IAMS TH
Chicken: The Complete Protein Source for Your Cat
Chicken: The Complete Protein Source for Your Cat

adp_description_block216
แมวกินไก่ได้ไหม?

  • แบ่งปัน

แมวกินไก่ได้ไหม? นับเป็นหนึ่งในคำถามคาใจของทาสแมวส่วนใหญ่ เพราะหลายต่อหลายครั้งที่เจ้าเหมียวมักจะส่งสายตาอ้อนวอนเพื่อขอชิมเนื้อไก่ในจานของคุณ

ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารแมวหลายชนิด อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังบางอย่างที่ทาสแมวควรรู้ก่อนให้เจ้าเหมียวกินเนื้อไก่ ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาเปิดเผยเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกินไก่ให้ทุกคนได้รู้กัน

ประโยชน์ของการให้แมวกินไก่

ไก่ดีสำหรับแมวหรือไม่? ต้องบอกก่อนว่าแมวเป็นสัตว์กินเนื้อ ซึ่งหมายความว่าโปรตีนจากสัตว์มีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของพวกเค้า เนื้อไก่จัดเป็นแหล่งโปรตีนไร้ไขมันที่หาได้ง่าย มีประโยชน์มากมาย และเป็นที่โปรดปรานของแมวส่วนใหญ่ด้วย

  1. แหล่งโปรตีนคุณภาพเยี่ยม

    ไก่เป็นแหล่งโปรตีนจากสัตว์คุณภาพสูงซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การพัฒนากล้ามเนื้อ และการบำรุงร่างกายของแมว โปรตีนมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและช่วยให้ขนแข็งแรง

  2. กรดอะมิโนที่จำเป็น

    ไก่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็น เช่น ทอรีน ซึ่งมีความสำคัญต่อแมวมาก การขาดทอรีนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและความบกพร่องในการมองเห็น

  3. อุดมไปด้วยสารอาหาร

    ไก่มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น วิตามินบี 6 ไนอาซิน ฟอสฟอรัส และซีลีเนียม สารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดีและช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

  4. เพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย

    เนื้อไก่มีค่าความชื้นสูงโดยธรรมชาติ การกินเนื้อไก่จึงช่วยให้แมวได้รับปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การกินน้ำในปริมาณที่เหมาะสมยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพไตของแมวด้วย

  5. รสชาติอร่อย

    แมวส่วนใหญ่ชื่นชอบเนื้อไก่ มันจึงเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมในการดึงดูดใจเจ้าเหมียวเลือกกินหรือกินยาก

    แม้ว่าไก่จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพของแมว แต่ก็ควรให้ในปริมาณที่พอเหมาะและหลีกเลี่ยงการให้เป็นอาหารหลัก โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้

แมวกินไก่ดิบได้หรือไม่?

การให้แมวกินไก่ดิบมีความเสี่ยงสูง เพราะไก่ดิบก็เหมือนกับเนื้อดิบอื่น ๆ ที่อาจปนเปื้อนสารอันตราย เชื้อโรคเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหารอย่างรุนแรง รวมถึงอาจทำให้แมวอาเจียน ท้องเสีย และอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้การให้ไก่ดิบเป็นอาหารหลักยังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารด้วย 

เพื่อความปลอดภัยของแมว วิธีที่ดีที่สุดคือปรุงไก่ให้สุก โดยจะช่วยลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียและช่วยให้ย่อยได้ง่ายขึ้น

แมวกินกระดูกไก่ได้หรือไม่?

กระดูกไก่ โดยเฉพาะส่วนที่มีขนาดเล็กและเปราะ เช่น ปีกหรือน่อง เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก แมวต่างจากสุนัขตรงที่ระบบย่อยอาหารละเอียดอ่อนกว่าและไม่สามารถย่อยกระดูกได้อย่างปลอดภัย เมื่อแมวเคี้ยวหรือกลืนกระดูกเข้าไปก็อาจนำไปสู่ปัญหาเหล่านี้

  1. มีอาการสำลัก – กระดูกชิ้นเล็ก ๆ อาจติดอยู่ในลำคอแมว ทำให้เกิดการสำลัก ขย้อน และอาจเกิดการอุดตันในระบบทางเดินหายใจได้

  2. เกิดการทิ่มแทง – เศษกระดูกไก่มักจะมีความแหลมคม ซึ่งอาจทิ่มหรือบาดปาก คอ และทางเดินอาหารของแมวได้

  3. เกิดการอุดตัน – เศษกระดูกอาจทำให้เกิดการอุดตันในทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

  4. สร้างความบาดเจ็บแก่อวัยวะภายใน – เศษกระดูกแหลมคมสามารถเจาะลำไส้หรือกระเพาะอาหารของแมว ทำให้เกิดการบาดเจ็บภายในและการติดเชื้อได้

    เพื่อความปลอดภัยของเจ้าเหมียว ควรเอากระดูกออกจากไก่ก่อนเสิร์ฟเสมอ และควรปรุงไก่ให้สุกทุกครั้ง โดยหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องปรุงรส เครื่องเทศ และส่วนผสมที่อาจเป็นอันตราย

ไก่ดิบเป็นอันตรายต่อสุขภาพของแมวหรือไม่?

