IAMS TH
cat article detail banner
cat article detail banner mobile

adp_description_block486
การดูแลลูกแมวเบื้องต้น : ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลพลอยได้จากสัตว์ในอาหารแมว

  • แบ่งปัน

 

ก่อนจะคิดว่า “By Product หรือผลพลอยได้จากสัตว์” ในอาหารแมวเป็นสิ่งไม่ดี เราขอชวนมาดูข้อเท็จจริงกันดีกว่า 

ในการใช้งานทั่วไปนั้น ผลพลอยได้จากสัตว์ก็มีความหมายตามชื่อ นั่นคือ ผลผลิตที่ได้จากผลิตภัณฑ์อื่น ดังนั้น ผลพลอยได้จากสัตว์จึงไม่ได้มีคุณภาพต่ำ อย่างเช่น ขนมขิงคงมีหน้าตาพิลึกหากขาดกากน้ำตาลไป ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล

สำหรับอาหารแมวไอแอมส์™ อย่าง ไอแอมส์ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ นั้น ผลพลอยได้จากสัตว์คือ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ โดยไม่ใช่ส่วนกล้ามเนื้อที่ชาวอเมริกันนิยมบริโภค ซึ่งมีความหมายครอบคลุมเฉพาะทางกายภาพของชิ้นส่วนสัตว์เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงคุณค่าทางสารอาหาร

แม้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ไม่นิยมบริโภคผลพลอยได้จากสัตว์ แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ ชิ้นส่วนเหล่านี้ (เช่น เครื่องใน) มีคุณค่าทางสารอาหารไม่ว่าจะเป็น กรดอะมิโน แร่ธาตุ และวิตามิน แถมยังอาจน่าทานกว่าเนื้อสัตว์เสียอีก

นอกจากคุณประโยชน์ด้านโภชนาการแล้ว การใส่วัตถุดิบเหล่านี้ลงในอาหารสัตว์ยังช่วยลดปริมาณขยะและเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากคนแล้ว อุตสาหกรรมปศุสัตว์จะได้ไม่ต้องเลี้ยงสัตว์เพิ่มเพื่อนำเนื้อมาผลิตอาหารสัตว์ด้วย การให้สัตว์เลี้ยงได้กินชิ้นส่วนที่มีสารอาหารเข้มข้นแถมยังอร่อย จะช่วยลดปริมาณของเสีย ทั้งยังเป็นการใช้สัตว์ทั้งตัวได้อย่างคุ้มค่า

ทั้งนี้ ความสับสนและความไม่สบายใจที่ผู้บริโภคมีต่อผลพลอยได้จากสัตว์ มาจากกลยุทธ์ทางการตลาดของแบรนด์อาหารสัตว์บางแบรนด์ หรือจากชื่อที่ไม่น่าฟังว่า “ผลพลอยได้จากสัตว์” เอง

ควรจำไว้เสมอว่า วัตถุดิบในอาหารสัตว์มีคุณภาพแตกต่างกันได้มาก โดยคุณภาพก็ไม่สามารถตรวจสอบได้จากรายชื่อวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว ผลพลอยได้จากสัตว์แต่ละชนิดก็มีคุณภาพแตกต่างกันเช่นเดียวกับเนื้อสัตว์ ซึ่งท้องตลาดก็มีทั้งผลพลอยได้จากสัตว์คุณภาพดี เนื้อและเนื้อบด (หรือไก่บด หมูบด) คุณภาพต่ำวางจำหน่ายอยู่ไม่ต่างกัน

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่มาจากวัตถุดิบคุณภาพต่ำ ควรเลือกอาหารจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงด้านคัดสรรวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์อย่างละเอียด มีนักโภชนาการมากประสบการณ์ประจำอยู่ พร้อมทั้งมีการทดสอบวิเคราะห์ เพื่อให้วัตถุดิบและสินค้าทุกชิ้นเป็นไปตามข้อมูลด้านโภชนาการที่ระบุไว้

 

  • cat article detail banner
    cat article detail banner
    adp_description_block4
    รวมประโยชน์น่ารู้ของอาหารแมวโปรตีนสูง

    • แบ่งปัน

    แมวเหมียวเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกันกับเสือและสิงโต แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่าและดุร้ายน้อยกว่า แต่ยังมีความต้องการทางกายภาพและโภชนาการที่คล้ายคลึงกัน โดยแมวและลูกแมวต้องการโปรตีนมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเหมาะสม ผู้เลี้ยงจึงควรเลือกอาหารแมวที่มีโปรตีนสูงให้กับพวกเค้า

    ลูกแมวต้องการโปรตีนสูงเพื่อเพิ่มพลังงาน การเลือกอาหารให้ลูกแมวจึงต้องพิจารณาจากปริมาณโปรตีนเป็นสำคัญ โดยอาหารแมวส่วนใหญ่จะเลือกใช้โปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์เพื่อให้ได้ปริมาณตรงตามความต้องการในแต่ละวันของลูกแมว แม้ว่าโปรตีนจะเป็นสารอาหารที่จำเป็นมาก แต่ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

    อาหารโปรตีนสูงสำหรับลูกแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนและสมดุลควบคู่ไปกับสารอาหารชนิดอื่น รวมถึงควรเลือกใช้แหล่งโปรตีนคุณภาพดีและย่อยง่ายด้วย

    กรดอะมิโนที่ควรมีอยู่ในอาหารแมว

    กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน และมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานในร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น แมวต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นเพียง 2 ชนิดสำหรับการเจริญเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดี โดยในอาหารแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นดังต่อไปนี้

    1. อาร์จินีน – เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดสำหรับแมว หากขาดกรดอะมิโนชนิดนี้ ระดับแอมโมเนียในกระแสเลือดของลูกแมวจะสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการชักและเป็นอันตรายถึงชีวิตในบางสถานการณ์
    2. ทอรีน – ทอรีนจำเป็นต่อพัฒนาการของดวงตา หัวใจ และการสืบพันธุ์ของลูกแมว แมวสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนี้ได้ในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งมักจะไม่เพียงพอต่อพัฒนาการที่เหมาะสม ทั้งนี้ลูกแมวที่ขาดทอรีนอาจมีอาการจอประสาทตาเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจพองโต การสืบพันธุ์ล้มเหลว และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติในร่างกาย

    ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับแมว

    แน่นอนว่าอาหารแมวทุกประเภทมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ผู้เลี้ยงก็ยังคงต้องตรวจสอบปริมาณโปรตีนของอาหารแต่ละชนิด เพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของแมวในแต่ละช่วงวัย

    แมวส่วนใหญ่ต้องการโปรตีนประมาณ 35% – 45% เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี โดยคุณสามารถเช็กปริมาณโปรตีนที่แมวต้องการได้จากตารางด้านล่างนี้

    ช่วงวัย

    ปริมาณโปรตีนโดยเฉลี่ย (%)

    ลูกแมว

    40 – 50%

    แมวโตเต็มวัย

    35 – 40%

    แม่แมวตั้งท้องหรือให้นมลูก

    45 – 50%

    แมวสูงวัย

    35 – 38%

    แหล่งโปรตีนในอาหารแมว

    โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การเสริมสร้างความแข็งแรง และยังเป็นแหล่งพลังงานชั้นเยี่ยมด้วย อาหารสำหรับลูกแมวจึงควรมีโปรตีนสูง ไม่เพียงแต่ในช่วงปีแรกเท่านั้น แต่รวมถึงช่วงวัยเจริญเติบโตด้วย นอกจากปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมแล้ว แหล่งที่มาของโปรตีนก็สำคัญเช่นกัน โดยแหล่งโปรตีนที่พบบ่อยที่สุดในอาหารแมว มีดังนี้

    1. โปรตีนจากพืช กลูเตนข้าวโพด กลูเตนข้าวสาลี กากถั่วเหลือง และโปรตีนจากข้าวถือเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่เหมาะสำหรับลูกแมว
    2. โปรตีนจากสัตว์ – เนื่องจากเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารสำหรับแมวจึงต้องมีเนื้อสัตว์คุณภาพดีเป็นส่วนผสมหลัก เพื่อให้แน่ใจว่าแมวจะได้รับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม โดยแหล่งโปรตีนที่มีความเข้มข้นสูง ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ ปลา และไก่งวง เหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรมองหาในอาหารแมวโปรตีนสูง

    จะรู้ได้อย่างไรว่าแมวได้รับปริมาณโปรตีนเพียงพอแล้ว?

    แมวทุกตัวต้องการโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการโดยรวมที่ดี แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพวกเค้าได้รับโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการแล้ว? โดยแมวโตทั่วไปควรได้รับโปรตีนประมาณ 35% จากอาหาร อ้างอิงจากข้อกำหนดของ AAFCO (องค์กรควบคุมอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงแห่งอเมริกา) แมวต้องการโปรตีนอย่างน้อย 30% สำหรับการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ และโปรตีนประมาณ 26% สำหรับการบำรุงรักษาร่างกาย หากอาหารผลิตจากแหล่งโปรตีนคุณภาพต่ำหรือมีปริมาณโปรตีนต่ำ อาจทำให้แมวมีอาการอาหารไม่ย่อยและสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้

    วิธีคำนวณปริมาณโปรตีนในอาหารแมวแบบเปียก

    เนื่องจาก AAFCO กำหนดปริมาณโปรตีนในรูปแบบของวัตถุแห้ง ดังนั้นหากให้อาหารเปียกแก่ลูกแมวตัวน้อย คุณอาจต้องคำนวณปริมาณโปรตีนด้วยตนเอง โดยสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้

    ขั้นตอนที่ 1 – คำนวณหาปริมาณวัตถุแห้งของอาหารโดยหักลงจากปริมาณความชื้นสูงสุด(%) 

    ขั้นตอนที่ 2 – นำปริมาณโปรตีนดิบ(%) มาหารด้วยปริมาณวัตถุแห้งที่ได้

    ขั้นตอนที่ 3 – คูณผลลัพธ์ด้วย 100 เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนในรูปแบบร้อยละที่มีอยู่ในวัตถุแห้งของอาหาร

    ตัวอย่าง อาหารมีความชื้น 75% มีโปรตีนดิบ 12%

    1. 100 – 75(ความชื้น) = 25(ปริมาณวัตถุแห้งของอาหาร)
    2. 12(ปริมาณโปรตีนดิบ) / 25 = 0.48
    3. 0.48 x 100 = 48%