IAMS TH
Corn-Ingredients-and-Their-Use-in-Our-Cat-Foods-banner
Corn-Ingredients-and-Their-Use-in-Our-Cat-Foods-banner

adp_description_block425
ไขข้อสงสัย แมวกินข้าวโพดได้ไหม?

  • แบ่งปัน

ใคร ๆ ก็ชอบข้าวโพด แค่นึกภาพข้าวโพดอบเนยหวานมันแสนอร่อยก็น้ำลายสอแล้ว ทาสแมวหลายคนอาจสงสัยว่าแมวกินข้าวโพดได้ไหม คำตอบคือได้ แถมข้าวโพดยังเป็นประโยชน์ต่อน้องแมวอีกด้วย เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ ข้าวโพดจึงเป็นส่วนผสมสำคัญในอาหารแมวหลายยี่ห้อ

ประโยชน์ของข้าวโพด

แมวเป็นสัตว์กินเนื้อ พวกเค้าจึงต้องการโปรตีนในปริมาณมากสำหรับการทำงานของร่างกาย ข้าวโพดฝักกลาง 1 ฝักมีโปรตีนประมาณ 3.5 กรัม ซึ่งน้องแมวต้องการโปรตีนอย่างน้อย 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 0.5 กิโลกรัม สมมติถ้าน้องแมวหนัก 3.5 กิโลกรัม พวกเค้าจะต้องการโปรตีนอย่างน้อย 14 กรัม นั่นแปลว่าต้องให้แมวกินข้าวโพดอย่างน้อย 4 ฝัก ซึ่งไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก เพราะจะได้รับแคลอรี่สูงเกินไป ข้าวโพดจึงควรเป็นส่วนหนึ่งในอาหารมากกว่าเป็นอาหารมื้อหลัก และควรให้แมวได้รับโปรตีนจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม แต่ถึงอย่างนั้นข้าวโพดก็ยังมีประโยชน์มากมาย ดังนี้

  • เป็นแหล่งพลังงานชั้นดี

    • คาร์โบไฮเดรตอาจไม่ใช่สารอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับแมวเหมียว แต่มันช่วยให้เจ้าตัวน้อยมีพลังเต็มเปี่ยมตลอดทั้งวัน และเมื่อน้องแมวได้รับคาร์โบไฮเดรตเพียงพอ พวกเค้าก็ไม่จำเป็นเปลี่ยนโปรตีนเป็นพลังงาน ซึ่งทำให้ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ประโยชน์ในส่วนสำคัญได้อย่างเต็มที่ เช่น การเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
  • ป้องกันอาการอักเสบ

    • ข้าวโพดอุดมไปด้วยกรดไขมันที่ช่วยให้ผิวหนังมีสุขภาพดีและป้องกันการอักเสบ ซึ่งร่างกายของแมวไม่สามารถผลิตกรดไขมันเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง จึงต้องให้แมวกินข้าวโพดหรืออาหารอื่น ๆ ที่มีกรดไขมันเท่านั้น 
  • อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

    • สารต้านอนุมูลอิสระมีความจำเป็นต่อสุขภาพ เพราะช่วยป้องกันการทำลายเซลล์หรือเนื้อเยื่อ โดยวิตามินอีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ T-cell ซึ่งเป็นเซลล์ภูมิต้านทานชนิดหนึ่ง ส่วนบีตา-แคโรทีนจะช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันและช่วยให้วัคซีนทำงานได้ดีขึ้น ข่าวดีคือข้าวโพดอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระทั้งสองชนิดนี้!

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับข้าวโพดในอาหารแมว

ข้าวโพดหลากหลายรูปแบบถูกใช้เป็นส่วนผสมในอาหารแมว เช่น เมล็ดข้าวโพดป่น เมล็ดข้าวโพดบดละเอียด ปลายข้าวโพด แป้งข้าวโพด และรำข้าวโพด โดยคุณอาจสังเกตเห็นส่วนผสมของข้าวโพดอย่างน้อย 1 ชนิดบนบรรจุภัณฑ์อาหารแมว

 

ส่วนผสมจากข้าวโพด

ลักษณะและที่มา

เมล็ดข้าวโพดป่น หรือเมล็ดข้าวโพดบดละเอียด

เป็นการนำเมล็ดข้าวโพดทั้งหมดมาบดให้ละเอียด

ปลายข้าวโพด

บางส่วนของข้าวโพดบด โดยมีรำข้าว (ไฟเบอร์) หรือจมูกข้าว (ส่วนโปรตีนเล็ก ๆ ที่ปลายเมล็ด) เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย 

รำข้าวโพด 

เปลือกนอกของเมล็ดข้าวโพด ซึ่งให้ไฟเบอร์สูง

แป้งข้าวโพด

เป็นโปรตีนที่หลงเหลือจากรำข้าวโพด และผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว โดยจะกลายแหล่งเป็นคาร์โบไฮเดรตต่อไป 

 

ขนมข้าวโพดที่เหมาะสำหรับแมวเหมียว

แม้ว่าข้าวโพดจะอุดมไปสารอาหารที่มีประโยชน์ แต่ขนมจากข้าวโพดบางชนิดก็ไม่เหมาะสำหรับน้องแมว ควรหลีกเลี่ยงการให้แมวกินข้าวโพดทอด ข้าวโพดคั่ว และเปลือกข้าวโพด แต่สามารถให้ข้าวโพดย่างหรือต้มโดยไม่ปรุงรสใด ๆ แทน

 

ข้าวโพดในอาหารแมวไอแอมส์™

ข้าวโพดเป็นหนึ่งในส่วนผสมของอาหารแมวไอแอมส์™ ทุกสูตร ทั้งไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์ สูตรสำหรับแมวโต และไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์ สูตรสำหรับลูกแมว โดยเราเลือกใช้ “กลูเทนข้าวโพด” แทน “ฝักข้าวโพด” หากจะอธิบายความแตกต่างให้เห็นภาพ ก็คือการใช้ข้าวโพดปรุงสุกแทนข้าวโพดดิบนั่นเอง นอกจากนี้เรายังคัดสรรเฉพาะข้าวโพดคุณภาพดี และแยกเปลือกนอกของเมล็ดแต่ละเมล็ดออกก่อนนำไปบดละเอียด จากนั้นจึงนำไปปรุงสุกเพื่อให้ข้าวโพดนั้นย่อยง่ายยิ่งขึ้น

อาหารแมวไอแอมส์™ มีส่วนประกอบของปลายข้าวโพดและเมล็ดข้าวโพดบดละเอียด ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตคุณภาพดีและเป็นแหล่งพลังงานชั้นเยี่ยม อีกทั้งข้าวโพดยังไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงเหมือนกับข้าว จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับน้องแมวสูงอายุและน้องแมวที่มีน้ำหนักเกิน

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประโยชน์ของข้าวโพดสำหรับแมวเหมียว

  1. โปรตีนจากข้าวโพดดีสำหรับแมวเหมียวหรือไม่?
  2. โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งโครงสร้างโปรตีนในข้าวโพดมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพของแมวเหมียว ด้วยประโยชน์ที่มีมากมาย ก็อย่าลืมมองหาส่วนผสมนี้ในอาหารแมวกันด้วย

  3. กลูเทนข้าวโพดดีสำหรับแมวเหมียวหรือไม่?
  4. กลูเทนข้าวโพดปลอดภัยสำหรับน้องแมว อย่างไรก็ตาม น้องแมวบางตัวอาจแพ้ข้าวโพดได้ โดยลักษณะของการแพ้คือเป็นผื่นบริเวณผิวหนัง หรือติดเชื้อในทางเดินอาหาร

  5. ส่วนผสมใดบ้างที่ไม่ควรอยู่ในอาหารแมว?
  6. กระเทียม ถั่วเหลือง ข้าว น้ำตาลเคี่ยวไหม้ และน้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนผสมที่ควรหลีกเลี่ยง

  7. อะไรคือส่วนผสมสำคัญที่ควรมีในอาหารแมว?
  8. แหล่งโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลาแซลมอน และเนื้อแกะ ควรเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารแมว

  • การรักษาโรคผิวหนังแมว
    การรักษาโรคผิวหนังแมว
    adp_description_block110
    การรักษาโรคผิวหนังแมว

    • แบ่งปัน

    ผิวหนังและเส้นขนเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของสุขภาพโดยรวมของแมว โดยลักษณะขนที่มีสุขภาพดีจะต้องสวยเงางามและไม่หยาบกระด้าง ส่วนผิวหนังจะต้องอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น ไม่มัน ไม่เป็นขุยหรือขรุขระ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับแมวจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิวหนังและเส้นขนที่ดี เช่นเดียวกับการดูแลขนและการอาบน้ำแมวเป็นประจำ

     

    เราสามารถดูแลสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การให้อาหารคุณภาพดีไปจนถึงการลงทุนซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลที่เหมาะสม การดูแลรักษาโรคผิวหนังของแมวก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก อ่านบทความของเราเพื่อทำความเข้าใจสภาพผิวหนังของแมว พร้อมเรียนรู้วิธีดูแลสุขภาพผิวหนังและเส้นขนให้แข็งแรง

     

    ลักษณะผิวหนังที่มีสุขภาพดี

    เนื่องจากแมวแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะขนต่างกัน ขนที่มีสุขภาพดีจึงมีลักษณะต่างกันด้วย เช่น

    • มีขนปกคลุมบาง ๆ เหมือนไร้ขน (แมวพันธุ์สฟิงซ์)

    • ขนหยิก หลุดร่วงเล็กน้อย (แมวพันธุ์เร็กซ์)

    • ขนสั้นและเรียบลื่น (แมวพันธุ์โอเรียนทัล)

    • แมวบ้านมักจะมีขนชั้นนอกสั้นและขนชั้นในที่อ่อนนุ่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่น

    • ขนยาว นุ่มและเรียบ แต่ขนพันกันง่าย

    สารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นขนของแมว

    เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย การดูแลผิวหนังจึงมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ โดยผิวของแมวส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยขนที่หลุดร่วงและขนที่งอกขึ้นมาใหม่ วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลรักษาสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวคือการให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล อาหารแมวที่ดีควรประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุคุณภาพสูงที่ย่อยได้ง่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้แมวได้รับพลังงานเพียงพอต่อความต้องการแล้ว มันยังช่วยให้ตับและไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

     

    กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 คือสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของลูกแมว สารอาหารสองชนิดนี้ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ควรมีอยู่ในอาหารแมว กรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น กรดอัลฟาไลโนเลนิก (ALA) และกรดไอโคซาเพนตะอิโนอิก (EPA) จะช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นขน รวมถึงช่วยรักษาระดับการซึมผ่านของน้ำในผิวหนังด้วย ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 6 เช่น กรดไลโนเลอิกและกรดอะราซิโดนิก จะช่วยให้เนื้อเยื่อบุผิวในร่างกายของแมวมีสุขภาพดี

     

    คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อค้นหาอาหารที่เหมาะกับช่วงวัยและความต้องการของแมวได้ หากพบว่าแมวผิวแห้ง มีขนหยาบกระด้างและหลุดร่วงมากผิดปกติ ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเพิ่มเติม

     

    วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมว

    วิตามินเป็นสารอาหารที่สำคัญ และแมวควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสม วิตามินที่สำคัญพบได้ในส่วนผสมหลายชนิดในอาหารแมว การกินอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าครบถ้วนและสมดุลจึงเป็นกุญแจสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดี สำหรับวิตามินที่แมวควรได้รับจากอาหารมีดังนี้

    1. วิตามินเอ – จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินเอช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันและการมองเห็น อย่างไรก็ตาม วิตามินเอในปริมาณมากอาจเป็นพิษต่อแมว ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ

    2. วิตามินซี – เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยสมานแผลและช่วยให้แมวใช้โปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    3. วิตามินดี – ช่วยกักเก็บฟอสฟอรัสและแคลเซียมในร่างกายของแมว เป็นที่รู้จักกันในนาม “วิตามินแสงแดด” เนื่องจากช่วยให้กระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาททำงานได้ดี

    4. วิตามินบี 1 (ไทอามีน) – จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายน้ำได้ มันมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบการเผาผลาญ รวมถึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการส่งกระแสประสาท

    5. วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) – ช่วยให้สลายคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เพื่อผลิตพลังงานและช่วยขนส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย วิตามินชนิดนี้ยังช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนังและเส้นขนอีกด้วย

    6. วิตามินบี 3 (ไนอะซิน) – เป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ซึ่งจะถูกกำจัดออกทางปัสสาวะ แมวควรได้รับวิตามินชนิดนี้เป็นประจำ มันช่วยเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และยังมีส่วนช่วยให้ผิวหนังของแมวแข็งแรง

    7. วิตามินบี 6 – ช่วยสลายไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเพื่อผลิตพลังงานและจ่ายออกซิเจนไปทั่วร่างกาย

    เช่นเดียวกับวิตามิน แร่ธาตุก็จำเป็นต่อร่างกายของแมวเช่นกัน มันช่วยส่งเสริมการสร้างเอนไซม์ การลำเลียงออกซิเจน การนำสารอาหารไปใช้ และการรักษาความสมดุลของความเป็นกรดด่าง (pH) โดยอาหารของแมวควรมีแร่ธาตุต่อไปนี้

    1. แคลเซียม

    2. ธาตุเหล็ก

    3. โซเดียม

    4. แมกนีเซียม

    5. คลอไรด์

    อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ

     

    โรคผิวหนังในแมวที่พบบ่อยและวิธีการรักษา

    โรคผิวหนังของแมวที่พบได้บ่อย เช่น เชื้อราในแมว แมวคันผิวหนัง ทำให้เกาหรือเลียมากผิดปกติ ผิวหนังมีรอยแดงและบวม ขนร่วง หรือคุณอาจพบว่าแมวผิวเป็นสะเก็ดและเป็นขุย ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณสามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการเกิดปัญหา

    1. ให้อาหารแมวคุณภาพดี

    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเลือกอาหารที่ดีที่สุดสำหรับแมว เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล วิธีนี้จะช่วยให้แมวได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวด้วย

    1. แปรงขนเป็นประจำ

    การแปรงขนเป็นประจำช่วยให้ผิวหนังและขนของแมวมีสุขภาพดีได้จริง มันช่วยป้องกันปัญหาขนสังกะตังและขนพันกันเป็นก้อน ปัญหาเหล่านี้มักจะทำให้แมวรู้สึกไม่สบายตัว ขนร่วง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ด้วย แนะนำให้เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะกับลักษณะขนของแมว เพื่อลดอาการระคายเคืองหรือความรู้สึกไม่สบาย

    1. อาบน้ำเพื่อรักษาสภาพผิวหนัง

    การอาบน้ำแมวไม่จำเป็นต้องทำบ่อย เนื่องจากแมวมีนิสัยชอบดูแลตัวเอง และส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบอาบน้ำ อย่างไรก็ตาม หากแมวเริ่มเกาตัวบ่อยขึ้นหรือเนื้อตัวเริ่มสกปรก ควรอาบน้ำให้พวกเค้าด้วยแชมพูที่ออกแบบมาเพื่อแมวโดยเฉพาะ ไม่แนะนำให้ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยเนื่องจากเป็นพิษต่อผิวหนังและขนของแมว ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการอาบน้ำแมวและการเลือกแชมพูที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้

    1. ป้องกันเห็บหมัด

    การติดเชื้อเห็บหมัดเป็นปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดในแมว และควรได้รับการรักษาทันที การติดเชื้ออาจทำให้แมวคันผิวหนัง แมวอาจเกาและเลียตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักจะทำให้เกิดบาดแผลหรือขนร่วงเป็นหย่อม

    1. จัดการกับความเครียด

    หากแมวมีอาการวิตกกังวลและเครียดอย่างรุนแรง พวกเค้ามักจะเลียขนบ่อยจนผิดปกติ พฤติกรรมนี้อาจทำให้ขนร่วงเป็นจำนวนมาก นอกจากจะส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ความเครียดและความวิตกกังวลยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว หากพบว่าแมวเลียตัวบ่อยเกินไป แนะนำให้พาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายเพิ่มเติม

     

    สภาพผิวหนังของแมวมักเป็นสัญญาณของความไม่สมดุลในร่างกาย หากคุณสังเกตสัญญาณเตือนของโรคผิวหนังในแมว เช่น เชื้อราในแมว แมวผิวแห้ง ผิวหนังบวมและแดง แมวผิวเป็นสะเก็ดหรือเป็นขุย ขนร่วงและหยาบกระด้าง ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบและรับการรักษาอย่างเหมาะสม