IAMS TH
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health

adp_description_block118
เรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงลูกแมวให้มีสุขภาพดี

  • แบ่งปัน

ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าบรรดาลูกแมวตัวน้อยมอบความสุขและเสียงหัวเราะไม่รู้จบมาให้เราทุกครอบครัว ดังนั้นเพื่อตอบแทนความรักของพวกเค้า เจ้าของจำเป็นต้องทำความเข้าใจวิธีดูแลและข้อควรระวังต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแมว อย่างเรื่องอาหารการกิน ลูกแมวมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง พวกเค้าควรได้รับอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล รวมถึงควรได้รับการดูแลความสะอาด ตัดแต่งขน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พวกเค้าแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ โดยคุณสามารถอ่านคำแนะนำและเทคนิคในการดูแลลูกแมวให้เติบโตเป็นแมวโตเต็มวัยที่มีความสุขและมีสุขภาพดีได้ในบทความนี้

สิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวให้มีสุขภาพดี

ทาสแมวมือใหม่หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าควรดูแลลูกแมวอย่างไรให้แข็งแรงและมีความสุข ต้องบอกก่อนเลยว่าการดูแลลูกแมวอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในช่วงแรก แต่ถ้ารู้วิธีที่ถูกต้องแล้ว ทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน เพื่อช่วยให้การดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณง่ายขึ้น คำแนะนำเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรรู้

  1. รักษาความสะอาด – การอาบน้ำและแปรงขนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลลูกแมวให้แข็งแรง วิธีนี้จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยแนะนำให้เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ออกแบบมาเพื่อลูกแมวโดยเฉพาะ และควรเช็ดตัวให้แห้งทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ
  2. ให้อาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน – ลูกแมวมีความต้องการทางโภชนาการที่เฉพาะเจาะจง จึงควรเลือกให้อาหารที่มีคุณภาพสูงและมีสารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะ เพื่อให้เสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม
  3. ฝึกการเข้าสังคม – แมวก็เป็นสัตว์สังคมเช่นเดียวกันกับเรา เจ้าของควรเปิดโอกาสให้พวกเค้าได้ทำความรู้จักผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเค้าพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและป้องกันปัญหาของพฤติกรรมในอนาคต
  4. สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค – การตรวจเช็กสุขภาพ การฉีดวัคซีน และการดูแลป้องกันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกแมวแข็งแรงและปราศจากโรคต่าง ๆ ลูกแมวตัวน้อยของคุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้อยลงหากฉีดวัคซีนครบตามกำหนดหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

พัฒนาการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย

ทำความเข้าใจพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อยเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้

อายุ

พัฒนาการที่สำคัญ

5 – 6 เดือน

เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

8 เดือน

ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่

9 เดือน

ความสามารถในการย่อยอาหารเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

12 เดือน (ตัวเมีย) และ 18 เดือน (ตัวผู้)

น้ำหนักตัวเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

อายุระหว่าง 10 – 12 เดือน

ความต้องการพลังงานลดลง

 

อยากรู้ไหมว่าน้องแมวอายุเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคน มาค้นหาคำตอบได้กันจากตารางเทียบอายุด้านล่างนี้

ช่วงวัยอายุแมวอายุแมวเปรียบเทียบกับคน
ลูกแมว0 – 1 เดือน0 – 1 ปี
2 เดือน2 ปี
3 เดือน4 ปี
4 เดือน6 ปี
5 เดือน8 ปี
6 เดือน10 ปี
ลูกแมวในวัยเจริญเติบโต7 เดือน12 ปี
12 เดือน15 ปี
18 เดือน21 ปี
2 ปี24 ปี
น้องแมวโตเต็มวัย3 ปี28 ปี
4 ปี32 ปี
5 ปี36 ปี
6 ปี40 ปี
น้องแมวช่วงวัยอาวุโส7 ปี44 ปี
8 ปี48 ปี
9 ปี52 ปี
10 ปี56 ปี
น้องแมวสูงวัย11 ปี60 ปี
12 ปี64 ปี
13 ปี68 ปี
14 ปี72 ปี
น้องแมววัยชรา15 ปี76 ปี
16 ปี80 ปี
17 ปี84 ปี
18 ปี88 ปี
19 ปี92 ปี
20 ปี96 ปี
21 ปี100 ปี
22 ปี104 ปี
23 ปี108 ปี
24 ปี112 ปี
25 ปี116 ปี

 

เช็กลิสต์การตรวจสอบสภาพร่างกายของลูกแมว

การดูแลส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมว ซึ่งหนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการตรวจสภาพร่างกายของลูกแมวอย่างใกล้ชิด โดยคุณสามารถทำตามเช็กลิสต์ต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี

  1. หู – ตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น รอยแดงหรือของเหลวแปลก ๆ ในช่องหู วิธีนี้จะช่วยให้คุณพบสิ่งผิดปกติได้เร็วและหาวิธีดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที
  2. ดวงตา – คอยสังเกตสิ่งที่ไหลออกมาจากดวงตาหรือความขุ่นมัวในดวงตา ลูกแมวที่แข็งแรงควรมีดวงตาที่สดใสและไม่ขุ่นมัว
  3. จมูก – หากพบว่าลูกแมวมีน้ำมูกไหลผิดปกติหรือมีเลือดคั่งในจมูก ควรรีบไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุในทันที
  4. ช่องปาก – พยายามมองหาสัญญาณของการติดเชื้อหรืออาการอักเสบ โดยลูกแมวควรมีช่องปากที่สะอาดและไม่มีกลิ่นเหม็น
  5. ผิวหนังและเส้นขน – หมั่นตรวจเช็กเห็บหมัดเป็นประจำ โดยลูกแมวที่แข็งแรงจะมีเส้นขนที่นุ่มเงางาม
  6. เล็บ – คอยดูว่าเล็บของเจ้าตัวน้อยยาวเกินไปหรือไม่ มีเล็บหักหรือเปล่า เจ้าของควรตัดเล็บให้พวกเค้าเป็นประจำ และควรจัดหาเสาลับเล็บติดบ้านไว้ด้วย
  7. พฤติกรรม – เจ้าของควรสังเกตพฤติกรรมของลูกแมวอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการเซื่องซึมหรือภาวะซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะลูกแมวโดยทั่วไปจะมีความกระตือรือร้นและพร้อมเล่นสนุกได้ทั้งวัน
  8. การย่อยอาหาร – หากพบว่าลูกแมวมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที
  9. การกินน้ำ – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวดื่มน้ำเพียงพอในแต่ละวัน การได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพของลูกแมว

การสังเกตสภาพร่างกายของลูกแมวเป็นประจำมีประโยชน์มาก โดยจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าพวกเค้ามีสุขภาพที่ดีและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมแล้ว

 

โดยสรุปแล้ว การเลี้ยงลูกแมวต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่มีความสุขและมีสุขภาพดี หากมีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำหรือปรึกษาสัตวแพทย์ หากคุณมอบความรักและดูแลลูกแมวอย่างถูกวิธี พวกเค้าก็จะอยู่เคียงข้างพร้อมมอบความสุขให้คุณได้นานหลายปี

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแมวของเรามีสุขภาพที่ดี?
  2. คุณสามารถสังเกตได้จากสัญญาณสุขภาพดีเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยมีดวงตาใสไม่ขุ่นมัว ขนสะอาดเงางาม และกินอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ลูกแมวควรมีความกระตือรือร้น ไม่เซื่องซึมหรือดูอ่อนเพลียตลอดเวลา การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่บอกได้ว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพดี

  3. จะทำให้ลูกแมวมีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างไร?
  4. สิ่งสำคัญสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของลูกแมวคือการตรวจสุขภาพเป็นประจำ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย ตลอดจนการฉีดวัคซีนและการดูแลป้องกันโรคร้าย

  5. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในลูกแมวมีอะไรบ้าง?
  6. ลูกแมวมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ทั้งการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หนอนพยาธิ ปรสิตอย่างหมัดและเห็บ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาภาวะเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจในภายหลังได้ด้วย

  7. ลูกแมวป่วยง่ายใช่หรือไม่?
  8. แม้ว่าลูกแมวจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง แต่ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ลูกแมวของคุณก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้

  9. ลูกแมวควรกินน้ำในปริมาณมากใช่หรือไม่?
  10. ลูกแมวจำเป็นต้องกินน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ แต่ปริมาณที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ขนาดตัว และการทำกิจกรรมของลูกแมว โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  • Our Favorite Tips to Train a Kitten
    Our Favorite Tips to Train a Kitten
    adp_description_block420
    รวมเคล็ดลับฝึกลูกแมวให้เป็นเด็กดีและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม

    • แบ่งปัน

    การรับลูกแมวตัวใหม่เข้าบ้านเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับเจ้าของทุกคน มีสิ่งสำคัญมากมายที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้เจ้าตัวน้อยทั้งหลายเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย และหนึ่งในนั้นคือการฝึกลูกแมวอย่างเหมาะสม ซึ่งจำเป็นต่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกายและทางพฤติกรรม โดยในช่วงวัยเจริญเติบโต สมองของลูกแมวเปรียบเสมือนฟองน้ำ พวกเค้าจะดูดซับข้อมูลและเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อรวมกับการดูแลเอาใจใส่ด้วยความรักจากเจ้าของ มั่นใจได้เลยว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะเติบโตเป็นสมาชิกในครอบครัวที่ปรับตัวได้ดี มีความสุข และมีสุขภาพดี โดยคุณสามารถติดตามทุกเรื่องน่ารู้และเคล็ดลับการฝึกลูกแมวได้จากบทความนี้ 

     

    เคล็ดลับการฝึกลูกแมวให้ได้ผล

    สำหรับทาสแมวมือใหม่ ต้องเข้าใจก่อนว่าการฝึกลูกแมวควรเป็นประสบการณ์ที่สนุกและเป็นการส่งเสริมในเชิงบวก คุณสามารถสอนลูกแมวได้ทุกอย่างตั้งแต่คำสั่งพื้นฐานไปจนถึงการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม เพียงแต่ต้องใช้ความอดทนและการฝึกอย่างสม่ำเสมอ หรือจะลองใช้เคล็ดลับง่าย ๆ ต่อไปนี้ด้วยก็ได้เช่นกัน

     

    1. ฝึกสอนคำสั่งที่สำคัญ

      การฝึกลูกแมวให้นั่งควรเป็นขั้นตอนแรกในการฝึก เริ่มด้วยการถือขนมไว้หน้าจมูกลูกแมว จากนั้นค่อย ๆ เลื่อนขึ้นไปเหนือหัว  เพื่อให้ลูกแมวเงยหน้าขึ้นมองตามขนม ซึ่งก้นของพวกเค้าจะค่อย ๆ ย่อลงกับพื้นตามธรรมชาติ ทันทีที่พวกเค้านั่งลง ให้พูดคำสั่งว่า 'นั่ง' แล้วค่อยยื่นขนมให้พวกเค้าเป็นลำดับต่อไป ทำขั้นตอนนี้ซ้ำหลาย ๆ ครั้งจนกว่าพวกเค้าจะเข้าใจคำสั่ง
       

