IAMS TH
puppy deworm
puppy deworm

adp_description_block340
วิธีการถ่ายพยาธิลูกสุนัข

  • แบ่งปัน

เมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพของลูกสุนัขตัวน้อย การถ่ายพยาธิเป็นหนึ่งในสิ่งที่จำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดหนอนพยาธิหรือปรสิตตัวร้ายที่อาจเป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ การทำความเข้าใจวิธีการถ่ายพยาธิจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเจ้าตัวน้อย ไม่ว่าพวกเค้าจะเคยติดเชื้อหนอนพยาธิมาก่อน หรือเพียงแค่ต้องการป้องกันเอาไว้

 

แต่หนอนพยาธิคืออะไรกันแน่? และลูกสุนัขได้รับมันมาได้อย่างไร? หนอนพยาธิที่พบได้บ่อยในสุนัข ได้แก่ พยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า และพยาธิตัวตืด เจ้าปรสิตเหล่านี้มักจะปะปนอยู่ในดิน น้ำ หรืออาหารที่ปนเปื้อน โดยพวกมันอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา

 

โดยเราได้รวบรวมทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการถ่ายพยาธิลูกสุนัขมาให้แล้ว ทั้งอาการที่ควรระวัง กระบวนการถ่ายพยาธิ และวิธีดูแลเจ้าตัวน้อยให้มีสุขภาพดี ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หัดเลี้ยงหรือเพียงแค่ต้องการทบทวนความรู้ บทความนี้ช่วยคุณได้อย่างแน่นอน

 

4 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการถ่ายพยาธิลูกสุนัข

การถ่ายพยาธิเป็นส่วนสำคัญในการรับเลี้ยงและการดูแลน้องหมา แต่วิธีการถ่ายพยาธิมีให้เลือกมากมาย จนอาจสร้างความสับสนให้กับผู้เลี้ยงหลาย ๆ คน เราจึงจะมาเผยข้อควรรู้เกี่ยวกับการถ่ายพยาธิลูกสุนัข ทั้งเรื่องความถี่ในการถ่ายพยาธิ วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และความสำคัญของการป้องกันพยาธิตัวร้าย เพื่อให้กระบวนการนี้ผ่านไปได้อย่างราบรื่นและเห็นผล เมื่อเข้าใจปัจจัยสำคัญทั้งหมดนี้แล้ว คุณก็จะมั่นใจได้ว่าเจ้าตัวน้อยจะมีความสุขและมีสุขภาพดีในทุกวัน

 

  1. ดูแลลูกสุนัขตัวน้อยให้แข็งแรงและมีความสุขด้วยการถ่ายพยาธิเป็นประจำ

การถ่ายพยาธิจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของหนอนพยาธิและปรสิตตัวร้าย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกสุนัขได้ โดยพวกเค้าจำเป็นต้องได้รับการถ่ายพยาธิเป็นประจำ เนื่องจากมีขนาดตัวเล็กและระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่

เราควรถ่ายพยาธิลูกสุนัขทุก 2 สัปดาห์ไปจนถึงอายุ 3 เดือน จากนั้นต้องถ่ายพยาธิทุกเดือนจนกว่าจะอายุครบ 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าหนอนพยาธิถูกกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การถ่ายพยาธิสุนัขที่ตั้งท้องก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากพวกเค้าสามารถส่งต่อพยาธิไปยังลูกสุนัขในท้องได้

นอกจากการถ่ายพยาธิเป็นประจำแล้ว การดูแลรักษาความสะอาดก็เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของหนอนพยาธิ อย่าลืมล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสหรือเล่นกับน้องหมา และทำความสะอาดพื้นที่ขับถ่ายทันทีที่น้องหมาทำธุระส่วนตัวเสร็จ

การถ่ายพยาธิเป็นส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพน้องหมา การถ่ายพยาธิตามกำหนดเวลาและการดูแลความสะอาดจะช่วยปกป้องเจ้าก้อนขนปุกปุยของคุณจากปรสิตตัวร้ายที่เป็นอันตรายได้อย่างแน่นอน

 

  1. หนอนพยาธิชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ในลูกสุนัข

ลูกสุนัขสามารถติดเชื้อหนอนพยาธิได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า และพยาธิตัวตืด ซึ่งเจ้าปรสิตเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน น้ำหนักลด และภาวะโลหิตจาง 

แม้จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีอยู่ อย่างพยาธิตัวตืดจะสังเกตได้ยาก เนื่องจากมีขนาดเล็กและมักจะปะปนอยู่ในอุจจาระ นอกจากนี้หนอนพยาธิบางชนิดก็อาศัยอยู่ในลำไส้ได้โดยไม่ก่อให้เกิดอาการที่แสดงออกมาอย่างชัดเจน เจ้าของจึงจำเป็นต้องถ่ายพยาธิให้น้องหมาเป็นประจำ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะยาว

 

