IAMS TH
Kitten Basics: Taking Care of Your Kitten’s Oral Health banner
Kitten Basics: Taking Care of Your Kitten’s Oral Health

adp_description_block410
คู่มือการดูแลสุขภาพช่องปากของแมวสำหรับทาสแมวมือใหม่

  • แบ่งปัน

การดูแลสุขภาพในช่องปากให้น้องแมวเป็นสิ่งสำคัญที่แนะนำให้ทำเป็นประจำ โดยเจ้าของควรเริ่มดูแลและฝึกแปรงฟันให้น้องแมวตั้งแต่ช่วงที่ฟันกำลังขึ้น เพื่อลดการสะสมของคราบพลัค หินปูน และป้องกันฟันผุ หากไม่แน่ใจว่าควรเริ่มดูแลกันอย่างไร มาติดตามข้อควรรู้ที่จำเป็นต่อการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของน้องแมวได้จากคู่มือนี้
 

ทำความเข้าใจพัฒนาการและลำดับการขึ้นของฟันแมว
 

เพื่อให้แน่ใจว่าจะดูแลฟันของน้องแมวได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจระยะการเจริญเติบโตของฟันเจ้าเหมียวกันก่อน โดยลูกแมวจะเริ่มมีฟันขึ้นเมื่ออายุ 2 หรือ 3 สัปดาห์ และภายใน 8 – 12 สัปดาห์ พวกเค้าก็จะมีฟันน้ำนมครบทุกซี่ ต่อมาฟันน้ำนมเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ ซึ่งในระหว่างการงอกของฟันอาจทำให้พวกเค้ารู้สึกไม่สบาย ปวด มีอาการบวม หรือมีเลือดออกตามไรฟัน เจ้าของสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับวิธีการดูแลและบรรเทาอาการเจ็บปวดเพิ่มเติมได้
 

วิธีแปรงฟันให้น้องแมว มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
 

หากต้องการให้น้องแมวมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี ทำตามขั้นตอนการแปรงฟันเหล่านี้กันได้เลย
 

  1. เริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ลูกแมวตัวน้อยรู้จักกับแปรงสีฟันและยาสีฟัน ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนของการแปรงฟัน ปล่อยให้พวกเค้าดมกลิ่นหรือเลียเพื่อทำความคุ้นเคยกับรสชาติและเนื้อสัมผัสของทั้งสองสิ่งกันก่อน
  2. เมื่อลูกแมวคุ้นเคยกับแปรงสีฟันและยาสีฟันแล้ว ค่อย ๆ ยกริมฝีปากพวกเค้าขึ้น จากนั้นขยับแปรงไปมาเป็นวงกลมตามแนวฟันจนครบทุกซี่ ควรเลือกแปรงสีฟันขนนุ่ม ทั้งแปรงและยาสีฟันควรออกแบบมาเพื่อน้องแมวโดยเฉพาะด้ว

  3. การแปรงฟันให้ลูกแมวจะใช้ยาสีฟันปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น และต้องคอยระวังไม่ให้พวกเค้ากลืนยาสีฟันลงไป

  4. หลังแปรงฟันเรียบร้อยแล้ว ควรให้รางวัลลูกแมวเป็นขนมสุดโปรดหรืออ้อมกอดอุ่น ๆ เพื่อสร้างความทรงจำที่ดี

  5. ค่อย ๆ เพิ่มความถี่และระยะเวลาในการแปรงฟันเมื่อลูกแมวคุ้นเคยกับกระบวนการนี้มากขึ้น ทั้งนี้ควรฝึกแปรงฟันอย่างค่อยเป็นค่อยไป เจ้าของควรมีความอดทนและปฏิบัติกับพวกเค้าอย่างอ่อนโยน
     

การดูแลและป้องกันปัญหาสุขภาพในช่องปาก
 

การรักษาสุขภาพช่องปากของลูกแมวเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังส่งผลดีกับสุขภาพโดยรวมของพวกเค้าด้วย ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับป้องกันการสะสมของคราบพลัคและหินปูน เพื่อให้เหงือกและฟันของลูกแมวแข็งแรง
 

