ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าบรรดาลูกแมวตัวน้อยมอบความสุขและเสียงหัวเราะไม่รู้จบมาให้เราทุกครอบครัว ดังนั้นเพื่อตอบแทนความรักของพวกเค้า เจ้าของจำเป็นต้องทำความเข้าใจวิธีดูแลและข้อควรระวังต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแมว อย่างเรื่องอาหารการกิน ลูกแมวมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง พวกเค้าควรได้รับอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล รวมถึงควรได้รับการดูแลความสะอาด ตัดแต่งขน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พวกเค้าแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ โดยคุณสามารถอ่านคำแนะนำและเทคนิคในการดูแลลูกแมวให้เติบโตเป็นแมวโตเต็มวัยที่มีความสุขและมีสุขภาพดีได้ในบทความนี้
ทาสแมวมือใหม่หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าควรดูแลลูกแมวอย่างไรให้แข็งแรงและมีความสุข ต้องบอกก่อนเลยว่าการดูแลลูกแมวอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในช่วงแรก แต่ถ้ารู้วิธีที่ถูกต้องแล้ว ทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน เพื่อช่วยให้การดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณง่ายขึ้น คำแนะนำเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรรู้
ทำความเข้าใจพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อยเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้
อายุ | พัฒนาการที่สำคัญ |
5 – 6 เดือน | เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ |
8 เดือน | ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่ |
9 เดือน | ความสามารถในการย่อยอาหารเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย |
12 เดือน (ตัวเมีย) และ 18 เดือน (ตัวผู้) | น้ำหนักตัวเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย |
อายุระหว่าง 10 – 12 เดือน | ความต้องการพลังงานลดลง |
อยากรู้ไหมว่าน้องแมวอายุเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคน มาค้นหาคำตอบได้กันจากตารางเทียบอายุด้านล่างนี้
ช่วงวัย | อายุแมว | อายุแมวเปรียบเทียบกับคน |
---|---|---|
ลูกแมว | 0 – 1 เดือน | 0 – 1 ปี |
2 เดือน | 2 ปี | |
3 เดือน | 4 ปี | |
4 เดือน | 6 ปี | |
5 เดือน | 8 ปี | |
6 เดือน | 10 ปี | |
ลูกแมวในวัยเจริญเติบโต | 7 เดือน | 12 ปี |
12 เดือน | 15 ปี | |
18 เดือน | 21 ปี | |
2 ปี | 24 ปี | |
น้องแมวโตเต็มวัย | 3 ปี | 28 ปี |
4 ปี | 32 ปี | |
5 ปี | 36 ปี | |
6 ปี | 40 ปี | |
น้องแมวช่วงวัยอาวุโส | 7 ปี | 44 ปี |
8 ปี | 48 ปี | |
9 ปี | 52 ปี | |
10 ปี | 56 ปี | |
น้องแมวสูงวัย | 11 ปี | 60 ปี |
12 ปี | 64 ปี | |
13 ปี | 68 ปี | |
14 ปี | 72 ปี | |
น้องแมววัยชรา | 15 ปี | 76 ปี |
16 ปี | 80 ปี | |
17 ปี | 84 ปี | |
18 ปี | 88 ปี | |
19 ปี | 92 ปี | |
20 ปี | 96 ปี | |
21 ปี | 100 ปี | |
22 ปี | 104 ปี | |
23 ปี | 108 ปี | |
24 ปี | 112 ปี | |
25 ปี | 116 ปี |
การดูแลส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมว ซึ่งหนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการตรวจสภาพร่างกายของลูกแมวอย่างใกล้ชิด โดยคุณสามารถทำตามเช็กลิสต์ต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี
การสังเกตสภาพร่างกายของลูกแมวเป็นประจำมีประโยชน์มาก โดยจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าพวกเค้ามีสุขภาพที่ดีและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมแล้ว
