IAMS TH
Understanding Kitten Food Nutrition Labels
Understanding Kitten Food Nutrition Labels

adp_description_block91
ทำความเข้าใจกับฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์อาหารลูกแมว

  • แบ่งปัน

 

คุณกำลังสับสนกับชื่อวัตถุดิบในอาหารแมวอยู่หรือไม่ ไม่ต้องกังวลเพราะไม่ได้มีแค่คุณคนเดียว อาหารแมวที่ทำการตลาดโดยใช้ “วัตถุดิบเกรดอาหารคน” กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะดูเป็นที่สนใจของเจ้าของแมวอยู่สมพอควร แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าคำว่า “เกรดอาหารคน” ไม่ได้มีคำจำกัดความทางกฎหมายและมีจุดประสงค์หลักเพื่อการตลาดเท่านั้น

 

อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์โดยทั่วไปแล้วจะมีป้ายกำกับว่า “กินได้” หรือ “กินไม่ได้ ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของมนุษย์” เมื่ออาหารออกจากห่วงโซ่อาหารของมนุษย์แล้ว แม้ว่าอาหารนั้นจะมีคุณภาพดีแค่ไหนก็ตาม ก็จะต้องระบุว่า “กินไม่ได้ ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของมนุษย์” ดังนั้น เนื้อสัตว์ที่ใช้ในอาหารสัตว์เลี้ยงจะต้องระบุว่า “กินไม่ได้” โดยไม่ต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาหรือคุณภาพของเนื้อสัตว์ วิธีการเดียวในการทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงใช้ส่วนผสมที่ถือว่า 'กินได้' ก็คือ อย่าปล่อยให้เนื้อสัตว์ออกจากห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ และผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในโรงงานผลิตอาหารมนุษย์เท่านั้น รวมถึงต้องขนส่งโดยใช้รถบรรทุกอาหารของมนุษย์ด้วย ดังนั้น การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่มี 'ส่วนผสมเกรดเดียวกับมนุษย์' จึงไม่เป็นความจริง หากผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้ผลิตในโรงงานผลิตอาหารมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การที่อาหารสัตว์เลี้ยงไม่ได้ถูกวางตำแหน่งทางการตลาดว่าเป็น “เกรดสำหรับมนุษย์” ไม่ได้หมายความว่าส่วนผสมนั้นจะมีคุณภาพต่ำ

 

นี่เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณเข้าใจวัตถุดิบมากขึ้น

คุณไม่ควรใช้รายชื่อวัตถุดิบเพียงปัจจัยเดียว เพื่อตัดสินเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากรายชื่อของวัตถุดิบอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะบอกถึงคุณภาพของวัตถุดิบ หรือสารอาหารที่เพียงพอสำหรับสัตว์เลี้ยง

เจ้าของสัตว์เลี้ยงและสัตวแพทย์ควรให้ความสำคัญกับประกาศความเพียงพอด้านสารอาหารของ AAFCO และขั้นตอนควบคุมคุณภาพของผู้ผลิต แทนที่จะดูแค่วัตถุดิบเพียงอย่างเดียว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คุณสามารถดูโบรชัวร์ของสมาคมสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กสากล (World Small Animal Veterinary Association) หัวข้อ “วิธีเลือกอาหารที่เหมาะกับสัตว์เลี้ยงของคุณ” (“Selecting the Best Food for your Pet”) ได้ที่ www.wsava.org/nutrition-toolkit

รายชื่อวัตถุดิบมีการจัดทำขึ้นเพื่อดึงดูดผู้บริโภค รวมถึงลำดับของวัตถุดิบด้วย เช่น ใช้เนื้อแกะอยู่ในบรรทัดแรกของรายชื่อวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังมีการรายชื่อวัตถุดิบที่ดูเป็นที่ต้องการ แต่ในความเป็นจริงแล้ววัตถุดิบดังกล่าวผสมลงไปในปริมาณน้อยมากจนไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการเลย เช่น ใส่อาร์ทิโชกหรือราสป์เบอร์รี โดยใส่ไว้ถัดจากวิตามินและแร่ธาตุเสริม

ทั้งนี้การมีวัตถุดิบมากกว่าไม่ได้หมายความว่าคุณค่าทางสารอาหารจะเพิ่มขึ้น

 

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    adp_description_block231
    รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนแมว

    • แบ่งปัน

    แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
     

    วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
     

    วัคซีนแต่ละชนิดและช่วงวัยที่เหมาะสมของแมว

    การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก

    1. วัคซีน FVRCP

    ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี

    1. วัคซีน FeLV

    วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์

    1. วัคซีน FPV

    วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี

    1. วัคซีนรวม 4 โรค

    วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี

    1. วัคซีนรวม 5 โรค

    วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

    หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้

    1. อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    2. อยากอาหารลดลง

    3. อาเจียน

    4. มีไข้ 

    5. ท้องเสีย

    6. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้