IAMS TH
cat article detail banner
cat article detail banner

adp_description_block432
เปิด 4 เคล็ดลับการให้อาหารลูกแมวตัวน้อย

  • แบ่งปัน

เมื่อพูดถึงการดูแลลูกแมวตัวน้อย สิ่งสำคัญที่ทาสแมวทุกคนต้องทำความเข้าใจคือการให้อาหารอย่างถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ ซึ่งในบทความนี้ เราก็มีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมวมาฝากกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสม การปรับเปลี่ยนปริมาณตามช่วงเวลา และการประเมินความต้องการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย สำหรับทาสแมวมือโปรหรือมือใหม่ที่ต้องการให้เจ้าตัวน้อยสุขภาพดีมีความสุขในทุกวัน ลองทำตามเคล็ดลับการให้อาหารต่อไปนี้กันได้เลย

ตารางการให้อาหารตามความต้องการทางโภชนาการของลูกแมว

สิ่งสำคัญในการให้อาหารลูกแมวคือการกำหนดปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละช่วงวัย ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับทาสแมวหลาย ๆ คน เราจึงสร้างตารางการให้อาหารแนะนำมาเพื่อช่วยคุณโดยเฉพาะ โดยในตารางนี้จะบอกปริมาณอาหารที่แนะนำต่อวันตามน้ำหนักตัวของลูกแมว 

อายุ

อาหารและปริมาณที่แนะนำ

0 – 4 สัปดาห์ 

น้ำนมแม่

1 – 6 เดือน 

ให้อาหารสูตรสำหรับลูกแมว 4 – 5 ครั้งต่อวัน

6 – 12 เดือน 

ค่อย ๆ ลดจำนวนมื้ออาหารต่อวัน

12 เดือนขึ้นไป

ค่อย ๆ เปลี่ยนมาให้อาหารสูตรแมวโต โดยให้อาหารเปียกทั้งเช้าและเย็น ส่วนอาหารเม็ดและน้ำสะอาดต้องเข้าถึงได้ง่ายตลอดวัน

 

ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกแมวจะขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัว ทั้งนี้ตารางข้างต้นเป็นเพียงคำแนะนำทั่วไป ลูกแมวของคุณอาจมีความต้องการแตกต่างออกไป คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อประเมินความต้องการของพวกเค้าเพิ่มเติมได้

เคล็ดลับดี ๆ ในการให้อาหารลูกแมวตัวน้อย – เราควรให้อาหารลูกแมวบ่อยแค่ไหน?

ความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวจะเปลี่ยนไปตามช่วงวัย และมีข้อควรคำนึงถึงเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย

  1. ควรให้อาหารลูกแมวเป็นมื้อเล็ก ๆ 3 – 4 มื้อต่อวัน แทนการให้อาหารมื้อใหญ่ 1 – 2 มื้อ วิธีนี้จะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและลดปัญหาการหิวระหว่างวันได้ดี
  2. อาหารสำหรับลูกแมวควรมีโปรตีนและไขมันสูง มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาหารเปียกเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเพราะมีโปรตีนและปริมาณน้ำมากกว่าอาหารเม็ด
  3. ลูกแมวที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนควรได้รับอาหารสูตรเฉพาะสำหรับเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต หลังจากหกเดือนจึงค่อยเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรแมวโตได้
  4. ในการเลือกอาหาร ควรระวังส่วนผสมที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือท้องไส้ปั่นป่วน เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สารกันบูดและสารแต่งเติมต่าง ๆ

เปิด 4 เคล็ดลับในการให้อาหารลูกแมวที่เจ้าของทุกคนควรรู้

  1. เริ่มต้นด้วยจัดตารางการให้อาหารเป็นเวลาทุกวัน เช่น ให้อาหารลูกแมวในเวลาเดียวกันทุกเช้าและเย็น
  2. ค่อย ๆ ปรับตารางการให้อาหารเมื่อลูกแมวโตขึ้น หากยังอยู่ในช่วงวัยลูกแมว ควรให้อาหารมื้อย่อย 3 มื้อต่อวัน แต่เมื่อลูกแมวโตเต็มวัยแล้ว สามารถปรับให้เหลือเพียง 2 มื้อต่อวันได้
  3. สามารถปรับเปลี่ยนตารางการให้อาหารได้ตามความต้องการของลูกแมว เนื่องจากลูกแมวบางตัวอาจต้องการอาหารมากกว่าตัวอื่น ๆ และบางตัวอาจหิวบ่อยในบางช่วงเวลาของวัน
  4. คอยสังเกตน้ำหนักของลูกแมวและปรับตารางอาหารเมื่อจำเป็น หากลูกแมวดูซูบผอมหรือน้ำหนักลดลง พวกเค้าอาจต้องการปริมาณอาหารมากขึ้น ในทางกลับกัน หากลูกแมวของคุณดูอ้วนหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น อาจต้องปรับปริมาณอาหารให้น้อยลง โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับเจ้าตัวน้อยเพิ่มเติมได้