  1. ทำความเข้าใจสัญญาณเตือนและอาการติดเชื้อพยาธิในลูกสุนัข

ลูกสุนัขที่ติดเชื้ออาจมีอาการผิดปกติหลายอย่าง แต่อาจสังเกตได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะในน้องหมาที่มีอายุน้อยและมีขนาดตัวเล็ก แต่อาการทั่วไปที่อาจพบได้ มีดังนี้

  • ท้องเสียหรือถ่ายเหลว – อาจเกิดจากหนอนพยาธิไปรบกวนการทำงานของระบบย่อยอาหาร 
  • น้ำหนักตัวลด – หนอนพยาธิสามารถแย่งสารอาหารจากร่างกายของลูกสุนัข ทำให้พวกเค้าน้ำหนักตัวลดลงได้
  • ภาวะโลหิตจาง – พยาธิปากขอจะดูดเลือดของลูกสุนัขเป็นอาหาร ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง โดยน้องหมาอาจมีเหงือกสีซีดและมีอาการอ่อนเพลีย
  • อาเจียน – หนอนพยาธิอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ จนนำไปสู่การอาเจียนได้
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง – เนื่องจากแย่งสารอาหาร ดูดเลือด และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย น้องหมาที่ติดเชื้อจึงมักมีอาการอ่อนเพลียและไม่ค่อยทำกิจกรรม

การถ่ายพยาธิเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับลูกสุนัขที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ เนื่องจากพวกเค้าได้รับเชื้อจากแม่ตั้งแต่ก่อนคลอด การสังเกตอาการผิดปกติอย่างใกล้ชิดและการถ่ายพยาธิเป็นประจำ จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุข ทั้งนี้หากสงสัยว่าลูกสุนัขติดเชื้อพยาธิ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อรักการรักษาในทันที

 

  1. วิธีการถ่ายพยาธิลูกสุนัขที่มีประสิทธิภาพ

หนอนพยาธิเป็นปัญหาที่พบบ่อยในลูกสุนัขและมักจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงตามมา โดยหนอนพยาธิที่พบบ่อย ได้แก่ พยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ และพยาธิตัวตืด โดยน้องหมาที่ติดเชื้ออาจมีอาการอาเจียน ท้องเสีย น้ำหนักลด และพุงป่อง

การถ่ายพยาธิไม่ใช่กระบวนการที่ซับซ้อนและสามารถทำได้ง่าย เพียงแต่ต้องทำเป็นประจำหรือตามนัดหมายของสัตวแพทย์ ส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยการให้ยาถ่ายพยาธิลูกสุนัขทุก ๆ 2 - 3 สัปดาห์จนกว่าจะถึงวัยที่กำหนด การรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดและคอยดูแลไม่ให้ลูกสุนัขกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไปก็ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้เช่นกัน

หากเจ้าตัวน้อยของคุณติดเชื้อ สัตวแพทย์อาจจ่ายยาถ่ายพยาธิให้กินหรือให้ฉีดก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือเจ้าของควรดูแลและปฏิบัติตามคำแนะนำจากคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและเห็นผล

แม้น้องหมาจะไม่มีอาการติดเชื้อใด ๆ แต่ก็ยังจำเป็นต้องถ่ายพยาธิอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงในอนาคต

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการถ่ายพยาธิลูกสุนัข

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องหมามีพยาธิ?
  2. หากต้องการรู้ว่าน้องหมาติดเชื้อพยาธิหรือไม่ ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายและใช้วิธีตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิ โดยอาการติดเชื้อที่อาจพบได้ จะมีอาการท้องเสีย น้ำหนักลด และอาจสังเกตเห็นพยาธิในอุจจาระ

  3. เราสามารถถ่ายพยาธิน้องหมาเองที่บ้านได้หรือไม่?
  4. การถ่ายพยาธิควรทำโดยสัตวแพทย์ เนื่องจากคุณหมอสามารถวินิจฉัยและเลือกวิธีรักษาได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยาถ่ายพยาธิบางชนิดอาจมีวิธีใช้เฉพาะหรืออาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูกสุนัข ทางที่ดีจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนถ่ายพยาธิลูกสุนัขด้วยตัวเอง

  5. ควรถ่ายพยาธิให้น้องหมาบ่อยแค่ไหน?
  6. ลูกสุนัขควรถ่ายพยาธิเมื่อมีอายุ 2, 4, 6 และ 8 สัปดาห์ และอีกครั้งเมื่อมีอายุ 12 และ 16 สัปดาห์ เมื่อลูกสุนัขอายุครบ 6 เดือน แนะนำให้ถ่ายพยาธิทุก ๆ 3 - 6 เดือน คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดตารางการถ่ายพยาธิที่เหมาะสม เนื่องจากลูกสุนัขแต่ละตัวมีเงื่อนไขและสภาพร่างกายแตกต่างกัน

  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block21
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน