IAMS TH
cat article
cat article

adp_description_block32
วิธีดูแลลูกแมวแรกเกิด

  • แบ่งปัน

ลูกแมวตัวน้อยเต็มไปด้วยความน่ารัก และเหมาะสำหรับการเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านที่สุด แม้ว่าการมีลูกแมวจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่เจ้าของควรทำความเข้าใจความต้องการที่แตกต่างไปตามช่วงวัย และวิธีการดูแลเจ้าตัวน้อยอย่างถูกวิธีด้วย สำหรับทาสแมวมือใหม่อาจเกิดข้อสงสัยว่า “แล้ววิธีการดูแลลูกแมวที่ถูกต้องเป็นอย่างไรกัน?” ซึ่งไอแอมส์ได้รวบรวมคำตอบและเทคนิคดี ๆ อีกมากมายมาให้แล้ว รับรองเลยว่าการดูแลลูกแมวแรกเกิดจะกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณเลยหล่ะ

 

อะไรคือเหตุผลที่การดูแลลูกแมวมีความสำคัญมาก?

การดูแลลูกแมวคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะเติบโตมาอย่างแข็งแรง ในช่วงวัยนี้พวกเค้ายังต้องปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ การอยู่เคียงข้างพวกเค้าจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

 

อะไรคือความหมายที่แท้จริงของการเลี้ยงดูลูกแมวให้เติบโต?

ลูกแมวตัวน้อยกลายเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวตั้งแต่วันแรกที่คุณพาพวกเค้าเข้าบ้าน แม้การเลี้ยงดูลูกแมวอาจเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับทาสแมวมือใหม่ แต่มันก็มีช่วงเวลาที่สนุกสนาน ซึ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคุณและเจ้าตัวน้อยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นได้

 

อะไรคือสิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวตัวน้อย?

สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลลูกแมวประกอบไปด้วยปัจจัยเหล่านี้:

  • การดูแลความสะอาด:

    การรักษาความสะอาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ควรทำความสะอาดเบาะนอน หรือพื้นที่ที่ลูกแมวอยู่เป็นประจำ
  • การให้อาหารคุณภาพดี:

    ลูกแมวต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเหมาะสม เราขอแนะนำอาหารแมวจากไอแอมส์™ ที่ได้รับการพัฒนาสูตรโดยสัตวแพทย์ และผลิตจากเนื้อไก่คุณภาพดี การเลือกอาหารที่ดีมีคุณภาพ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสมอง และเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • การตรวจสุขภาพเป็นประจำ:

    ควรพบสัตวแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามพัฒนาการและความประพฤติกรรมของลูกแมวอย่างใกล้ชิด
  • การทำความสะอาดขน:

    ควรฝึกพวกเค้าให้คุ้นเคยกับการทำความสะอาดขนตั้งแต่ยังเป็นลูกแมว โดยเฉพาะน้องแมวขนยาว

ตามติดพัฒนาการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย

สำหรับทาสแมวมือใหม่ คุณอาจไม่ทันสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยของเจ้าตัวน้อย แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้จากตารางต่อไปนี้:

พัฒนาการลูกแมว 0-2 สัปดาห์ (ช่วงแรกเกิด) 2-7 สัปดาห์ (ช่วงเข้าสังคม) 7-14 สัปดาห์ (ช่วงนักสำรวจ) 3-6 เดือน (ช่วงเรียนรู้ความสำคัญ) 6-18 เดือน (ช่วงวัยรุ่น)
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง เริ่มเคลื่อนไหวเข้าหาเสียงต่าง ๆ เรียนรู้ที่จะเข้าสังคม เป็นช่วงวัยที่ลูกแมวกระตือรือร้นมากที่สุด เป็นช่วงวัยที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากแม่แมวหรือพี่น้องในครอก เติบโตอย่างเต็มที่ในช่วงวัยนี้
  ตาของลูกแมวจะเปิดในช่วงนี้ ประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นและการได้ยินพัฒนาอย่างเต็มที่ในสัปดาห์ที่ 4 เริ่มแสดงความรักผ่านการกอดและการเลีย เริ่มทำความเข้าใจและจัดลำดับความสำคัญของผู้คนรอบตัว หากยังไม่ทำหมัน จะเริ่มแสดงพฤติกรรมทางเพศ
  หากลูกแมวถูกแยกออกจากแม่หรือพี่น้อง อาจมีแนวโน้มที่จะก้าวร้าวกับผู้คนและแมวตัวอื่น ๆ การมองเห็นพัฒนาอย่างเต็มที่ในสัปดาห์ที่ 5 และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถใช้อุ้งเท้า ปาก ในการจับสิ่งของได้ดีขึ้น    
    เริ่มเลียขนทำความสะอาดตัวเอง เริ่มเล่นไล่งับหางตัวเอง และกระโจนไปมา    
    เริ่มพัฒนานิสัยการนอน การเคลื่อนไหว และการโต้ตอบกับ      
    สิ่งต่าง ๆ รอบตัว      

