IAMS TH
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health

adp_description_block444
เรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงลูกแมวให้มีสุขภาพดี

  • แบ่งปัน

ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าบรรดาลูกแมวตัวน้อยมอบความสุขและเสียงหัวเราะไม่รู้จบมาให้เราทุกครอบครัว ดังนั้นเพื่อตอบแทนความรักของพวกเค้า เจ้าของจำเป็นต้องทำความเข้าใจวิธีดูแลและข้อควรระวังต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแมว อย่างเรื่องอาหารการกิน ลูกแมวมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง พวกเค้าควรได้รับอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล รวมถึงควรได้รับการดูแลความสะอาด ตัดแต่งขน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พวกเค้าแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ โดยคุณสามารถอ่านคำแนะนำและเทคนิคในการดูแลลูกแมวให้เติบโตเป็นแมวโตเต็มวัยที่มีความสุขและมีสุขภาพดีได้ในบทความนี้

สิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวให้มีสุขภาพดี

ทาสแมวมือใหม่หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าควรดูแลลูกแมวอย่างไรให้แข็งแรงและมีความสุข ต้องบอกก่อนเลยว่าการดูแลลูกแมวอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในช่วงแรก แต่ถ้ารู้วิธีที่ถูกต้องแล้ว ทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน เพื่อช่วยให้การดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณง่ายขึ้น คำแนะนำเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรรู้

  1. รักษาความสะอาด – การอาบน้ำและแปรงขนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลลูกแมวให้แข็งแรง วิธีนี้จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยแนะนำให้เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ออกแบบมาเพื่อลูกแมวโดยเฉพาะ และควรเช็ดตัวให้แห้งทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ
  2. ให้อาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน – ลูกแมวมีความต้องการทางโภชนาการที่เฉพาะเจาะจง จึงควรเลือกให้อาหารที่มีคุณภาพสูงและมีสารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะ เพื่อให้เสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม
  3. ฝึกการเข้าสังคม – แมวก็เป็นสัตว์สังคมเช่นเดียวกันกับเรา เจ้าของควรเปิดโอกาสให้พวกเค้าได้ทำความรู้จักผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเค้าพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและป้องกันปัญหาของพฤติกรรมในอนาคต
  4. สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค – การตรวจเช็กสุขภาพ การฉีดวัคซีน และการดูแลป้องกันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกแมวแข็งแรงและปราศจากโรคต่าง ๆ ลูกแมวตัวน้อยของคุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้อยลงหากฉีดวัคซีนครบตามกำหนดหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

พัฒนาการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย

ทำความเข้าใจพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อยเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้

อายุ

พัฒนาการที่สำคัญ

5 – 6 เดือน

เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

8 เดือน

ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่

9 เดือน

ความสามารถในการย่อยอาหารเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

12 เดือน (ตัวเมีย) และ 18 เดือน (ตัวผู้)

น้ำหนักตัวเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

อายุระหว่าง 10 – 12 เดือน

ความต้องการพลังงานลดลง

 

อยากรู้ไหมว่าน้องแมวอายุเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคน มาค้นหาคำตอบได้กันจากตารางเทียบอายุด้านล่างนี้

ช่วงวัยอายุแมวอายุแมวเปรียบเทียบกับคน
ลูกแมว0 – 1 เดือน0 – 1 ปี
2 เดือน2 ปี
3 เดือน4 ปี
4 เดือน6 ปี
5 เดือน8 ปี
6 เดือน10 ปี
ลูกแมวในวัยเจริญเติบโต7 เดือน12 ปี
12 เดือน15 ปี
18 เดือน21 ปี
2 ปี24 ปี
น้องแมวโตเต็มวัย3 ปี28 ปี
4 ปี32 ปี
5 ปี36 ปี
6 ปี40 ปี
น้องแมวช่วงวัยอาวุโส7 ปี44 ปี
8 ปี48 ปี
9 ปี52 ปี
10 ปี56 ปี
น้องแมวสูงวัย11 ปี60 ปี
12 ปี64 ปี
13 ปี68 ปี
14 ปี72 ปี
น้องแมววัยชรา15 ปี76 ปี
16 ปี80 ปี
17 ปี84 ปี
18 ปี88 ปี
19 ปี92 ปี
20 ปี96 ปี
21 ปี100 ปี
22 ปี104 ปี
23 ปี108 ปี
24 ปี112 ปี
25 ปี116 ปี

