IAMS TH
cat article detail banner
cat article detail banner

adp_description_block60
เปิด 4 เคล็ดลับการให้อาหารลูกแมวตัวน้อย

  • แบ่งปัน

เมื่อพูดถึงการดูแลลูกแมวตัวน้อย สิ่งสำคัญที่ทาสแมวทุกคนต้องทำความเข้าใจคือการให้อาหารอย่างถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ ซึ่งในบทความนี้ เราก็มีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมวมาฝากกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสม การปรับเปลี่ยนปริมาณตามช่วงเวลา และการประเมินความต้องการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย สำหรับทาสแมวมือโปรหรือมือใหม่ที่ต้องการให้เจ้าตัวน้อยสุขภาพดีมีความสุขในทุกวัน ลองทำตามเคล็ดลับการให้อาหารต่อไปนี้กันได้เลย

ตารางการให้อาหารตามความต้องการทางโภชนาการของลูกแมว

สิ่งสำคัญในการให้อาหารลูกแมวคือการกำหนดปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละช่วงวัย ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับทาสแมวหลาย ๆ คน เราจึงสร้างตารางการให้อาหารแนะนำมาเพื่อช่วยคุณโดยเฉพาะ โดยในตารางนี้จะบอกปริมาณอาหารที่แนะนำต่อวันตามน้ำหนักตัวของลูกแมว 

อายุ

อาหารและปริมาณที่แนะนำ

0 – 4 สัปดาห์ 

น้ำนมแม่

1 – 6 เดือน 

ให้อาหารสูตรสำหรับลูกแมว 4 – 5 ครั้งต่อวัน

6 – 12 เดือน 

ค่อย ๆ ลดจำนวนมื้ออาหารต่อวัน

12 เดือนขึ้นไป

ค่อย ๆ เปลี่ยนมาให้อาหารสูตรแมวโต โดยให้อาหารเปียกทั้งเช้าและเย็น ส่วนอาหารเม็ดและน้ำสะอาดต้องเข้าถึงได้ง่ายตลอดวัน

 

ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกแมวจะขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัว ทั้งนี้ตารางข้างต้นเป็นเพียงคำแนะนำทั่วไป ลูกแมวของคุณอาจมีความต้องการแตกต่างออกไป คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อประเมินความต้องการของพวกเค้าเพิ่มเติมได้

เคล็ดลับดี ๆ ในการให้อาหารลูกแมวตัวน้อย – เราควรให้อาหารลูกแมวบ่อยแค่ไหน?

ความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวจะเปลี่ยนไปตามช่วงวัย และมีข้อควรคำนึงถึงเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย

  1. ควรให้อาหารลูกแมวเป็นมื้อเล็ก ๆ 3 – 4 มื้อต่อวัน แทนการให้อาหารมื้อใหญ่ 1 – 2 มื้อ วิธีนี้จะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและลดปัญหาการหิวระหว่างวันได้ดี
  2. อาหารสำหรับลูกแมวควรมีโปรตีนและไขมันสูง มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาหารเปียกเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเพราะมีโปรตีนและปริมาณน้ำมากกว่าอาหารเม็ด
  3. ลูกแมวที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนควรได้รับอาหารสูตรเฉพาะสำหรับเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต หลังจากหกเดือนจึงค่อยเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรแมวโตได้
  4. ในการเลือกอาหาร ควรระวังส่วนผสมที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือท้องไส้ปั่นป่วน เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สารกันบูดและสารแต่งเติมต่าง ๆ

