IAMS TH
How to Help Your Obese Cat Lose Weight
How to Help Your Obese Cat Lose Weight

adp_description_block138
วิธีสังเกตและดูแลอาการภูมิแพ้ในแมว

  • แบ่งปัน

เราจะเริ่มต้นด้วยคำถามง่าย ๆ กันก่อน - คุณคิดว่าเจ้าเหมียวของคุณต้องลดน้ำหนักหรือไม่?

สำหรับทาสแมวแล้ว เจ้าเหมียวสุดแสนจะเพอร์เฟค ตัวกลมนุ่มฟู มีพุงกะทิน้อย ๆ กำลังพอดี ทั้งหมดนี้อาจทำให้คุณคิดว่าพวกเค้ามีสุขภาพดี แต่ความจริงนั้น พวกเค้าอาจกำลังกลายเป็นแมวน้ำหนักเกินแล้วก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันปัญหาแมวอ้วนเกินพบได้บ่อยมากยิ่งขึ้น 

การให้อาหารมากเกินไปคือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด! น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยก็เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพบางอย่างได้แล้ว เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมถึงแมวที่มีน้ำหนักเกินมักมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวตัว การเลียทำความสะอาดตัวเองทำได้ลำบาก ด้วยเหตุนี้การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเค้าเอง นับว่าโชคดีที่การทำให้น้ำหนักแมวอ้วนลดลงเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่กำหนดปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการและออกกำลังกายเป็นประจำเท่านั้นเอง

โรคอ้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?

โรคอ้วนกลายเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ มันส่งผลเสียต่อสุขภาพ การใช้ชีวิต และการทำงานของร่างกายในระยะยาว นอกจากนี้ยังเป็นต้นเหตุของโรคร้ายแรงอีกมากมาย ปัญหาแมวอ้วนเกินจึงควรได้รับการดูแลในทันที:

  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เมื่อน้องแมวมีน้ำหนักเกิน ระบบภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอลง ส่งผลให้แมวมีโอกาสติดเชื้อโรคต่าง ๆ ง่ายขึ้น แมวอ้วนมักติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและเสี่ยงต่อการเกิด 'ก้อนนิ่ว' เนื่องจากเคลื่อนไหวน้อย ดื่มน้ำน้อย และปัสสาวะน้อยลง

  • โรคเบาหวาน

Around 80% to 90% of obese cats require daily insulin shots as they are more likely to develop diabetes. But, when their excess weight is eliminated, diabetes can often be reversed.

  • ตับวาย

เมื่อร่างกายของแมวรู้สึกว่าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือการลำเลียงอาหารถูกขัดขวาง ไขมันสำรองจะถูกย้ายไปยังตับเพื่อใช้เป็นพลังงาน แต่ร่างกายของแมวไม่สามารถควบคุมกระบวนการนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีไขมันมาพอกที่ตับและอาจเกิดภาวะตับวายตามมา

  • กรูมมิ่งตัวเองไม่ได้

แมวที่มีน้ำหนักเกินจะดูแลทำความสะอาดตัวเองได้ยากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาผิวหนังได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวน้ำหนักเกิน?

  • วางมือลงไปบริเวณด้านข้างลำตัวของแมว ควรสัมผัสได้ถึงกระดูกซี่โครง
  • เห็นเอวคอดอย่างชัดเจนเมื่อมองจากมุมบน
  • สุดท้ายนี้ คุณควรสังเกตเห็นหน้าท้องเว้าเล็กน้อยเมื่อมองจากด้านข้าง หากหน้าท้องมีลักษณะเป็นถุงและห้อยย้อยเกือบติดพื้น แสดงว่ามีไขมันในช่องท้อง เป็นไขมันอันตรายที่สะสมอยู่ตามอวัยวะและกล้ามเนื้อหน้าท้อง ทำให้หน้าท้องยื่นหรือป่องออกมา

