IAMS TH
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health

adp_description_block79
เรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงลูกแมวให้มีสุขภาพดี

  • แบ่งปัน

ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าบรรดาลูกแมวตัวน้อยมอบความสุขและเสียงหัวเราะไม่รู้จบมาให้เราทุกครอบครัว ดังนั้นเพื่อตอบแทนความรักของพวกเค้า เจ้าของจำเป็นต้องทำความเข้าใจวิธีดูแลและข้อควรระวังต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแมว อย่างเรื่องอาหารการกิน ลูกแมวมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง พวกเค้าควรได้รับอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล รวมถึงควรได้รับการดูแลความสะอาด ตัดแต่งขน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พวกเค้าแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ โดยคุณสามารถอ่านคำแนะนำและเทคนิคในการดูแลลูกแมวให้เติบโตเป็นแมวโตเต็มวัยที่มีความสุขและมีสุขภาพดีได้ในบทความนี้

สิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวให้มีสุขภาพดี

ทาสแมวมือใหม่หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าควรดูแลลูกแมวอย่างไรให้แข็งแรงและมีความสุข ต้องบอกก่อนเลยว่าการดูแลลูกแมวอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในช่วงแรก แต่ถ้ารู้วิธีที่ถูกต้องแล้ว ทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน เพื่อช่วยให้การดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณง่ายขึ้น คำแนะนำเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรรู้

  1. รักษาความสะอาด – การอาบน้ำและแปรงขนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลลูกแมวให้แข็งแรง วิธีนี้จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยแนะนำให้เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ออกแบบมาเพื่อลูกแมวโดยเฉพาะ และควรเช็ดตัวให้แห้งทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ
  2. ให้อาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน – ลูกแมวมีความต้องการทางโภชนาการที่เฉพาะเจาะจง จึงควรเลือกให้อาหารที่มีคุณภาพสูงและมีสารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะ เพื่อให้เสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม
  3. ฝึกการเข้าสังคม – แมวก็เป็นสัตว์สังคมเช่นเดียวกันกับเรา เจ้าของควรเปิดโอกาสให้พวกเค้าได้ทำความรู้จักผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเค้าพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและป้องกันปัญหาของพฤติกรรมในอนาคต
  4. สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค – การตรวจเช็กสุขภาพ การฉีดวัคซีน และการดูแลป้องกันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกแมวแข็งแรงและปราศจากโรคต่าง ๆ ลูกแมวตัวน้อยของคุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้อยลงหากฉีดวัคซีนครบตามกำหนดหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

พัฒนาการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย

ทำความเข้าใจพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อยเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้

อายุ

พัฒนาการที่สำคัญ

5 – 6 เดือน

เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

8 เดือน

ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่

9 เดือน

ความสามารถในการย่อยอาหารเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

12 เดือน (ตัวเมีย) และ 18 เดือน (ตัวผู้)

น้ำหนักตัวเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

อายุระหว่าง 10 – 12 เดือน

ความต้องการพลังงานลดลง

 

อยากรู้ไหมว่าน้องแมวอายุเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคน มาค้นหาคำตอบได้กันจากตารางเทียบอายุด้านล่างนี้

ช่วงวัยอายุแมวอายุแมวเปรียบเทียบกับคน
ลูกแมว0 – 1 เดือน0 – 1 ปี
2 เดือน2 ปี
3 เดือน4 ปี
4 เดือน6 ปี
5 เดือน8 ปี
6 เดือน10 ปี
ลูกแมวในวัยเจริญเติบโต7 เดือน12 ปี
12 เดือน15 ปี
18 เดือน21 ปี
2 ปี24 ปี
น้องแมวโตเต็มวัย3 ปี28 ปี
4 ปี32 ปี
5 ปี36 ปี
6 ปี40 ปี
น้องแมวช่วงวัยอาวุโส7 ปี44 ปี
8 ปี48 ปี
9 ปี52 ปี
10 ปี56 ปี
น้องแมวสูงวัย11 ปี60 ปี
12 ปี64 ปี
13 ปี68 ปี
14 ปี72 ปี
น้องแมววัยชรา15 ปี76 ปี
16 ปี80 ปี
17 ปี84 ปี
18 ปี88 ปี
19 ปี92 ปี
20 ปี96 ปี
21 ปี100 ปี
22 ปี104 ปี
23 ปี108 ปี
24 ปี112 ปี
25 ปี116 ปี

 