 

เช็กลิสต์การตรวจสอบสภาพร่างกายของลูกแมว

การดูแลส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมว ซึ่งหนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการตรวจสภาพร่างกายของลูกแมวอย่างใกล้ชิด โดยคุณสามารถทำตามเช็กลิสต์ต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี

  1. หู – ตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น รอยแดงหรือของเหลวแปลก ๆ ในช่องหู วิธีนี้จะช่วยให้คุณพบสิ่งผิดปกติได้เร็วและหาวิธีดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที
  2. ดวงตา – คอยสังเกตสิ่งที่ไหลออกมาจากดวงตาหรือความขุ่นมัวในดวงตา ลูกแมวที่แข็งแรงควรมีดวงตาที่สดใสและไม่ขุ่นมัว
  3. จมูก – หากพบว่าลูกแมวมีน้ำมูกไหลผิดปกติหรือมีเลือดคั่งในจมูก ควรรีบไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุในทันที
  4. ช่องปาก – พยายามมองหาสัญญาณของการติดเชื้อหรืออาการอักเสบ โดยลูกแมวควรมีช่องปากที่สะอาดและไม่มีกลิ่นเหม็น
  5. ผิวหนังและเส้นขน – หมั่นตรวจเช็กเห็บหมัดเป็นประจำ โดยลูกแมวที่แข็งแรงจะมีเส้นขนที่นุ่มเงางาม
  6. เล็บ – คอยดูว่าเล็บของเจ้าตัวน้อยยาวเกินไปหรือไม่ มีเล็บหักหรือเปล่า เจ้าของควรตัดเล็บให้พวกเค้าเป็นประจำ และควรจัดหาเสาลับเล็บติดบ้านไว้ด้วย
  7. พฤติกรรม – เจ้าของควรสังเกตพฤติกรรมของลูกแมวอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการเซื่องซึมหรือภาวะซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะลูกแมวโดยทั่วไปจะมีความกระตือรือร้นและพร้อมเล่นสนุกได้ทั้งวัน
  8. การย่อยอาหาร – หากพบว่าลูกแมวมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที
  9. การกินน้ำ – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวดื่มน้ำเพียงพอในแต่ละวัน การได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพของลูกแมว

การสังเกตสภาพร่างกายของลูกแมวเป็นประจำมีประโยชน์มาก โดยจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าพวกเค้ามีสุขภาพที่ดีและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมแล้ว

 

โดยสรุปแล้ว การเลี้ยงลูกแมวต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่มีความสุขและมีสุขภาพดี หากมีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำหรือปรึกษาสัตวแพทย์ หากคุณมอบความรักและดูแลลูกแมวอย่างถูกวิธี พวกเค้าก็จะอยู่เคียงข้างพร้อมมอบความสุขให้คุณได้นานหลายปี

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแมวของเรามีสุขภาพที่ดี?
  2. คุณสามารถสังเกตได้จากสัญญาณสุขภาพดีเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยมีดวงตาใสไม่ขุ่นมัว ขนสะอาดเงางาม และกินอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ลูกแมวควรมีความกระตือรือร้น ไม่เซื่องซึมหรือดูอ่อนเพลียตลอดเวลา การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่บอกได้ว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพดี

  3. จะทำให้ลูกแมวมีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างไร?
  4. สิ่งสำคัญสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของลูกแมวคือการตรวจสุขภาพเป็นประจำ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย ตลอดจนการฉีดวัคซีนและการดูแลป้องกันโรคร้าย

  5. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในลูกแมวมีอะไรบ้าง?
  6. ลูกแมวมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ทั้งการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หนอนพยาธิ ปรสิตอย่างหมัดและเห็บ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาภาวะเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจในภายหลังได้ด้วย

  7. ลูกแมวป่วยง่ายใช่หรือไม่?
  8. แม้ว่าลูกแมวจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง แต่ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ลูกแมวของคุณก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้

  9. ลูกแมวควรกินน้ำในปริมาณมากใช่หรือไม่?
  10. ลูกแมวจำเป็นต้องกินน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ แต่ปริมาณที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ขนาดตัว และการทำกิจกรรมของลูกแมว โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  • How to Create an Enriching Environment for Your Kitten
    How to Create an Enriching Environment for Your Kitten
    adp_description_block218
    วิธีสร้างบรรยากาศให้เหมาะกับเจ้าตัวน้อยของคุณ | ไอแอมส์™

    • แบ่งปัน

    มอบบรรยากาศที่เหมาะกับเจ้าเหมียวของคุณ ให้เค้าได้มีความสุข สนุกสนาน ร่าเริง และพร้อมผจญภัยอยู่เสมอ

     

    เจ้าเหมียวมีนิสัยอยากรู้อยากเห็น ขี้เล่น แถมยังมีพลังงานเยอะ บรรยากาศที่ปลอดภัยและเหมาะสมจะช่วยกระตุ้นให้เค้าอยากเล่น ทั้งยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ สมอง สุขภาพ และพัฒนาการที่ดีไปตลอดชีวิต

     

    เคล็ดลับในการสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยและเหมาะกับลูกแมว

     

    การเลี้ยงแมวไว้ในบ้านมีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากช่วยป้องกันเค้าจากภัยอันตรายหลากหลายรูปแบบ แต่เมื่อขาดประสบการณ์ที่ควรได้เรียนรู้จากธรรมชาติ จึงควรมีสิ่งอื่นมาทดแทนเพื่อช่วยเสริมสร้างสมองและกล้ามเนื้อให้เจ้าเหมียว

    จัดให้แมวได้อยู่ในที่ปลอดภัยสำหรับซ่อนตัวและพักผ่อนเพื่อสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมให้แก่เค้า อย่างเช่น ขอบหน้าต่าง กระเป๋าแมว หรือที่นอนแมว เจ้าเหมียวควรรู้สึกอุ่นใจเมื่ออยู่ในที่ปลอดภัยซึ่งเค้าอาจชอบที่นอนที่เป็นสถานที่ปิดมากกว่า เนื่องจากเจ้าเหมียวใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน เราจึงควรกระตุ้นให้เค้าใช้เวลาที่ตื่นอยู่ไปกับกิจกรรมที่บริหารร่างกายและสมอง

    การสร้างบรรยากาศให้มีความสนุกสนานและน่าเล่นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน พื้นที่หลายระดับความสูงมีประโยชน์กับแมวมาก อย่างเช่น ต้นไม้ หรือที่นอนแมว เสาลับเล็บรูปแบบต่าง ๆ จะช่วยสอนการขีดข่วนที่ถูกต้องเหมาะสม ฝึกสัญชาตญาณตามธรรมชาติ และป้องกันไม่ให้เค้าไปลับเล็บบนเฟอร์นิเจอร์หรือพรมตัวโปรดของคุณ

    นอกจากนี้การเข้าสังคมกับแมวด้วยกันก็เป็นประโยชน์กับแมวจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อได้ทำความรู้จักกับแมวตัวอื่นตั้งแต่เค้ายังเด็ก การมีเพื่อนเล่นเป็นแมวหรือลูกแมวจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการ ที่เจ้าเหมียวต้องการเล่นหรือเคลื่อนไหวอยู่เกือบตลอดเวลา และอย่าลืมว่าแมวเป็นสัตว์ต้องการพื้นที่เยอะ บ้านที่เลี้ยงแมวหลายตัวควรมีพื้นที่หลากหลาย เพื่อให้พวกเค้าได้ซ่อน นอน และสังเกตการณ์

     

    เกมและของเล่นที่เจ้าเหมียวชื่นชอบ

     

    องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยแต่งเติมบรรยากาศให้เจ้าเหมียวคือการเข้าสังคมและการเล่น โดยเฉพาะบ้านที่เลี้ยงสัตว์เพียงตัวเดียว ของเล่นประเภทไม้ตกแมว ลูกบอลสำหรับตะปบหรือไล่ตามมักจะกระตุ้นพฤติกรรมการเล่นแบบสัตว์ผู้ล่าของเค้าได้ง่าย

     

    เกมสำหรับเจ้าเหมียว

     

    การเล่นเกมกับเจ้าตัวเล็กจะช่วยพัฒนาทักษะการทรงตัวและการล่าตามธรรมชาติของเค้า นอกจากนี้ยังช่วยให้เค้าเรียนรู้ขอบเขตและสานสัมพันธ์กับเจ้าของใหม่อย่างใกล้ชิด ลองเล่นกับเค้าประมาณ 10-15 นาทีวันละ 2-3 ครั้ง อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลด “ฝันร้ายยามค่ำคืน” คือให้เค้าได้เล่นกิจกรรมที่ใช้พลังงานเยอะก่อนให้อาหารมื้อค่ำ วิธีนี้ทำให้เค้าใช้พลังงานจนหมดและเป็นการเลียนแบบลำดับพฤติกรรม ล่า-กิน-เลีย-นอน ตามธรรมชาติในแมวอีกด้วย

     

    เกมที่คุณควรเล่นกับเจ้าเหมียวได้แก่

     

    • ซ่อนหา - (เหมาะกับการเล่นช่วงมื้อกลางวัน) ลองเรียกเจ้าเหมียวมาหาคุณ เมื่อเค้ามาแล้วให้หนีไปที่ห้องอื่นแล้วเรียกซ้ำอีกครั้ง พอเค้าหาเจอแล้วอย่าลืมให้รางวัลเป็นของเล่นสนุก ๆ หรือขนมด้วยล่ะ
    • โยนของ - ลองโยนของเล่นให้เจ้าเหมียวคอยจับ เมื่อเค้า “จับ” ของได้แล้ว เรียกให้เค้ามาหาคุณ หากเค้าคาบของมาด้วย ให้รางวัลเป็นคำชมหรือขนมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม 
    • ถุงกระดาษแสนสนุก - วางถุงช้อปปิ้งตั้งเอาไว้ แล้วใช้นิ้วเกาด้านในถุงเบา ๆ หรือใส่ของเล่นเอาไว้เพื่อกระตุ้นให้เค้าเข้ามาในถุง จากนั้นให้จิ้มหรือเกาด้านนอกของถุงระหว่างที่เค้ามีความสุขกับการล่า “เหยื่อ” ปริศนาอยู่ด้านใน

     

    กระตุ้นลูกแมวของคุณผ่านการฝึก

     

    องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยแต่งเติมบรรยากาศให้เจ้าเหมียวคือการเข้าสังคมและการเล่น โดยเฉพาะบ้านที่เลี้ยงสัตว์เพียงตัวเดียว ของเล่นจำพวกไม้ตกแมว ลูกบอลสำหรับตะปบหรือวิ่งไล่ตามมักจะกระตุ้นพฤติกรรมการเล่นแบบสัตว์ผู้ล่าของเค้าได้ง่าย

     

    ไม่ปล่อยให้ลูกแมวเบื่อหน่ายเมื่อเค้าอยู่ลำพัง

     

    ความท้าทายอีกหนึ่งข้อคือ การแต่งเติมบรรยากาศให้เหมาะกับเจ้าเหมียว เวลาที่ไม่มีคนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นเล่นด้วย ของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ เป็นตัวสยบความเบื่อหน่ายได้ดี ซึ่งมีให้คุณเลือกหลากหลายรูปแบบไว้แก้เบื่อ และอย่าลืมให้รางวัลเค้าเป็นขนมหรืออาหาร เช่น ไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ ซึ่งมีประโยชน์สองต่อด้วยกัน ทั้งให้เค้าได้เล่นและได้รับโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการด้านพลังงานและด้านร่างกาย

    ลูกแมวและแมวโตมักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเฝ้าดูโลกภายนอกผ่านหน้าต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเครื่องให้อาหารนกหรือสวนผีเสื้อให้เค้ามองเห็น คุณจึงควรเปิดม่านหน้าต่างไว้อย่างน้อยหนึ่งด้าน ซึ่งควรเป็นด้านที่มีการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมให้เห็นบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังมี “ทีวีสำหรับแมว” เป็นวิดีโอกระรอก นก หรือวิวธรรมชาติต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ไว้คอยแก้เบื่อให้เจ้าเหมียวอีกด้วย

    การแต่งเติมบรรยากาศให้เหมาะกับแมวเป็นการช่วยป้องกันความเครียดสะสมและลดการสร้างพฤติกรรมผิดปกติ ลูกแมวที่เติบโตจนเต็มวัยในสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ ได้บริหารร่างกายและจิตใจอย่างสม่ำเสมอจะทำให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาวะที่ดีตลอดทุกช่วงวัย

     

Close modal