โดยสรุปแล้ว การเลี้ยงลูกแมวต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่มีความสุขและมีสุขภาพดี หากมีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำหรือปรึกษาสัตวแพทย์ หากคุณมอบความรักและดูแลลูกแมวอย่างถูกวิธี พวกเค้าก็จะอยู่เคียงข้างพร้อมมอบความสุขให้คุณได้นานหลายปี
คุณสามารถสังเกตได้จากสัญญาณสุขภาพดีเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยมีดวงตาใสไม่ขุ่นมัว ขนสะอาดเงางาม และกินอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ลูกแมวควรมีความกระตือรือร้น ไม่เซื่องซึมหรือดูอ่อนเพลียตลอดเวลา การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่บอกได้ว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพดี
สิ่งสำคัญสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของลูกแมวคือการตรวจสุขภาพเป็นประจำ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย ตลอดจนการฉีดวัคซีนและการดูแลป้องกันโรคร้าย
ลูกแมวมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ทั้งการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หนอนพยาธิ ปรสิตอย่างหมัดและเห็บ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาภาวะเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจในภายหลังได้ด้วย
แม้ว่าลูกแมวจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง แต่ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ลูกแมวของคุณก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้
ลูกแมวจำเป็นต้องกินน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ แต่ปริมาณที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ขนาดตัว และการทำกิจกรรมของลูกแมว โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้
การนำลูกแมวตัวใหม่กลับบ้านเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนี่เป็นครั้งแรกของคุณ แต่ไม่ว่าจะรู้สึกตื่นเต้นหรือดีใจมากน้อยแค่ไหน คุณก็ควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อให้วันแรกและคืนแรกของเจ้าตัวน้อยเป็นไปอย่างราบรื่น
การนำลูกแมวกลับบ้านก็เหมือนการพาลูกน้อยกลับบ้าน คุณควรเก็บข้าวของอันตรายในบ้านให้เรียบร้อย และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ที่สำคัญในช่วงสัปดาห์แรก ควรพาลูกแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกาย แนะนำให้พวกเค้ารู้จักกับ
สมาชิกในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ส่วนการวางแผนออกไปผจญภัยนอกบ้านควรเริ่มเมื่อลูกแมวได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว
สำหรับพ่อแม่แมวมือใหม่ทุกคน เรามีคำแนะนำและเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการต้อนรับลูกแมวตัวใหม่เข้าบ้านมาฝากกัน
ก่อนที่จะพาลูกแมวเข้าบ้าน คุณควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์ที่น่าเชื่อถือในละแวกบ้าน เพื่อทำการตรวจสุขภาพ วางแผนการฉีดวัคซีนและป้องกันปรสิตเบื้องต้น ทั้งนี้หากคุณรับเลี้ยงลูกแมวแรกเกิด ก็ควรพาไปพบคุณหมอทันทีที่รับเลี้ยง รวมถึงควรทำตามขั้นตอนสำคัญอื่น ๆ ดังนี้ด้วย
ลูกแมวมีขนาดตัวเล็กและยังคงบอบบาง ผู้เลี้ยงจึงควรทำความสะอาดบ้าน เก็บข้าวของมีคมและสารอันตรายต่าง ๆ ให้มิดชิด พร้อมตรวจสอบให้แน่ใจว่าจัดพื้นที่นอน ชามอาหาร ชามน้ำ ของเล่น และกระบะทรายให้ครบถ้วน
