ควรรีบไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุในทันที
  4. ช่องปาก – พยายามมองหาสัญญาณของการติดเชื้อหรืออาการอักเสบ โดยลูกแมวควรมีช่องปากที่สะอาดและไม่มีกลิ่นเหม็น
  5. ผิวหนังและเส้นขน – หมั่นตรวจเช็กเห็บหมัดเป็นประจำ โดยลูกแมวที่แข็งแรงจะมีเส้นขนที่นุ่มเงางาม
  6. เล็บ – คอยดูว่าเล็บของเจ้าตัวน้อยยาวเกินไปหรือไม่ มีเล็บหักหรือเปล่า เจ้าของควรตัดเล็บให้พวกเค้าเป็นประจำ และควรจัดหาเสาลับเล็บติดบ้านไว้ด้วย
  7. พฤติกรรม – เจ้าของควรสังเกตพฤติกรรมของลูกแมวอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการเซื่องซึมหรือภาวะซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะลูกแมวโดยทั่วไปจะมีความกระตือรือร้นและพร้อมเล่นสนุกได้ทั้งวัน
  8. การย่อยอาหาร – หากพบว่าลูกแมวมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที
  9. การกินน้ำ – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวดื่มน้ำเพียงพอในแต่ละวัน การได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพของลูกแมว

การสังเกตสภาพร่างกายของลูกแมวเป็นประจำมีประโยชน์มาก โดยจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าพวกเค้ามีสุขภาพที่ดีและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมแล้ว

 

โดยสรุปแล้ว การเลี้ยงลูกแมวต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่มีความสุขและมีสุขภาพดี หากมีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำหรือปรึกษาสัตวแพทย์ หากคุณมอบความรักและดูแลลูกแมวอย่างถูกวิธี พวกเค้าก็จะอยู่เคียงข้างพร้อมมอบความสุขให้คุณได้นานหลายปี

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแมวของเรามีสุขภาพที่ดี?
  2. คุณสามารถสังเกตได้จากสัญญาณสุขภาพดีเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยมีดวงตาใสไม่ขุ่นมัว ขนสะอาดเงางาม และกินอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ลูกแมวควรมีความกระตือรือร้น ไม่เซื่องซึมหรือดูอ่อนเพลียตลอดเวลา การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่บอกได้ว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพดี

  3. จะทำให้ลูกแมวมีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างไร?
  4. สิ่งสำคัญสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของลูกแมวคือการตรวจสุขภาพเป็นประจำ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย ตลอดจนการฉีดวัคซีนและการดูแลป้องกันโรคร้าย

  5. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในลูกแมวมีอะไรบ้าง?
  6. ลูกแมวมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ทั้งการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หนอนพยาธิ ปรสิตอย่างหมัดและเห็บ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาภาวะเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจในภายหลังได้ด้วย

  7. ลูกแมวป่วยง่ายใช่หรือไม่?
  8. แม้ว่าลูกแมวจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง แต่ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ลูกแมวของคุณก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้

  9. ลูกแมวควรกินน้ำในปริมาณมากใช่หรือไม่?
  10. ลูกแมวจำเป็นต้องกินน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ แต่ปริมาณที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ขนาดตัว และการทำกิจกรรมของลูกแมว โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  • Kitten and cat adoption basics
    Kitten and cat adoption basics
    adp_description_block194
    มือใหม่ต้องรู้! วิธีเตรียมความพร้อมก่อนรับเลี้ยงแมว

    • แบ่งปัน

    เชื่อเถอะว่าการรับเลี้ยงแมวจะกลายเป็นหนึ่งในสายสัมพันธ์ที่พิเศษที่สุดในชีวิตของคุณ แมวเหมียวเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่ารักและขี้เล่น เพียงใช้เวลากับพวกเค้าไม่นาน คุณจะพบว่าตัวเองเครียดน้อยลงและมีความสุขมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การรับแมวมาเลี้ยงเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ซึ่งมาพร้อมความรับผิดชอบมากมาย บ้านของคุณจะกลายเป็นบ้านของพวกเค้า และคุณจะกลายเป็นครอบครัวของเจ้าตัวน้อย ดังนั้นก่อนจะมองหาสถานที่รับเลี้ยงแมวใกล้ฉัน คุณควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้ดีเสียก่อน

    ข้อควรรู้ก่อนรับเลี้ยงแมว 

    ไม่ว่าจะเลือกรับเลี้ยงลูกแมวตัวน้อยหรือพี่เหมียวตัวโต คุณควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อน

    1. การทำหมันให้แมว

      • หากรับเลี้ยงน้องแมวโตที่ยังไม่ได้ทำหมัน ควรพาพวกเค้าไปทำหมันให้เรียบร้อย แต่หากเป็นลูกแมว คุณต้องรอจนกว่าจะถึงช่วงอายุที่เหมาะสม โดยสามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยงหรือสัตวแพทย์เกี่ยวกับขั้นตอนการทำหมันเพิ่มเติมได้
    2. ทบทวนเรื่องเวลาและกิจวัตรประจำวันของตัวเองให้ดี

      • หากต้องทำงานหรือมีตารางชีวิตที่วุ่นวาย ควรพิจารณาก่อนว่าจะสามารถแบ่งเวลามาดูแลเจ้าเหมียวได้หรือไม่ ทั้งเรื่องอาหารและการทำความสะอาด คุณจำเป็นต้องวางแผนการให้อาหารพวกเค้าอย่างเหมาะสม และต้องอย่าลืมแบ่งเวลามาเล่นหรือทำกิจกรรมกับพวกเค้าด้วย
    3. การรับเลี้ยงแมวเป็นความผูกพันระยะยาว

      • เมื่อรับน้องแมวเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวแล้ว คุณจะกลายเป็นโลกทั้งใบของพวกเค้า และจำเป็นต้องดูแลรับผิดชอบพวกเค้าตลอดไปจนกว่าจะสิ้นอายุขัย ทั้งนี้อายุขัยของแมวจะอยู่ที่ 12 – 20 ปี ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจรับเลี้ยงแมวจรจากศูนย์พักพิงสัตว์ไร้บ้านหรือเก็บมาจากข้างถนน ควรพิจารณาให้ดีว่าพร้อมสำหรับความผูกพันและความรับผิดชอบระยะยาวนี้แล้วหรือยัง

     

    ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมสำหรับน้องแมว

    ก่อนจะพาเจ้าตัวน้อยกลับบ้าน คุณอาจต้องปรับเปลี่ยนบางสิ่งในบ้านให้เรียบร้อยก่อน โดยเริ่มจากทำตามคำแนะนำเหล่านี้

    1. นำสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายต่อน้องแมวออกไป เช่น ไม้ประดับบางชนิด หรือสารเคมีต่าง ๆ 
    2. เก็บสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นอุ้งมือเจ้าเหมียว (พวกเค้าอาจเคี้ยวสายไฟเล่น จนนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรงได้)
    3. หากมีเด็กน้อยในครอบครัว ควรสอนวิธีการเข้าหาและการเล่นกับแมวอย่างเหมาะสม
    4. เตรียมพื้นที่ส่วนตัวให้เจ้าเหมียว เพื่อให้พวกเค้ารู้สึกปลอดภัยและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
    5. ค้นหาคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกต่อการพาเจ้าตัวน้อยไปตรวจสุขภาพ

    ข้อดีของการรับเลี้ยงแมวมีอะไรบ้าง?

    ตามมาดูข้อดีหรือประโยชน์ของการรับเลี้ยงแมวกันได้เลย

    1. มอบชีวิตใหม่ให้น้องแมว

      • การเลือกที่จะรับเลี้ยงแมวจรแทนการซื้อแมวถือเป็นการช่วยเหลือน้องแมวอย่างแท้จริง ให้พวกเค้ามีบ้าน ได้รับการดูแล มีอาหารดี ๆ กิน และมีคนที่พร้อมมอบความรักให้ 
    2. น้องแมวมักได้รับการฝึกมาแล้ว

      • น้องแมวจากศูนย์พักพิงสัตว์ไร้บ้านมักได้รับการฝึกขั้นพื้นฐานกันมาบ้างแล้ว ทั้งการกินอาหารจากชามและการใช้เสาลับเล็บ
    3. เลือกรับเลี้ยงได้จากลักษณะนิสัยเฉพาะตัว

      • นี่เป็นหนึ่งในประโยชน์ที่ดีที่สุดของการรับเลี้ยงน้องแมวจากศูนย์พักพิงสัตว์ไร้บ้าน เพราะน้องแมวส่วนใหญ่มักแสดงนิสัยหรือลักษณะพิเศษเฉพาะตัวออกมาให้เห็น ทำให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าพวกเค้าเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณหรือไม่

     

    ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเมื่อรับเลี้ยงแมว

    ปัจจัยเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจรับแมวมาเลี้ยง

     

    1. การแนะนำให้รู้จักแมวเจ้าถิ่น

      • หากมีแมวเหมียวอยู่แล้วในบ้าน คุณควรปรึกษาศูนย์พักพิงเพื่อเลือกแมวที่ชอบอยู่ร่วมกับตัวอื่น ๆ รวมทั้งศึกษาวิธีการค่อย ๆ แนะนำแมวตัวใหม่ให้รู้จักกับเจ้าถิ่นตัวเดิม เพื่อระวังไม่ให้พวกเค้าเครียดจนเกินไป
    2. การเลี้ยงแมวมีค่าใช้จ่าย

      • ทั้งค่าตรวจสุขภาพ ค่ายารักษา ค่าอาหาร ของเล่น และอื่น ๆ สำหรับน้องแมวไร้บ้านหรือน้องแมวจร อาจมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมากเป็นพิเศษ 
    3. กิจวัตรประจำวัน

      • น้องแมวต้องการการดูแลและเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เวลาจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่คุณควรพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจรับแมวมาเลี้ยง โดยอาจเลือกน้องแมวที่มีไลฟ์สไตล์ตรงกับคุณ เช่น หากต้องออกจากบ้านไปทำงาน อาจเลือกน้องแมวที่รักอิสระและสามารถอยู่ตามลำพังได้

     

    อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงแมว

    เพื่อการดูแลเจ้าเหมียวได้อย่างเต็มที่ ทาสแมวมือใหม่ควรเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ให้พร้อม

    1. ชามน้ำและชามอาหาร
    2. กระบะทราย
    3. เสาลับเล็บ
    4. ของเล่น
    5. แคทนิป
    6. อุปกรณ์อาบน้ำและดูแลขน
    7. กรงหรือกระเป๋าใส่แมว
    8. เบาะนอน
    9. ปลอกคอพร้อมป้ายชื่อ

Close modal