IAMS TH
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health

adp_description_block70
เรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงลูกแมวให้มีสุขภาพดี

  • แบ่งปัน

ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าบรรดาลูกแมวตัวน้อยมอบความสุขและเสียงหัวเราะไม่รู้จบมาให้เราทุกครอบครัว ดังนั้นเพื่อตอบแทนความรักของพวกเค้า เจ้าของจำเป็นต้องทำความเข้าใจวิธีดูแลและข้อควรระวังต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแมว อย่างเรื่องอาหารการกิน ลูกแมวมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง พวกเค้าควรได้รับอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล รวมถึงควรได้รับการดูแลความสะอาด ตัดแต่งขน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พวกเค้าแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ โดยคุณสามารถอ่านคำแนะนำและเทคนิคในการดูแลลูกแมวให้เติบโตเป็นแมวโตเต็มวัยที่มีความสุขและมีสุขภาพดีได้ในบทความนี้

สิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวให้มีสุขภาพดี

ทาสแมวมือใหม่หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าควรดูแลลูกแมวอย่างไรให้แข็งแรงและมีความสุข ต้องบอกก่อนเลยว่าการดูแลลูกแมวอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในช่วงแรก แต่ถ้ารู้วิธีที่ถูกต้องแล้ว ทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน เพื่อช่วยให้การดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณง่ายขึ้น คำแนะนำเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรรู้

  1. รักษาความสะอาด – การอาบน้ำและแปรงขนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลลูกแมวให้แข็งแรง วิธีนี้จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยแนะนำให้เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ออกแบบมาเพื่อลูกแมวโดยเฉพาะ และควรเช็ดตัวให้แห้งทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ
  2. ให้อาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน – ลูกแมวมีความต้องการทางโภชนาการที่เฉพาะเจาะจง จึงควรเลือกให้อาหารที่มีคุณภาพสูงและมีสารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะ เพื่อให้เสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม
  3. ฝึกการเข้าสังคม – แมวก็เป็นสัตว์สังคมเช่นเดียวกันกับเรา เจ้าของควรเปิดโอกาสให้พวกเค้าได้ทำความรู้จักผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเค้าพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและป้องกันปัญหาของพฤติกรรมในอนาคต
  4. สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค – การตรวจเช็กสุขภาพ การฉีดวัคซีน และการดูแลป้องกันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกแมวแข็งแรงและปราศจากโรคต่าง ๆ ลูกแมวตัวน้อยของคุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้อยลงหากฉีดวัคซีนครบตามกำหนดหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

พัฒนาการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย

ทำความเข้าใจพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อยเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้

อายุ

พัฒนาการที่สำคัญ

5 – 6 เดือน

เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

8 เดือน

ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่

9 เดือน

ความสามารถในการย่อยอาหารเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

12 เดือน (ตัวเมีย) และ 18 เดือน (ตัวผู้)

น้ำหนักตัวเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

อายุระหว่าง 10 – 12 เดือน

ความต้องการพลังงานลดลง

 

อยากรู้ไหมว่าน้องแมวอายุเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคน มาค้นหาคำตอบได้กันจากตารางเทียบอายุด้านล่างนี้

ช่วงวัยอายุแมวอายุแมวเปรียบเทียบกับคน
ลูกแมว0 – 1 เดือน0 – 1 ปี
2 เดือน2 ปี
3 เดือน4 ปี
4 เดือน6 ปี
5 เดือน8 ปี
6 เดือน10 ปี
ลูกแมวในวัยเจริญเติบโต7 เดือน12 ปี
12 เดือน15 ปี
18 เดือน21 ปี
2 ปี24 ปี
น้องแมวโตเต็มวัย3 ปี28 ปี
4 ปี32 ปี
5 ปี36 ปี
6 ปี40 ปี
น้องแมวช่วงวัยอาวุโส7 ปี44 ปี
8 ปี48 ปี
9 ปี52 ปี
10 ปี56 ปี
น้องแมวสูงวัย11 ปี60 ปี
12 ปี64 ปี
13 ปี68 ปี
14 ปี72 ปี
น้องแมววัยชรา15 ปี76 ปี
16 ปี80 ปี
17 ปี84 ปี
18 ปี88 ปี
19 ปี92 ปี
20 ปี96 ปี
21 ปี100 ปี
22 ปี104 ปี
23 ปี108 ปี
24 ปี112 ปี
25 ปี116 ปี