เช็กลิสต์การตรวจสอบสภาพร่างกายของลูกแมว

การดูแลส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมว ซึ่งหนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการตรวจสภาพร่างกายของลูกแมวอย่างใกล้ชิด โดยคุณสามารถทำตามเช็กลิสต์ต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี

  1. หู – ตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น รอยแดงหรือของเหลวแปลก ๆ ในช่องหู วิธีนี้จะช่วยให้คุณพบสิ่งผิดปกติได้เร็วและหาวิธีดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที
  2. ดวงตา – คอยสังเกตสิ่งที่ไหลออกมาจากดวงตาหรือความขุ่นมัวในดวงตา ลูกแมวที่แข็งแรงควรมีดวงตาที่สดใสและไม่ขุ่นมัว
  3. จมูก – หากพบว่าลูกแมวมีน้ำมูกไหลผิดปกติหรือมีเลือดคั่งในจมูก ควรรีบไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุในทันที
  4. ช่องปาก – พยายามมองหาสัญญาณของการติดเชื้อหรืออาการอักเสบ โดยลูกแมวควรมีช่องปากที่สะอาดและไม่มีกลิ่นเหม็น
  5. ผิวหนังและเส้นขน – หมั่นตรวจเช็กเห็บหมัดเป็นประจำ โดยลูกแมวที่แข็งแรงจะมีเส้นขนที่นุ่มเงางาม
  6. เล็บ – คอยดูว่าเล็บของเจ้าตัวน้อยยาวเกินไปหรือไม่ มีเล็บหักหรือเปล่า เจ้าของควรตัดเล็บให้พวกเค้าเป็นประจำ และควรจัดหาเสาลับเล็บติดบ้านไว้ด้วย
  7. พฤติกรรม – เจ้าของควรสังเกตพฤติกรรมของลูกแมวอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการเซื่องซึมหรือภาวะซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะลูกแมวโดยทั่วไปจะมีความกระตือรือร้นและพร้อมเล่นสนุกได้ทั้งวัน
  8. การย่อยอาหาร – หากพบว่าลูกแมวมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที
  9. การกินน้ำ – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวดื่มน้ำเพียงพอในแต่ละวัน การได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพของลูกแมว

การสังเกตสภาพร่างกายของลูกแมวเป็นประจำมีประโยชน์มาก โดยจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าพวกเค้ามีสุขภาพที่ดีและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมแล้ว

 

โดยสรุปแล้ว การเลี้ยงลูกแมวต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่มีความสุขและมีสุขภาพดี หากมีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำหรือปรึกษาสัตวแพทย์ หากคุณมอบความรักและดูแลลูกแมวอย่างถูกวิธี พวกเค้าก็จะอยู่เคียงข้างพร้อมมอบความสุขให้คุณได้นานหลายปี

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแมวของเรามีสุขภาพที่ดี?
  2. คุณสามารถสังเกตได้จากสัญญาณสุขภาพดีเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยมีดวงตาใสไม่ขุ่นมัว ขนสะอาดเงางาม และกินอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ลูกแมวควรมีความกระตือรือร้น ไม่เซื่องซึมหรือดูอ่อนเพลียตลอดเวลา การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่บอกได้ว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพดี

  3. จะทำให้ลูกแมวมีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างไร?
  4. สิ่งสำคัญสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของลูกแมวคือการตรวจสุขภาพเป็นประจำ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย ตลอดจนการฉีดวัคซีนและการดูแลป้องกันโรคร้าย

  5. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในลูกแมวมีอะไรบ้าง?
  6. ลูกแมวมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ทั้งการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หนอนพยาธิ ปรสิตอย่างหมัดและเห็บ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาภาวะเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจในภายหลังได้ด้วย

  7. ลูกแมวป่วยง่ายใช่หรือไม่?
  8. แม้ว่าลูกแมวจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง แต่ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ลูกแมวของคุณก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้

  9. ลูกแมวควรกินน้ำในปริมาณมากใช่หรือไม่?
  10. ลูกแมวจำเป็นต้องกินน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ แต่ปริมาณที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ขนาดตัว และการทำกิจกรรมของลูกแมว โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  • สาเหตุของแมวอ้วกและวิธีการรักษา
    สาเหตุของแมวอ้วกและวิธีการรักษา
    adp_description_block464
    สาเหตุของแมวอ้วกและวิธีการรักษา

    • แบ่งปัน

    สำหรับคนเลี้ยงแมว คุณคงเคยเห็นแมวอาเจียนบ้างเป็นครั้งคราว บางครั้งแมวก็อ้วกออกมาเป็นก้อนขน หรือบางครั้งคุณอาจพบว่าแมวอ้วกเป็นอาหารที่กินเข้าไป การอาเจียนแบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติ แต่แมวที่มีสุขภาพดีไม่ควรอาเจียนบ่อยเกินไป การอาเจียนบ่อยครั้งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทางที่ดีควรไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่และรับการรักษาอย่างทันท่วงที

