IAMS TH
Understanding Kitten Food Product Codes
Understanding Kitten Food Product Codes-mob

adp_description_block6
ทำความเข้าใจกับรหัสผลิตภัณฑ์บนอาหารลูกแมว

  • แบ่งปัน

การทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีอ่านรหัสผลิตภัณฑ์ของอาหารแมว จะช่วยให้คุณสามารถเลือกอาหารลูกแมวได้อย่างถูกต้อง นอกจากการมีวัตถุดิบที่เหมาะสมแล้ว อย่าลืมตรวจสอบว่าวัตถุดิบดังกล่าวสดใหม่หรือไม่เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของเจ้าเหมียว 

ศึกษาวิธีอ่านรหัสผลิตภัณฑ์ที่แปะอยู่บนบรรจุภัณฑ์และกระป๋องอาหารแมวอย่างถูกต้องได้จากคู่มือเบื้องต้นของเราได้เลย

 

รหัสผลิตภัณฑ์คืออะไร ?

รหัสผลิตภัณฑ์คือชุดตัวเลขและตัวอักษรที่พิมพ์แปะอยู่บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นโดยผลิตขึ้นเพื่อบอกสถานที่และเวลาที่ผลิต

ในส่วนของรหัสผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไอแอมส์™ ใช้คำว่า “ควรบริโภคก่อน” หรือวันที่ไม่ถือว่าสินค้าสดใหม่อีกต่อไปและไม่ควรนำมาวางจำหน่าย เลขดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบของ “ววดดปป“ หรือ “ววดดดปป”

รหัสผลิตภัณฑ์ในบรรทัดที่สองระบุข้อมูลสำหรับใช้ภายในบริษัท เช่น ติดตามสินค้า และควบคุมคลังสินค้า

  • บรรทัดที่ 1: (ววดดปป) (ววดดดปป)

ตัวอย่างเช่น: 040220 04FEB20

  • บรรทัดที่ 2: 60351111## QQQQQQQ

ควรใช้ผลิตภัณฑ์นี้ก่อนวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2020

ผลิตภัณฑ์ประเภทซอง* อาจมีเลขวันที่อยู่หนึ่งหรือสองบรรทัดก็ได้แล้วแต่ไลน์สินค้า เมื่อเข้าใจหมายเลขเหล่านี้แล้วลูกค้าจะสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่ได้ไม่ยาก

 

อายุการเก็บรักษาคืออะไร ?

อายุการเก็บรักษา คือช่วงเวลาที่ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บรักษาอย่างถูกต้อง โดยคงความสดใหม่อยู่ได้จากการนับเป็นหน่วยเดือน ตัวอย่างเช่น หากผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บรักษา 16 เดือน หมายความว่าผลิตภัณฑ์ยังคงความสดใหม่ได้ถึง 16 เดือนจากวันที่ผลิต

อายุการเก็บรักษาของอาหารแมวไอแอมส์ชนิดเม็ดคือ 16 เดือน ส่วนชนิดกระป๋องจะมีอายุการเก็บรักษา 24 เดือน

 

วิธีเก็บรักษาอาหารลูกแมวแบบเม็ดและแบบเปียกอย่างถูกต้อง

เก็บผลิตภัณฑ์อาหารลูกแมวแบบเม็ดที่ยังไม่ได้เปิดไว้ในพื้นที่เย็นและแห้ง เก็บอาหารลูกแมวที่เปิดซองแล้วไว้ในภาชนะที่สะอาด แห้ง และปิดปากภาชนะให้สนิท ผลิตภัณฑ์อาหารลูกแมวชนิดเม็ดสามารถแช่แข็งได้โดยไม่สูญเสียคุณค่าทางสารอาหาร

อาหารแมวชนิดเปียกที่เปิดแล้วควรเก็บไว้ในตู้เย็นที่ปิดในภาชนะให้สนิท ควรให้แมวกินให้หมดภายในสามวันหลังจากเปิดใช้แล้ว ไม่ควรแช่อาหารเปียกที่ยังไม่เปิดกระป๋อง อย่างไรก็ตาม คุณสามารถแช่อาหารลูกแมวเปียกได้หากนำออกจากบรรจุภัณฑ์แล้ว โดยเก็บไว้ในถุงสำหรับแช่และนำไปแช่ทันที

*ปัจจุบันไอแอมส์™ ยังไม่มีผลิตภัณฑ์อาหารแมวประเภทซองและกระป๋อง

 

  • cat article detail banner
    cat article detail banner
    adp_description_block4
    รวมประโยชน์น่ารู้ของอาหารแมวโปรตีนสูง

    • แบ่งปัน

    แมวเหมียวเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกันกับเสือและสิงโต แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่าและดุร้ายน้อยกว่า แต่ยังมีความต้องการทางกายภาพและโภชนาการที่คล้ายคลึงกัน โดยแมวและลูกแมวต้องการโปรตีนมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเหมาะสม ผู้เลี้ยงจึงควรเลือกอาหารแมวที่มีโปรตีนสูงให้กับพวกเค้า

    ลูกแมวต้องการโปรตีนสูงเพื่อเพิ่มพลังงาน การเลือกอาหารให้ลูกแมวจึงต้องพิจารณาจากปริมาณโปรตีนเป็นสำคัญ โดยอาหารแมวส่วนใหญ่จะเลือกใช้โปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์เพื่อให้ได้ปริมาณตรงตามความต้องการในแต่ละวันของลูกแมว แม้ว่าโปรตีนจะเป็นสารอาหารที่จำเป็นมาก แต่ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

    อาหารโปรตีนสูงสำหรับลูกแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนและสมดุลควบคู่ไปกับสารอาหารชนิดอื่น รวมถึงควรเลือกใช้แหล่งโปรตีนคุณภาพดีและย่อยง่ายด้วย

    กรดอะมิโนที่ควรมีอยู่ในอาหารแมว

    กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน และมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานในร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น แมวต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นเพียง 2 ชนิดสำหรับการเจริญเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดี โดยในอาหารแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นดังต่อไปนี้

    1. อาร์จินีน – เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดสำหรับแมว หากขาดกรดอะมิโนชนิดนี้ ระดับแอมโมเนียในกระแสเลือดของลูกแมวจะสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการชักและเป็นอันตรายถึงชีวิตในบางสถานการณ์
    2. ทอรีน – ทอรีนจำเป็นต่อพัฒนาการของดวงตา หัวใจ และการสืบพันธุ์ของลูกแมว แมวสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนี้ได้ในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งมักจะไม่เพียงพอต่อพัฒนาการที่เหมาะสม ทั้งนี้ลูกแมวที่ขาดทอรีนอาจมีอาการจอประสาทตาเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจพองโต การสืบพันธุ์ล้มเหลว และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติในร่างกาย

    ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับแมว

    แน่นอนว่าอาหารแมวทุกประเภทมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ผู้เลี้ยงก็ยังคงต้องตรวจสอบปริมาณโปรตีนของอาหารแต่ละชนิด เพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของแมวในแต่ละช่วงวัย

    แมวส่วนใหญ่ต้องการโปรตีนประมาณ 35% – 45% เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี โดยคุณสามารถเช็กปริมาณโปรตีนที่แมวต้องการได้จากตารางด้านล่างนี้

    ช่วงวัย

    ปริมาณโปรตีนโดยเฉลี่ย (%)

    ลูกแมว

    40 – 50%

    แมวโตเต็มวัย

    35 – 40%

    แม่แมวตั้งท้องหรือให้นมลูก

    45 – 50%

    แมวสูงวัย

    35 – 38%

    แหล่งโปรตีนในอาหารแมว

    โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การเสริมสร้างความแข็งแรง และยังเป็นแหล่งพลังงานชั้นเยี่ยมด้วย อาหารสำหรับลูกแมวจึงควรมีโปรตีนสูง ไม่เพียงแต่ในช่วงปีแรกเท่านั้น แต่รวมถึงช่วงวัยเจริญเติบโตด้วย นอกจากปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมแล้ว แหล่งที่มาของโปรตีนก็สำคัญเช่นกัน โดยแหล่งโปรตีนที่พบบ่อยที่สุดในอาหารแมว มีดังนี้

    1. โปรตีนจากพืช กลูเตนข้าวโพด กลูเตนข้าวสาลี กากถั่วเหลือง และโปรตีนจากข้าวถือเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่เหมาะสำหรับลูกแมว
    2. โปรตีนจากสัตว์ – เนื่องจากเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารสำหรับแมวจึงต้องมีเนื้อสัตว์คุณภาพดีเป็นส่วนผสมหลัก เพื่อให้แน่ใจว่าแมวจะได้รับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม โดยแหล่งโปรตีนที่มีความเข้มข้นสูง ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ ปลา และไก่งวง เหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรมองหาในอาหารแมวโปรตีนสูง

    จะรู้ได้อย่างไรว่าแมวได้รับปริมาณโปรตีนเพียงพอแล้ว?

    แมวทุกตัวต้องการโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการโดยรวมที่ดี แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพวกเค้าได้รับโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการแล้ว? โดยแมวโตทั่วไปควรได้รับโปรตีนประมาณ 35% จากอาหาร อ้างอิงจากข้อกำหนดของ AAFCO (องค์กรควบคุมอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงแห่งอเมริกา) แมวต้องการโปรตีนอย่างน้อย 30% สำหรับการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ และโปรตีนประมาณ 26% สำหรับการบำรุงรักษาร่างกาย หากอาหารผลิตจากแหล่งโปรตีนคุณภาพต่ำหรือมีปริมาณโปรตีนต่ำ อาจทำให้แมวมีอาการอาหารไม่ย่อยและสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้

    วิธีคำนวณปริมาณโปรตีนในอาหารแมวแบบเปียก

    เนื่องจาก AAFCO กำหนดปริมาณโปรตีนในรูปแบบของวัตถุแห้ง ดังนั้นหากให้อาหารเปียกแก่ลูกแมวตัวน้อย คุณอาจต้องคำนวณปริมาณโปรตีนด้วยตนเอง โดยสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้

    ขั้นตอนที่ 1 – คำนวณหาปริมาณวัตถุแห้งของอาหารโดยหักลงจากปริมาณความชื้นสูงสุด(%) 

    ขั้นตอนที่ 2 – นำปริมาณโปรตีนดิบ(%) มาหารด้วยปริมาณวัตถุแห้งที่ได้

    ขั้นตอนที่ 3 – คูณผลลัพธ์ด้วย 100 เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนในรูปแบบร้อยละที่มีอยู่ในวัตถุแห้งของอาหาร

    ตัวอย่าง อาหารมีความชื้น 75% มีโปรตีนดิบ 12%

    1. 100 – 75(ความชื้น) = 25(ปริมาณวัตถุแห้งของอาหาร)
    2. 12(ปริมาณโปรตีนดิบ) / 25 = 0.48
    3. 0.48 x 100 = 48%