การให้อาหารอย่างเหมาะสมมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมและพัฒนาการของลูกแมว โดยเคล็ดลับง่าย ๆ ในการให้อาหารลูกแมวคือการทำความเข้าใจความต้องการด้านโภชนาการของลูกแมวและเลือกสูตรอาหารที่เหมาะกับช่วงวัย เนื่องจากลูกแมวมีความต้องการแตกต่างจากน้องแมวโตเต็มวัย เจ้าของจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามต้องการ

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมว

  1. วิธีที่ดีที่สุดในการให้อาหารลูกแมวคืออะไร?
  2. วิธีที่ดีที่สุดคือการเลือกอาหารคุณภาพดีและออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวโดยเฉพาะ ในหนึ่งวัน ควรให้อาหารลูกแมวประมาณ 4 – 6 ครั้งต่อวัน จนกว่าจะมีอายุประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้น จึงสามารถเปลี่ยนเป็น 3 มื้อใหญ่ต่อวันได้

  3. ควรให้อาหารลูกแมวมากน้อยแค่ไหน?
  4. ในการกำหนดปริมาณอาหารให้ลูกแมวแต่ละครั้ง ควรให้อาหารเปียกหรืออาหารเม็ดประมาณ 3 – 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ และควรแบ่งออกเป็นมื้อเล็ก ๆ 2 – 3 มื้อต่อวัน โดยจำเป็นต้องปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกแมวของคุณ

  5. ควรให้อาหารเม็ดหรืออาหารเปียกกับลูกแมว?
  6. คุณสามารถให้อาหารลูกแมวได้ทั้งแบบเปียกและแบบเม็ดรวมกัน เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยจะได้รับคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล โดยอาหารเปียกจะช่วยให้น้องแมวได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้น ส่วนอาหารเม็ดจะมีส่วนช่วยในการขัดฟัน ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  7. ลูกแมวชอบกินอาหารกลางดึกหรือไม่?
  8. ลูกแมวบางตัวอาจกินอาหารตอนกลางดึก เจ้าของจึงควรจัดเตรียมอาหารและน้ำให้เข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะลูกแมวในช่วงวัยเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม หากพบว่าพวกเค้ามีพฤติกรรมการกินมากเกินไปหรือผิดปกติ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ในทันที

     

  9. ควรเทอาหารเม็ดทิ้งไว้ข้ามคืนหรือไม่?
  10. ไม่แนะนำให้เทอาหารเม็ดทิ้งไว้ข้ามคืน เนื่องจากลูกแมวมีกระเพาะขนาดเล็กและควรได้รับปริมาณอาหารที่เหมาะสม การเทอาหารเม็ดทิ้งไว้อาจทำให้พวกเค้ากินมากเกินไปและน้ำหนักขึ้นได้ง่าย นอกจากนี้การเทอาหารทิ้งไว้ยังสามารถดึงดูดสัตว์รบกวนและอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรีย เจ้าของควรให้อาหารเป็นเวลาและแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ ตลอดวัน

  • คู่มือการฝึกลูกแมวเข้ากระบะทราย
    คู่มือการฝึกลูกแมวเข้ากระบะทราย
    adp_description_block390
    วิธีฝึกลูกแมวเข้ากระบะทราย

    • แบ่งปัน

    การฝึกเข้ากระบะทรายตั้งแต่อายุน้อย ช่วยปลูกฝังพฤติกรรมเพื่อสุขอนามัยที่ดีได้ โดยแนะนำให้เริ่มฝึกทันทีที่ลูกแมวมีอายุครบ 4 สัปดาห์ เพราะเป็นช่วงวัยที่เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี การฝึกยังช่วยให้บ้านของคุณสะอาด ไม่ต้องเก็บกวาดทุกครั้งที่เจ้าเหมียวขับถ่ายอีกด้วย สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยงที่สงสัยว่าควรฝึกลูกแมวอย่างไร ในบทความนี้ เรามีเคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นการฝึกได้อย่างราบรื่น พร้อมด้วยเรื่องน่ารู้อีกมากมาย ทั้งช่วงวัยที่เหมาะสมสำหรับการฝึกและวิธีเลือกขนาดกระบะทรายที่เหมาะสม
     

    สามารถฝึกลูกแมวเข้ากระบะทรายได้หรือไม่?