 

เช็กลิสต์การตรวจสอบสภาพร่างกายของลูกแมว

การดูแลส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมว ซึ่งหนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการตรวจสภาพร่างกายของลูกแมวอย่างใกล้ชิด โดยคุณสามารถทำตามเช็กลิสต์ต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี

  1. หู – ตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น รอยแดงหรือของเหลวแปลก ๆ ในช่องหู วิธีนี้จะช่วยให้คุณพบสิ่งผิดปกติได้เร็วและหาวิธีดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที
  2. ดวงตา – คอยสังเกตสิ่งที่ไหลออกมาจากดวงตาหรือความขุ่นมัวในดวงตา ลูกแมวที่แข็งแรงควรมีดวงตาที่สดใสและไม่ขุ่นมัว
  3. จมูก – หากพบว่าลูกแมวมีน้ำมูกไหลผิดปกติหรือมีเลือดคั่งในจมูก ควรรีบไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุในทันที
  4. ช่องปาก – พยายามมองหาสัญญาณของการติดเชื้อหรืออาการอักเสบ โดยลูกแมวควรมีช่องปากที่สะอาดและไม่มีกลิ่นเหม็น
  5. ผิวหนังและเส้นขน – หมั่นตรวจเช็กเห็บหมัดเป็นประจำ โดยลูกแมวที่แข็งแรงจะมีเส้นขนที่นุ่มเงางาม
  6. เล็บ – คอยดูว่าเล็บของเจ้าตัวน้อยยาวเกินไปหรือไม่ มีเล็บหักหรือเปล่า เจ้าของควรตัดเล็บให้พวกเค้าเป็นประจำ และควรจัดหาเสาลับเล็บติดบ้านไว้ด้วย
  7. พฤติกรรม – เจ้าของควรสังเกตพฤติกรรมของลูกแมวอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการเซื่องซึมหรือภาวะซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะลูกแมวโดยทั่วไปจะมีความกระตือรือร้นและพร้อมเล่นสนุกได้ทั้งวัน
  8. การย่อยอาหาร – หากพบว่าลูกแมวมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที
  9. การกินน้ำ – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวดื่มน้ำเพียงพอในแต่ละวัน การได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพของลูกแมว

การสังเกตสภาพร่างกายของลูกแมวเป็นประจำมีประโยชน์มาก โดยจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าพวกเค้ามีสุขภาพที่ดีและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมแล้ว

 

โดยสรุปแล้ว การเลี้ยงลูกแมวต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่มีความสุขและมีสุขภาพดี หากมีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำหรือปรึกษาสัตวแพทย์ หากคุณมอบความรักและดูแลลูกแมวอย่างถูกวิธี พวกเค้าก็จะอยู่เคียงข้างพร้อมมอบความสุขให้คุณได้นานหลายปี

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแมวของเรามีสุขภาพที่ดี?
  2. คุณสามารถสังเกตได้จากสัญญาณสุขภาพดีเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยมีดวงตาใสไม่ขุ่นมัว ขนสะอาดเงางาม และกินอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ลูกแมวควรมีความกระตือรือร้น ไม่เซื่องซึมหรือดูอ่อนเพลียตลอดเวลา การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่บอกได้ว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพดี

  3. จะทำให้ลูกแมวมีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างไร?
  4. สิ่งสำคัญสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของลูกแมวคือการตรวจสุขภาพเป็นประจำ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย ตลอดจนการฉีดวัคซีนและการดูแลป้องกันโรคร้าย

