IAMS TH
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health

adp_description_block437
เรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงลูกแมวให้มีสุขภาพดี

  • แบ่งปัน

ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าบรรดาลูกแมวตัวน้อยมอบความสุขและเสียงหัวเราะไม่รู้จบมาให้เราทุกครอบครัว ดังนั้นเพื่อตอบแทนความรักของพวกเค้า เจ้าของจำเป็นต้องทำความเข้าใจวิธีดูแลและข้อควรระวังต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแมว อย่างเรื่องอาหารการกิน ลูกแมวมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง พวกเค้าควรได้รับอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล รวมถึงควรได้รับการดูแลความสะอาด ตัดแต่งขน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พวกเค้าแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ โดยคุณสามารถอ่านคำแนะนำและเทคนิคในการดูแลลูกแมวให้เติบโตเป็นแมวโตเต็มวัยที่มีความสุขและมีสุขภาพดีได้ในบทความนี้

สิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวให้มีสุขภาพดี

ทาสแมวมือใหม่หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าควรดูแลลูกแมวอย่างไรให้แข็งแรงและมีความสุข ต้องบอกก่อนเลยว่าการดูแลลูกแมวอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในช่วงแรก แต่ถ้ารู้วิธีที่ถูกต้องแล้ว ทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน เพื่อช่วยให้การดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณง่ายขึ้น คำแนะนำเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรรู้

  1. รักษาความสะอาด – การอาบน้ำและแปรงขนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลลูกแมวให้แข็งแรง วิธีนี้จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยแนะนำให้เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ออกแบบมาเพื่อลูกแมวโดยเฉพาะ และควรเช็ดตัวให้แห้งทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ
  2. ให้อาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน – ลูกแมวมีความต้องการทางโภชนาการที่เฉพาะเจาะจง จึงควรเลือกให้อาหารที่มีคุณภาพสูงและมีสารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะ เพื่อให้เสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม
  3. ฝึกการเข้าสังคม – แมวก็เป็นสัตว์สังคมเช่นเดียวกันกับเรา เจ้าของควรเปิดโอกาสให้พวกเค้าได้ทำความรู้จักผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเค้าพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและป้องกันปัญหาของพฤติกรรมในอนาคต
  4. สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค – การตรวจเช็กสุขภาพ การฉีดวัคซีน และการดูแลป้องกันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกแมวแข็งแรงและปราศจากโรคต่าง ๆ ลูกแมวตัวน้อยของคุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้อยลงหากฉีดวัคซีนครบตามกำหนดหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

พัฒนาการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย

ทำความเข้าใจพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อยเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้

อายุ

พัฒนาการที่สำคัญ

5 – 6 เดือน

เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

8 เดือน

ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่

9 เดือน

ความสามารถในการย่อยอาหารเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

12 เดือน (ตัวเมีย) และ 18 เดือน (ตัวผู้)

น้ำหนักตัวเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

อายุระหว่าง 10 – 12 เดือน

ความต้องการพลังงานลดลง

 

อยากรู้ไหมว่าน้องแมวอายุเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคน มาค้นหาคำตอบได้กันจากตารางเทียบอายุด้านล่างนี้

ช่วงวัยอายุแมวอายุแมวเปรียบเทียบกับคน
ลูกแมว0 – 1 เดือน0 – 1 ปี
2 เดือน2 ปี
3 เดือน4 ปี
4 เดือน6 ปี
5 เดือน8 ปี
6 เดือน10 ปี
ลูกแมวในวัยเจริญเติบโต7 เดือน12 ปี
12 เดือน15 ปี
18 เดือน21 ปี
2 ปี24 ปี
น้องแมวโตเต็มวัย3 ปี28 ปี
4 ปี32 ปี
5 ปี36 ปี
6 ปี40 ปี
น้องแมวช่วงวัยอาวุโส7 ปี44 ปี
8 ปี48 ปี
9 ปี52 ปี
10 ปี56 ปี
น้องแมวสูงวัย11 ปี60 ปี
12 ปี64 ปี
13 ปี68 ปี
14 ปี72 ปี
น้องแมววัยชรา15 ปี76 ปี
16 ปี80 ปี
17 ปี84 ปี
18 ปี88 ปี
19 ปี92 ปี
20 ปี96 ปี
21 ปี100 ปี
22 ปี104 ปี
23 ปี108 ปี
24 ปี112 ปี
25 ปี116 ปี