เปิด 4 เคล็ดลับในการให้อาหารลูกแมวที่เจ้าของทุกคนควรรู้

  1. เริ่มต้นด้วยจัดตารางการให้อาหารเป็นเวลาทุกวัน เช่น ให้อาหารลูกแมวในเวลาเดียวกันทุกเช้าและเย็น
  2. ค่อย ๆ ปรับตารางการให้อาหารเมื่อลูกแมวโตขึ้น หากยังอยู่ในช่วงวัยลูกแมว ควรให้อาหารมื้อย่อย 3 มื้อต่อวัน แต่เมื่อลูกแมวโตเต็มวัยแล้ว สามารถปรับให้เหลือเพียง 2 มื้อต่อวันได้
  3. สามารถปรับเปลี่ยนตารางการให้อาหารได้ตามความต้องการของลูกแมว เนื่องจากลูกแมวบางตัวอาจต้องการอาหารมากกว่าตัวอื่น ๆ และบางตัวอาจหิวบ่อยในบางช่วงเวลาของวัน
  4. คอยสังเกตน้ำหนักของลูกแมวและปรับตารางอาหารเมื่อจำเป็น หากลูกแมวดูซูบผอมหรือน้ำหนักลดลง พวกเค้าอาจต้องการปริมาณอาหารมากขึ้น ในทางกลับกัน หากลูกแมวของคุณดูอ้วนหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น อาจต้องปรับปริมาณอาหารให้น้อยลง โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับเจ้าตัวน้อยเพิ่มเติมได้

การให้อาหารอย่างเหมาะสมมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมและพัฒนาการของลูกแมว โดยเคล็ดลับง่าย ๆ ในการให้อาหารลูกแมวคือการทำความเข้าใจความต้องการด้านโภชนาการของลูกแมวและเลือกสูตรอาหารที่เหมาะกับช่วงวัย เนื่องจากลูกแมวมีความต้องการแตกต่างจากน้องแมวโตเต็มวัย เจ้าของจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามต้องการ

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมว

  1. วิธีที่ดีที่สุดในการให้อาหารลูกแมวคืออะไร?
  2. วิธีที่ดีที่สุดคือการเลือกอาหารคุณภาพดีและออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวโดยเฉพาะ ในหนึ่งวัน ควรให้อาหารลูกแมวประมาณ 4 – 6 ครั้งต่อวัน จนกว่าจะมีอายุประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้น จึงสามารถเปลี่ยนเป็น 3 มื้อใหญ่ต่อวันได้

  3. ควรให้อาหารลูกแมวมากน้อยแค่ไหน?
  4. ในการกำหนดปริมาณอาหารให้ลูกแมวแต่ละครั้ง ควรให้อาหารเปียกหรืออาหารเม็ดประมาณ 3 – 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ และควรแบ่งออกเป็นมื้อเล็ก ๆ 2 – 3 มื้อต่อวัน โดยจำเป็นต้องปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกแมวของคุณ

  5. ควรให้อาหารเม็ดหรืออาหารเปียกกับลูกแมว?
  6. คุณสามารถให้อาหารลูกแมวได้ทั้งแบบเปียกและแบบเม็ดรวมกัน เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยจะได้รับคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล โดยอาหารเปียกจะช่วยให้น้องแมวได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้น ส่วนอาหารเม็ดจะมีส่วนช่วยในการขัดฟัน ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  7. ลูกแมวชอบกินอาหารกลางดึกหรือไม่?
  8. ลูกแมวบางตัวอาจกินอาหารตอนกลางดึก เจ้าของจึงควรจัดเตรียมอาหารและน้ำให้เข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะลูกแมวในช่วงวัยเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม หากพบว่าพวกเค้ามีพฤติกรรมการกินมากเกินไปหรือผิดปกติ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ในทันที

     

  9. ควรเทอาหารเม็ดทิ้งไว้ข้ามคืนหรือไม่?
  10. ไม่แนะนำให้เทอาหารเม็ดทิ้งไว้ข้ามคืน เนื่องจากลูกแมวมีกระเพาะขนาดเล็กและควรได้รับปริมาณอาหารที่เหมาะสม การเทอาหารเม็ดทิ้งไว้อาจทำให้พวกเค้ากินมากเกินไปและน้ำหนักขึ้นได้ง่าย นอกจากนี้การเทอาหารทิ้งไว้ยังสามารถดึงดูดสัตว์รบกวนและอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรีย เจ้าของควรให้อาหารเป็นเวลาและแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ ตลอดวัน