     

    ดังที่กล่าวไปแล้ว การอาเจียนเป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องน่ากังวล คุณไม่จำเป็นต้องรีบพาแมวไปพบสัตวแพทย์ แต่ควรไปพบเมื่อแมวอ้วกหลังอาหารทุกมื้อหรือทุกวัน อ่านบทความของเราเพื่อเรียนรู้สาเหตุและวิธีดูแลรักษาอาการอาเจียนในแมวเพิ่มเติม

     

    แมวอาเจียนเพราะอะไร?

    การอาเจียนของแมวเกิดได้จากหลายสาเหตุ แมวอาจอาเจียนเมื่อสัมผัสกับสารพิษ เช่น พืชบางชนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการอาเจียนเรื้อรังได้ นอกจากนี้แมวยังมีนิสัยอยากรู้อยากเห็น พวกเค้าอาจรับสารพิษเข้าไปแบบไม่รู้ตัวในขณะที่สำรวจสิ่งต่าง ๆ จนนำไปสู่การอาเจียนในที่สุด

     

    การอาเจียนไม่สามารถระบุความเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อที่เฉพาะเจาะจงได้ โรคในแมวเกือบทั้งหมดส่งผลให้แมวมีอาการอาเจียน ทั้งนี้เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง คุณจะต้องพาเจ้าเหมียวไปพบสัตวแพทย์ โดยการอาเจียนอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ ความผิดปกติของอวัยวะ ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร อาหาร การติดเชื้อ โรคมะเร็ง และอื่น ๆ

     

    สาเหตุของการอาเจียนในแมว

    สาเหตุที่ทำให้แมวอ้วกมีอะไรบ้าง ตามมาดูไปพร้อม ๆ กันเลย

    1. ก้อนขนอุดตัน – 

    แมวชอบดูแลตัวเอง พวกเค้ามักจะเลียทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอ และลิ้นที่มีหนามเล็ก ๆ อาจเกี่ยวติดขนที่ใกล้หลุดร่วงออกมา ทำให้แมวกลืนขนบางส่วนลงไป ขนเหล่านี้จะสะสมอยู่ในท้องจนเกิดการอุดตัน แมวจึงต้องขย้อนมันออกมา การขย้อนก้อนขนเป็นเรื่องปกติและไม่น่ากังวล แต่หากแมวขย้อนก้อนขนบ่อยเกินไป นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาระบบทางเดินอาหาร ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์

     

    1. ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร – 

    อาจเรียกว่าเป็นอาการท้องไส้ปั่นป่วนก็ได้ สาเหตุนี้อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยา ปัญหาเกี่ยวกับอาหาร และการได้รับสารพิษ ปัญหาในระบบทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงและหายได้เอง ในขณะที่สาเหตุอื่น ๆ อาจก่อให้เกิดอาการเรื้อรังและต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ

    • สิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งกีดขวาง – หากแมวของคุณชอบกัดหรือเคี้ยวสิ่งของ มันก็มีโอกาสที่พวกเค้าจะกลืนชิ้นส่วนเล็ก ๆ ลงไป ทำให้เกิดการอุดตันในระบบทางเดินอาหารและเกิดการอาเจียนได้ ในกรณีนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน ทางที่ดีควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กอาการเพิ่มเติม

    • อาการภูมิแพ้แมวและโรคลำไส้อักเสบ – การแพ้อาหารจะเกิดขึ้นเมื่อแมวได้กินอาหารบางชนิดเข้าไป ซึ่งอาจทำให้แมวอ้วกออกมาทันทีเนื่องจากการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร บางครั้งการแพ้อาหารก็ทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรังได้เช่นกัน

    • อาการเจ็บป่วย – โรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น ตับอ่อนอักเสบ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป โรคไต และอื่น ๆ อาจทำให้แมวรู้สึกคลื่นไส้และอาเจียนได้ หากแมวอ้วกบ่อยจนผิดปกติ คุณควรพาพวกเค้าไปตรวจเช็กร่างกายเพื่อค้นหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่

    • การติดเชื้อปรสิต – ปรสิตตัวร้ายมักจะทำให้ลูกแมวมีอาการอาเจียน แต่สาเหตุนี้เกิดขึ้นได้กับแมวทุกวัยเช่นกัน แนะนำให้ตรวจสอบอาเจียนของแมวเพื่อหาพยาธิที่มีชีวิต ข่าวดีคือการอาเจียนจากปรสิตสามารถรักษาให้หายได้ 100%