 

เช็กลิสต์การตรวจสอบสภาพร่างกายของลูกแมว

การดูแลส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมว ซึ่งหนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการตรวจสภาพร่างกายของลูกแมวอย่างใกล้ชิด โดยคุณสามารถทำตามเช็กลิสต์ต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี

  1. หู – ตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น รอยแดงหรือของเหลวแปลก ๆ ในช่องหู วิธีนี้จะช่วยให้คุณพบสิ่งผิดปกติได้เร็วและหาวิธีดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที
  2. ดวงตา – คอยสังเกตสิ่งที่ไหลออกมาจากดวงตาหรือความขุ่นมัวในดวงตา ลูกแมวที่แข็งแรงควรมีดวงตาที่สดใสและไม่ขุ่นมัว
  3. จมูก – หากพบว่าลูกแมวมีน้ำมูกไหลผิดปกติหรือมีเลือดคั่งในจมูก ควรรีบไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุในทันที
  4. ช่องปาก – พยายามมองหาสัญญาณของการติดเชื้อหรืออาการอักเสบ โดยลูกแมวควรมีช่องปากที่สะอาดและไม่มีกลิ่นเหม็น
  5. ผิวหนังและเส้นขน – หมั่นตรวจเช็กเห็บหมัดเป็นประจำ โดยลูกแมวที่แข็งแรงจะมีเส้นขนที่นุ่มเงางาม
  6. เล็บ – คอยดูว่าเล็บของเจ้าตัวน้อยยาวเกินไปหรือไม่ มีเล็บหักหรือเปล่า เจ้าของควรตัดเล็บให้พวกเค้าเป็นประจำ และควรจัดหาเสาลับเล็บติดบ้านไว้ด้วย
  7. พฤติกรรม – เจ้าของควรสังเกตพฤติกรรมของลูกแมวอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการเซื่องซึมหรือภาวะซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะลูกแมวโดยทั่วไปจะมีความกระตือรือร้นและพร้อมเล่นสนุกได้ทั้งวัน
  8. การย่อยอาหาร – หากพบว่าลูกแมวมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที
  9. การกินน้ำ – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวดื่มน้ำเพียงพอในแต่ละวัน การได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพของลูกแมว

การสังเกตสภาพร่างกายของลูกแมวเป็นประจำมีประโยชน์มาก โดยจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าพวกเค้ามีสุขภาพที่ดีและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมแล้ว

 

โดยสรุปแล้ว การเลี้ยงลูกแมวต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่มีความสุขและมีสุขภาพดี หากมีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำหรือปรึกษาสัตวแพทย์ หากคุณมอบความรักและดูแลลูกแมวอย่างถูกวิธี พวกเค้าก็จะอยู่เคียงข้างพร้อมมอบความสุขให้คุณได้นานหลายปี

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแมวของเรามีสุขภาพที่ดี?
  2. คุณสามารถสังเกตได้จากสัญญาณสุขภาพดีเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยมีดวงตาใสไม่ขุ่นมัว ขนสะอาดเงางาม และกินอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ลูกแมวควรมีความกระตือรือร้น ไม่เซื่องซึมหรือดูอ่อนเพลียตลอดเวลา การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่บอกได้ว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพดี

  3. จะทำให้ลูกแมวมีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างไร?
  4. สิ่งสำคัญสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของลูกแมวคือการตรวจสุขภาพเป็นประจำ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย ตลอดจนการฉีดวัคซีนและการดูแลป้องกันโรคร้าย