เตรียมความพร้อมให้กับเจ้าลูกแมวตัวน้อย

  • ควรดูแลลูกแมวในแต่ละช่วงวัยอย่างไร?

    การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการดูแลลูกแมวคือการเปลี่ยนอาหาร แมวต้องการสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเพื่อมีสุขภาพที่ดี ทาสแมวควรเลือกอาหารคุณภาพดี เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนจากการให้อาหารสูตรลูกแมวมาเป็นสูตรแมวโตเต็มวัย
  • ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากลูกแมวไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม:

    หากลูกแมวถูกละเลย และขาดการดูแลเอาใจใส่ที่ดี พวกเค้าอาจเกิดภาวะซึมเศร้า และมีร่างกายอ่อนแอ รวมถึงมีโอกาสติดเชื้อโรคร้ายสูง หากไม่ได้รับการดูแลความสะอาด
  • มีวิธีการป้องกันอะไรบ้างที่สามารถนำมาใช้กับลูกแมวได้?

    ในช่วงวัยลูกแมว ควรพาพวกเค้าไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำ และหมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติอย่างใกล้ชิด
  • เคล็ดลับการดูแลสำหรับทาสแมวมือใหม่

    ตามมาดูเคล็ดลับดี ๆ ที่ทาสแมวมือใหม่ควรรู้กัน :
    • หลังต้อนรับลูกแมวเข้าบ้านแล้ว ควรฝึกให้ใช้กระบะทรายทันที
    • ให้เวลาพวกเค้าทำความคุ้นเคยกับพื้นที่ส่วนตัว
    • หากลูกแมวเริ่มมีพฤติกรรมงับมือ ให้พูดอย่างจริงจังว่า “ไม่” เพื่อให้พวกเค้ารู้ว่านี่คือสิ่งที่ไม่ควรทำ
    • ให้รางวัลลูกแมวทุกครั้งเมื่อพวกเค้าเชื่อฟังคำสั่ง เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีให้กับพวกเค้า

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลลูกแมว:

  1. ควรให้ลูกแมวนอนตรงไหนดีนะ?
  2. แนะนำให้ฝึกพวกเค้านอนบนเบาะของตัวเอง คุณอาจเตรียมผ้าห่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับพวกเค้า

  3. จะดูแลลูกแมวกำพร้าที่ปราศจากแม่แมวอย่างไร?
  4. การดูแลลูกแมวกำพร้าแม่ต้องใช้ความอดทนและความตั้งใจมาก เจ้าของต้องให้อาหารผ่านขวดนม โดยต้องให้กินนมสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะ รวมถึงช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และทำความสะอาดตัวพวกเค้าหลังขับถ่ายเสมอ

  5. อาหารที่ลูกแมวควรกินมีอะไรบ้าง?
  6. เมื่อลูกแมวมีอายุประมาณ 4 สัปดาห์ หรือเข้าสู่วัยหย่านม สามารถเปลี่ยนมาให้อาหารแมวไอแอมส์™ สูตรเพอร์เฟค พอร์ชันส์ คิทเท่น พรีเมียม เพท รสไก่ได้แล้ว นี่คือขั้นตอนที่ควรทำเมื่อลูกแมวของคุณเข้าสู่วัยหย่านม

