การทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีอ่านรหัสผลิตภัณฑ์ของอาหารแมว จะช่วยให้คุณสามารถเลือกอาหารลูกแมวได้อย่างถูกต้อง นอกจากการมีวัตถุดิบที่เหมาะสมแล้ว อย่าลืมตรวจสอบว่าวัตถุดิบดังกล่าวสดใหม่หรือไม่เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของเจ้าเหมียว
ศึกษาวิธีอ่านรหัสผลิตภัณฑ์ที่แปะอยู่บนบรรจุภัณฑ์และกระป๋องอาหารแมวอย่างถูกต้องได้จากคู่มือเบื้องต้นของเราได้เลย
รหัสผลิตภัณฑ์คือชุดตัวเลขและตัวอักษรที่พิมพ์แปะอยู่บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นโดยผลิตขึ้นเพื่อบอกสถานที่และเวลาที่ผลิต
ในส่วนของรหัสผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไอแอมส์™ ใช้คำว่า “ควรบริโภคก่อน” หรือวันที่ไม่ถือว่าสินค้าสดใหม่อีกต่อไปและไม่ควรนำมาวางจำหน่าย เลขดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบของ “ววดดปป“ หรือ “ววดดดปป”
รหัสผลิตภัณฑ์ในบรรทัดที่สองระบุข้อมูลสำหรับใช้ภายในบริษัท เช่น ติดตามสินค้า และควบคุมคลังสินค้า
ตัวอย่างเช่น: 040220 04FEB20
ควรใช้ผลิตภัณฑ์นี้ก่อนวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2020
ผลิตภัณฑ์ประเภทซอง* อาจมีเลขวันที่อยู่หนึ่งหรือสองบรรทัดก็ได้แล้วแต่ไลน์สินค้า เมื่อเข้าใจหมายเลขเหล่านี้แล้วลูกค้าจะสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่ได้ไม่ยาก
อายุการเก็บรักษา คือช่วงเวลาที่ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บรักษาอย่างถูกต้อง โดยคงความสดใหม่อยู่ได้จากการนับเป็นหน่วยเดือน ตัวอย่างเช่น หากผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บรักษา 16 เดือน หมายความว่าผลิตภัณฑ์ยังคงความสดใหม่ได้ถึง 16 เดือนจากวันที่ผลิต
อายุการเก็บรักษาของอาหารแมวไอแอมส์ชนิดเม็ดคือ 16 เดือน ส่วนชนิดกระป๋องจะมีอายุการเก็บรักษา 24 เดือน
เก็บผลิตภัณฑ์อาหารลูกแมวแบบเม็ดที่ยังไม่ได้เปิดไว้ในพื้นที่เย็นและแห้ง เก็บอาหารลูกแมวที่เปิดซองแล้วไว้ในภาชนะที่สะอาด แห้ง และปิดปากภาชนะให้สนิท ผลิตภัณฑ์อาหารลูกแมวชนิดเม็ดสามารถแช่แข็งได้โดยไม่สูญเสียคุณค่าทางสารอาหาร
อาหารแมวชนิดเปียกที่เปิดแล้วควรเก็บไว้ในตู้เย็นที่ปิดในภาชนะให้สนิท ควรให้แมวกินให้หมดภายในสามวันหลังจากเปิดใช้แล้ว ไม่ควรแช่อาหารเปียกที่ยังไม่เปิดกระป๋อง อย่างไรก็ตาม คุณสามารถแช่อาหารลูกแมวเปียกได้หากนำออกจากบรรจุภัณฑ์แล้ว โดยเก็บไว้ในถุงสำหรับแช่และนำไปแช่ทันที
*ปัจจุบันไอแอมส์™ ยังไม่มีผลิตภัณฑ์อาหารแมวประเภทซองและกระป๋อง
การอาบน้ำเป็นหนึ่งในงานที่ยากมากสำหรับพ่อแม่แมว เพราะเจ้าเหมียวส่วนใหญ่ไม่ชอบน้ำและมักจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ แต่มันเป็นการดูแลที่สำคัญและไม่สามารถละเลยได้ โดยเฉพาะเมื่อลูกแมวมีปัญหาสุขภาพผิวหนัง สำหรับทาสแมวมือใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอาบน้ำลูกแมวอย่างไร เรามีเคล็ดลับและเทคนิคดี ๆ มาฝากกัน ห้ามพลาดบทความนี้เลย!
ก่อนเริ่มอาบน้ำให้ลูกแมว คุณควรตัดเล็บพวกเค้าให้เรียบร้อย เพราะเจ้าเหมียวจะข่วนคุณอย่างไม่ลังเลหากรู้สึกไม่พอใจหรือไม่สบายตัว และคุณอาจทำตามเคล็ดลับเหล่านี้เพื่อให้การอาบน้ำเจ้าตัวน้อยง่ายขึ้น!
แปรงขนก่อนอาบน้ำเสมอ
ลูกแมวผลัดขนตลอดทั้งปี ขนของพวกเค้าอาจร่วงมากขณะอาบน้ำ และอาจอุดตันระบบระบายน้ำของคุณได้ ทางที่ดีจึงควรแปรงขนลูกแมวเพื่อกำจัดเส้นขนที่หลุดร่วงออกไปก่อน
เลือกเวลาที่เหมาะสม
แนะนำให้เลือกอาบน้ำหลังจากที่ลูกแมวทำกิจกรรมอย่างเต็มที่แล้ว เช่น หลังเวลาเล่นหรือออกกำลังกาย เมื่อลูกแมวเหนื่อยและหมดแรง พวกเค้าอาจจะปล่อยให้คุณอาบน้ำโดยไม่ขัดขืน
ใช้แชมพูสูตรสำหรับแมวโดยเฉพาะ
ควรเลือกแชมพูที่ถูกออกแบบมาเพื่อแมวโดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงการใช้แชมพูหรือสบู่ของคนในทุกกรณี เนื่องจากมันอาจตกค้างอยู่บนเส้นขน ทำให้แมวได้รับเข้าไปขณะเลียตัวทำความสะอาด
ล้างน้ำให้สะอาด
สิ่งสำคัญคือต้องล้างแชมพูออกจากขนลูกแมวให้หมด และควรระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าหู จมูก หรือตา ทั้งนี้เพื่อให้ลูกแมวรู้สึกสบายตัวมากที่สุด ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนหรือน้ำเย็นจัด แนะนำให้ใช้น้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องแทน
ให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัล
เมื่ออาบน้ำให้ลูกแมวเรียบร้อยแล้ว ควรให้ขนมเป็นรางวัลทันที การเล่นและขนมแสนอร่อยจะทำให้ช่วงเวลาอาบน้ำเป็นประสบการณ์ที่ดีของแมว นอกจากนี้ขนมยังมีประโยชน์ในการหันเหความสนใจได้ดีเมื่อลูกแมวเริ่มวิตกกังวล
หลังอาบน้ำเสร็จ ควรเช็ดตัวและเป่าขนแมวให้แห้งทันที หากปล่อยให้ขนเปียกชื้นนาน ๆ อาจทำให้เกิดปัญหาผิวหนังได้ แต่การใช้ผ้าขนหนูถูตัวแรง ๆ ก็อาจทำให้แมวรู้สึกไม่สบายและเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังได้เช่นกัน คุณจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยแนะนำให้ทำตามวิธีต่อไปนี้แทน
ขั้นตอนที่ 1 – วางลูกแมวลงบนผ้าขนหนูที่แห้งและสะอาด
ขั้นตอนที่ 2 – ห่อตัวลูกแมวด้วยผ้าขนหนู
ขั้นตอนที่ 3 – จับแมวนั่งบนตัก ปล่อยให้แมวสงบอารมณ์ลงสักพัก
ขั้นตอนที่ 4 – ใช้ผ้าขนหนูซับเบา ๆ ทั่วทั้งตัวแมว
ขั้นตอนที่ 5 – ค่อย ๆ ซับไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งขนชื้นและไม่เปียกโชก
แมวเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบน้ำโดยธรรมชาติ เนื่องจากบรรพบุรุษอาศัยอยู่ในทะเลทราย ซึ่งหมายความว่าพวกเค้าแทบจะไม่เคยเจอฝน ทะเลสาบ หรือแม่น้ำเลย ดังนั้นน้ำทุกประเภท ยกเว้นน้ำดื่ม จึงกลายเป็นสิ่งแปลกปลอม อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติกับลูกแมวอย่างอ่อนโยนจะช่วยลดปัญหาขณะอาบน้ำและสร้างประสบการณ์ที่ดีได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการจ่อฝักบัวที่ตัวลูกแมวตลอดเวลา และพยายามจำกัดเวลาอาบน้ำให้สั้นที่สุด
ข้อควรระวัง – หากลูกแมวยังคงแสดงอาการกังวลหรือเครียดมาก ๆ ขณะอาบน้ำ แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์
การอาบน้ำเป็นช่วงเวลาที่ดีในการสานสัมพันธ์กับลูกแมวตัวน้อยของคุณ อีกทั้งยังช่วยให้ลูกแมวคุ้นเคยกับการสัมผัส เสริมสร้างความไว้วางใจและกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้นด้วย