อย่างที่รู้กันว่าแมวเป็นสัตว์กินเนื้อ และไก่ดิบก็ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดี ไม่ผ่านการปรุงแต่งใด ๆ แต่มันก็มีความเสี่ยงร้ายแรงอยู่บ้าง ดังนั้นหากคุณกำลังวางแผนให้แมวกินไก่ดิบ มาติดตามข้อควรรู้ที่น่าสนใจกันก่อนดีกว่า

  1. พยาธิและแบคทีเรีย

    ไก่ดิบอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) และเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) ซึ่งเชื้อเหล่านี้อาจทำให้ทั้งแมวและคุณปวดท้องได้ แม้ว่าแมวจะไม่แสดงอาการ แต่ก็สามารถแพร่เชื้อมาให้คุณได้

  2. กระดูก

    กระดูกไก่ดิบหรือไก่สุกอาจแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะภายในของแมว อีกทั้งยังทำให้แมวมีอาการสำลัก บาดปาก บาดคอ หรืออาจอุดตันในทางเดินอาหาร

  3. ภาวะขาดสารอาหาร

    แม้ว่าไก่จะเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี แต่มันมีสารอาหารที่แมวต้องการไม่ครบถ้วน การให้ไก่ดิบเป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวอาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารได้ หากต้องการให้แมวได้รับสารอาหารที่เหมาะสม แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อจัดทำเมนูที่ทั้งอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการ

วิธีเตรียมไก่ดิบให้แมว

การกินไก่ดิบอาจมีความเสี่ยงมากมาย แต่หากเตรียมการอย่างดีก่อนเสิร์ฟให้เจ้าเหมียว เมนูนี้ก็จะปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ

  1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อสดใหม่

    ความสดใหม่เป็นปัจจัยที่สำคัญ ตรวจสอบวันหมดอายุและสัญญาณการเน่าเสีย เช่น กลิ่นผิดปกติหรือการเปลี่ยนสี

  2. เตรียมไก่ก่อนเสิร์ฟ

    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเขียง มีด และเครื่องใช้ของคุณสะอาดและถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันการปนเปื้อน แนะนำให้เตรียมเขียงสำหรับทำอาหารให้แมวโดยเฉพาะ

  3. ทำความสะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของแบคทีเรีย

    ล้างไก่ให้สะอาดด้วยน้ำเย็นเพื่อขจัดเศษซากต่าง ๆ จากนั้นซับให้แห้งด้วยผ้ากระดาษสะอาด ขั้นตอนนี้จะช่วยลดการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ทำให้อาหารแมวของคุณปลอดภัยและดีต่อสุขภาพมากขึ้น

    ไก่อาจมีข้อดีและประโยชน์มากมาย แต่การให้แมวกินไก่ก็มีข้อควรระวังที่คุณต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ โดยแนะนำให้เอากระดูกออก ปรุงสุกก่อนเสมอ และกำหนดปริมาณให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการให้ไก่ดิบ เนื่องจากมักจะมีการปนเปื้อนของแบคทีเรียและมีสารอาหารไม่ครบถ้วนตามที่แมวต้องการ

    หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ การปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเป็นวิธีที่ดีเสมอ หรือหากคุณไม่เวลาเตรียมอาหาร อาจเลือกให้อาหารสำเร็จรูปคุณภาพดีแทนก็ได้ ขอแนะนำไอแอมส์™ อาหารแมวเกรดพรีเมียมที่มีเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบหลัก และผ่านการคิดค้นสูตรให้ตรงตามความต้องการทางโภชนาการในแต่ละวันของแมว มั่นใจได้เลยว่าเจ้าเหมียวจะได้รับอาหารที่สมดุลและปลอดภัย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้แมวกินไก่

  1. แมวกินไก่ปรุงสุกได้ไหม?
  2. คุณสามารถให้แมวกินไก่ปรุงสุกได้ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการปรุงรส การใช้เครื่องเทศ สมุนไพร หรือน้ำมัน และต้องนำกระดูกออกให้หมด

  3. ลูกแมวกินไก่ได้หรือไม่?
  4. ลูกแมวก็สามารถกินไก่ได้ แต่ควรปรุงสุกและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้เคี้ยวง่าย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกเพื่อป้องกันการสำลัก และควรกำหนดปริมาณให้เหมาะสม

  5. แมวกินไก่ต้มได้ไหม?
  6. ไก่ต้มเป็นทางเลือกที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการและย่อยง่าย เหมาะสำหรับแมวที่มีปัญหาทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตาม ควรเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกหลงเหลืออยู่และไม่ต้องปรุงรสหรือเติมแต่งใด ๆ

  7. แมวกินหัวใจไก่และตับไก่ได้ไหม?
  8. แมวสามารถกินหัวใจและตับไก่ได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งสองส่วนเป็นแหล่งสารอาหารที่จำเป็นสำหรับแมว อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สมดุลทางโภชนาการ

  • การรักษาโรคผิวหนังแมว
    การรักษาโรคผิวหนังแมว
    adp_description_block485
    การรักษาโรคผิวหนังแมว

    • แบ่งปัน

    ผิวหนังและเส้นขนเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของสุขภาพโดยรวมของแมว โดยลักษณะขนที่มีสุขภาพดีจะต้องสวยเงางามและไม่หยาบกระด้าง ส่วนผิวหนังจะต้องอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น ไม่มัน ไม่เป็นขุยหรือขรุขระ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับแมวจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิวหนังและเส้นขนที่ดี เช่นเดียวกับการดูแลขนและการอาบน้ำแมวเป็นประจำ

     

    เราสามารถดูแลสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การให้อาหารคุณภาพดีไปจนถึงการลงทุนซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลที่เหมาะสม การดูแลรักษาโรคผิวหนังของแมวก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก อ่านบทความของเราเพื่อทำความเข้าใจสภาพผิวหนังของแมว พร้อมเรียนรู้วิธีดูแลสุขภาพผิวหนังและเส้นขนให้แข็งแรง

     

    ลักษณะผิวหนังที่มีสุขภาพดี

    เนื่องจากแมวแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะขนต่างกัน ขนที่มีสุขภาพดีจึงมีลักษณะต่างกันด้วย เช่น

    • มีขนปกคลุมบาง ๆ เหมือนไร้ขน (แมวพันธุ์สฟิงซ์)

    • ขนหยิก หลุดร่วงเล็กน้อย (แมวพันธุ์เร็กซ์)

    • ขนสั้นและเรียบลื่น (แมวพันธุ์โอเรียนทัล)

    • แมวบ้านมักจะมีขนชั้นนอกสั้นและขนชั้นในที่อ่อนนุ่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่น

    • ขนยาว นุ่มและเรียบ แต่ขนพันกันง่าย

    สารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นขนของแมว

    เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย การดูแลผิวหนังจึงมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ โดยผิวของแมวส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยขนที่หลุดร่วงและขนที่งอกขึ้นมาใหม่ วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลรักษาสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวคือการให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล อาหารแมวที่ดีควรประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุคุณภาพสูงที่ย่อยได้ง่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้แมวได้รับพลังงานเพียงพอต่อความต้องการแล้ว มันยังช่วยให้ตับและไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

     

    กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 คือสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของลูกแมว สารอาหารสองชนิดนี้ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ควรมีอยู่ในอาหารแมว กรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น กรดอัลฟาไลโนเลนิก (ALA) และกรดไอโคซาเพนตะอิโนอิก (EPA) จะช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นขน รวมถึงช่วยรักษาระดับการซึมผ่านของน้ำในผิวหนังด้วย ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 6 เช่น กรดไลโนเลอิกและกรดอะราซิโดนิก จะช่วยให้เนื้อเยื่อบุผิวในร่างกายของแมวมีสุขภาพดี

     

    คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อค้นหาอาหารที่เหมาะกับช่วงวัยและความต้องการของแมวได้ หากพบว่าแมวผิวแห้ง มีขนหยาบกระด้างและหลุดร่วงมากผิดปกติ ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเพิ่มเติม

     

    วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมว

    วิตามินเป็นสารอาหารที่สำคัญ และแมวควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสม วิตามินที่สำคัญพบได้ในส่วนผสมหลายชนิดในอาหารแมว การกินอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าครบถ้วนและสมดุลจึงเป็นกุญแจสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดี สำหรับวิตามินที่แมวควรได้รับจากอาหารมีดังนี้

    1. วิตามินเอ – จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินเอช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันและการมองเห็น อย่างไรก็ตาม วิตามินเอในปริมาณมากอาจเป็นพิษต่อแมว ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ

    2. วิตามินซี – เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยสมานแผลและช่วยให้แมวใช้โปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    3. วิตามินดี – ช่วยกักเก็บฟอสฟอรัสและแคลเซียมในร่างกายของแมว เป็นที่รู้จักกันในนาม “วิตามินแสงแดด” เนื่องจากช่วยให้กระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาททำงานได้ดี