    • โรคมะเร็ง – มะเร็งในระบบทางเดินอาหารพบได้บ่อยมากในแมว ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้แมวมีอาการอาเจียน อย่างไรก็ตาม มะเร็งในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายก็อาจทำให้อาเจียนได้เช่นกัน

    ลักษณะอาเจียนของแมว

    ลักษณะของอาเจียนมีความสำคัญต่อการรักษา เนื่องจากสามารถบ่งบอกถึงสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงได้ แนะนำให้สังเกตหรือตรวจดูอาเจียนของแมวเพื่อแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบ โดยลักษณะอาเจียนของแมวที่พบบ่อยมีดังนี้

     

    อาเจียนสีเหลือง

    แมวอ้วกเป็นสีเหลืองอาจเป็นเพราะอาหารย่อยได้แค่บางส่วนหรือเป็นน้ำดีในท้อง

    อาเจียนสีใส

    อาเจียนสีใสอาจเกิดขึ้นจากอาการท้องว่างหรือการสำรอกน้ำลายออกจากหลอดอาหาร

    อาเจียนสีขาว มีฟอง

    การขย้อนก้อนขนในขณะท้องว่างอาจทำให้แมวอาเจียนเป็นฟองสีขาวได้

    อาเจียนเป็นเลือด 

    อาเจียนเป็นเลือดอาจเกิดจากการอักเสบในกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร หรือลำไส้ส่วนบน

    อาเจียนสีน้ำตาล มีกลิ่น

    อาเจียนสีน้ำตาลและมีกลิ่นอาจเป็นสัญญาณของการมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังอาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับไตหรือตับด้วย

     

    ป้องกันไม่ให้แมวอาเจียนได้อย่างไร?

    เราสามารถป้องกันไม่ให้แมวอ้วกได้หลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการดูแลเรื่องอาหารการกิน ในกรณีที่มีอาการภูมิแพ้แมวหรือมีอาการแพ้อาหาร ควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากสัตวแพทย์ วิธีนี้จะช่วยป้องกันปัญหาอาเจียนเรื้อรังได้

     

    ขอแนะนำให้เลือกอาหารแมวที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล หลีกเลี่ยงการให้อาหารของคน คอยจับตาดูแมวขณะเล่นและอย่าปล่อยให้พวกเค้ากินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป สำหรับปัญหาก้อนขนอุดตัน คุณอาจเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรลดก้อนขนหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่สัตวแพทย์แนะนำเพิ่มเติมได้

     

    การรักษาอาการอาเจียนในแมว

    การสังเกตลักษณะอาเจียนเป็นส่วนสำคัญในการรักษา คุณควรสังเกตว่าอาเจียนของแมวเป็นแบบใด แมวอ้วกเป็นอาหารที่กินเข้าไปหรือแมวอาเจียนเป็นฟองสีขาว ทั้งนี้พ่อแม่แมวหลายคนพยายามหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันหรือลดการอาเจียนมาใช้กับแมว แต่การอาเจียนเกิดจากหลายสาเหตุ การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาจึงเป็นเรื่องยาก หากแมวของคุณอาเจียนเพราะปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกายหรือโรคมะเร็ง สิ่งแรกที่ควรทำคือเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม แต่หากแมวของคุณมีอาการอาเจียนเพียงเล็กน้อย สัตวแพทย์อาจสั่งยาแก้อาเจียนหรือยาลดกรดให้ สำหรับปัญหาระบบทางเดินอาหาร คุณอาจต้องเปลี่ยนสูตรอาหารที่เหมาะสมกับอาการ 

     

    การวินิจฉัยและการตรวจสอบโดยสัตวแพทย์

    สัตวแพทย์จะตัดสินใจว่าควรทดสอบและใช้วิธีการรักษาแบบใดโดยพิจารณาจากประเด็นเหล่านี้

    1. แมวมีไข้ อ่อนเพลีย หรือเซื่องซึมหรือไม่

    2. แมวมีอาการเบื่ออาหารไหม? น้ำหนักลดลงหรือเปล่า?

    3. แมวอ้วกเป็นเลือดหรือไม่?

    4. แมวมีอาการเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวไหม?

    5. ช่องท้องของแมวได้รับผลกระทบหรือไม่?

    6. แมวอ้วกบ่อยครั้งในหนึ่งวันหรือแค่หลังมื้ออาหาร?

    7. อาเจียนของแมวมีกลิ่นเหม็นไหม? แล้วอาเจียนมีสีอะไร?

    8. คุณเพิ่งเปลี่ยนอาหารให้แมวใหม่หรือเปล่า มีการให้อาหารเสริมหรือไม่?

    9. แมวของคุณชอบเคี้ยวของเล่นหรือกินอาหารอื่นเข้าไปหรือเปล่า?

    10. แมวตัวอื่นในบ้านมีอาการเหมือนกันไหม?

    การตรวจวินิจฉัยและการรักษาวิธีอื่น

    หากแมวของคุณอาเจียนบ่อยครั้งและคุณสงสัยว่าพวกเค้ามีปัญหาสุขภาพอื่นแอบแฝง สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมและทำการรักษาในเชิงรุก หากแมวสูญเสียเลือดหรืออิเล็กโทรไลต์จำนวนมากจากการอาเจียนบ่อย ๆ คุณอาจต้องพาพวกเค้าไปรักษาในโรงพยาบาล

     

    สาเหตุอื่น ๆ ของการอาเจียนในแมว

    ก่อนจะเรียนรู้วิธีรักษาอาการอาเจียนของแมว เรามาดูสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้แมวอาเจียนกันก่อน

    1. สารพิษ

    • การอาเจียนจากการได้รับสารพิษขณะเลียขนเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด

    • แมวชอบเคี้ยวใบไม้ดอกไม้ในบ้าน ซึ่งพืชบางชนิดก็เป็นพิษกับแมว

    • ขณะที่เราทำความสะอาดบ้านด้วยสารเคมีต่าง ๆ แมวอาจสูดดมหรือเลียเข้าไป ทำให้เกิดการอาเจียนได้

    1. อาหาร

    • หากแมวไม่ยอมกินอาหารหรือกินช้าลงกว่าปกติ คุณอาจพบว่าแมวอ้วกเป็นอาหารที่ไม่ได้ย่อยออกมา

    • อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แมวอาเจียนบ่อยคือการเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน คุณควรเปลี่ยนอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 1 – 2 สัปดาห์ โดยค่อย ๆ ปรับปริมาณอาหารเดิมให้น้อยลง และเพิ่มปริมาณอาหารใหม่ให้มากขึ้น

    1. ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร

    • การได้รับสิ่งแปลกปลอม มลพิษ หรือผลข้างเคียงของยา อาจทำให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหารได้ เช่น มีอาการปวดท้อง

    • บางกรณีอาจไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่บางกรณีอาจร้ายแรงและควรได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์

    1. ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้

    • การกลืนสิ่งแปลกปลอม เช่น เชือกหรือของเล่นชิ้นเล็ก ๆ อาจทำให้เกิดการอุดตันที่กระเพาะหรือลำไส้ 

    • ลำไส้อุดตันเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องได้รับการดูแลรักษาทันที อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น เนื้องอก หรือการบีบตัวผิดปกติของลำไส้

    • อาการที่สังเกตได้ทั่วไป เช่น แมวอ้วกบ่อย ไม่สามารถกลืนน้ำหรืออาหารได้

    1. ความผิดปกติของอวัยวะ

    • ความผิดปกติเรื้อรัง เช่น ตับอ่อนอักเสบ โรคไต และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนเรื้อรังในแมวได้

    • การระบุโรคที่เป็นต้นเหตุเป็นสิ่งสำคัญเพื่อค้นหาวิธีดูแลรักษาอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต

    1. ปัญหาต่อมไร้ท่อ

    • หนึ่งในโรคต่อมไร้ท่อในแมวที่พบบ่อยที่สุดคือไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป 

    • การทำงานมากเกินไปของต่อมไทรอยด์เกิดจากเนื้องอก (โดยปกติจะไม่เป็นอันตราย)

    • อัตราการเผาผลาญที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้แมวอาเจียนได้

    อาการอาเจียนแบบใดที่น่ากังวล?

    พ่อแม่แมวไม่ควรละเลยหากแมวอาเจียนอย่างต่อเนื่อง เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาเจียนแบบไหนถือว่าผิดปกติ? หากแมวอ้วก 1 – 3 ครั้งต่อเดือน จะถือว่าเป็นเรื่องปกติ

     

    กรณีที่ร้ายแรงหรือน่ากังวลคือแมวอ้วกวันละสองครั้งเป็นเวลาสองหรือสามวัน หากแมวของคุณไม่ยอมกินอาหาร มีอาการปวดท้อง อาเจียนอย่างต่อเนื่องหรืออาเจียนมีเลือดปน ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

Close modal