ในช่วงสองสามคืนแรก ลูกแมวอาจรู้สึกวิตกกังวลและมักจะส่งเสียงร้อง พวกเค้าจะใช้เวลาสักพักเพื่อทำความคุ้นเคยกับบ้านใหม่ เพื่อช่วยให้ลูกแมวนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ควรจัดมุมพักผ่อนในบริเวณที่อบอุ่น เงียบสงบ เมื่ออยู่บ้านใหม่ได้อย่างสบายใจ ลูกแมวจะสามารถนอนหลับได้นานถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน
อาหารมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีในลูกแมว คุณจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม รวมไปถึงวิธีการให้อาหารอย่างถูกต้อง สำหรับลูกแมวในช่วงวัย 2 – 12 เดือน ขอแนะนำ ไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ อาหารเม็ดสูตรสำหรับแม่และลูกแมว เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน มีวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยพัฒนาสมองและดวงตาให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังมีดีเอชเอและโคลอสตรุม ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานตามธรรมชาติและป้องกันโรคร้าย ถือเป็นแหล่งอาหารจำเป็นที่พบได้ในนมแม่
เมื่อเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยดีแล้ว ก็ถึงเวลารับเจ้าตัวน้อยเข้าบ้าน และมีขั้นตอนอีกมากมายที่คุณควรทำหลังจากนี้
ลูกแมวอาจรู้สึกกังวลเมื่ออยู่กับคนแปลกหน้า การทำให้พวกเค้าคุ้นเคยกับครอบครัวใหม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้บรรยากาศสงบและไม่เสียงดังจนเกินไปในช่วงเวลาที่ทำความรู้จักกัน ควรปฏิบัติกับลูกแมวอย่างอ่อนโยน ไม่บังคับ ให้เวลาลูกแมวได้ปรับตัวและสำรวจบ้านด้วยตัวเอง
หากคุณมีสัตว์เลี้ยงหรือแมวในบ้านอยู่แล้ว การเลือกวิธีแนะนำลูกแมวตัวใหม่เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะพวกเค้าทั้งหมดต้องอยู่ร่วมกันและควรจะเข้ากันได้ดี เริ่มจากปล่อยให้พวกเค้าทำความคุ้นเคยกลิ่นของกันและกันก่อน อาจนำผ้าห่มของลูกแมวตัวใหม่ไปวางใกล้ ๆ ชามอาหารของแมวตัวเก่า จากนั้นปล่อยให้ดมกลิ่นสำรวจจนคุ้นชิน วิธีนี้จะทำให้แมวตัวเก่าค่อย ๆ คุ้นเคยกับกลิ่นของแมวตัวใหม่ไปเอง
การไปพบสัตวแพทย์เป็นหนึ่งในข้อปฏิบัติสำคัญที่ต้องทำทันทีหลังนำลูกแมวตัวใหม่กลับบ้าน คุณหมอจะวางแผนการฉีดวัคซีน พร้อมทำการดูแลป้องกันอื่น ๆ เพื่อเสริมสุขภาพโดยรวมของลูกแมว รวมถึงจะตรวจสอบน้ำหนักและสภาพร่างกาย เพื่อประเมินความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวให้อีกด้วย
เมื่อลูกแมวรู้สึกสบายใจกับการอยู่ในบ้านใหม่ พวกเค้าจะเริ่มสำรวจพื้นที่ทุกซอกทุกมุม คุณอาจพบว่าลูกแมวเดินเตร่ไปมาและดมกลิ่นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นี่ถือเป็นข่าวดี ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกแมวได้รับบาดเจ็บขณะสำรวจบ้านใหม่ คุณควรเก็บกวาดบ้านให้เรียบร้อยพร้อมตามดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ไม่แนะนำให้อุ้มลูกแมวขึ้นมากอดหรือบังคับให้เคลื่อนไหวไปมา ปล่อยให้พวกเค้าสำรวจด้วยตัวเอง
หลังจากลูกแมวปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้แล้ว คุณสามารถชวนพวกเค้าเล่นและทำกิจกรรมง่าย ๆ ได้ เช่น เล่นซ่อนแอบ เล่นตะครุบเหยื่อ อาจให้รางวัลด้วยขนมเมื่อพวกเค้าเล่นกับคุณ วิธีนี้ช่วยให้ลูกแมวเชื่อใจคุณมากยิ่งขึ้น จากนั้นอีกไม่นาน พวกเค้าก็จะเริ่มอ้อน เข้ามาคลอเคลีย และแสดงความรักให้เห็นบ่อยมากขึ้น