    4. วิตามินบี 1 (ไทอามีน) – จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายน้ำได้ มันมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบการเผาผลาญ รวมถึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการส่งกระแสประสาท

    5. วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) – ช่วยให้สลายคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เพื่อผลิตพลังงานและช่วยขนส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย วิตามินชนิดนี้ยังช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนังและเส้นขนอีกด้วย

    6. วิตามินบี 3 (ไนอะซิน) – เป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ซึ่งจะถูกกำจัดออกทางปัสสาวะ แมวควรได้รับวิตามินชนิดนี้เป็นประจำ มันช่วยเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และยังมีส่วนช่วยให้ผิวหนังของแมวแข็งแรง

    7. วิตามินบี 6 – ช่วยสลายไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเพื่อผลิตพลังงานและจ่ายออกซิเจนไปทั่วร่างกาย

    เช่นเดียวกับวิตามิน แร่ธาตุก็จำเป็นต่อร่างกายของแมวเช่นกัน มันช่วยส่งเสริมการสร้างเอนไซม์ การลำเลียงออกซิเจน การนำสารอาหารไปใช้ และการรักษาความสมดุลของความเป็นกรดด่าง (pH) โดยอาหารของแมวควรมีแร่ธาตุต่อไปนี้

    1. แคลเซียม

    2. ธาตุเหล็ก

    3. โซเดียม

    4. แมกนีเซียม

    5. คลอไรด์

    อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ

     

    โรคผิวหนังในแมวที่พบบ่อยและวิธีการรักษา

    โรคผิวหนังของแมวที่พบได้บ่อย เช่น เชื้อราในแมว แมวคันผิวหนัง ทำให้เกาหรือเลียมากผิดปกติ ผิวหนังมีรอยแดงและบวม ขนร่วง หรือคุณอาจพบว่าแมวผิวเป็นสะเก็ดและเป็นขุย ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณสามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการเกิดปัญหา

    1. ให้อาหารแมวคุณภาพดี

    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเลือกอาหารที่ดีที่สุดสำหรับแมว เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล วิธีนี้จะช่วยให้แมวได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวด้วย

    1. แปรงขนเป็นประจำ

    การแปรงขนเป็นประจำช่วยให้ผิวหนังและขนของแมวมีสุขภาพดีได้จริง มันช่วยป้องกันปัญหาขนสังกะตังและขนพันกันเป็นก้อน ปัญหาเหล่านี้มักจะทำให้แมวรู้สึกไม่สบายตัว ขนร่วง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ด้วย แนะนำให้เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะกับลักษณะขนของแมว เพื่อลดอาการระคายเคืองหรือความรู้สึกไม่สบาย

    1. อาบน้ำเพื่อรักษาสภาพผิวหนัง

    การอาบน้ำแมวไม่จำเป็นต้องทำบ่อย เนื่องจากแมวมีนิสัยชอบดูแลตัวเอง และส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบอาบน้ำ อย่างไรก็ตาม หากแมวเริ่มเกาตัวบ่อยขึ้นหรือเนื้อตัวเริ่มสกปรก ควรอาบน้ำให้พวกเค้าด้วยแชมพูที่ออกแบบมาเพื่อแมวโดยเฉพาะ ไม่แนะนำให้ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยเนื่องจากเป็นพิษต่อผิวหนังและขนของแมว ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการอาบน้ำแมวและการเลือกแชมพูที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้

    1. ป้องกันเห็บหมัด

    การติดเชื้อเห็บหมัดเป็นปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดในแมว และควรได้รับการรักษาทันที การติดเชื้ออาจทำให้แมวคันผิวหนัง แมวอาจเกาและเลียตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักจะทำให้เกิดบาดแผลหรือขนร่วงเป็นหย่อม

    1. จัดการกับความเครียด

    หากแมวมีอาการวิตกกังวลและเครียดอย่างรุนแรง พวกเค้ามักจะเลียขนบ่อยจนผิดปกติ พฤติกรรมนี้อาจทำให้ขนร่วงเป็นจำนวนมาก นอกจากจะส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ความเครียดและความวิตกกังวลยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว หากพบว่าแมวเลียตัวบ่อยเกินไป แนะนำให้พาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายเพิ่มเติม

     

    สภาพผิวหนังของแมวมักเป็นสัญญาณของความไม่สมดุลในร่างกาย หากคุณสังเกตสัญญาณเตือนของโรคผิวหนังในแมว เช่น เชื้อราในแมว แมวผิวแห้ง ผิวหนังบวมและแดง แมวผิวเป็นสะเก็ดหรือเป็นขุย ขนร่วงและหยาบกระด้าง ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบและรับการรักษาอย่างเหมาะสม