IAMS TH
Understanding Kitten Food Product Codes
Understanding Kitten Food Product Codes-mob

adp_description_block467
ทำความเข้าใจกับรหัสผลิตภัณฑ์บนอาหารลูกแมว

  • แบ่งปัน

การทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีอ่านรหัสผลิตภัณฑ์ของอาหารแมว จะช่วยให้คุณสามารถเลือกอาหารลูกแมวได้อย่างถูกต้อง นอกจากการมีวัตถุดิบที่เหมาะสมแล้ว อย่าลืมตรวจสอบว่าวัตถุดิบดังกล่าวสดใหม่หรือไม่เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของเจ้าเหมียว 

ศึกษาวิธีอ่านรหัสผลิตภัณฑ์ที่แปะอยู่บนบรรจุภัณฑ์และกระป๋องอาหารแมวอย่างถูกต้องได้จากคู่มือเบื้องต้นของเราได้เลย

 

รหัสผลิตภัณฑ์คืออะไร ?

รหัสผลิตภัณฑ์คือชุดตัวเลขและตัวอักษรที่พิมพ์แปะอยู่บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นโดยผลิตขึ้นเพื่อบอกสถานที่และเวลาที่ผลิต

ในส่วนของรหัสผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไอแอมส์™ ใช้คำว่า “ควรบริโภคก่อน” หรือวันที่ไม่ถือว่าสินค้าสดใหม่อีกต่อไปและไม่ควรนำมาวางจำหน่าย เลขดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบของ “ววดดปป“ หรือ “ววดดดปป”

รหัสผลิตภัณฑ์ในบรรทัดที่สองระบุข้อมูลสำหรับใช้ภายในบริษัท เช่น ติดตามสินค้า และควบคุมคลังสินค้า

  • บรรทัดที่ 1: (ววดดปป) (ววดดดปป)

ตัวอย่างเช่น: 040220 04FEB20

  • บรรทัดที่ 2: 60351111## QQQQQQQ

ควรใช้ผลิตภัณฑ์นี้ก่อนวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2020

ผลิตภัณฑ์ประเภทซอง* อาจมีเลขวันที่อยู่หนึ่งหรือสองบรรทัดก็ได้แล้วแต่ไลน์สินค้า เมื่อเข้าใจหมายเลขเหล่านี้แล้วลูกค้าจะสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่ได้ไม่ยาก

 

อายุการเก็บรักษาคืออะไร ?

อายุการเก็บรักษา คือช่วงเวลาที่ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บรักษาอย่างถูกต้อง โดยคงความสดใหม่อยู่ได้จากการนับเป็นหน่วยเดือน ตัวอย่างเช่น หากผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บรักษา 16 เดือน หมายความว่าผลิตภัณฑ์ยังคงความสดใหม่ได้ถึง 16 เดือนจากวันที่ผลิต

อายุการเก็บรักษาของอาหารแมวไอแอมส์ชนิดเม็ดคือ 16 เดือน ส่วนชนิดกระป๋องจะมีอายุการเก็บรักษา 24 เดือน

 

วิธีเก็บรักษาอาหารลูกแมวแบบเม็ดและแบบเปียกอย่างถูกต้อง

เก็บผลิตภัณฑ์อาหารลูกแมวแบบเม็ดที่ยังไม่ได้เปิดไว้ในพื้นที่เย็นและแห้ง เก็บอาหารลูกแมวที่เปิดซองแล้วไว้ในภาชนะที่สะอาด แห้ง และปิดปากภาชนะให้สนิท ผลิตภัณฑ์อาหารลูกแมวชนิดเม็ดสามารถแช่แข็งได้โดยไม่สูญเสียคุณค่าทางสารอาหาร

อาหารแมวชนิดเปียกที่เปิดแล้วควรเก็บไว้ในตู้เย็นที่ปิดในภาชนะให้สนิท ควรให้แมวกินให้หมดภายในสามวันหลังจากเปิดใช้แล้ว ไม่ควรแช่อาหารเปียกที่ยังไม่เปิดกระป๋อง อย่างไรก็ตาม คุณสามารถแช่อาหารลูกแมวเปียกได้หากนำออกจากบรรจุภัณฑ์แล้ว โดยเก็บไว้ในถุงสำหรับแช่และนำไปแช่ทันที

*ปัจจุบันไอแอมส์™ ยังไม่มีผลิตภัณฑ์อาหารแมวประเภทซองและกระป๋อง

 

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    adp_description_block251
    รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนแมว

    • แบ่งปัน

    แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
     

    วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
     

    วัคซีนแต่ละชนิดและช่วงวัยที่เหมาะสมของแมว

    การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก

    1. วัคซีน FVRCP

    ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี

    1. วัคซีน FeLV

    วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์

    1. วัคซีน FPV

    วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี

    1. วัคซีนรวม 4 โรค

    วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี

    1. วัคซีนรวม 5 โรค

    วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

    หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้

    1. อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    2. อยากอาหารลดลง

    3. อาเจียน

    4. มีไข้ 

    5. ท้องเสีย

    6. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้