IAMS TH
5-Tips-to-Help-Your-Kitten-Live-a-Long-and-Healthy-Life banner
5-Tips-to-Help-Your-Kitten-Live-a-Long-and-Healthy-Life

adp_description_block253
5 เคล็ดลับเพื่อช่วยให้ลูกแมวของคุณสุขภาพดีมีอายุยืน

  • แบ่งปัน

คุณสามารถช่วยให้ลูกแมวสุขภาพดีมีอายุยืนได้หรือไม่ แม้จะไม่สามารถคาดเดาสุขภาพของแมวได้อย่างแม่นยำนัก แต่คุณก็สามารถเพิ่มโอกาสที่เค้าจะมีทั้งสุขภาพที่ดีขึ้นและมีอายุยืนขึ้นได้ ผ่านการดูแลที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มเลี้ยงเค้าใหม่ ๆ สัตวแพทย์สามารถให้คำแนะนำเพิ่มเติมถึงข้อควรพิจารณา 5 ข้อเกี่ยวกับการดูแลลูกแมว ดังนี้

วิธีดูแลลูกแมว

 

1. ให้อาหารที่มีคุณภาพ

ให้อาหารแมวที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการด้านสารอาหารในแต่ละช่วงวัย เนื่องจากความต้องการด้านสารอาหารของแมวจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัยและไลฟ์สไตล์ แต่ไม่ว่าเค้าจะอายุเท่าไร สัตว์กินเนื้อก็ต้องการสารอาหารจากโปรตีนและไขมันสัตว์เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีเสมอ

 

2. ให้ออกกำลังกาย

ลดภาวะอ้วนในแมวด้วยการควบคุมอาหารอย่างเข้มงวดและให้เค้าได้ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายจะช่วยลดอาการเครียด ลดความดุร้าย และช่วยให้แมวตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เพียงวันละ 15-30 นาที ก็ช่วยให้เค้ามีน้ำหนักสมส่วนแถมยังได้สานสัมพันธ์กับคุณให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น นอกจากนี้การสอนให้ลูกแมวชินกับเวลาเล่นตั้งแต่เด็ก ๆ จะช่วยให้คุณชินกับการเล่นกับแมวเป็นประจำ

 

3. มอบสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย

เลี้ยงแมวไว้ในบ้านเพื่อลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วย การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การต่อสู้ และโรคภัยต่าง ๆ เมื่อแมวอายุมากขึ้นคุณสามารถลดความเครียดจากการถูกสัตว์อื่นรังแกด้วยการให้เค้าอยู่ในบ้าน แต่อย่าลืมดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากอันตรายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อุปกรณ์ทำความสะอาดและควันบุหรี่ แมวส่วนใหญ่ใช้ลิ้นเพื่อทำความสะอาดตัวเอง แค่สารเคมีปริมาณนิดเดียวก็สามารถก่ออาการที่ไม่พึงประสงค์ได้

 

4. นัดตรวจร่างกายและช่องปากเป็นประจำ

แปรงขนให้ลูกแมวตั้งแต่เด็ก ๆ เพื่อให้เค้าคุ้นเคยกับการแปรงขน ระหว่างที่แปรงอยู่อย่าลืมเช็กดูรอยแผล หรือความผิดปกติอื่น ๆ รวมถึงรีบปรึกษาสัตวแพทย์หากเจออะไรที่น่าสงสัย พาแมวไปหาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพโดยรวมอย่างต่ำปีละ 1 ครั้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตว์แพทย์เกี่ยวกับมาตรการป้องกันโรค สัตวแพทย์ยังสามารถนัดทำความสะอาดฟันโดยผู้เชี่ยวชาญได้เป็นระยะ ซึ่งจะช่วยยืดอายุเค้าได้อีกหลายปี

 

5. ใส่ใจเค้าเยอะ ๆ

ท้ายที่สุดอย่าลืมมอบความรักให้เค้า! แม้แมวบางตัวจะดูหยิ่งและไม่สนใจคุณแต่แมวทุกตัวล้วนชอบความใส่ใจ ทั้งคุณและเค้าจะได้ประโยชน์จากการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ

 

ตารางเทียบอายุแมว
 

มีความเชื่อว่าเวลา 1 ปีของเราเท่ากับ 7 ปีของแมว ด้านล่างเป็นตารางอายุฉบับปรับปรุงให้คุณดูอายุแมวได้อย่างถูกต้อง

อายุแมว อายุคน

6 เดือน 10 ปี
8 เดือน 13 ปี
10 เดือน 14 ปี
12 เดือน 15 ปี
18 เดือน 20 ปี
2 ปี 24 ปี
3 ปี 28 ปี
4 ปี 32 ปี
5 ปี 36 ปี
6 ปี 40 ปี
7 ปี 44 ปี
8 ปี 48 ปี
9 ปี 52 ปี
10 ปี 56 ปี
11 ปี 60 ปี
12 ปี 64 ปี
13 ปี 68 ปี
14 ปี 72 ปี
15 ปี 76 ปี
16 ปี 80 ปี
17 ปี 84 ปี
18 ปี 88 ปี
19 ปี 92 ปี
20 ปี 96 ปี
21 ปี 100 ปี

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    adp_description_block231
    รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนแมว

    • แบ่งปัน

    แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
     

    วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
     

    วัคซีนแต่ละชนิดและช่วงวัยที่เหมาะสมของแมว

    การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก

    1. วัคซีน FVRCP

    ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี

    1. วัคซีน FeLV

    วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์

    1. วัคซีน FPV

    วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี

    1. วัคซีนรวม 4 โรค

    วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี

    1. วัคซีนรวม 5 โรค

    วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

    หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้

    1. อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    2. อยากอาหารลดลง

    3. อาเจียน

    4. มีไข้ 

    5. ท้องเสีย

    6. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้