สามารถเช็กข้อมูลเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้ –

สามารถเช็กข้อมูลเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้

ตารางเช็กรูปร่างน้องแมว

  • เห็นกระดูกซี่โครงและกระดูกสันหลังชัดเจน ไม่มีไขมันส่วนเกิน
  • สามารถเห็นและสัมผัสได้ถึงกระดูกซี่โครงโดยง่าย เห็นเอวคอดชัดเจนเมื่อมองจากมุมบน
  • สัมผัสได้ถึงกระดูกซี่โครงโดยมีรู้สึกถึงไขมันส่วนเกิน เห็นเอวคอดชัดเจนเมื่อมองจากมุมบน
  • สัมผัสถึงกระดูกซี่โครงแต่มีชั้นไขมันปกคลุม ไม่เห็นเอว หน้าท้องกลม ห้อยย้อย
  • ไม่สามารถสัมผัสถึงกระดูกซี่โครง มีชั้นไขมันหนากั้น เห็นหน้าท้องกลม ห้อยย้อยชัดเจน
     

จะหลีกเลี่ยงโรคอ้วนในแมวได้อย่างไร?

หลังจากทำให้แมวอ้วนกลับมามีรูปร่างสมส่วนแล้ว เป้าหมายต่อไปคือต้องดูแลพวกเค้าให้มีสุขภาพดีและอายุยืนยาว พฤติกรรมต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงและควรทำเพื่อไม่ให้น้องแมวน้ำหนักเกิน:

  • ให้อาหารแบบไม่กำหนดเวลา

เพื่อป้องกันไม่ให้แมวอ้วน ควรกำหนดเวลาให้อาหารที่แน่นอนและให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม

ให้อาหารแบบไม่กำหนดเวลา

  • ไม่ชวนน้องแมวออกกำลังกายหรือทำกิจกรรม

น้องแมวมีแนวโน้มจะอ้วนมากขึ้น หากไม่ได้ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งเลย เพื่อลดความเบื่อหน่ายและป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่ม ควรเตรียมของเล่นหลากหลายชนิดเอาไว้พวกเค้า รวมถึงแบ่งเวลามาทำกิจกรรมร่วมกัน หรือลองฝึกใส่สายจูงออกไปเดินเล่นด้วยกันบ้างเป็นครั้งคราว

ไม่ชวนน้องแมวออกกำลังกายหรือทำกิจกรรม

  • ให้อาหารแบบไม่จำกัดปริมาณ

สามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสำหรับแมวเหมียว โดยปริมาณจะพิจารณาจากกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน อายุ และน้ำหนักตัวที่ต้องการ เมื่อกำหนดปริมาณอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวันแล้ว อาจแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยหลาย ๆ มื้อต่อวัน

ให้อาหารแบบไม่จำกัดปริมาณ

การลดน้ำหนักถือเป็นเรื่องยากสำหรับเจ้าเหมียว จึงควรควบคุมน้ำหนักให้ดี ไม่ปล่อยให้เจ้าเหมียวกลายเป็นแมวอ้วนตุ้ยนุ้ย

  • เล่นเก็บบอล

การเล่นหรือทำกิจกรรมสนุก ๆ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดน้ำหนักเจ้าเหมียวได้เป็นอย่างดี แมวส่วนใหญ่ชอบเล่นไล่จับแสงเลเซอร์หรือแสงจากไฟฉาย บางตัวก็ชอบออกไปเดินเล่น บางตัวก็ชอบเล่นล่าเหยื่อเพื่อให้ได้ปลดปล่อยสัญชาตญาณนักล่าออกมา อาจลองหาคอนโดแมวมาไว้ในบ้านให้พวกเค้าปีนป่าย หรือจะสอนเล่นคาบบอลก็สนุกไปอีกแบบ สำหรับการจัดหาของเล่นนั้น คุณจะซื้อหรือประดิษฐ์ของเล่นขึ้นมาเองก็ได้ รู้มั้ยว่า อาหารก็เป็นของเล่นได้เหมือนกัน เพียงแค่เอาอาหารไปซ่อนไว้ตามมุมต่าง ๆ ของบ้าน ให้พวกเคาตามหา เท่านี้ก็จะได้เกมสนุก ๆ อีกหนึ่งเกมแล้ว ทั้งนี้การเล่นสามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่อย่าปล่อยให้เจ้าแมวอ้วนหมดแรง รู้สึกเหนื่อยจนเกินไป หรือหายใจลำบาก และควรระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อเล่นกับแมวสูงวัย

  • ใช้ความอดทน

โรคอ้วนป้องกันง่ายกว่ารักษาก็จริง แต่การลดน้ำหนักก็ไม่ใช่เรื่องยากและเริ่มต้นทำได้ทุกเมื่อ อาจต้องใช้เวลา ความมุ่งมั่น และความอดทนมากหน่อย การลดน้ำหนักเป็นกระบวนการที่เห็นผลช้า เพียงแค่ลดปริมาณอาหารอย่างเดียวไม่อาจสำเร็จได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่นได้อีก

การออกกำลังกายเป็นประจำ ปรับพฤติกรรมในแต่ละวัน และกำหนดปริมาณอาหารเป็นวิธีป้องกันโรคอ้วนในแมวได้อย่างยอดเยี่ยม

  • เคล็ดลับในการควบคุมน้ำหนักเจ้าเหมียว

  • ปรึกษาขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ก่อนเสมอ
  • งดขนมทุกประเภท
  • แบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อยหลาย ๆ มื้อ
  • เลือกสูตรอาหารสำหรับควบคุมน้ำหนักโดยเฉพาะ
  • ชั่งน้ำหนักน้องแมวทุก 2 สัปดาห์
  • ในช่วงสัปดาห์แรก น้ำหนักแมวไม่ควรลดมากกว่า 1% - 1.5% จากน้ำหนักปกติ
  • อดทนและออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนักแมว

  1. อาการบอกโรคอ้วนในแมวมีอะไรบ้าง?
  2. สามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้:

    • นั่งหรือนอนทั้งวัน โดยไม่เต็มใจจะลุกขึ้นเดินไปมา
    • มองไม่เห็นเอวคอดหรือท้องเว้า
    • สัมผัสกระดูกซี่โครงและสะโพกยาก

     

  3. ควรดูแลแมวอ้วนอย่างไร?
  4. เริ่มจากปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำด้านโภชนาการที่เหมาะสม ทั้งเลือกสูตรอาหาร และกำหนดปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย

  5. สาเหตุที่ทำให้แมวมีน้ำหนักเกินคืออะไร?
  6. โรคอ้วนในแมวมักเกิดจากการไม่ออกกำลังกาย การให้อาหารมากไป น้องแมวนั่ง ๆ นอนๆ ทั้งวัน และเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน

  7. ควรให้อาหารแมวอ้วนอย่างไร?
  8. เลือกให้อาหารเปียกกับน้องแมวที่กำลังลดน้ำหนัก เพราะแมวส่วนใหญ่ชอบอาหารเปียกมากกว่าอาหารเม็ด อาหารเปียกจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

  9. จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าแมวมีน้ำหนักเกิน?
  10. แมวอ้วนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ไขมันส่วนเกินส่งผลเสียต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต และอายุขัยของพวกเค้า นอกจากนี้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่โรคข้ออักเสบได้ด้วย

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    adp_description_block231
    รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนแมว

    • แบ่งปัน

    แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
     

    วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
     

    วัคซีนแต่ละชนิดและช่วงวัยที่เหมาะสมของแมว

    การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก

    1. วัคซีน FVRCP

    ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี

    1. วัคซีน FeLV

    วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์

    1. วัคซีน FPV

    วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี

    1. วัคซีนรวม 4 โรค

    วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี

    1. วัคซีนรวม 5 โรค

    วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

    หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้

    1. อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    2. อยากอาหารลดลง

    3. อาเจียน

    4. มีไข้ 

    5. ท้องเสีย

    6. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้