  1. การแปรงฟันด้วยยาสีฟัน – การแปรงฟันเป็นประจำเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการสะสมของคราบพลัคและหินปูน ควรเริ่มฝึกแปรงฟันตั้งแต่เนิ่น ๆ และควรเลือกใช้ยาสีฟันสูตรเฉพาะสำหรับแมว เพราะยาสีฟันทั่วไปอาจเป็นอันตรายต่อแมวได้ การแปรงฟันอย่างน้อย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยขจัดคราบพลัคและหินปูนได้ดี รวมถึงช่วยให้ลูกแมวมีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีอีกด้วย
  2. ผ้าหรือกระดาษทำความสะอาดฟัน และน้ำยาบ้วนปาก – ผ้าหรือกระดาษสำหรับทำความสะอาดฟันเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีในการดูแลช่องปาก สามารถใช้แทนการแปรงฟันได้ สำหรับน้ำยาบ้วนปากจะช่วยให้ลมหายใจหอมสดชื่นและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย

  3. ขนมขัดฟัน – เป็นตัวช่วยที่มีทั้งประโยชน์และรสชาติอร่อย ขนมขัดฟันจะช่วยทำความสะอาดและเสริมให้ฟันแข็งแรง โดยแนะนำให้เลือกขนมสูตรสำหรับลดคราบพลัคและหินปูน แต่ให้หลีกเลี่ยงขนมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก

  4. ตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นประจำ – การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าเหงือกและฟันของลูกแมวแข็งแรง นอกจากนี้คุณหมอยังสามารถช่วยระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้น พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลอย่างเหมาะสมได้อีกด้วย

 

การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพโดยรวมของแมว เจ้าของทุกคนจึงควรดูแลและเอาใจใส่สุขอนามัยในช่องปากของแมวเหมียวตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการแปรงฟัน การให้ขนมขัดฟัน และการตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพเหงือกและฟันที่แข็งแรงเป็นเวลาหลายปี! ทั้งนี้สามารถปรึกษาสัตวแพทย์ได้เสมอหากคุณมีข้อกังวลหรือคำถามเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของลูกแมว

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของแมว

  1. ลูกแมวฟันขึ้นตอนอายุเท่าไหร่?
  2. ลูกแมวส่วนใหญ่จะมีฟันขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ และเมื่อมีอายุครบ 6 เดือน พวกเค้าจะมีฟันแท้ขึ้นครบ 30 ซี่ แต่ลูกแมวบางตัวอาจใช้เวลาถึง 9 เดือนกว่าฟันแท้จะขึ้นครบทุกซี่

     

  3. ลูกแมวในช่วงที่ฟันกำลังขึ้นจะมีพฤติกรรมกัดแทะหรือไม่?  
  4. เมื่อลูกแมวเข้าสู่ช่วงฟันขึ้น พวกเค้าอาจกัดแทะบ่อยขึ้นเพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายจากการงอกของฟันใหม่ เพื่อช่วยบรรเทาพฤติกรรมนี้ เจ้าของต้องจัดหาของเล่นสำหรับกัดแทะที่เหมาะสมมาให้พวกเค้า เพื่อป้องกันการกัดมือหรือข้าวของที่เป็นอันตรายอื่น ๆ ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

     

  5. ควรเริ่มแปรงฟันให้ลูกแมวตอนไหน?  
  6. แนะนำให้เริ่มแปรงฟันทันทีที่ลูกแมวมีฟันแท้ขึ้น หรือเมื่อมีอายุประมาณ 3 – 4 เดือน โดยจำเป็นต้องปรึกษากับสัตวแพทย์ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะดูแลพวกเค้าได้อย่างถูกต้อง รวมถึงควรตรวจสุขภาพฟันก่อนที่จะเริ่มแปรงฟันให้ลูกแมวตัวน้อย

     

  7. จะดูแลฟันของลูกแมวให้มีสุขภาพดีได้อย่างไร?  
  8. เพื่อให้สุขภาพช่องปากของลูกแมวแข็งแรง สิ่งสำคัญคือต้องนัดตรวจสุขภาพเป็นประจำกับสัตวแพทย์ แปรงฟันทุกวันโดยใช้ยาสีฟันสูตรสำหรับแมวโดยเฉพาะ นอกจากนี้ควรเลือกของเล่น ขนม และอาหารที่มีส่วนช่วยในการดูแลฟันให้เจ้าตัวน้อยด้วย

     

  9. นอกจากการแปรงฟัน เราสามารถดูแลความสะอาดฟันด้วยวิธีใดได้อีกบ้าง?  
  10. เราสามารถดูแลความสะอาดฟันของแมวได้ด้วยการให้อาหารเม็ดที่มีเนื้อสัมผัสกรุบกรอบ จัดหาของเล่นสำหรับกัดแทะ นัดตรวจสุขภาพฟันและทำความสะอาดกับสัตวแพทย์เป็นประจำ นอกจากนี้ควรสังเกตพฤติกรรมการกินของแมวและรีบไปพบคุณหมอทันทีหากมีอาการผิดปกติ

