IAMS TH
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health

adp_description_block238
เรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงลูกแมวให้มีสุขภาพดี

  • แบ่งปัน

ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าบรรดาลูกแมวตัวน้อยมอบความสุขและเสียงหัวเราะไม่รู้จบมาให้เราทุกครอบครัว ดังนั้นเพื่อตอบแทนความรักของพวกเค้า เจ้าของจำเป็นต้องทำความเข้าใจวิธีดูแลและข้อควรระวังต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแมว อย่างเรื่องอาหารการกิน ลูกแมวมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง พวกเค้าควรได้รับอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล รวมถึงควรได้รับการดูแลความสะอาด ตัดแต่งขน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พวกเค้าแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ โดยคุณสามารถอ่านคำแนะนำและเทคนิคในการดูแลลูกแมวให้เติบโตเป็นแมวโตเต็มวัยที่มีความสุขและมีสุขภาพดีได้ในบทความนี้

สิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวให้มีสุขภาพดี

ทาสแมวมือใหม่หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าควรดูแลลูกแมวอย่างไรให้แข็งแรงและมีความสุข ต้องบอกก่อนเลยว่าการดูแลลูกแมวอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในช่วงแรก แต่ถ้ารู้วิธีที่ถูกต้องแล้ว ทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน เพื่อช่วยให้การดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณง่ายขึ้น คำแนะนำเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรรู้

  1. รักษาความสะอาด – การอาบน้ำและแปรงขนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลลูกแมวให้แข็งแรง วิธีนี้จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยแนะนำให้เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ออกแบบมาเพื่อลูกแมวโดยเฉพาะ และควรเช็ดตัวให้แห้งทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ
  2. ให้อาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน – ลูกแมวมีความต้องการทางโภชนาการที่เฉพาะเจาะจง จึงควรเลือกให้อาหารที่มีคุณภาพสูงและมีสารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะ เพื่อให้เสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม
  3. ฝึกการเข้าสังคม – แมวก็เป็นสัตว์สังคมเช่นเดียวกันกับเรา เจ้าของควรเปิดโอกาสให้พวกเค้าได้ทำความรู้จักผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเค้าพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและป้องกันปัญหาของพฤติกรรมในอนาคต
  4. สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค – การตรวจเช็กสุขภาพ การฉีดวัคซีน และการดูแลป้องกันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกแมวแข็งแรงและปราศจากโรคต่าง ๆ ลูกแมวตัวน้อยของคุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้อยลงหากฉีดวัคซีนครบตามกำหนดหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

พัฒนาการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย

ทำความเข้าใจพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อยเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้

อายุ

พัฒนาการที่สำคัญ

5 – 6 เดือน

เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

8 เดือน

ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่

9 เดือน

ความสามารถในการย่อยอาหารเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

12 เดือน (ตัวเมีย) และ 18 เดือน (ตัวผู้)

น้ำหนักตัวเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

อายุระหว่าง 10 – 12 เดือน

ความต้องการพลังงานลดลง

 

อยากรู้ไหมว่าน้องแมวอายุเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคน มาค้นหาคำตอบได้กันจากตารางเทียบอายุด้านล่างนี้

ช่วงวัยอายุแมวอายุแมวเปรียบเทียบกับคน
ลูกแมว0 – 1 เดือน0 – 1 ปี
2 เดือน2 ปี
3 เดือน4 ปี
4 เดือน6 ปี
5 เดือน8 ปี
6 เดือน10 ปี
ลูกแมวในวัยเจริญเติบโต7 เดือน12 ปี
12 เดือน15 ปี
18 เดือน21 ปี
2 ปี24 ปี
น้องแมวโตเต็มวัย3 ปี28 ปี
4 ปี32 ปี
5 ปี36 ปี
6 ปี40 ปี
น้องแมวช่วงวัยอาวุโส7 ปี44 ปี
8 ปี48 ปี
9 ปี52 ปี
10 ปี56 ปี
น้องแมวสูงวัย11 ปี60 ปี
12 ปี64 ปี
13 ปี68 ปี
14 ปี72 ปี
น้องแมววัยชรา15 ปี76 ปี
16 ปี80 ปี
17 ปี84 ปี
18 ปี88 ปี
19 ปี92 ปี
20 ปี96 ปี
21 ปี100 ปี
22 ปี104 ปี
23 ปี108 ปี
24 ปี112 ปี
25 ปี116 ปี

 

เช็กลิสต์การตรวจสอบสภาพร่างกายของลูกแมว

การดูแลส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมว ซึ่งหนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการตรวจสภาพร่างกายของลูกแมวอย่างใกล้ชิด โดยคุณสามารถทำตามเช็กลิสต์ต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี

  1. หู – ตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น รอยแดงหรือของเหลวแปลก ๆ ในช่องหู วิธีนี้จะช่วยให้คุณพบสิ่งผิดปกติได้เร็วและหาวิธีดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที
  2. ดวงตา – คอยสังเกตสิ่งที่ไหลออกมาจากดวงตาหรือความขุ่นมัวในดวงตา ลูกแมวที่แข็งแรงควรมีดวงตาที่สดใสและไม่ขุ่นมัว
  3. จมูก – หากพบว่าลูกแมวมีน้ำมูกไหลผิดปกติหรือมีเลือดคั่งในจมูก ควรรีบไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุในทันที
  4. ช่องปาก – พยายามมองหาสัญญาณของการติดเชื้อหรืออาการอักเสบ โดยลูกแมวควรมีช่องปากที่สะอาดและไม่มีกลิ่นเหม็น
  5. ผิวหนังและเส้นขน – หมั่นตรวจเช็กเห็บหมัดเป็นประจำ โดยลูกแมวที่แข็งแรงจะมีเส้นขนที่นุ่มเงางาม
  6. เล็บ – คอยดูว่าเล็บของเจ้าตัวน้อยยาวเกินไปหรือไม่ มีเล็บหักหรือเปล่า เจ้าของควรตัดเล็บให้พวกเค้าเป็นประจำ และควรจัดหาเสาลับเล็บติดบ้านไว้ด้วย
  7. พฤติกรรม – เจ้าของควรสังเกตพฤติกรรมของลูกแมวอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการเซื่องซึมหรือภาวะซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะลูกแมวโดยทั่วไปจะมีความกระตือรือร้นและพร้อมเล่นสนุกได้ทั้งวัน
  8. การย่อยอาหาร – หากพบว่าลูกแมวมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที
  9. การกินน้ำ – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวดื่มน้ำเพียงพอในแต่ละวัน การได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพของลูกแมว

การสังเกตสภาพร่างกายของลูกแมวเป็นประจำมีประโยชน์มาก โดยจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าพวกเค้ามีสุขภาพที่ดีและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมแล้ว

 

โดยสรุปแล้ว การเลี้ยงลูกแมวต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่มีความสุขและมีสุขภาพดี หากมีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำหรือปรึกษาสัตวแพทย์ หากคุณมอบความรักและดูแลลูกแมวอย่างถูกวิธี พวกเค้าก็จะอยู่เคียงข้างพร้อมมอบความสุขให้คุณได้นานหลายปี

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแมวของเรามีสุขภาพที่ดี?
  2. คุณสามารถสังเกตได้จากสัญญาณสุขภาพดีเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยมีดวงตาใสไม่ขุ่นมัว ขนสะอาดเงางาม และกินอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ลูกแมวควรมีความกระตือรือร้น ไม่เซื่องซึมหรือดูอ่อนเพลียตลอดเวลา การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่บอกได้ว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพดี

  3. จะทำให้ลูกแมวมีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างไร?
  4. สิ่งสำคัญสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของลูกแมวคือการตรวจสุขภาพเป็นประจำ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย ตลอดจนการฉีดวัคซีนและการดูแลป้องกันโรคร้าย

  5. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในลูกแมวมีอะไรบ้าง?
  6. ลูกแมวมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ทั้งการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หนอนพยาธิ ปรสิตอย่างหมัดและเห็บ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาภาวะเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจในภายหลังได้ด้วย

  7. ลูกแมวป่วยง่ายใช่หรือไม่?
  8. แม้ว่าลูกแมวจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง แต่ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ลูกแมวของคุณก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้

  9. ลูกแมวควรกินน้ำในปริมาณมากใช่หรือไม่?
  10. ลูกแมวจำเป็นต้องกินน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ แต่ปริมาณที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ขนาดตัว และการทำกิจกรรมของลูกแมว โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  • เผย 8 เคล็ดลับดูแลลูกแมวให้เติบโตอย่างแข็งแรง
    เผย 8 เคล็ดลับดูแลลูกแมวให้เติบโตอย่างแข็งแรง
    adp_description_block172
    วิธีดูแลลูกแมวแรกเกิดให้มีสุขภาพดี

    • แบ่งปัน

    ในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ เต็มไปด้วยรูปภาพและคลิปวิดีโอของแมวเหมียว นั่นเพราะความน่ารักน่าเอ็นดูและนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเค้า ไม่น่าแปลกใจเลยที่ใครหลาย ๆ คนอยากมีลูกแมวเป็นของตัวเอง แต่รู้ไหมว่าเจ้าตัวน้อยเหล่านี้บอบบางและจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี หากคุณรับเลี้ยงลูกแมวกำพร้าแม่ คุณอาจต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ และควรเรียนรู้วิธีการดูแลลูกแมวเพิ่มเติมด้วย
     

    สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง เรามีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นเส้นทางการดูแลลูกแมวได้อย่างราบรื่น ตั้งแต่การนัดพบสัตวแพทย์ การเลือกอาหาร ไปจนถึงการดูแลทำความสะอาด ติดตามเรื่องราวน่ารู้ทั้งหมดได้ในบทความนี้
     

    ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

    เมื่อรับลูกแมวเข้าบ้านแล้ว แนะนำให้พาไปตรวจสุขภาพเบื้องต้นกับสัตวแพทย์กันก่อน หากพบปัญหาหรืออาการผิดปกติก็สามารถทำการรักษาได้ทันที นอกจากนี้คุณหมอจะแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนและการทำหมันเพิ่มเติมด้วย หากคุณเป็นทาสแมวมือใหม่ นี่ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสอบถามข้อสงสัยต่าง ๆ
     

    จัดเตรียมน้ำให้เพียงพอ

    เนื่องจากลูกแมวที่มีภาวะขาดน้ำมักจะเสี่ยงต่อโรคและการติดเชื้อสูง แนะนำให้วางชามน้ำหลาย ๆ จุดรอบบ้าน หลีกเลี่ยงบริเวณกระบะทรายหรือมุมขับถ่าย รวมถึงทำความสะอาดชามเหล่านี้เป็นประจำและหมั่นเปลี่ยนน้ำเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
     

    เลือกโภชนาการที่เหมาะสม

    ลูกแมวแรกเกิดควรได้รับน้ำนมแม่ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์แรก อย่างไรก็ตาม ลูกแมวจรจัดหรือลูกแมวไร้บ้านมักจะถูกแยกจากแม่ตั้งแต่อายุยังน้อย หากคุณรับเลี้ยงลูกแมวเหล่านี้ คุณอาจต้องปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเรียนรู้วิธีการดูแลและการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าลูกแมวจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ โดยคุณอาจต้องเปลี่ยนสูตรอาหารให้เหมาะสมกับช่วงวัยด้วย
     

    แมวเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารแมวจึงควรมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก และต้องมาจากแหล่งโปรตีนคุณภาพเยี่ยม อย่างอาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแม่และลูกแมว ที่อัดแน่นไปด้วยโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่และโอเมก้า 3 มีส่วนผสมของโคลอสตรุมและดีเอชเอ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการดวงตาและสมอง
     

    ดูแลเอาใจใส่และมอบความรักให้อย่างสม่ำเสมอ

    แม้ว่าแมวจะมีนิสัยรักอิสระและชอบความเป็นส่วนตัว แต่ในบางครั้งพวกเค้าก็ชอบให้กอด ให้อุ้ม และชอบให้เอาอกเอาใจ พวกเค้ามีวิธีแสดงความรักในแบบของตัวเอง ให้เวลาลูกแมวตัวใหม่ของคุณได้ปรับตัว ค่อย ๆ เข้าหาและเริ่มสัมผัสพวกเค้าอย่างอ่อนโยน อาจใช้ของเล่นมาช่วยดึงความสนใจ โดยลูกแมวส่วนใหญ่ชอบเล่นกับกระดิ่ง เชือก หรืออะไรก็ตามที่พวกเค้าสามารถวิ่งไล่ตามได้
     

    แนะนำให้รู้จักกับสมาชิกในครอบครัว

    หลังจากรับลูกแมวเข้าบ้านแล้ว คุณควรเปิดโอกาสให้เจ้าตัวน้อยทำความรู้จักกับสมาชิกในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่นตั้งแต่แรกเริ่ม โดยการแนะนำลูกแมวตัวใหม่ควรทำภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด สำหรับบ้านที่มีน้องหมาอยู่ก่อน คุณควรฝึกให้น้องหมาคุ้นเคยกับกลิ่นของลูกแมว เพื่อป้องกันสัญชาตญาณการล่าเหยื่อ อย่างไรก็ตาม น้องหมาบางสายพันธุ์ก็ไม่เหมาะที่จะอยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น 
     

    การฝึกเข้าสังคมเป็นสิ่งสำคัญ ควรให้ลูกแมวพบเจอผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นเป็นครั้งคราว เพื่อให้พวกเค้าปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่าย วิธีนี้มีประโยชน์มากเมื่อถึงเวลาพบสัตวแพทย์หรือเมื่อต้องเข้าร้านอาบน้ำตัดขน
     

    ดูแลขนลูกแมวเป็นประจำ

    แมวชอบดูแลตัวเองและใส่ใจกับรูปร่างหน้าตามากเป็นพิเศษ แม้ว่าพวกเค้าจะดูแลตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่บางครั้งก็อาจต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะเมื่อเนื้อตัวมอมแมม ทั้งนี้การแปรงขนไม่เพียงแต่ช่วยขจัดสิ่งสกปรกและเส้นขนที่ตายแล้วเท่านั้น แต่ยังช่วยนวดผิวหนังเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้ลูกแมวของคุณมีสุขภาพผิวหนังที่ดีและเส้นขนเงางามอีกด้วย
     

    ฝึกลูกแมวเข้ากระบะทราย

    การฝึกเข้ากระบะทรายถือเป็นหนึ่งในการฝึกที่สำคัญที่สุด เริ่มจากเลือกกระบะทรายที่มีขนาดเหมาะกับตัวลูกแมว ส่วนทรายแมวอาจต้องทดลองใช้หลาย ๆ ชนิดเพื่อค้นหาชนิดที่ถูกใจเจ้าเหมียวที่สุด โชคดีที่แมวส่วนใหญ่มักจะขับถ่ายในพื้นผิวที่เป็นทราย การฝึกนี้จึงมีโอกาสสำเร็จสูง แต่หากลูกแมวไม่ยอมเข้ากระบะทรายในทันที ให้เวลาพวกเค้าปรับตัวกันสักพัก และหมั่นทำความสะอาดกระบะทรายเป็นประจำด้วย
     

    เตรียมพื้นที่พักผ่อนสำหรับลูกแมว

    ลูกแมวและแมวมักจะงีบหลับกันในช่วงกลางวัน โดยลูกแมวสามารถนอนได้ถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน! ในช่วงสองสามคืนแรก ลูกแมวอาจส่งเสียงร้องบ่อย เนื่องจากยังปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ไม่ดี คุณอาจจับพวกเค้านอนข้างเตียงเพื่อให้ง่ายต่อการดูแล เมื่อพวกเค้าเริ่มคุ้นเคยกับพื้นที่ใหม่และนอนหลับได้นานหลายชั่วโมงแล้ว สามารถจัดเตรียมมุมสบาย ๆ อากาศถ่ายเท และเงียบสงบให้พวกเค้าพักผ่อนตามลำพังได้

Close modal