  5. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในลูกแมวมีอะไรบ้าง?
  6. ลูกแมวมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ทั้งการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หนอนพยาธิ ปรสิตอย่างหมัดและเห็บ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาภาวะเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจในภายหลังได้ด้วย

  7. ลูกแมวป่วยง่ายใช่หรือไม่?
  8. แม้ว่าลูกแมวจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง แต่ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ลูกแมวของคุณก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้

  9. ลูกแมวควรกินน้ำในปริมาณมากใช่หรือไม่?
  10. ลูกแมวจำเป็นต้องกินน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ แต่ปริมาณที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ขนาดตัว และการทำกิจกรรมของลูกแมว โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  • เพราะอะไรอาหารแมวโปรตีนสูงจึงเป็นตัวเลือกที่ดี?
    เพราะอะไรอาหารแมวโปรตีนสูงจึงเป็นตัวเลือกที่ดี?
    adp_description_block471
    อาหารแมวโปรตีนสูง

    • แบ่งปัน

    โภชนาการเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของแมว แมวเป็นสัตว์กินเนื้อโดยธรรมชาติ พวกเค้าจึงต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง ซึ่งช่วยเสริมสุขภาพโดยรวม เป็นแหล่งพลังงาน เสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยังมีประโยชน์มากมายดังนี้

    1. ป้องกันการเกิดโรคอ้วน

      แมวต้องการโปรตีนจากสัตว์เป็นสารอาหารหลัก และการให้อาหารแมวโปรตีนสูงก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนได้เป็นอย่างดี

    2. ห่างไกลเบาหวาน

      โรคอ้วนในแมวมักนำไปสู่โรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การกินอาหารโปรตีนสูงถือเป็นวิธีป้องกันที่ดี เนื่องจากช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงลดโอกาสในการเกิดโรคเบาหวานได้

    3. ช่วยควบคุมน้ำหนัก

      หากต้องการให้แมวของคุณน้ำหนักลดลงประมาณ 1 – 2 กก. อาหารที่มีโปรตีนสูงคือตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม เพราะไม่เพียงแต่ช่วยควบคุมน้ำหนัก แต่ยังช่วยให้แมวรู้สึกอิ่มท้องนานขึ้นด้วย

    4. เสริมระบบภูมิคุ้มกัน

      อาหารแมวโปรตีนสูงอุดมด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ การเจริญเติบโต และระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง หากได้รับโปรตีนไม่เพียงพอต่อความต้องการ แมวเหมียวอาจสูญเสียกล้ามเนื้อและความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายยามเจ็บป่วย

    คู่มือการเลือกอาหารแมวโปรตีนสูงของไอแอมส์™

    1. อาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรเลี้ยงในบ้าน และบำรุงขน

      อาหารแมวเกรดพรีเมียมสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของแมวเลี้ยงในบ้านโดยเฉพาะ อัดแน่นไปด้วยโปรตีนจากส่วนผสมคุณภาพดี มาพร้อมแอล-คาร์นิทีน บีทพัลพ์ และไฟเบอร์จากธรรมชาติ ทำให้เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับการควบคุมน้ำหนักและป้องกันปัญหาก้อนขนอุดตัน

    จุดเด่น

    1. โปรตีนคุณภาพดี – ผลพลอยได้จากไก่ป่นถือเป็นแหล่งโปรตีนหลัก ซึ่งมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเสริมสุขภาพโดยรวมของแมวเลี้ยงในบ้าน

    2. ควบคุมน้ำหนัก – เนื่องจากมีแอล-คาร์นิทีนที่ช่วยสนับสนุนการเผาผลาญไขมัน จึงควบคุมน้ำหนักและป้องกันการเกิดโรคอ้วนได้ดี

    3. ป้องกันปัญหาก้อนขน – บีทพัลพ์และไฟเบอร์ช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาก้อนขน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในแมวบ้าน