     

  • การรักษาโรคผิวหนังแมว
    การรักษาโรคผิวหนังแมว
    adp_description_block485
    การรักษาโรคผิวหนังแมว

    • แบ่งปัน

    ผิวหนังและเส้นขนเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของสุขภาพโดยรวมของแมว โดยลักษณะขนที่มีสุขภาพดีจะต้องสวยเงางามและไม่หยาบกระด้าง ส่วนผิวหนังจะต้องอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น ไม่มัน ไม่เป็นขุยหรือขรุขระ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับแมวจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิวหนังและเส้นขนที่ดี เช่นเดียวกับการดูแลขนและการอาบน้ำแมวเป็นประจำ

     

    เราสามารถดูแลสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การให้อาหารคุณภาพดีไปจนถึงการลงทุนซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลที่เหมาะสม การดูแลรักษาโรคผิวหนังของแมวก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก อ่านบทความของเราเพื่อทำความเข้าใจสภาพผิวหนังของแมว พร้อมเรียนรู้วิธีดูแลสุขภาพผิวหนังและเส้นขนให้แข็งแรง

     

    ลักษณะผิวหนังที่มีสุขภาพดี

    เนื่องจากแมวแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะขนต่างกัน ขนที่มีสุขภาพดีจึงมีลักษณะต่างกันด้วย เช่น

    • มีขนปกคลุมบาง ๆ เหมือนไร้ขน (แมวพันธุ์สฟิงซ์)

    • ขนหยิก หลุดร่วงเล็กน้อย (แมวพันธุ์เร็กซ์)

    • ขนสั้นและเรียบลื่น (แมวพันธุ์โอเรียนทัล)

    • แมวบ้านมักจะมีขนชั้นนอกสั้นและขนชั้นในที่อ่อนนุ่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่น

    • ขนยาว นุ่มและเรียบ แต่ขนพันกันง่าย

    สารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นขนของแมว

    เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย การดูแลผิวหนังจึงมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ โดยผิวของแมวส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยขนที่หลุดร่วงและขนที่งอกขึ้นมาใหม่ วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลรักษาสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวคือการให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล อาหารแมวที่ดีควรประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุคุณภาพสูงที่ย่อยได้ง่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้แมวได้รับพลังงานเพียงพอต่อความต้องการแล้ว มันยังช่วยให้ตับและไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

     

    กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 คือสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของลูกแมว สารอาหารสองชนิดนี้ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ควรมีอยู่ในอาหารแมว กรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น กรดอัลฟาไลโนเลนิก (ALA) และกรดไอโคซาเพนตะอิโนอิก (EPA) จะช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นขน รวมถึงช่วยรักษาระดับการซึมผ่านของน้ำในผิวหนังด้วย ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 6 เช่น กรดไลโนเลอิกและกรดอะราซิโดนิก จะช่วยให้เนื้อเยื่อบุผิวในร่างกายของแมวมีสุขภาพดี

     

    คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อค้นหาอาหารที่เหมาะกับช่วงวัยและความต้องการของแมวได้ หากพบว่าแมวผิวแห้ง มีขนหยาบกระด้างและหลุดร่วงมากผิดปกติ ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเพิ่มเติม

     

    วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมว

    วิตามินเป็นสารอาหารที่สำคัญ และแมวควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสม วิตามินที่สำคัญพบได้ในส่วนผสมหลายชนิดในอาหารแมว การกินอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าครบถ้วนและสมดุลจึงเป็นกุญแจสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดี สำหรับวิตามินที่แมวควรได้รับจากอาหารมีดังนี้

    1. วิตามินเอ – จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินเอช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันและการมองเห็น อย่างไรก็ตาม วิตามินเอในปริมาณมากอาจเป็นพิษต่อแมว ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ

    2. วิตามินซี – เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยสมานแผลและช่วยให้แมวใช้โปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    3. วิตามินดี – ช่วยกักเก็บฟอสฟอรัสและแคลเซียมในร่างกายของแมว เป็นที่รู้จักกันในนาม “วิตามินแสงแดด” เนื่องจากช่วยให้กระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาททำงานได้ดี

    4. วิตามินบี 1 (ไทอามีน) – จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายน้ำได้ มันมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบการเผาผลาญ รวมถึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการส่งกระแสประสาท