    ขั้นที่หนึ่ง: เติมน้ำลงในจานทรงตื้นเพียงเล็กน้อย

    ขั้นที่สอง: ผสมอาหารแมวไอแอมส์™ กับน้ำที่เติมลงไป ทั้งนี้ควรเตรียมน้ำสะอาดแยกอีกชามให้พร้อม

    ขั้นที่สาม: เมื่อเวลาผ่านไป ให้เพิ่มปริมาณอาหารและลดปริมาณน้ำลง จนกว่าลูกแมวจะเริ่มกินอาหารเพียงอย่างเดียว

    ขั้นที่สี่: แนะนำให้เริ่มจากอาหารแมวไอแอมส์™ แบบเปียก สูตรโปรแอคทีฟ เฮลท์™ สำหรับลูกแมว ก่อนจะเปลี่ยนเป็นให้อาหารเม็ด

    หากทำตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว การเปลี่ยนอาหารให้ลูกแมวก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป และเพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่แข็งแรง แนะนำให้เลือกอาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ ที่พัฒนาสูตรโดยสัตวแพทย์ รับรองเลยว่าดีต่อสุขภาพเจ้าตัวน้อยที่คุณรักอย่างแน่นอน

     

  7. เราสามารถอาบน้ำให้ลูกแมวได้ตอนอายุเท่าไหร่?
  8. ลูกแมวเรียนรู้การเลียขนทำความสะอาดตัวเองเมื่อมีอายุ 2-4 สัปดาห์ แต่เพื่อทำความสะอาดอย่างเหมาะสม คุณสามารถอาบน้ำให้ลูกแมวได้เมื่อมีอายุอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องเพิ่มเติม

  • cat article detail banner
    cat article detail banner
    adp_description_block4
    รวมประโยชน์น่ารู้ของอาหารแมวโปรตีนสูง

    • แบ่งปัน

    แมวเหมียวเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกันกับเสือและสิงโต แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่าและดุร้ายน้อยกว่า แต่ยังมีความต้องการทางกายภาพและโภชนาการที่คล้ายคลึงกัน โดยแมวและลูกแมวต้องการโปรตีนมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเหมาะสม ผู้เลี้ยงจึงควรเลือกอาหารแมวที่มีโปรตีนสูงให้กับพวกเค้า

    ลูกแมวต้องการโปรตีนสูงเพื่อเพิ่มพลังงาน การเลือกอาหารให้ลูกแมวจึงต้องพิจารณาจากปริมาณโปรตีนเป็นสำคัญ โดยอาหารแมวส่วนใหญ่จะเลือกใช้โปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์เพื่อให้ได้ปริมาณตรงตามความต้องการในแต่ละวันของลูกแมว แม้ว่าโปรตีนจะเป็นสารอาหารที่จำเป็นมาก แต่ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

    อาหารโปรตีนสูงสำหรับลูกแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนและสมดุลควบคู่ไปกับสารอาหารชนิดอื่น รวมถึงควรเลือกใช้แหล่งโปรตีนคุณภาพดีและย่อยง่ายด้วย

    กรดอะมิโนที่ควรมีอยู่ในอาหารแมว

    กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน และมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานในร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น แมวต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นเพียง 2 ชนิดสำหรับการเจริญเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดี โดยในอาหารแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นดังต่อไปนี้

    1. อาร์จินีน – เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดสำหรับแมว หากขาดกรดอะมิโนชนิดนี้ ระดับแอมโมเนียในกระแสเลือดของลูกแมวจะสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการชักและเป็นอันตรายถึงชีวิตในบางสถานการณ์
    2. ทอรีน – ทอรีนจำเป็นต่อพัฒนาการของดวงตา หัวใจ และการสืบพันธุ์ของลูกแมว แมวสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนี้ได้ในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งมักจะไม่เพียงพอต่อพัฒนาการที่เหมาะสม ทั้งนี้ลูกแมวที่ขาดทอรีนอาจมีอาการจอประสาทตาเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจพองโต การสืบพันธุ์ล้มเหลว และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติในร่างกาย

    ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับแมว

    แน่นอนว่าอาหารแมวทุกประเภทมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ผู้เลี้ยงก็ยังคงต้องตรวจสอบปริมาณโปรตีนของอาหารแต่ละชนิด เพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของแมวในแต่ละช่วงวัย

    แมวส่วนใหญ่ต้องการโปรตีนประมาณ 35% – 45% เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี โดยคุณสามารถเช็กปริมาณโปรตีนที่แมวต้องการได้จากตารางด้านล่างนี้

    ช่วงวัย

    ปริมาณโปรตีนโดยเฉลี่ย (%)

    ลูกแมว

    40 – 50%

    แมวโตเต็มวัย

    35 – 40%

    แม่แมวตั้งท้องหรือให้นมลูก

    45 – 50%

    แมวสูงวัย

    35 – 38%

    แหล่งโปรตีนในอาหารแมว

    โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การเสริมสร้างความแข็งแรง และยังเป็นแหล่งพลังงานชั้นเยี่ยมด้วย อาหารสำหรับลูกแมวจึงควรมีโปรตีนสูง ไม่เพียงแต่ในช่วงปีแรกเท่านั้น แต่รวมถึงช่วงวัยเจริญเติบโตด้วย นอกจากปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมแล้ว แหล่งที่มาของโปรตีนก็สำคัญเช่นกัน โดยแหล่งโปรตีนที่พบบ่อยที่สุดในอาหารแมว มีดังนี้

    1. โปรตีนจากพืช กลูเตนข้าวโพด กลูเตนข้าวสาลี กากถั่วเหลือง และโปรตีนจากข้าวถือเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่เหมาะสำหรับลูกแมว
    2. โปรตีนจากสัตว์ – เนื่องจากเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารสำหรับแมวจึงต้องมีเนื้อสัตว์คุณภาพดีเป็นส่วนผสมหลัก เพื่อให้แน่ใจว่าแมวจะได้รับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม โดยแหล่งโปรตีนที่มีความเข้มข้นสูง ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ ปลา และไก่งวง เหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรมองหาในอาหารแมวโปรตีนสูง

    จะรู้ได้อย่างไรว่าแมวได้รับปริมาณโปรตีนเพียงพอแล้ว?

    แมวทุกตัวต้องการโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการโดยรวมที่ดี แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพวกเค้าได้รับโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการแล้ว? โดยแมวโตทั่วไปควรได้รับโปรตีนประมาณ 35% จากอาหาร อ้างอิงจากข้อกำหนดของ AAFCO (องค์กรควบคุมอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงแห่งอเมริกา) แมวต้องการโปรตีนอย่างน้อย 30% สำหรับการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ และโปรตีนประมาณ 26% สำหรับการบำรุงรักษาร่างกาย หากอาหารผลิตจากแหล่งโปรตีนคุณภาพต่ำหรือมีปริมาณโปรตีนต่ำ อาจทำให้แมวมีอาการอาหารไม่ย่อยและสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้

    วิธีคำนวณปริมาณโปรตีนในอาหารแมวแบบเปียก

    เนื่องจาก AAFCO กำหนดปริมาณโปรตีนในรูปแบบของวัตถุแห้ง ดังนั้นหากให้อาหารเปียกแก่ลูกแมวตัวน้อย คุณอาจต้องคำนวณปริมาณโปรตีนด้วยตนเอง โดยสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้

    ขั้นตอนที่ 1 – คำนวณหาปริมาณวัตถุแห้งของอาหารโดยหักลงจากปริมาณความชื้นสูงสุด(%) 

    ขั้นตอนที่ 2 – นำปริมาณโปรตีนดิบ(%) มาหารด้วยปริมาณวัตถุแห้งที่ได้

    ขั้นตอนที่ 3 – คูณผลลัพธ์ด้วย 100 เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนในรูปแบบร้อยละที่มีอยู่ในวัตถุแห้งของอาหาร

    ตัวอย่าง อาหารมีความชื้น 75% มีโปรตีนดิบ 12%

    1. 100 – 75(ความชื้น) = 25(ปริมาณวัตถุแห้งของอาหาร)
    2. 12(ปริมาณโปรตีนดิบ) / 25 = 0.48
    3. 0.48 x 100 = 48%