IAMS TH
cat article detail banner
cat article detail banner mobile

adp_description_block479
การดูแลลูกแมวเบื้องต้น : ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลพลอยได้จากสัตว์ในอาหารแมว

  • แบ่งปัน

 

ก่อนจะคิดว่า “By Product หรือผลพลอยได้จากสัตว์” ในอาหารแมวเป็นสิ่งไม่ดี เราขอชวนมาดูข้อเท็จจริงกันดีกว่า 

ในการใช้งานทั่วไปนั้น ผลพลอยได้จากสัตว์ก็มีความหมายตามชื่อ นั่นคือ ผลผลิตที่ได้จากผลิตภัณฑ์อื่น ดังนั้น ผลพลอยได้จากสัตว์จึงไม่ได้มีคุณภาพต่ำ อย่างเช่น ขนมขิงคงมีหน้าตาพิลึกหากขาดกากน้ำตาลไป ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล

สำหรับอาหารแมวไอแอมส์™ อย่าง ไอแอมส์ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ นั้น ผลพลอยได้จากสัตว์คือ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ โดยไม่ใช่ส่วนกล้ามเนื้อที่ชาวอเมริกันนิยมบริโภค ซึ่งมีความหมายครอบคลุมเฉพาะทางกายภาพของชิ้นส่วนสัตว์เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงคุณค่าทางสารอาหาร

แม้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ไม่นิยมบริโภคผลพลอยได้จากสัตว์ แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ ชิ้นส่วนเหล่านี้ (เช่น เครื่องใน) มีคุณค่าทางสารอาหารไม่ว่าจะเป็น กรดอะมิโน แร่ธาตุ และวิตามิน แถมยังอาจน่าทานกว่าเนื้อสัตว์เสียอีก

นอกจากคุณประโยชน์ด้านโภชนาการแล้ว การใส่วัตถุดิบเหล่านี้ลงในอาหารสัตว์ยังช่วยลดปริมาณขยะและเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากคนแล้ว อุตสาหกรรมปศุสัตว์จะได้ไม่ต้องเลี้ยงสัตว์เพิ่มเพื่อนำเนื้อมาผลิตอาหารสัตว์ด้วย การให้สัตว์เลี้ยงได้กินชิ้นส่วนที่มีสารอาหารเข้มข้นแถมยังอร่อย จะช่วยลดปริมาณของเสีย ทั้งยังเป็นการใช้สัตว์ทั้งตัวได้อย่างคุ้มค่า

ทั้งนี้ ความสับสนและความไม่สบายใจที่ผู้บริโภคมีต่อผลพลอยได้จากสัตว์ มาจากกลยุทธ์ทางการตลาดของแบรนด์อาหารสัตว์บางแบรนด์ หรือจากชื่อที่ไม่น่าฟังว่า “ผลพลอยได้จากสัตว์” เอง

ควรจำไว้เสมอว่า วัตถุดิบในอาหารสัตว์มีคุณภาพแตกต่างกันได้มาก โดยคุณภาพก็ไม่สามารถตรวจสอบได้จากรายชื่อวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว ผลพลอยได้จากสัตว์แต่ละชนิดก็มีคุณภาพแตกต่างกันเช่นเดียวกับเนื้อสัตว์ ซึ่งท้องตลาดก็มีทั้งผลพลอยได้จากสัตว์คุณภาพดี เนื้อและเนื้อบด (หรือไก่บด หมูบด) คุณภาพต่ำวางจำหน่ายอยู่ไม่ต่างกัน

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่มาจากวัตถุดิบคุณภาพต่ำ ควรเลือกอาหารจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงด้านคัดสรรวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์อย่างละเอียด มีนักโภชนาการมากประสบการณ์ประจำอยู่ พร้อมทั้งมีการทดสอบวิเคราะห์ เพื่อให้วัตถุดิบและสินค้าทุกชิ้นเป็นไปตามข้อมูลด้านโภชนาการที่ระบุไว้

 

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    adp_description_block251
    รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนแมว

    • แบ่งปัน

    แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
     

    วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
     

    วัคซีนแต่ละชนิดและช่วงวัยที่เหมาะสมของแมว

    การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก

    1. วัคซีน FVRCP

    ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี

    1. วัคซีน FeLV

    วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์

    1. วัคซีน FPV

    วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี

    1. วัคซีนรวม 4 โรค

    วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี

    1. วัคซีนรวม 5 โรค

    วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

    หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้

    1. อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    2. อยากอาหารลดลง

    3. อาเจียน

    4. มีไข้ 

    5. ท้องเสีย

    6. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้