IAMS TH
cat article detail banner
cat article detail banner

adp_description_block146
เคล็ดลับสำหรับการให้อาหารแมวโตของคุณ

  • แบ่งปัน

 

เมื่ออายุครบ 12 เดือน เจ้าเหมียวของคุณก็ไม่ต้องการแร่ธาตุ โปรตีน และพลังงานในระดับสูงเหมือนกับตอนที่เป็นลูกแมววัยกำลังโตอีกต่อไป คุณจึงควรเปลี่ยนให้เค้ากินอาหารคุณภาพสูง อย่าง ไอแอมส์™  โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สำหรับแมวโตรสไก่ ซึ่งมาพร้อมสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุลสำหรับแมวโต 
 

และเมื่อคุณต้องการเลือกอาหาร อย่าลืมปฏิบัติตามเคล็ดลับต่อไปนี้
 

  • อ่านคำกล่าวอ้างด้านโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ของอาหาร 

อ่านฉลากเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่เลือกเหมาะกับช่วงวัยของแมวคุณ (ลูกแมว แมวโต แมวสูงวัย) นอกจากนี้ควรมองหาคำประกาศที่ระบุว่าอาหารดังกล่าวตรงตามข้อบังคับของสมาคมควบคุมอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งอเมริกา (AAFCO) เนื่องจากหากไม่มีคำประกาศด้านสารอาหารของ AAFCO บนฉลากก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าแมวของคุณจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล

  • เลือกอาหารพรีเมียม 

อาหารแมวพรีเมียมมักจะใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงและย่อยได้ง่ายกว่า รวมถึงมีสารอาหารที่เข้มข้นกว่าแบรนด์ราคาถูก แมวของคุณจะได้รับพลังงานที่เพียงพอโดยกินอาหารในปริมาณที่น้อยลง ทำให้ราคาต่อมื้อของอาหารพรีเมียมอาจต่างจากอาหารธรรมดาเพียงไม่กี่บาทเท่านั้น

  • ปรึกษาสัตวแพทย์ 

เนื่องจากความต้องการด้านสารอาหารของแมวคุณเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเค้าโตขึ้น หรือมีภาวะเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่ต้องการอาหารพิเศษ ดังนั้นควรปรึกษาสัตวแพทย์ถึงวิธีการให้อาหาร รวมทั้งชนิด และปริมาณอาหารที่จำเป็นสำหรับเค้าด้วย

 

เมื่อเลือกอาหารได้แล้ว ต่อไปต้องสร้างนิสัยการกินอาหารที่ดี
 

  • ตวงอาหารก่อนให้เสมอ 

เริ่มโดยให้อาหารแมวตามปริมาณที่บรรจุภัณฑ์แนะนำ แม้ว่าปริมาณปกติจะดูไม่น่าทำให้แมวของคุณมีสุขภาพที่ดี หากเค้ากินอาหารไม่หมดหรือน้ำหนักเริ่มเยอะขึ้นจึงค่อยลดปริมาณลง หรือหากเค้าเริ่มดูผอมจึงค่อยเพิ่มปริมาณจนเค้ามีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • ให้อาหารตรงเวลา 

ปกติแมวโตกินอาหารเพียงวันละมื้อก็เพียงพอแล้ว หากแมวของคุณหิวบ่อยขึ้น ให้แบ่งอาหารเป็นหลายมื้อและให้อย่างตรงเวลา และต้องอย่าลืมว่าการให้อาหารหลายมื้อไม่ได้แปลว่าต้องเพิ่มปริมาณอาหาร แต่ให้แบ่งปริมาณที่แนะนำออกเป็นหลาย ๆ มื้อแทน

  • ให้อาหารทิ้งไว้สำหรับแมวสุขภาพดี 

การให้อาหารเม็ดทิ้งไว้ตลอดวัน เพื่อให้เจ้าเหมียวเลือกกินได้ตามใจก็เป็นทางเลือกที่ดีหากเค้ามีสุขภาพที่ดีอยู่แล้ว แต่หากเจ้าเหมียวน้ำหนักเกินหรือกินมากเกินไปก็ไม่ควรให้อาหารทิ้งไว้

  • ห้ามให้อาหารเหลือจากมื้ออาหารของคุณและควบคุมการให้ขนม 

เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีไขมันและให้พลังงานเยอะ ซึ่งจะไปรบกวนสารอาหารที่แมวได้รับจากอาหารที่ครบถ้วนและสมดุลอยู่แล้ว

  • ค่อย ๆ ทำให้แมวคุ้นเคยกับอาหารใหม่ เมื่อต้องการเปลี่ยนอาหารแมว 

ทำได้โดยการผสมอาหารใหม่และอาหารเดิมเข้าด้วยกัน เริ่มจากให้อาหารใหม่ในสัดส่วนน้อยก่อนแล้วทยอยเพิ่มขึ้นโดยใช้เวลา 3-4 วัน แมวมักจะยอมรับการเปลี่ยนแปลง หากเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป วิธีนี้จะไม่ทำให้ระบบย่อยอาหารของเค้ามีปัญหา

  • ให้น้ำเปล่าที่สะอาดอยู่เสมอ 

แมวต้องการน้ำเพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร กำจัดของเสีย ฯลฯ คุณควรให้แมวดื่มน้ำอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณให้เค้ากินแต่อาหารเม็ดหรือเค้ามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอุดตันมากเป็นพิเศษ



 

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    adp_description_block178
    รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนแมว

    • แบ่งปัน

    แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
     

    วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
     

    วัคซีนแต่ละชนิดและช่วงวัยที่เหมาะสมของแมว

    การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก

    1. วัคซีน FVRCP

    ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี

    1. วัคซีน FeLV

    วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์

    1. วัคซีน FPV

    วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี

    1. วัคซีนรวม 4 โรค

    วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี

    1. วัคซีนรวม 5 โรค

    วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

    หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้

    1. อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    2. อยากอาหารลดลง

    3. อาเจียน

    4. มีไข้ 

    5. ท้องเสีย

    6. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้