    5. วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) – ช่วยให้สลายคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เพื่อผลิตพลังงานและช่วยขนส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย วิตามินชนิดนี้ยังช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนังและเส้นขนอีกด้วย

    6. วิตามินบี 3 (ไนอะซิน) – เป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ซึ่งจะถูกกำจัดออกทางปัสสาวะ แมวควรได้รับวิตามินชนิดนี้เป็นประจำ มันช่วยเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และยังมีส่วนช่วยให้ผิวหนังของแมวแข็งแรง

    7. วิตามินบี 6 – ช่วยสลายไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเพื่อผลิตพลังงานและจ่ายออกซิเจนไปทั่วร่างกาย

    เช่นเดียวกับวิตามิน แร่ธาตุก็จำเป็นต่อร่างกายของแมวเช่นกัน มันช่วยส่งเสริมการสร้างเอนไซม์ การลำเลียงออกซิเจน การนำสารอาหารไปใช้ และการรักษาความสมดุลของความเป็นกรดด่าง (pH) โดยอาหารของแมวควรมีแร่ธาตุต่อไปนี้

    1. แคลเซียม

    2. ธาตุเหล็ก

    3. โซเดียม

    4. แมกนีเซียม

    5. คลอไรด์

    อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ

     

    โรคผิวหนังในแมวที่พบบ่อยและวิธีการรักษา

    โรคผิวหนังของแมวที่พบได้บ่อย เช่น เชื้อราในแมว แมวคันผิวหนัง ทำให้เกาหรือเลียมากผิดปกติ ผิวหนังมีรอยแดงและบวม ขนร่วง หรือคุณอาจพบว่าแมวผิวเป็นสะเก็ดและเป็นขุย ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณสามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการเกิดปัญหา

    1. ให้อาหารแมวคุณภาพดี

    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเลือกอาหารที่ดีที่สุดสำหรับแมว เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล วิธีนี้จะช่วยให้แมวได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิวหนังและเส้นขนของแมวด้วย

    1. แปรงขนเป็นประจำ

    การแปรงขนเป็นประจำช่วยให้ผิวหนังและขนของแมวมีสุขภาพดีได้จริง มันช่วยป้องกันปัญหาขนสังกะตังและขนพันกันเป็นก้อน ปัญหาเหล่านี้มักจะทำให้แมวรู้สึกไม่สบายตัว ขนร่วง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ด้วย แนะนำให้เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะกับลักษณะขนของแมว เพื่อลดอาการระคายเคืองหรือความรู้สึกไม่สบาย

    1. อาบน้ำเพื่อรักษาสภาพผิวหนัง

    การอาบน้ำแมวไม่จำเป็นต้องทำบ่อย เนื่องจากแมวมีนิสัยชอบดูแลตัวเอง และส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบอาบน้ำ อย่างไรก็ตาม หากแมวเริ่มเกาตัวบ่อยขึ้นหรือเนื้อตัวเริ่มสกปรก ควรอาบน้ำให้พวกเค้าด้วยแชมพูที่ออกแบบมาเพื่อแมวโดยเฉพาะ ไม่แนะนำให้ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยเนื่องจากเป็นพิษต่อผิวหนังและขนของแมว ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการอาบน้ำแมวและการเลือกแชมพูที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้

    1. ป้องกันเห็บหมัด

    การติดเชื้อเห็บหมัดเป็นปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดในแมว และควรได้รับการรักษาทันที การติดเชื้ออาจทำให้แมวคันผิวหนัง แมวอาจเกาและเลียตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักจะทำให้เกิดบาดแผลหรือขนร่วงเป็นหย่อม

    1. จัดการกับความเครียด

    หากแมวมีอาการวิตกกังวลและเครียดอย่างรุนแรง พวกเค้ามักจะเลียขนบ่อยจนผิดปกติ พฤติกรรมนี้อาจทำให้ขนร่วงเป็นจำนวนมาก นอกจากจะส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ความเครียดและความวิตกกังวลยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว หากพบว่าแมวเลียตัวบ่อยเกินไป แนะนำให้พาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายเพิ่มเติม

     

    สภาพผิวหนังของแมวมักเป็นสัญญาณของความไม่สมดุลในร่างกาย หากคุณสังเกตสัญญาณเตือนของโรคผิวหนังในแมว เช่น เชื้อราในแมว แมวผิวแห้ง ผิวหนังบวมและแดง แมวผิวเป็นสะเก็ดหรือเป็นขุย ขนร่วงและหยาบกระด้าง ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบและรับการรักษาอย่างเหมาะสม