    2. จัดเตรียมพื้นที่ส่วนตัว

      การจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัยและสะดวกสบายให้กับเจ้าตัวน้อยเป็นสิ่งสำคัญ คุณอาจจะเตรียมกล่องลังหรือกรงไว้ให้พวกเค้าภายในบ้าน สำหรับการฝึกให้อยู่ในกรง ให้วางผ้าห่มนุ่ม ๆ และของเล่นไว้ข้างใน จากนั้นปล่อยให้ลูกแมวสำรวจรอบ ๆ ด้วยตัวเอง เมื่อพวกเค้าเข้าไปข้างในกรงก็ให้รางวัลเป็นขนมหรือคำชม คุณสามารถปิดประตูเป็นช่วงสั้น ๆ และค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาในการฝึกครั้งต่อ ๆ ไป
       

    3. เปิดโอกาสให้สำรวจโลกรอบ ๆ ตัว

      การเข้าสังคมเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของการฝึกลูกแมว เริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ลูกแมวรู้จักกับเพื่อน คนในครอบครัว และสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้าน อาจจะพาเจ้าตัวน้อยเหล่านี้นั่งรถเล่นในระยะทางสั้น ๆ เพื่อให้สัมผัสบรรยากาศรอบ ๆ ตัว ทั้งภาพ เสียง และกลิ่น ยิ่งได้สัมผัสกับผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากเท่าไร พวกเค้าก็จะยิ่งมีความมั่นใจและปรับตัวได้ดีเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
       

    4. ช่วงเวลาเล่นสนุกสำคัญที่สุด

      การฝึกลูกแมวให้เล่นเป็นวิธีที่ดีในการกระตุ้นพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ เริ่มต้นด้วยการแนะนำเจ้าลูกเหมียวให้รู้จักกับของเล่นชนิดต่าง ๆ และคอยสังเกตว่าของเล่นชิ้นไหนที่พวกเค้าสนใจมากที่สุด เมื่อเจ้าตัวน้อยเริ่มสนุกแล้ว คุณอาจชวนพวกเค้าเล่นเกมสนุก ๆ เช่น คาบของ ตะครุบเหยื่อ และชักเย่อ
       

    5. ฝึกใช้กระบะทราย

      เจ้าของควรเริ่มฝึกให้พวกเค้าใช้กระบะทรายตั้งแต่ยังเด็ก โดยวางลูกแมวไว้ในกระบะทรายทุกครั้งหลังมื้ออาหารและหลังการงีบหลับ เมื่อพวกเค้าใช้กระบะทราย ก็ให้รางวัลเป็นขนมหรือคำชมเชย ทั้งนี้ควรวางกระบะทรายไว้ในมุมที่สงบและเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงต้องทำความสะอาดกระบะทรายเป็นประจำด้วย
       

    6. ปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม

      พฤติกรรมการกินอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีของเจ้าเหมียว จึงควรฝึกให้พวกเค้ามีพฤติกรรมที่เหมาะสม เริ่มต้นด้วยการสอนให้พวกเค้ากินอาหารจากชามและดัดนิสัยชอบขอของกิน นอกจากนี้ควรให้อาหารลูกแมวเป็นเวลาและกำหนดปริมาณตามคำแนะนำ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
       

    7. ฝึกให้จำชื่อตัวเอ

      เป็นการฝึกที่สำคัญและมีประโยชน์ไม่น้อยเลย โดยคุณอาจเริ่มต้นด้วยการเรียกชื่อเจ้าตัวน้อยของคุณ จากนั้นให้รางวัลหรือชมเชยเมื่อพวกเค้าตอบสนองต่อการเรียก โดยแนะนำให้ฝึกเรียกชื่อพวกเค้าบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
       

      การฝึกลูกแมวเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความอดทนและความสม่ำเสมอ เจ้าเหมียวอาจใช้เวลาสักพักในการเรียนรู้คำสั่งหรือทักษะต่าง ๆ ทั้งนี้เจ้าของควรเลือกฝึกในเชิงบวกและต้องทำให้การฝึกเป็นเรื่องสนุก! อย่าลืมมอบความรัก พูดชมเชย และให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัลตลอดการฝึกด้วย

Close modal