IAMS TH
Is Your Cat a Finicky Eater?
Is Your Cat a Finicky Eater?

adp_description_block202
เคล็ดลับการให้อาหารเจ้าเหมียวช่างเลือก

  • แบ่งปัน

แมวเหมียวมักเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองเสมอ จึงไม่แปลกหากพวกเค้าจะติดนิสัยช่างเลือกไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกของเล่นที่ชอบหรือกิจกรรมที่ทำ โดยทั่วไปความช่างเลือกเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม ทาสแมวควรเป็นกังวลและหาวิธีแก้ไขหากเป็นเรื่องแมวกินยากหรือแมวเลือกกิน เบื้องต้นคุณอาจลองเปลี่ยนอาหารดูก่อน แต่ถ้าพวกเค้ายังไม่ยอมกินอาหารใหม่ คุณควรปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติม 

ทั้งนี้ ก่อนตัดสินใจปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ต้องเข้าใจว่าเจ้าเหมียวส่วนใหญ่มีนิสัยช่างเลือก พวกเค้าอาจดื้อรั้นในช่วงแรก แต่จะปรับตัวเข้ากับกิจวัตรประจำวันที่กำหนดไว้ได้ในที่สุด ตามมาดูเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณเข้าใจนิสัยเลือกกินของเจ้าเหมียวมากยิ่งขึ้นไปพร้อม ๆ กัน

ทำไมแมวกินยาก?

พฤติกรรมนี้ไม่ได้เป็นเพราะนิสัยเลือกกินของเจ้าเหมียวเสมอไป แต่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ

  • ไม่อยากอาหาร
    • หากแมวไม่กินข้าว เป็นไปได้ว่าพวกเค้าอาจจะไม่รู้สึกหิว หรือได้กินขนมมาตลอดทั้งวันแล้ว สำหรับน้องแมวที่เลี้ยงนอกบ้านหรือชอบหนีเที่ยว พวกเค้าอาจล่าเหยื่อเป็นอาหารจนไม่รู้สึกหิวแล้วก็เป็นได้ แต่หากน้องแมวไม่กินอาหารนานเกิน 24 ชั่วโมง ควรปรึกษาขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์
  • การให้อาหารไม่เป็นเวลา
    • แม้แมวจะขี้จุกจิกตามธรรมชาติ แต่พวกเค้าชอบใช้ชีวิตอย่างเป็นกิจวัตรและจดจำได้ว่าเวลาไหนคือเวลาอาหาร ดังนั้นหากให้อาหารผิดเวลา พวกเค้าก็อาจไม่ยอมกินข้าวได้
  • ชามอาหารสกปรก
    • น้องแมวไม่ชอบกินอาหารจากภาชนะที่สกปรก ดังนั้นก่อนเทอาหารให้ใหม่ก็อย่าลืมทำความสะอาดชามอาหารของพวกเค้าก่อนด้วยล่ะ
  • สภาพแวดล้อม
    • น้องแมวส่วนใหญ่ชอบกินอาหารตามลำพัง ไม่ชอบถูกจับจ้องหรือเป็นจุดสนใจเมื่อกำลังกินอาหาร
  • ความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
    • น้องแมวกินยากอาจเกิดจากความเครียดได้เช่นกัน ลองสังเกตกันดูว่ามีสมาชิกใหม่ในครอบครัวมาเพิ่มหรือไม่? มีสมาชิกในครอบครัวคนไหนจากไปหรือไม่? มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมรอบตัวเจ้าเหมียวหรือเปล่า? อย่างการย้ายบ้านใหม่ พวกเค้าอาจต้องใช้เวลาสักพักเพื่อปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อความเครียดหายไปแล้ว เจ้าเหมียวก็จะกลับมากินอาหารได้ตามปกติ ซึ่งถ้าร่างกายแข็งแรง ไม่มีความผิดปกติที่น่าเป็นห่วง พ่อแม่แมวทั้งหลายก็เบาใจได้ ทั้งนี้เจ้าเหมียวสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เพียงแค่เปลี่ยนชามอาหารใหม่ ก็อาจทำให้พวกเค้าไม่ยอมกินอาหารได้แล้ว
  • ปัญหาสุขภาพ
    • ปัญหาสุขภาพบางประการอาจส่งผลต่อพฤติกรรมการกินของเจ้าเหมียว ควรไปพบสัตวแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด

วิธีรับมือเมื่อแมวเลือกกิน

สำหรับทาสแมวที่กำลังเผชิญปัญหาแมวกินยาก ลองทำตามเคล็ดลับดี ๆ เหล่านี้ได้เลย

  • อุ่นอาหารเปียกก่อนเสิร์ฟ
    • ถ้าเสิร์ฟอาหารเย็น ๆ กลิ่นอาจไม่หอมและไม่ดึงดูดใจให้เจ้าเหมียวอยากกิน แต่การอุ่นอาหารจะช่วยเพิ่มกลิ่นหอมเย้ายวนใจ ชวนให้เจ้าเหมียวอยากกินอาหารมากยิ่งขึ้น
  • ทำความสะอาดชามอาหาร
    • เนื่องจากน้องแมวรับรู้กลิ่นได้ดี พวกเค้าจึงรู้ได้ในทันทีหากชามอาหารไม่สะอาด ซึ่งอาจทำให้ความอยากอาหารลดลงจนไม่ยอมกินอาหารเลยทีเดียว
  • เติมน้ำซุปลงในอาหาร
    • เพิ่มความน่ากินให้อาหารมื้อธรรมดาด้วยการเติมน้ำซุปไก่ น้ำซุปปลา หรือน้ำมันเพิ่มรสชาติลงในอาหารแมว วิธีนี้จะช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ากินมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงน้ำซุปที่มีส่วนประกอบของหัวหอม กุ้ยช่าย และกระเทียม เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมวได้
  • ลองเปลี่ยนอาหารใหม่
    • หากน้องแมวเลือกกิน อาจถึงเวลาต้องเปลี่ยนอาหารใหม่กันแล้ว ซึ่งมีความเป็นไปว่าต้องลองผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิดเลย เพื่อหาสิ่งที่ถูกใจพวกเค้ามากที่สุด
  • ปรึกษาสัตวแพทย์
    • ถ้าเจ้าเหมียงยังไม่ยอมกินอาหารหลังจากลองทำทุกวิธีแล้ว ก็ควรปรึกษาขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ หรือถ้าเจ้าเหมียวไม่กินอาหารเลยนานกว่า 24 ชั่วโมว ควรพาพวกเค้าไปพบคุณหมอทันที
  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน
    • หากต้องการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันหรือสภาพแวดล้อม ควรเปลี่ยนอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป เช่นเดียวกับการเปลี่ยนอาหาร อย่าเปลี่ยนโดยทันที ให้เริ่มจากผสมอาหารสูตรเดิมกับสูตรใหม่เข้าด้วยกันในช่วงสามวันแรก จากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารใหม่และลดปริมาณอาหารเก่าลง

การเปลี่ยนอาหารใหม่อาจเรื่องยากและจำเป็นต้องทดลองผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งไอแอมส์™ ตระหนักดีว่า พ่อแม่เหมียวทั้งหลายต่างก็ต้องการตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น อาหารแมวของไอแอมส์™ จึงมีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารเม็ดสำหรับแม่และลูกแมว อาหารเม็ดสำหรับแมวโต และอาหารเม็ดสูตรเลี้ยงในบ้านและบำรุงก้อนขน โดยอาหารแมวไอแอมส์™ ทุกสูตร มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาเรื่องการเลือกอาหารเพิ่มเติมได้จากทั้งสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจากไอแอมส์™

สิ่งที่แมวเหมียวทุกตัวต้องการ

นี่คือสิ่งที่ทาสแมวทุกคนควรรู้เกี่ยวกับเจ้าเหมียว

  • ไม่ว่าจะเลือกให้อาหารชนิดใด ต้องเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอและเข้าถึงได้ตลอดเวลา ขอแนะนำให้วางชามน้ำให้ห่างจากชามอาหารประมาณ  1 – 1.5  เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้น้องแมวกินแต่น้ำแล้วไม่กินอาหาร
  • ควรให้น้องแมวกินอาหารในมุมสงบ เป็นส่วนตัว ไร้การรบกวน
  • พบสัตวแพทย์เป็นประจำหรือตามนัดหมาย เพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะมีสุขภาพดีและมีความสุขในทุกวัน

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับนิสัยเลือกกินของแมวเหมียว

  1. แมวเลือกกิน ทำอย่างไรดี?
  2. สามารถทำตามวิธีเหล่านี้ดูได้ เช่น อุ่นอาหารก่อนเสิร์ฟ ปล่อยให้น้องแมวกินอาหารในมุมส่วนตัว หรือเสิร์ฟอาหารในชามที่สะอาด แต่ถ้าน้องแมวยังไม่ยอมกิน อาจต้องเปลี่ยนมาเสิร์ฟเมนูโปรดของพวกเค้าแทน

  3. แมวไม่ยอมกินข้าว ทำอย่างไรดี?
  4. หากเจ้าเหมียวไม่ยอมกินอาหาร ให้ลองเติมน้ำซุปไก่ น้ำซุปปลา หรือน้ำมันปลาลงในอาหารของพวกเค้า อาจจะอุ่นอาหารก่อนเสิร์ฟด้วย หรือจะลองเปลี่ยนมาให้อาหารใหม่ดูก็ได้

  5. สุดท้ายแล้วน้องแมวช่างเลือกจะยอมกินอาหารไหม?
  6. คำตอบจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้น้องแมวไม่ยอมกินอาหาร น้องแมวบางตัวเมื่อรู้สึกหิวก็จะยอมกินอาหารแต่โดยดี แต่บางตัวอาจไม่และเลือกที่จะอดอาหาร หากพบว่าน้องแมวไม่กินอะไรเลยทั้งวัน ควรปรึกษาขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์

  7. จะเพิ่มความอยากอาหารให้น้องแมวอย่างไรได้บ้าง?
  8. กลิ่นคือสิ่งที่กระตุ้นความอยากอาหารของเจ้าเหมียวได้มากที่สุด หากอาหารมีกลิ่นหอมอย่างที่พวกเค้าชอบ (เช่น เนื้อไก่หรือปลา) ความอยากอาหารของพวกเค้าก็จะเพิ่มขึ้น

  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    adp_description_block494
    การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและการดูแล

    • แบ่งปัน

    โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการถูกกัดและข่วนโดยสัตว์ที่ติดเชื้อ เนื่องจากไม่มียาในการรักษา ทางออกเดียวที่จะต่อสู้กับไวรัสร้ายแรงนี้คือการฉีดวัคซีนป้องกัน

     

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักสำหรับแมว มันช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่ก่อนจะพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีน เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดของโรคและวิธีป้องกันไปด้วยกันในบทความนี้
     

    โรคพิษสุนัขบ้าแพร่กระจายได้อย่างไร?

    โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ซึ่งติดต่อได้ทั้งในสัตว์และคน ไม่ใช่แค่สุนัขอย่างที่เข้าใจผิดกัน เชื้อชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลเปิด ผ่านเยื่อเมือกในตา ปาก และจมูก รวมถึงแพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อด้วย โดยแมวส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจใช้เวลานานถึงสองสามปีหลังได้รับเชื้อ
     

    เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรง พ่อแม่แมวจึงควรเรียนรู้สัญญาณเตือนและลักษณะอาการของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

    1. มีไข้

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. หายใจลำบาก

    5. น้ำลายไหลมาก

    6. กลืนลำบาก

    7. พฤติกรรมผิดปกติ

    การรักษาโรคพิษสุนัขบ้าอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มียารักษา การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าแมวของคุณจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้
     

    แมวที่เลี้ยงในบ้านจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่?

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมวทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพราะแมวมักจะเข้าสังคมด้วยการเลีย ดม หรือเกาตัวให้กัน แมวในบ้านจึงยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่ลูกแมวจะติดเชื้อ วัคซีนจะกระตุ้นการสร้างแอนติเจนในร่างกาย ทำให้แมวสามารถรับมือกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้
     

    แมวควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าบ่อยแค่ไหน?

    การฉีดวัคซีนจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ สายพันธุ์ และไลฟ์สไตล์ของลูกแมว รวมถึงประเภทของวัคซีนด้วย วัคซีนบางชนิดก็ต้องฉีดทุกปี บางชนิดอาจฉีดทุก ๆ 3 ปี โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนของแมวเพิ่มเติมได้

     

    แมวควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อใด?

    ลูกแมวควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรกเมื่อมีอายุ 12 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรก ต้องฉีดวัคซีนทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีน
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    หลังจากการฉีดวัคซีน น้องแมวอาจมีอาการผิดปกติเล็กน้อย โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้มีดังนี้

    1. มีไข้ต่ำ

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว พ่อแม่แมวควรพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนหลักอื่น ๆ ด้วย เช่น วัคซีนรวม F4 วัคซีนรวม FeVac 5 และวัคซีน FVRCP การฉีดวัคซีนควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้ลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี