IAMS TH
cat article
cat article

adp_description_block258
วิธีดูแลแมวเหมียว

  • แบ่งปัน

เราต่างก็รู้กันดีว่าแมวเป็นสัตว์รักอิสระ และมักจะใช้เวลาอยู่กับตัวเองเป็นส่วนใหญ่ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเค้าไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลนะ เจ้าของควรใส่ใจดูแลพวกเค้าให้มีสุขภาพดีแข็งแรง หมั่นสังเกตพฤติกรรมที่ผิดแปลกไป อย่างในเรื่องการกิน ควรสังเกตว่าพวกเค้ากินอะไรบ้าง ปริมาณมากหรือน้อยเท่าใด นอกจากนี้เราอาจกำหนดตารางเวลาในการทำกิจวัตรประจำวันของพวกเค้าให้ชัดเจนเพื่อความง่ายต่อการดูแล และที่สำคัญที่สุดคือควรพาไปตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำ ทั้งนี้การดูแลแมวในช่วงโตเต็มวัยจะง่ายกว่าการดูแลลูกแมวแรกคลอด

 

เช็กลิสต์สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการดูแลเจ้าเหมียวที่ทาสแมวควรรู้

  • การรักษาพยาบาล:

    น้องแมวโตเต็มวัยควรได้รับการตรวจเช็กสุขภาพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเค้าจะมีร่างกายที่แข็งแรง และไม่มีอาการผิดปกติหรือสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่เจ้าของอาจมองข้ามไป
  • การดูแลความสะอาด:

    ถึงแม้ว่าเจ้าเหมียวจะเลียขนทำความสะอาดตัวเองเป็นประจำ แต่ก็แนะนำให้อาบน้ำทุก 4 – 6 สัปดาห์ และควรทำความสะอาดเบาะนอนของพวกเค้าเป็นประจำด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าเหมียวที่คุณรักจะไม่ล้มป่วย
  • การให้อาหาร:

    เมื่อเจ้าเหมียวมีอายุ 4 เดือน เราอาจแบ่งการให้อาหารเป็น 3 มื้อต่อวัน แต่เมื่อมีอายุมากกว่า 4 เดือนขึ้นไป ให้ลดลงเหลือ 2 มื้อต่อวันได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์ถึงปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับเจ้าเหมียวของเราด้วย
  • การดูแลช่องปากและฟัน:

    เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจดูแลกันเป็นประจำ และเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย ควรฝึกแปรงฟันให้เจ้าเหมียวตั้งแต่ยังเป็นลูกแมว โดยเริ่มจากบีบยาสีฟันสำหรับแมวโดยเฉพาะลงบนนิ้ว จากนั้นใช้นิ้วถูทำความสะอาดเบา ๆ บริเวณเหงือกและฟัน หากพบว่าเจ้าเหมียวมีกลิ่นปาก มันอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคได้ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที
  • การฝึกเข้าสังคม:

    แม้จะมีนิสัยรักสันโดษ แต่เจ้าเหมียวก็ฝึกเข้าสังคมได้เช่นกัน โดยวิธีการเข้าหาเจ้าเหมียวที่ถูกต้องคือ ควรให้เค้าเห็นอยู่ในระดับสายตา และห้ามใช้เสียงดัง คุณอาจลูบหัวพวกเค้าเบา ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยได้

 

การฝึกทักษะที่จำเป็นให้เจ้าเหมียว

เมื่อพาเจ้าเหมียวเข้าบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำถัดมาคือให้พวกเค้าทำความคุ้นเคยกับบ้านหลังใหม่ และเริ่มฝึกทักษะต่าง ๆ แม้การฝึกอาจดูเป็นเรื่องน่าเบื่อ เพราะต้องฝึกบ่อยครั้งและใช้ความอดทนค่อนข้างมาก แต่มันก็มีประโยชน์ไม่น้อยเลย ซึ่งการฝึกและดูแลเจ้าเหมียวขั้นพื้นฐานนั้น ครอบคลุมทั้งการเตรียมกระบะทราย การฝึกเข้าห้องน้ำ การทำหมัน และการปกป้องพวกเค้าจากอันตรายภายในบ้าน โดยเพื่อน ๆ ลองทำตามเคล็ดลับต่อไปนี้ดูได้เลย

  • การเตรียมกระบะทราย:

    ควรวางกระบะทรายไว้ในมุมที่เข้าถึงได้ง่าย และไม่ควรเปลี่ยนที่กระบะทรายบ่อย หากจำเป็นควรค่อย ๆ เคลื่อนย้ายวันละนิด ที่สำคัญคือควรทำความสะอาดกระบะทรายเป็นประจำ เพราะแมวเป็นสัตว์รักสะอาด พวกเค้าจะไม่ยอมขับถ่ายในกระบะทรายที่สกปรกอย่างเด็ดขาด
  • การปกป้องเจ้าเหมียวจากอันตรายภายในบ้าน:

    เพื่อความปลอดภัยควรเก็บข้าวของที่เป็นอันตรายให้พ้นจากสายตาเจ้าเหมียว ไม่ว่าจะเป็นสายเคเบิลหรือสายไฟ สารไวไฟ และสารเคมีต่าง ๆ หากบ้านไหนใช้น้ำมันหอมระเหย ก็ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะส่วนประกอบบางชนิดเป็นพิษกับเจ้าตัวน้อย
  • การทำหมัน:

    การทำหมันแมวมีประโยชน์มากมาย และยังมีส่วนช่วยให้เจ้าเหมียวสุขภาพร่างกายแข็งแรงอีกด้วย โดยแมวจะสามารถทำหมันได้เมื่อมีอายุประมาณ 8 สัปดาห์ และแนะนำให้ทำหมันตั้งแต่เด็กหรือก่อนที่เจ้าเหมียวจะมีอายุ 5 เดือนขึ้นไป
  • การฝึกเข้าห้องน้ำ:

    ถือเป็นการฝึกที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก โดยเจ้าของสามารถฝึกพวกเค้าตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ได้
  1. วางกระบะทรายใกล้กับห้องน้ำ
  2. ค่อย ๆ ยกระดับความสูงของกระบะทรายขึ้นทุกวัน
  3. อุ้มเจ้าเหมียวไปขับถ่ายในห้องน้ำ ทำซ้ำ ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคย
  4. ให้รางวัลทุกครั้งเมื่อเจ้าเหมียวใช้ห้องน้ำ

 

โรคที่พบบ่อยในแมว เจ้าของต้องระวัง!

การดูแลสุขภาพร่างกายของเจ้าเหมียวต้องมาก่อนเสมอ ถึงแม้ว่าพวกเค้าจะทำความสะอาดตัวเองได้ แต่ไม่สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ได้ด้วยตัวเองนะ

  • อาเจียน:

    ถือเป็นอาการป่วยที่พบได้บ่อยในแมว และเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งจากปัญหาก้อนขนอุดตัน การกินสิ่งแปลกปลอม หรือจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • โรคระบบทางเดินปัสสาวะในแมว (FLUTD):

    โรคนี้เป็นได้ทั้งในแมวตัวผู้และตัวเมีย สาเหตุหลักมาจากปัญหาน้ำหนักเกิน หรือการกินแต่อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียว โดยสัญญาณเตือนของโรคนี้คือ ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ร้องหรือครางเมื่อปัสสาวะ ไม่ยอมปัสสาวะ เลียบริเวณอวัยวะเพศเพราะความเจ็บปวด มีภาวะขาดน้ำ และอาเจียน
  • ท้องเสีย:

    โรคมะเร็ง การติดเชื้อ และการแพ้อาหารล้วนเป็นสาเหตุที่อาจทำให้เจ้าเหมียวท้องเสียได้ หากมีอาการแนะนำให้พวกเค้ากินน้ำเยอะ ๆ และควรพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที
  • มีพยาธิตัวตืด:

    พยาธิตัวเล็ก ๆ เหล่านี้สร้างความเจ็บปวดให้เจ้าเหมียวได้มากกว่าที่คิด พบได้บ่อยในทางเดินอาหารของเจ้าเหมียว พวกเค้ามักจะมีอาการอาเจียนและน้ำหนักตัวลด ทั้งนี้คุณสามารถสังเกตพยาธิตัวตืดได้จากอุจจาระของเจ้าเหมียว
  • โรคเอดส์แมว (FIV):

    เชื้อไวรัสเอดส์แมวจะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง อาการป่วยที่พบได้ในน้องแมวจะมีปัญหาขนร่วง ท้องเสียเรื้อรัง มีอาการชัก ปัญหาที่ดวงตา เบื่ออาหาร และเป็นไข้

หากคุณสังเกตพบว่าเจ้าเหมียวมีอาการผิดปกติ แม้จะเพียงเล็กน้อย ก็ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียด และเข้ารับรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

เคล็ดลับการดูแลเจ้าเหมียวฉบับมือใหม่หัดเลี้ยง

“เราต้องดูแลเจ้าเหมียวอย่างไรบ้างนะ?” คงเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจของทาสแมวมือใหม่หลาย ๆ คน เพราะแมวเป็นสัตว์ที่เดาใจและรับมือได้ยาก แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะนี่คือเคล็ดลับที่จะทำให้การดูแลเจ้าเหมียวสุดที่รักของคุณกลายเป็นเรื่องง่าย

  • แมวไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน

    ดังนั้นเมื่อพาเจ้าเหมียวเข้าบ้านครั้งแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ส่วนตัว ของเล่น และผ้าห่มนุ่ม ๆ เอาไว้ให้พร้อม รวมถึงควรให้เวลาพวกเค้าได้ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ด้วย
  • ตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำ

    หมั่นสังเกตพฤติกรรม และไม่มองข้ามสัญญาณเตือนหรืออาการผิดปกติของพวกเค้า ไม่ว่ามันจะเล็กน้อยมากก็ตาม
  • แบ่งเวลามาทำกิจกรรมกับพวกเค้า

    เพราะการเล่นถือเป็นการกระชับความสัมพันธ์ที่ดี แนะนำให้เตรียมของเล่นที่หลากหลายเพื่อป้องกันความเบื่อหน่าย
  • ให้เวลาเจ้าเหมียวปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่

    ๆ และผู้คนรอบ ๆ ตัว
  • เลือกอาหารที่เหมาะกับช่วงวัยของเจ้าเหมียว

    และกำหนดเวลากินอาหารให้เป็นกิจวัตร

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลเจ้าเหมียว:

  1. แมวเหมียวต้องการการดูแลแบบไหนกันนะ?  
  2. ความต้องการขั้นพื้นฐานของเจ้าแมวตัวน้อยคือ อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ น้ำดื่มที่สะอาด สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และการดูแลทำความสะอาดเป็นประจำ

  3. เราจะดูแลแมวตัวใหม่อย่างไรดี?
  4. เริ่มจากเตรียมพื้นที่ในบ้านให้พร้อม ควรเป็นพื้นที่ส่วนตัว มีมุมให้หลบซ่อน และจัดหาของเล่นเตรียมไว้ประมาณ 2 – 3 ชิ้น เพื่อเป็นเพื่อนเล่นแก้เหงาของเจ้าตัวน้อย

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    adp_description_block231
    รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนแมว

    • แบ่งปัน

    แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
     

    วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
     

    วัคซีนแต่ละชนิดและช่วงวัยที่เหมาะสมของแมว

    การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก

    1. วัคซีน FVRCP

    ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี

    1. วัคซีน FeLV

    วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์

    1. วัคซีน FPV

    วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี

    1. วัคซีนรวม 4 โรค

    วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี

    1. วัคซีนรวม 5 โรค

    วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

    หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้

    1. อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    2. อยากอาหารลดลง

    3. อาเจียน

    4. มีไข้ 

    5. ท้องเสีย

    6. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้