  5. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในลูกแมวมีอะไรบ้าง?
  6. ลูกแมวมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ทั้งการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หนอนพยาธิ ปรสิตอย่างหมัดและเห็บ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาภาวะเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจในภายหลังได้ด้วย

  7. ลูกแมวป่วยง่ายใช่หรือไม่?
  8. แม้ว่าลูกแมวจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง แต่ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ลูกแมวของคุณก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้

  9. ลูกแมวควรกินน้ำในปริมาณมากใช่หรือไม่?
  10. ลูกแมวจำเป็นต้องกินน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ แต่ปริมาณที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ขนาดตัว และการทำกิจกรรมของลูกแมว โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  • How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape
    How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape
    adp_description_block47
    ทำความเข้าใจโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

    • แบ่งปัน

    โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวคืออะไร?

    กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่ไม่ได้พบบ่อยในแมว และแมวทุกตัวที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจจะไม่ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อ้างอิงจากศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (NCBI) มีแมวเพียง 1 – 2% เท่านั้นที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่หากน้องแมวมีอาการก็จำเป็นต้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม
     

    อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

    เนื่องจากเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและความไม่สบายอย่างรุนแรง เจ้าของจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการหรือสัญญาณเตือนต่าง ๆ ของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

    • ปัสสาวะบ่อยแต่มีปริมาณน้อย
    • มีเลือดปะปนในปัสสาวะ
    • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติ
    • ส่งเสียงร้องออกมาขณะปัสสาวะ
    • ปัสสาวะนอกกระบะทราย

    การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

    ในการวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สัตวแพทย์จะทำการทดสอบตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย โดยคุณหมอจะดูดปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน เมื่อตรวจตัวอย่างปัสสาวะแล้ว คุณหมอก็จะทำการแยกเชื้อแบคทีเรียเพื่อศึกษาต่อไป ขั้นตอนนี้เรียกว่าการเพาะเชื้อและการทดสอบความไวของเชื้อต่อยา ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอกำหนดยาที่เหมาะสมต่อการรักษาได้
     

    การติดเชื้อครั้งแรกหรือการติดเชื้อแบบเฉียบพลันมักจะรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง อย่างไรก็ตาม หากแมวของคุณมีอาการป่วยจากการติดเชื้อเรื้อรัง สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อเริ่มให้ยาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
     

    สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

    โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

    • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
    • การสอดใส่สายสวนปัสสาวะ
    • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
    • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

    การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

    แม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยากและพบไม่บ่อย แต่ทางที่ดีก็ควรดูแลน้องแมวอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โดยการดูแลป้องกันที่แนะนำมีดังนี้

    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวดื่มน้ำเพียงพอ แนะนำให้ทำความสะอาดชามน้ำเป็นประจำและหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน
    • ทำความสะอาดกระบะทรายวันละสองครั้ง และควรเปลี่ยนทรายใหม่ทุกสองสัปดาห์
    • หมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและสีของปัสสาวะ หากพบการความผิดปกติควรปรึกษาสัตวแพทย์
    • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคที่อาจนำไปสู่ปัญหากระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากแมวของคุณมีอาการของโรคดังกล่าว ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
    • สำหรับแมวสูงวัยและแมวที่มีน้ำหนักตัวเกิน อาจมีปัญหาในการขยับเขยื้อนตัวและไม่สามารถเลียตัวทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง เจ้าของอาจต้องช่วยดูแลเรื่องความสะอาดมากเป็นพิเศษ

    สามารถรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวด้วยตนเองได้หรือไม่?

    การดูแลรักษาน้องแมวที่มีอาการของโรคนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การให้กินน้ำแครนเบอร์รี แอปเปิลไซเดอร์ และซุปโครงกระดูก ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อกันว่าสามารถบรรเทาอาการของโรคได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาเหล่านี้อาจไม่ช่วยให้น้องแมวหายขาด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โอกาสที่จะเป็นซ้ำก็เพิ่มมากขึ้น ทางที่ดีจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

Close modal