    แมวส่วนใหญ่ใช้กระบะทรายเป็นโดยสัญชาตญาณ เพราะมักจะขับถ่ายบนพื้นทรายกันเป็นปกติ แต่สำหรับลูกแมวอาจต้องฝึกสอนกันสักเล็กน้อย การฝึกลูกแมวเข้ากระบะทรายไม่ใช่เรื่องยาก แต่ควรเริ่มฝึกตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยถือเป็นหนึ่งในการฝึกแรก ๆ ที่คุณควรสอนให้ลูกแมว
     

    เริ่มฝึกลูกแมวเข้ากระบะทรายได้เมื่อไหร่?

    คุณสามารถเริ่มฝึกลูกแมวได้เมื่อมีอายุ 4 สัปดาห์ หากคุณรับเลี้ยงลูกแมวที่มีอายุมากกว่า 4 สัปดาห์หรือแมวโต ให้เริ่มฝึกทันทีที่พาพวกเค้าเข้าบ้าน
     

    ควรฝึกลูกแมวเข้ากระบะทรายอย่างไร?

    การฝึกลูกแมวขับถ่ายในกระบะทรายเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่ต้องการทำความสะอาดบ้านหลายล้านครั้งต่อวัน อย่างไรก็ตาม คุณอาจต้องสอนให้พวกเค้ารู้จักวิธีใช้กระบะทรายอย่างถูกต้องกันเสียก่อน สำหรับทาสแมวมือใหม่ คุณอาจไม่มีความรู้เรื่องวิธีการฝึก ไม่ต้องกังวล เราช่วยคุณได้! เพียงแค่ทำตามเคล็ดลับง่าย ๆ เหล่านี้

    1. เลือกกระบะทรายและทรายแมวที่ใช่

    ขั้นตอนแรกคือการเลือกกระบะทรายที่เหมาะกับตัวลูกแมว ขนาดต้องไม่เล็กจนเกินไป ภายในมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขับถ่าย และควรเดินเข้าออกได้ง่าย
     

    แมวบางตัวอาจรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องใช้กระบะทรายแบบโดมหรือแบบที่มีฝาปิด เพราะต้องการรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวในขณะขับถ่าย ส่วนแมวบางกลุ่มก็ต้องการความเป็นส่วนตัว อาจต้องให้พวกเค้าลองใช้กระบะทรายแบบต่าง ๆ เพื่อค้นหาแบบที่ถูกใจมากที่สุด

    1. จัดวางกระบะทรายในมุมที่เข้าถึงได้ง่าย

    การเลือกจุดที่เหมาะสมสำหรับกระบะทรายเป็นสิ่งจำเป็น แนะนำให้วางในมุมที่เงียบสงบ มีความเป็นส่วนตัว แต่ให้อยู่มุมที่เรามองเห็นได้เพื่อป้องกันแมวขับถ่ายไม่เป็นที่ จำนวนกระบะทรายก็สำคัญเช่นกัน หากบ้านของคุณมีหลายชั้นควรวางกระบะทรายให้ครบทุกชั้น อย่างน้อยชั้นละ 1 จุด สามารถวางในห้องน้ำได้ แต่หลีกเลี่ยงบริเวณชามอาหารและน้ำ

    1. อุ้มลูกแมวเข้ากระบะทรายเพื่อทำความคุ้นเคย

    เมื่อจัดเตรียมกระบะทรายเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาฝึกลูกแมวของคุณ เริ่มจากนำลูกแมวไปที่กระบะทราย ปล่อยให้พวกเค้าดมกลิ่นและสำรวจเพื่อทำความคุ้นเคย จากนั้นอุ้มลูกแมวลงไปในกระบะทราย พวกเค้าอาจเริ่มใช้เท้าเขี่ยทรายและขับถ่ายในทันที หากลูกแมวมีท่าทีงุนงง ให้ใช้นิ้วเขี่ยทรายให้พวกเค้าดูก่อน

    1. ปลูกฝังพฤติกรรมขับถ่ายที่ดี

    เพื่อให้ลูกแมวเรียนรู้และจดจำการใช้กระบะทรายได้ดีขึ้น ควรให้รางวัลเป็นขนมแสนอร่อยหรือพูดชมเชยเมื่อพวกเค้าใช้กระบะทรายได้สำเร็จ และเพื่อให้ได้ผลดี คุณควรให้รางวัลทันทีหลังขับถ่ายเสร็จ

    1. ทำความสะอาดกระบะทรายเป็นประจำ

    การรักษาความสะอาดของกระบะทรายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแมวมีนิสัยรักสะอาดและเจ้าระเบียบมาก พวกเค้ามักจะหลีกเลี่ยงการใช้กระบะทรายที่สกปรก ในช่วงแรกอาจตักของเสียออกหลังการใช้งานแต่ละครั้ง หมั่นเติมทรายแมวเพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณที่เหมาะสม ลูกแมวสามารถขุดได้ง่าย เมื่อลูกแมวเริ่มโตขึ้นและคุ้นเคยกับการใช้กระบะทรายแล้ว สามารถเปลี่ยนมาทำความสะอาดวันละครั้งแทนได้

Close modal