  • kitten constipation image
    kitten constipation image
    adp_description_block64
    เมื่อลูกแมวท้องผูก วิธีแก้และการดูแลอย่างถูกต้อง

    • แบ่งปัน

    ลูกแมวมักจะเต็มไปด้วยพลังและความสดใส ทำให้บ้านของคุณเต็มไปด้วยความสุขและความสนุก อย่างไรก็ตาม เจ้าตัวเล็กเหล่านี้ก็อาจมีวันที่ไม่ดีได้เช่นกัน คุณอาจพบว่าพวกเค้าดูไม่สบายตัว กินอะไรแทบไม่ได้เลย และขับถ่ายไม่ออก เป็นไปได้ว่าพวกเค้าอาจมีอาการท้องผูก
     

    อาการท้องผูกในลูกแมว คืออะไร?

     

    อาการท้องผูกเป็นภาวะที่ทำให้ขับถ่ายลำบาก ขับถ่ายน้อยกว่าปกติ ในบางกรณี อาการไม่สบายนี้อาจรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ยิ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานกว่า 48 ชั่วโมง
     

    ลูกแมวท้องผูก มีอาการอย่างไรบ้าง?

     

    ลูกแมวแต่ละตัวจะแสดงอาการแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปมักจะมีอาการดังนี้
     

    1. ขับถ่ายน้อยหรือไม่ขับถ่ายเลย – หากลูกแมวของคุณไม่ขับถ่ายเป็นเวลา 24 – 48 ชั่วโมง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการท้องผูก

    2. ขับถ่ายลำบาก – ลูกแมวอาจใช้กระบะทรายนานผิดปกติ อาจเดินวนไปวนมาไม่ยอมขับถ่ายสักที หรือถ่ายออกมาเป็นอุจจาระก้อนเล็กและแข็ง

    3. เบื่ออาหาร – ลูกแมวที่มีอาการท้องผูกมักจะกินอาหารน้อยลง

    4. เซื่องซึม – จากที่ชอบเล่นและสำรวจ ลูกแมวกลับนอนมากขึ้นและดูไม่ค่อยสนใจทำกิจกรรมต่าง ๆ

    5. ท้องอืดหรืออาเจียน – หากลูกแมวอาเจียนหรือท้องดูป่อง อาจเป็นเพราะท้องผูก
       

    สาเหตุของอาการท้องผูกในแมว

     

    อาการท้องผูกเกิดจากหลายปัจจัย เช่น
     

    1. ภาวะขาดน้ำ – หากได้รับน้ำไม่เพียงพอ ลูกแมวก็อาจมีอาการท้องผูกได้

    2. กลืนสิ่งของที่ไม่สามารถย่อยได้ – ลูกแมวสำรวจสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวด้วยการดมกลิ่นและการกัดแทะ พวกเค้าอาจเผลอกลืนสิ่งของต่าง ๆ ลงไป เช่น ริบบิ้นหรือยางรัดผม สิ่งเหล่านี้อาจไปอุดตันในทางเดินอาหารได้

    3. ขาดการกระตุ้น – ลูกแมวที่ยังไม่หย่านมจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นขับถ่าย ไม่เช่นนั้น พวกเค้าอาจมีอาการท้องผูก

    4. พยาธิในลำไส้ – การติดเชื้อพยาธิหรือปรสิตอย่างหนักในลำไส้อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้

    5. โรคทางระบบประสาทหรือปัญหาอื่น ๆ – ภาวะทางระบบประสาทหรือโรคบางอย่างที่ส่งผลต่อส่วนหลังของลำตัวอาจทำให้ลูกแมวมีอาการท้องผูกได้

     

    หลังทราบสาเหตุและอาการเบื้องต้นกันไปแล้ว เรามาเจาะลึกถึงวิธีดูแลรักษาอาการท้องผูกในแมวกันบ้าง
     

    การรักษาอาการท้องผูกในแมว

     

    ในกรณีที่ลูกแมวกินอาหารได้ตามปกติและยังคงกระฉับกระเฉง เราสามารถบรรเทาอาการไม่สบายได้ด้วยตนเองที่บ้าน แต่หากลูกแมวมีอาการท้องผูกอย่างต่อเนื่อง หรือกระตือรือร้นน้อยลงและไม่ยอมกินอาหาร ควรพาไปพบสัตวแพทย์
     

    โดยคุณหมออาจรักษาด้วยการให้สารน้ำบำบัด การสวนทวาร หรืออาจต้องเอกซเรย์เพื่อตรวจหาการอุดตัน และในกรณีที่ร้ายแรง คุณหมออาจต้องผ่าตัดนำอุจจาระที่อุดตันออก

     

    การดูแลเยียวยาอาการท้องผูกในลูกแมวที่บ้าน

     

    สุขภาพและความเป็นอยู่ของลูกแมวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เลี้ยงทุกคน หากสังเกตเห็นสัญญาณเริ่มแรกของอาการท้องผูก คุณสามารถดูแลพวกเค้าด้วยวิธีเหล่านี้ก่อนไปพบสัตวแพทย์ได้

     

    1. ให้ลูกแมวกินน้ำมากขึ้น – การให้น้ำเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันอาการท้องผูก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเตรียมน้ำสะอาดเพียงพอ วางชามน้ำในจุดที่เข้าถึงง่าย หากลูกแมวชอบอาหารเม็ดให้ลองผสมน้ำอุ่นเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำที่ลูกแมวควรจะได้รับ

    2. เพิ่มไฟเบอร์ในอาหาร – ไฟเบอร์แค่เพียงเล็กน้อยก็สามารถบรรเทาอาการท้องผูกได้อย่างมหัศจรรย์ คุณอาจเติมฟักทองหนึ่งช้อนลงในอาหารของเจ้าตัวน้อย หรือเลือกให้อาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแม่และลูกแมว ที่มีพรีไบโอติกจากธรรมชาติ (FOS) ช่วยเสริมการทำงานของลำไส้และระบบย่อยอาหาร

    3. กระตุ้นให้แมวเคลื่อนไหวร่างกาย – การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ชวนลูกแมวของคุณทำกิจกรรมที่สนุกสนานและได้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ

    4. หมั่นสังเกตพฤติกรรมลูกแมว – สังเกตพฤติกรรมของลูกแมวอย่างใกล้ชิด หากอาการแย่ลงหรือคงอยู่นานกว่าหนึ่งวัน ถึงเวลาต้องพบสัตวแพทย์แล้ว

     

    การฟื้นฟูและการจัดการกับอาการท้องผูกในแมว

     

    เมื่อกำจัดสิ่งที่อุดตันออกไปแล้ว ลูกแมวมักจะฟื้นตัวจากอาการท้องผูกได้อย่างรวดเร็ว แต่เราก็ยังคงต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ รวมถึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ทั้งการให้ยาตามที่กำหนด การถ่ายพยาธิและตรวจอุจจาระเป็นประจำ การทำความเข้าใจอาการท้องผูกช่วยให้ลูกแมวของคุณมีความสุข มีสุขภาพดี และพร้อมที่จะสำรวจโลกที่น่าตื่นเต้นได้อย่างเต็มที่
     

    ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และการเยียวยาอาการท้องผูกอย่างเหมาะสม ลูกแมวของคุณจะกลับมากระตือรือร้นและมีพลังได้ในเวลาไม่นาน หากคุณไม่แน่ใจหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ อย่าลังเลที่จะปรึกษาสัตวแพทย์

Close modal