IAMS TH
Corn-Ingredients-and-Their-Use-in-Our-Cat-Foods-banner
Corn-Ingredients-and-Their-Use-in-Our-Cat-Foods-banner

adp_description_block237
ไขข้อสงสัย แมวกินข้าวโพดได้ไหม?

  • แบ่งปัน

ใคร ๆ ก็ชอบข้าวโพด แค่นึกภาพข้าวโพดอบเนยหวานมันแสนอร่อยก็น้ำลายสอแล้ว ทาสแมวหลายคนอาจสงสัยว่าแมวกินข้าวโพดได้ไหม คำตอบคือได้ แถมข้าวโพดยังเป็นประโยชน์ต่อน้องแมวอีกด้วย เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ ข้าวโพดจึงเป็นส่วนผสมสำคัญในอาหารแมวหลายยี่ห้อ

ประโยชน์ของข้าวโพด

แมวเป็นสัตว์กินเนื้อ พวกเค้าจึงต้องการโปรตีนในปริมาณมากสำหรับการทำงานของร่างกาย ข้าวโพดฝักกลาง 1 ฝักมีโปรตีนประมาณ 3.5 กรัม ซึ่งน้องแมวต้องการโปรตีนอย่างน้อย 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 0.5 กิโลกรัม สมมติถ้าน้องแมวหนัก 3.5 กิโลกรัม พวกเค้าจะต้องการโปรตีนอย่างน้อย 14 กรัม นั่นแปลว่าต้องให้แมวกินข้าวโพดอย่างน้อย 4 ฝัก ซึ่งไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก เพราะจะได้รับแคลอรี่สูงเกินไป ข้าวโพดจึงควรเป็นส่วนหนึ่งในอาหารมากกว่าเป็นอาหารมื้อหลัก และควรให้แมวได้รับโปรตีนจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม แต่ถึงอย่างนั้นข้าวโพดก็ยังมีประโยชน์มากมาย ดังนี้

  • เป็นแหล่งพลังงานชั้นดี

    • คาร์โบไฮเดรตอาจไม่ใช่สารอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับแมวเหมียว แต่มันช่วยให้เจ้าตัวน้อยมีพลังเต็มเปี่ยมตลอดทั้งวัน และเมื่อน้องแมวได้รับคาร์โบไฮเดรตเพียงพอ พวกเค้าก็ไม่จำเป็นเปลี่ยนโปรตีนเป็นพลังงาน ซึ่งทำให้ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ประโยชน์ในส่วนสำคัญได้อย่างเต็มที่ เช่น การเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
  • ป้องกันอาการอักเสบ

    • ข้าวโพดอุดมไปด้วยกรดไขมันที่ช่วยให้ผิวหนังมีสุขภาพดีและป้องกันการอักเสบ ซึ่งร่างกายของแมวไม่สามารถผลิตกรดไขมันเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง จึงต้องให้แมวกินข้าวโพดหรืออาหารอื่น ๆ ที่มีกรดไขมันเท่านั้น 
  • อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

    • สารต้านอนุมูลอิสระมีความจำเป็นต่อสุขภาพ เพราะช่วยป้องกันการทำลายเซลล์หรือเนื้อเยื่อ โดยวิตามินอีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ T-cell ซึ่งเป็นเซลล์ภูมิต้านทานชนิดหนึ่ง ส่วนบีตา-แคโรทีนจะช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันและช่วยให้วัคซีนทำงานได้ดีขึ้น ข่าวดีคือข้าวโพดอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระทั้งสองชนิดนี้!

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับข้าวโพดในอาหารแมว

ข้าวโพดหลากหลายรูปแบบถูกใช้เป็นส่วนผสมในอาหารแมว เช่น เมล็ดข้าวโพดป่น เมล็ดข้าวโพดบดละเอียด ปลายข้าวโพด แป้งข้าวโพด และรำข้าวโพด โดยคุณอาจสังเกตเห็นส่วนผสมของข้าวโพดอย่างน้อย 1 ชนิดบนบรรจุภัณฑ์อาหารแมว

 

ส่วนผสมจากข้าวโพด

ลักษณะและที่มา

เมล็ดข้าวโพดป่น หรือเมล็ดข้าวโพดบดละเอียด

เป็นการนำเมล็ดข้าวโพดทั้งหมดมาบดให้ละเอียด

ปลายข้าวโพด

บางส่วนของข้าวโพดบด โดยมีรำข้าว (ไฟเบอร์) หรือจมูกข้าว (ส่วนโปรตีนเล็ก ๆ ที่ปลายเมล็ด) เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย 

รำข้าวโพด 

เปลือกนอกของเมล็ดข้าวโพด ซึ่งให้ไฟเบอร์สูง

แป้งข้าวโพด

เป็นโปรตีนที่หลงเหลือจากรำข้าวโพด และผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว โดยจะกลายแหล่งเป็นคาร์โบไฮเดรตต่อไป 

 

ขนมข้าวโพดที่เหมาะสำหรับแมวเหมียว

แม้ว่าข้าวโพดจะอุดมไปสารอาหารที่มีประโยชน์ แต่ขนมจากข้าวโพดบางชนิดก็ไม่เหมาะสำหรับน้องแมว ควรหลีกเลี่ยงการให้แมวกินข้าวโพดทอด ข้าวโพดคั่ว และเปลือกข้าวโพด แต่สามารถให้ข้าวโพดย่างหรือต้มโดยไม่ปรุงรสใด ๆ แทน

 

ข้าวโพดในอาหารแมวไอแอมส์™

ข้าวโพดเป็นหนึ่งในส่วนผสมของอาหารแมวไอแอมส์™ ทุกสูตร ทั้งไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์ สูตรสำหรับแมวโต และไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์ สูตรสำหรับลูกแมว โดยเราเลือกใช้ “กลูเทนข้าวโพด” แทน “ฝักข้าวโพด” หากจะอธิบายความแตกต่างให้เห็นภาพ ก็คือการใช้ข้าวโพดปรุงสุกแทนข้าวโพดดิบนั่นเอง นอกจากนี้เรายังคัดสรรเฉพาะข้าวโพดคุณภาพดี และแยกเปลือกนอกของเมล็ดแต่ละเมล็ดออกก่อนนำไปบดละเอียด จากนั้นจึงนำไปปรุงสุกเพื่อให้ข้าวโพดนั้นย่อยง่ายยิ่งขึ้น

อาหารแมวไอแอมส์™ มีส่วนประกอบของปลายข้าวโพดและเมล็ดข้าวโพดบดละเอียด ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตคุณภาพดีและเป็นแหล่งพลังงานชั้นเยี่ยม อีกทั้งข้าวโพดยังไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงเหมือนกับข้าว จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับน้องแมวสูงอายุและน้องแมวที่มีน้ำหนักเกิน

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประโยชน์ของข้าวโพดสำหรับแมวเหมียว

  1. โปรตีนจากข้าวโพดดีสำหรับแมวเหมียวหรือไม่?
  2. โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งโครงสร้างโปรตีนในข้าวโพดมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพของแมวเหมียว ด้วยประโยชน์ที่มีมากมาย ก็อย่าลืมมองหาส่วนผสมนี้ในอาหารแมวกันด้วย

  3. กลูเทนข้าวโพดดีสำหรับแมวเหมียวหรือไม่?
  4. กลูเทนข้าวโพดปลอดภัยสำหรับน้องแมว อย่างไรก็ตาม น้องแมวบางตัวอาจแพ้ข้าวโพดได้ โดยลักษณะของการแพ้คือเป็นผื่นบริเวณผิวหนัง หรือติดเชื้อในทางเดินอาหาร

  5. ส่วนผสมใดบ้างที่ไม่ควรอยู่ในอาหารแมว?
  6. กระเทียม ถั่วเหลือง ข้าว น้ำตาลเคี่ยวไหม้ และน้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนผสมที่ควรหลีกเลี่ยง

  7. อะไรคือส่วนผสมสำคัญที่ควรมีในอาหารแมว?
  8. แหล่งโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลาแซลมอน และเนื้อแกะ ควรเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารแมว

  • cat article detail banner
    cat article detail banner
    adp_description_block202
    รวมประโยชน์น่ารู้ของอาหารแมวโปรตีนสูง

    • แบ่งปัน

    แมวเหมียวเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกันกับเสือและสิงโต แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่าและดุร้ายน้อยกว่า แต่ยังมีความต้องการทางกายภาพและโภชนาการที่คล้ายคลึงกัน โดยแมวและลูกแมวต้องการโปรตีนมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเหมาะสม ผู้เลี้ยงจึงควรเลือกอาหารแมวที่มีโปรตีนสูงให้กับพวกเค้า

    ลูกแมวต้องการโปรตีนสูงเพื่อเพิ่มพลังงาน การเลือกอาหารให้ลูกแมวจึงต้องพิจารณาจากปริมาณโปรตีนเป็นสำคัญ โดยอาหารแมวส่วนใหญ่จะเลือกใช้โปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์เพื่อให้ได้ปริมาณตรงตามความต้องการในแต่ละวันของลูกแมว แม้ว่าโปรตีนจะเป็นสารอาหารที่จำเป็นมาก แต่ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

    อาหารโปรตีนสูงสำหรับลูกแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนและสมดุลควบคู่ไปกับสารอาหารชนิดอื่น รวมถึงควรเลือกใช้แหล่งโปรตีนคุณภาพดีและย่อยง่ายด้วย

    กรดอะมิโนที่ควรมีอยู่ในอาหารแมว

    กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน และมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานในร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น แมวต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นเพียง 2 ชนิดสำหรับการเจริญเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดี โดยในอาหารแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นดังต่อไปนี้

    1. อาร์จินีน – เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดสำหรับแมว หากขาดกรดอะมิโนชนิดนี้ ระดับแอมโมเนียในกระแสเลือดของลูกแมวจะสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการชักและเป็นอันตรายถึงชีวิตในบางสถานการณ์
    2. ทอรีน – ทอรีนจำเป็นต่อพัฒนาการของดวงตา หัวใจ และการสืบพันธุ์ของลูกแมว แมวสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนี้ได้ในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งมักจะไม่เพียงพอต่อพัฒนาการที่เหมาะสม ทั้งนี้ลูกแมวที่ขาดทอรีนอาจมีอาการจอประสาทตาเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจพองโต การสืบพันธุ์ล้มเหลว และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติในร่างกาย

    ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับแมว

    แน่นอนว่าอาหารแมวทุกประเภทมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ผู้เลี้ยงก็ยังคงต้องตรวจสอบปริมาณโปรตีนของอาหารแต่ละชนิด เพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของแมวในแต่ละช่วงวัย

    แมวส่วนใหญ่ต้องการโปรตีนประมาณ 35% – 45% เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี โดยคุณสามารถเช็กปริมาณโปรตีนที่แมวต้องการได้จากตารางด้านล่างนี้

    ช่วงวัย

    ปริมาณโปรตีนโดยเฉลี่ย (%)

    ลูกแมว

    40 – 50%

    แมวโตเต็มวัย

    35 – 40%

    แม่แมวตั้งท้องหรือให้นมลูก

    45 – 50%

    แมวสูงวัย

    35 – 38%

    แหล่งโปรตีนในอาหารแมว

    โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การเสริมสร้างความแข็งแรง และยังเป็นแหล่งพลังงานชั้นเยี่ยมด้วย อาหารสำหรับลูกแมวจึงควรมีโปรตีนสูง ไม่เพียงแต่ในช่วงปีแรกเท่านั้น แต่รวมถึงช่วงวัยเจริญเติบโตด้วย นอกจากปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมแล้ว แหล่งที่มาของโปรตีนก็สำคัญเช่นกัน โดยแหล่งโปรตีนที่พบบ่อยที่สุดในอาหารแมว มีดังนี้

    1. โปรตีนจากพืช กลูเตนข้าวโพด กลูเตนข้าวสาลี กากถั่วเหลือง และโปรตีนจากข้าวถือเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่เหมาะสำหรับลูกแมว
    2. โปรตีนจากสัตว์ – เนื่องจากเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารสำหรับแมวจึงต้องมีเนื้อสัตว์คุณภาพดีเป็นส่วนผสมหลัก เพื่อให้แน่ใจว่าแมวจะได้รับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม โดยแหล่งโปรตีนที่มีความเข้มข้นสูง ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ ปลา และไก่งวง เหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรมองหาในอาหารแมวโปรตีนสูง

    จะรู้ได้อย่างไรว่าแมวได้รับปริมาณโปรตีนเพียงพอแล้ว?

    แมวทุกตัวต้องการโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการโดยรวมที่ดี แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพวกเค้าได้รับโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการแล้ว? โดยแมวโตทั่วไปควรได้รับโปรตีนประมาณ 35% จากอาหาร อ้างอิงจากข้อกำหนดของ AAFCO (องค์กรควบคุมอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงแห่งอเมริกา) แมวต้องการโปรตีนอย่างน้อย 30% สำหรับการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ และโปรตีนประมาณ 26% สำหรับการบำรุงรักษาร่างกาย หากอาหารผลิตจากแหล่งโปรตีนคุณภาพต่ำหรือมีปริมาณโปรตีนต่ำ อาจทำให้แมวมีอาการอาหารไม่ย่อยและสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้

    วิธีคำนวณปริมาณโปรตีนในอาหารแมวแบบเปียก

    เนื่องจาก AAFCO กำหนดปริมาณโปรตีนในรูปแบบของวัตถุแห้ง ดังนั้นหากให้อาหารเปียกแก่ลูกแมวตัวน้อย คุณอาจต้องคำนวณปริมาณโปรตีนด้วยตนเอง โดยสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้

    ขั้นตอนที่ 1 – คำนวณหาปริมาณวัตถุแห้งของอาหารโดยหักลงจากปริมาณความชื้นสูงสุด(%) 

    ขั้นตอนที่ 2 – นำปริมาณโปรตีนดิบ(%) มาหารด้วยปริมาณวัตถุแห้งที่ได้

    ขั้นตอนที่ 3 – คูณผลลัพธ์ด้วย 100 เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนในรูปแบบร้อยละที่มีอยู่ในวัตถุแห้งของอาหาร

    ตัวอย่าง อาหารมีความชื้น 75% มีโปรตีนดิบ 12%

    1. 100 – 75(ความชื้น) = 25(ปริมาณวัตถุแห้งของอาหาร)
    2. 12(ปริมาณโปรตีนดิบ) / 25 = 0.48
    3. 0.48 x 100 = 48%