    ข้อควรระวัง

    1. มีส่วนประกอบของธัญพืช – อาหารแมวของเรามีส่วนประกอบของข้าวโพด ข้าวสาลี และกลูเตนจากข้าวโพด ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับน้องแมวที่แพ้ธัญพืชหรือมีภาวะภูมิแพ้
    2. ความต้องการด้านโภชนาการ – เนื่องจากแมวทุกตัวมีความต้องการแตกต่างกัน โปรดปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการตรงตามความต้องการของเจ้าเหมียว

     

    1. อาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแม่และลูกแมว

      อาหารแมวเกรดพรีเมียมของเราได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อย อุดมด้วยโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่และโอเมก้า 3 นอกจากนี้ยังมีสารอาหารที่จำเป็นอย่างโคลอสตรุมและดีเอชเอ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของดวงตาและสมอง

    จุดเด่น

    1. โปรตีนคุณภาพดี – แหล่งโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่และผลพลอยได้จากไก่ป่น อาหารแมวไอแอมส์™ จึงอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการพัฒนากล้ามเนื้อและสุขภาพโดยรวมของแมว
    2. โอเมก้า 3 – อาหารลูกแมวไอแอมส์™ มีส่วนผสมของกรดไขมันโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลา ช่วยให้ผิวหนังมีสุขภาพดีและขนสวยเงางาม
    3. โคลอสตรุมและดีเอชเอ – โคลอสตรุมช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนดีเอชเอช่วยในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ทำให้อาหารลูกแมวไอแอมส์™ เหมาะสมสำหรับลูกแมวในวัยเจริญเติบโตเป็นที่สุด

    ข้อควรระวัง

    1. มีส่วนประกอบของธัญพืช – อาหารแมวของเรามีส่วนประกอบของข้าวโพด ข้าวสาลี และกลูเตนจากข้าวโพด ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับลูกแมวที่แพ้ธัญพืชหรือมีภาวะภูมิแพ้

    2. การเปลี่ยนอาหาร – ควรเปลี่ยนมาให้อาหารลูกแมวไอแอมส์™ แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อป้องกันปัญหาในระบบทางเดินอาหาร

    3. ปรึกษาสัตวแพทย์ – หากต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการหรือการเปลี่ยนอาหารที่ถูกต้อง คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณจะได้รับอาหารที่ตรงตามความต้องการ

    แมวต้องการโปรตีนปริมาณเท่าใด?

    เมื่อพูดถึงโภชนาการสำหรับแมว โปรตีนคือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพที่แข็งแรง เราจึงต้องอ่านข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อค้นหาว่าอาหารแมวมีปริมาณโปรตีนมากน้อยเท่าใด ซึ่งบางครั้งข้อมูลดังกล่าวก็สร้างความสับสน เราจึงรวบรวมเคล็ดลับง่าย ๆ ในการหาปริมาณโปรตีนที่แมวคุณต้องการจากผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหลาย

    หนึ่งในจุดที่คุณต้องสังเกตคือปริมาณความชื้น ฉลากอาหารสัตว์จะนำเสนอข้อมูล 2 รูปแบบ คือเสนอเป็นเปอร์เซ็นต์ของวัตถุแห้ง (Dry matter basis) และปริมาณสิ่งแห้งหรือวัตถุดิบที่มีจริง (As-fed basis) โดยส่วนใหญ่จะใช้แบบที่สอง โดยจะรวมปริมาณน้ำเข้าไปด้วย สิ่งนี้อาจทำให้สับสนได้เล็กน้อย

    วิธีง่าย ๆ ในการค้นหาปริมาณโปรตีน

    คำนวณหาปริมาณวัตถุแห้งของอาหารโดยหักลงจากปริมาณความชื้นสูงสุด(%) นำปริมาณโปรตีนดิบ(%) มาหารด้วยปริมาณวัตถุแห้งที่ได้ คูณผลลัพธ์ด้วย 100 เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนในรูปแบบร้อยละที่มีอยู่ในวัตถุแห้งของอาหาร

    อาหารแบบใดที่จัดว่าเป็นอาหารแมวโปรตีนสูง?

