IAMS TH
Kitten Basics: Taking Care of Your Kitten’s Oral Health banner
Kitten Basics: Taking Care of Your Kitten’s Oral Health

adp_description_block229
คู่มือการดูแลสุขภาพช่องปากของแมวสำหรับทาสแมวมือใหม่

  • แบ่งปัน

การดูแลสุขภาพในช่องปากให้น้องแมวเป็นสิ่งสำคัญที่แนะนำให้ทำเป็นประจำ โดยเจ้าของควรเริ่มดูแลและฝึกแปรงฟันให้น้องแมวตั้งแต่ช่วงที่ฟันกำลังขึ้น เพื่อลดการสะสมของคราบพลัค หินปูน และป้องกันฟันผุ หากไม่แน่ใจว่าควรเริ่มดูแลกันอย่างไร มาติดตามข้อควรรู้ที่จำเป็นต่อการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของน้องแมวได้จากคู่มือนี้
 

ทำความเข้าใจพัฒนาการและลำดับการขึ้นของฟันแมว
 

เพื่อให้แน่ใจว่าจะดูแลฟันของน้องแมวได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจระยะการเจริญเติบโตของฟันเจ้าเหมียวกันก่อน โดยลูกแมวจะเริ่มมีฟันขึ้นเมื่ออายุ 2 หรือ 3 สัปดาห์ และภายใน 8 – 12 สัปดาห์ พวกเค้าก็จะมีฟันน้ำนมครบทุกซี่ ต่อมาฟันน้ำนมเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ ซึ่งในระหว่างการงอกของฟันอาจทำให้พวกเค้ารู้สึกไม่สบาย ปวด มีอาการบวม หรือมีเลือดออกตามไรฟัน เจ้าของสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับวิธีการดูแลและบรรเทาอาการเจ็บปวดเพิ่มเติมได้
 

วิธีแปรงฟันให้น้องแมว มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
 

หากต้องการให้น้องแมวมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี ทำตามขั้นตอนการแปรงฟันเหล่านี้กันได้เลย
 

  1. เริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ลูกแมวตัวน้อยรู้จักกับแปรงสีฟันและยาสีฟัน ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนของการแปรงฟัน ปล่อยให้พวกเค้าดมกลิ่นหรือเลียเพื่อทำความคุ้นเคยกับรสชาติและเนื้อสัมผัสของทั้งสองสิ่งกันก่อน
  2. เมื่อลูกแมวคุ้นเคยกับแปรงสีฟันและยาสีฟันแล้ว ค่อย ๆ ยกริมฝีปากพวกเค้าขึ้น จากนั้นขยับแปรงไปมาเป็นวงกลมตามแนวฟันจนครบทุกซี่ ควรเลือกแปรงสีฟันขนนุ่ม ทั้งแปรงและยาสีฟันควรออกแบบมาเพื่อน้องแมวโดยเฉพาะด้ว

  3. การแปรงฟันให้ลูกแมวจะใช้ยาสีฟันปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น และต้องคอยระวังไม่ให้พวกเค้ากลืนยาสีฟันลงไป

  4. หลังแปรงฟันเรียบร้อยแล้ว ควรให้รางวัลลูกแมวเป็นขนมสุดโปรดหรืออ้อมกอดอุ่น ๆ เพื่อสร้างความทรงจำที่ดี

  5. ค่อย ๆ เพิ่มความถี่และระยะเวลาในการแปรงฟันเมื่อลูกแมวคุ้นเคยกับกระบวนการนี้มากขึ้น ทั้งนี้ควรฝึกแปรงฟันอย่างค่อยเป็นค่อยไป เจ้าของควรมีความอดทนและปฏิบัติกับพวกเค้าอย่างอ่อนโยน
     

การดูแลและป้องกันปัญหาสุขภาพในช่องปาก
 

การรักษาสุขภาพช่องปากของลูกแมวเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังส่งผลดีกับสุขภาพโดยรวมของพวกเค้าด้วย ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับป้องกันการสะสมของคราบพลัคและหินปูน เพื่อให้เหงือกและฟันของลูกแมวแข็งแรง
 

  1. การแปรงฟันด้วยยาสีฟัน – การแปรงฟันเป็นประจำเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการสะสมของคราบพลัคและหินปูน ควรเริ่มฝึกแปรงฟันตั้งแต่เนิ่น ๆ และควรเลือกใช้ยาสีฟันสูตรเฉพาะสำหรับแมว เพราะยาสีฟันทั่วไปอาจเป็นอันตรายต่อแมวได้ การแปรงฟันอย่างน้อย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยขจัดคราบพลัคและหินปูนได้ดี รวมถึงช่วยให้ลูกแมวมีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีอีกด้วย
  2. ผ้าหรือกระดาษทำความสะอาดฟัน และน้ำยาบ้วนปาก – ผ้าหรือกระดาษสำหรับทำความสะอาดฟันเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีในการดูแลช่องปาก สามารถใช้แทนการแปรงฟันได้ สำหรับน้ำยาบ้วนปากจะช่วยให้ลมหายใจหอมสดชื่นและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย

  3. ขนมขัดฟัน – เป็นตัวช่วยที่มีทั้งประโยชน์และรสชาติอร่อย ขนมขัดฟันจะช่วยทำความสะอาดและเสริมให้ฟันแข็งแรง โดยแนะนำให้เลือกขนมสูตรสำหรับลดคราบพลัคและหินปูน แต่ให้หลีกเลี่ยงขนมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก

  4. ตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นประจำ – การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าเหงือกและฟันของลูกแมวแข็งแรง นอกจากนี้คุณหมอยังสามารถช่วยระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้น พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลอย่างเหมาะสมได้อีกด้วย

 

การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพโดยรวมของแมว เจ้าของทุกคนจึงควรดูแลและเอาใจใส่สุขอนามัยในช่องปากของแมวเหมียวตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการแปรงฟัน การให้ขนมขัดฟัน และการตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพเหงือกและฟันที่แข็งแรงเป็นเวลาหลายปี! ทั้งนี้สามารถปรึกษาสัตวแพทย์ได้เสมอหากคุณมีข้อกังวลหรือคำถามเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของลูกแมว

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของแมว

  1. ลูกแมวฟันขึ้นตอนอายุเท่าไหร่?
  2. ลูกแมวส่วนใหญ่จะมีฟันขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ และเมื่อมีอายุครบ 6 เดือน พวกเค้าจะมีฟันแท้ขึ้นครบ 30 ซี่ แต่ลูกแมวบางตัวอาจใช้เวลาถึง 9 เดือนกว่าฟันแท้จะขึ้นครบทุกซี่

     

  3. ลูกแมวในช่วงที่ฟันกำลังขึ้นจะมีพฤติกรรมกัดแทะหรือไม่?  
  4. เมื่อลูกแมวเข้าสู่ช่วงฟันขึ้น พวกเค้าอาจกัดแทะบ่อยขึ้นเพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายจากการงอกของฟันใหม่ เพื่อช่วยบรรเทาพฤติกรรมนี้ เจ้าของต้องจัดหาของเล่นสำหรับกัดแทะที่เหมาะสมมาให้พวกเค้า เพื่อป้องกันการกัดมือหรือข้าวของที่เป็นอันตรายอื่น ๆ ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

     

  5. ควรเริ่มแปรงฟันให้ลูกแมวตอนไหน?  
  6. แนะนำให้เริ่มแปรงฟันทันทีที่ลูกแมวมีฟันแท้ขึ้น หรือเมื่อมีอายุประมาณ 3 – 4 เดือน โดยจำเป็นต้องปรึกษากับสัตวแพทย์ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะดูแลพวกเค้าได้อย่างถูกต้อง รวมถึงควรตรวจสุขภาพฟันก่อนที่จะเริ่มแปรงฟันให้ลูกแมวตัวน้อย

     

  7. จะดูแลฟันของลูกแมวให้มีสุขภาพดีได้อย่างไร?  
  8. เพื่อให้สุขภาพช่องปากของลูกแมวแข็งแรง สิ่งสำคัญคือต้องนัดตรวจสุขภาพเป็นประจำกับสัตวแพทย์ แปรงฟันทุกวันโดยใช้ยาสีฟันสูตรสำหรับแมวโดยเฉพาะ นอกจากนี้ควรเลือกของเล่น ขนม และอาหารที่มีส่วนช่วยในการดูแลฟันให้เจ้าตัวน้อยด้วย

     

  9. นอกจากการแปรงฟัน เราสามารถดูแลความสะอาดฟันด้วยวิธีใดได้อีกบ้าง?  
  10. เราสามารถดูแลความสะอาดฟันของแมวได้ด้วยการให้อาหารเม็ดที่มีเนื้อสัมผัสกรุบกรอบ จัดหาของเล่นสำหรับกัดแทะ นัดตรวจสุขภาพฟันและทำความสะอาดกับสัตวแพทย์เป็นประจำ นอกจากนี้ควรสังเกตพฤติกรรมการกินของแมวและรีบไปพบคุณหมอทันทีหากมีอาการผิดปกติ

     

  • เพราะอะไรอาหารแมวโปรตีนสูงจึงเป็นตัวเลือกที่ดี?
    เพราะอะไรอาหารแมวโปรตีนสูงจึงเป็นตัวเลือกที่ดี?
    adp_description_block471
    อาหารแมวโปรตีนสูง

    • แบ่งปัน

    โภชนาการเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของแมว แมวเป็นสัตว์กินเนื้อโดยธรรมชาติ พวกเค้าจึงต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง ซึ่งช่วยเสริมสุขภาพโดยรวม เป็นแหล่งพลังงาน เสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยังมีประโยชน์มากมายดังนี้

    1. ป้องกันการเกิดโรคอ้วน

      แมวต้องการโปรตีนจากสัตว์เป็นสารอาหารหลัก และการให้อาหารแมวโปรตีนสูงก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนได้เป็นอย่างดี

    2. ห่างไกลเบาหวาน

      โรคอ้วนในแมวมักนำไปสู่โรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การกินอาหารโปรตีนสูงถือเป็นวิธีป้องกันที่ดี เนื่องจากช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงลดโอกาสในการเกิดโรคเบาหวานได้

    3. ช่วยควบคุมน้ำหนัก

      หากต้องการให้แมวของคุณน้ำหนักลดลงประมาณ 1 – 2 กก. อาหารที่มีโปรตีนสูงคือตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม เพราะไม่เพียงแต่ช่วยควบคุมน้ำหนัก แต่ยังช่วยให้แมวรู้สึกอิ่มท้องนานขึ้นด้วย

    4. เสริมระบบภูมิคุ้มกัน

      อาหารแมวโปรตีนสูงอุดมด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ การเจริญเติบโต และระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง หากได้รับโปรตีนไม่เพียงพอต่อความต้องการ แมวเหมียวอาจสูญเสียกล้ามเนื้อและความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายยามเจ็บป่วย

    คู่มือการเลือกอาหารแมวโปรตีนสูงของไอแอมส์™

    1. อาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรเลี้ยงในบ้าน และบำรุงขน

      อาหารแมวเกรดพรีเมียมสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของแมวเลี้ยงในบ้านโดยเฉพาะ อัดแน่นไปด้วยโปรตีนจากส่วนผสมคุณภาพดี มาพร้อมแอล-คาร์นิทีน บีทพัลพ์ และไฟเบอร์จากธรรมชาติ ทำให้เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับการควบคุมน้ำหนักและป้องกันปัญหาก้อนขนอุดตัน

    จุดเด่น

    1. โปรตีนคุณภาพดี – ผลพลอยได้จากไก่ป่นถือเป็นแหล่งโปรตีนหลัก ซึ่งมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเสริมสุขภาพโดยรวมของแมวเลี้ยงในบ้าน

    2. ควบคุมน้ำหนัก – เนื่องจากมีแอล-คาร์นิทีนที่ช่วยสนับสนุนการเผาผลาญไขมัน จึงควบคุมน้ำหนักและป้องกันการเกิดโรคอ้วนได้ดี

    3. ป้องกันปัญหาก้อนขน – บีทพัลพ์และไฟเบอร์ช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาก้อนขน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในแมวบ้าน

    ข้อควรระวัง

    1. มีส่วนประกอบของธัญพืช – อาหารแมวของเรามีส่วนประกอบของข้าวโพด ข้าวสาลี และกลูเตนจากข้าวโพด ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับน้องแมวที่แพ้ธัญพืชหรือมีภาวะภูมิแพ้
    2. ความต้องการด้านโภชนาการ – เนื่องจากแมวทุกตัวมีความต้องการแตกต่างกัน โปรดปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการตรงตามความต้องการของเจ้าเหมียว

     

    1. อาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแม่และลูกแมว

      อาหารแมวเกรดพรีเมียมของเราได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อย อุดมด้วยโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่และโอเมก้า 3 นอกจากนี้ยังมีสารอาหารที่จำเป็นอย่างโคลอสตรุมและดีเอชเอ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของดวงตาและสมอง

    จุดเด่น

    1. โปรตีนคุณภาพดี – แหล่งโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่และผลพลอยได้จากไก่ป่น อาหารแมวไอแอมส์™ จึงอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการพัฒนากล้ามเนื้อและสุขภาพโดยรวมของแมว
    2. โอเมก้า 3 – อาหารลูกแมวไอแอมส์™ มีส่วนผสมของกรดไขมันโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลา ช่วยให้ผิวหนังมีสุขภาพดีและขนสวยเงางาม
    3. โคลอสตรุมและดีเอชเอ – โคลอสตรุมช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนดีเอชเอช่วยในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ทำให้อาหารลูกแมวไอแอมส์™ เหมาะสมสำหรับลูกแมวในวัยเจริญเติบโตเป็นที่สุด

    ข้อควรระวัง

    1. มีส่วนประกอบของธัญพืช – อาหารแมวของเรามีส่วนประกอบของข้าวโพด ข้าวสาลี และกลูเตนจากข้าวโพด ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับลูกแมวที่แพ้ธัญพืชหรือมีภาวะภูมิแพ้

    2. การเปลี่ยนอาหาร – ควรเปลี่ยนมาให้อาหารลูกแมวไอแอมส์™ แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อป้องกันปัญหาในระบบทางเดินอาหาร

    3. ปรึกษาสัตวแพทย์ – หากต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการหรือการเปลี่ยนอาหารที่ถูกต้อง คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณจะได้รับอาหารที่ตรงตามความต้องการ

    แมวต้องการโปรตีนปริมาณเท่าใด?

    เมื่อพูดถึงโภชนาการสำหรับแมว โปรตีนคือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพที่แข็งแรง เราจึงต้องอ่านข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อค้นหาว่าอาหารแมวมีปริมาณโปรตีนมากน้อยเท่าใด ซึ่งบางครั้งข้อมูลดังกล่าวก็สร้างความสับสน เราจึงรวบรวมเคล็ดลับง่าย ๆ ในการหาปริมาณโปรตีนที่แมวคุณต้องการจากผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหลาย

    หนึ่งในจุดที่คุณต้องสังเกตคือปริมาณความชื้น ฉลากอาหารสัตว์จะนำเสนอข้อมูล 2 รูปแบบ คือเสนอเป็นเปอร์เซ็นต์ของวัตถุแห้ง (Dry matter basis) และปริมาณสิ่งแห้งหรือวัตถุดิบที่มีจริง (As-fed basis) โดยส่วนใหญ่จะใช้แบบที่สอง โดยจะรวมปริมาณน้ำเข้าไปด้วย สิ่งนี้อาจทำให้สับสนได้เล็กน้อย

    วิธีง่าย ๆ ในการค้นหาปริมาณโปรตีน

    คำนวณหาปริมาณวัตถุแห้งของอาหารโดยหักลงจากปริมาณความชื้นสูงสุด(%) นำปริมาณโปรตีนดิบ(%) มาหารด้วยปริมาณวัตถุแห้งที่ได้ คูณผลลัพธ์ด้วย 100 เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนในรูปแบบร้อยละที่มีอยู่ในวัตถุแห้งของอาหาร

    อาหารแบบใดที่จัดว่าเป็นอาหารแมวโปรตีนสูง?