    1. ปริมาณโปรตีนดิบ – อาหารแมวโปรตีนสูงมักจะมีโปรตีน 25 – 30% ขึ้นไป โดยไม่นับรวมความชื้น
    2. แหล่งโปรตีนจากสัตว์ – แนะนำให้เลือกอาหารแมวที่มีโปรตีนจากสัตว์เป็นหลัก เช่น ไก่ ไก่งวง เนื้อวัว หรือปลา เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าเหมียวจะได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน
    3. จำกัดส่วนผสมบางชนิด – หลีกเลี่ยงอาหารแมวที่มีธัญพืชและแป้งมากเกินไป เพราะอาจทำให้ความเข้มข้นของโปรตีนโดยรวมในอาหารเจือจางลง
    4. หลีกเลี่ยงโปรตีนจากพืช – ตรวจเช็กรายการส่วนผสมให้ละเอียด ควรหลีกเลี่ยงอาหารแมวที่มีส่วนประกอบของโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลืองหรือโปรตีนถั่วเข้มข้น
    5. อาหารแมวเกรดพรีเมียม – เลือกแบรนด์อาหารแมวที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักกันดี และควรมีประวัติในการผลิตตัวเลือกอาหารแมวระดับพรีเมียมคุณภาพสูงและมีโปรตีนสูงด้วย

    ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ โดยจะพิจารณาจากอายุ กิจวัตรประจำวัน และสุขภาพของแมว เนื่องจากความต้องการของแมวแต่ละตัวแตกต่างกัน

    ข้อดีและข้อเสียของอาหารแมวโปรตีนสูง

    ข้อดี

    1. กล้ามเนื้อแข็งแรง – อาหารแมวโปรตีนสูงมีส่วนช่วยในการพัฒนาและบำรุงรักษากล้ามเนื้อให้แข็งแรง

    2. เป็นแหล่งพลังงาน – โปรตีนให้พลังงานที่จำเป็นต่อการทำกิจกรรมและเพิ่มความกระฉับกระเฉงให้กับเจ้าแมวตัวน้อย

    3. เสริมสุขภาพผิวหนังและเส้นขน – อาหารที่มีโปรตีนสูงช่วยให้ผิวหนังสุขภาพดีและมีขนสวยเงางาม

    4. ช่วยควบคุมน้ำหนัก – อาหารแมวโปรตีนสูงช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี มักจะมีแคลอรีน้อยและทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น

    ข้อเสีย

    1. ราคาสูง – ส่วนผสมคุณภาพดีย่อมมีราคา แต่การลงทุนเพื่อสุขภาพของแมวก็ถือว่าคุ้มค่า
    2. ปัญหาเกี่ยวกับไต – มีการถกเถียงกันว่าอาหารโปรตีนสูงอาจทำให้ไตทำงานหนัก แต่เป็นหัวข้อที่ยังไม่มีบทสรุปแน่ชัดและไม่ได้เกิดขึ้นกับแมวทุกตัว
    3. ภูมิแพ้อาหาร – ผู้เลี้ยงควรหมั่นสังเกตอาการของแมวที่มีต่อแหล่งโปรตีนชนิดต่าง ๆ เนื่องจากโปรตีนบางชนิดอาจทำให้แมวเกิดอาการแพ้ได้

    การเปลี่ยนมาให้อาหารแมวโปรตีนสูงหรือเปลี่ยนอาหารสูตรใหม่ ควรเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนอย่างกะทันหัน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหาร หากต้องการคำแนะนำหรือแมวของคุณมีปัญหาด้านสุขภาพ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนเปลี่ยนอาหารทุกครั้ง และขอแนะนำไอแอมส์™ อาหารแมวเกรดพรีเมียมที่มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุล มั่นใจได้เลยว่าเจ้าเหมียวจะมีสุขภาพดีและมีความสุขในทุกวัน

Close modal