    1. ปริมาณโปรตีนดิบ – อาหารแมวโปรตีนสูงมักจะมีโปรตีน 25 – 30% ขึ้นไป โดยไม่นับรวมความชื้น
    2. แหล่งโปรตีนจากสัตว์ – แนะนำให้เลือกอาหารแมวที่มีโปรตีนจากสัตว์เป็นหลัก เช่น ไก่ ไก่งวง เนื้อวัว หรือปลา เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าเหมียวจะได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน
    3. จำกัดส่วนผสมบางชนิด – หลีกเลี่ยงอาหารแมวที่มีธัญพืชและแป้งมากเกินไป เพราะอาจทำให้ความเข้มข้นของโปรตีนโดยรวมในอาหารเจือจางลง
    4. หลีกเลี่ยงโปรตีนจากพืช – ตรวจเช็กรายการส่วนผสมให้ละเอียด ควรหลีกเลี่ยงอาหารแมวที่มีส่วนประกอบของโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลืองหรือโปรตีนถั่วเข้มข้น
    5. อาหารแมวเกรดพรีเมียม – เลือกแบรนด์อาหารแมวที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักกันดี และควรมีประวัติในการผลิตตัวเลือกอาหารแมวระดับพรีเมียมคุณภาพสูงและมีโปรตีนสูงด้วย

    ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ โดยจะพิจารณาจากอายุ กิจวัตรประจำวัน และสุขภาพของแมว เนื่องจากความต้องการของแมวแต่ละตัวแตกต่างกัน

    ข้อดีและข้อเสียของอาหารแมวโปรตีนสูง

    ข้อดี

    1. กล้ามเนื้อแข็งแรง – อาหารแมวโปรตีนสูงมีส่วนช่วยในการพัฒนาและบำรุงรักษากล้ามเนื้อให้แข็งแรง

    2. เป็นแหล่งพลังงาน – โปรตีนให้พลังงานที่จำเป็นต่อการทำกิจกรรมและเพิ่มความกระฉับกระเฉงให้กับเจ้าแมวตัวน้อย

    3. เสริมสุขภาพผิวหนังและเส้นขน – อาหารที่มีโปรตีนสูงช่วยให้ผิวหนังสุขภาพดีและมีขนสวยเงางาม

    4. ช่วยควบคุมน้ำหนัก – อาหารแมวโปรตีนสูงช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี มักจะมีแคลอรีน้อยและทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น

    ข้อเสีย

    1. ราคาสูง – ส่วนผสมคุณภาพดีย่อมมีราคา แต่การลงทุนเพื่อสุขภาพของแมวก็ถือว่าคุ้มค่า
    2. ปัญหาเกี่ยวกับไต – มีการถกเถียงกันว่าอาหารโปรตีนสูงอาจทำให้ไตทำงานหนัก แต่เป็นหัวข้อที่ยังไม่มีบทสรุปแน่ชัดและไม่ได้เกิดขึ้นกับแมวทุกตัว
    3. ภูมิแพ้อาหาร – ผู้เลี้ยงควรหมั่นสังเกตอาการของแมวที่มีต่อแหล่งโปรตีนชนิดต่าง ๆ เนื่องจากโปรตีนบางชนิดอาจทำให้แมวเกิดอาการแพ้ได้

    การเปลี่ยนมาให้อาหารแมวโปรตีนสูงหรือเปลี่ยนอาหารสูตรใหม่ ควรเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนอย่างกะทันหัน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหาร หากต้องการคำแนะนำหรือแมวของคุณมีปัญหาด้านสุขภาพ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนเปลี่ยนอาหารทุกครั้ง และขอแนะนำไอแอมส์™ อาหารแมวเกรดพรีเมียมที่มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุล มั่นใจได้เลยว่าเจ้าเหมียวจะมีสุขภาพดีและมีความสุขในทุกวัน

Close modal