IAMS TH
Understanding Kitten Food Nutrition Labels
Understanding Kitten Food Nutrition Labels

adp_description_block455
ทำความเข้าใจกับฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์อาหารลูกแมว

  • แบ่งปัน

 

คุณกำลังสับสนกับชื่อวัตถุดิบในอาหารแมวอยู่หรือไม่ ไม่ต้องกังวลเพราะไม่ได้มีแค่คุณคนเดียว อาหารแมวที่ทำการตลาดโดยใช้ “วัตถุดิบเกรดอาหารคน” กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะดูเป็นที่สนใจของเจ้าของแมวอยู่สมพอควร แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าคำว่า “เกรดอาหารคน” ไม่ได้มีคำจำกัดความทางกฎหมายและมีจุดประสงค์หลักเพื่อการตลาดเท่านั้น

 

อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์โดยทั่วไปแล้วจะมีป้ายกำกับว่า “กินได้” หรือ “กินไม่ได้ ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของมนุษย์” เมื่ออาหารออกจากห่วงโซ่อาหารของมนุษย์แล้ว แม้ว่าอาหารนั้นจะมีคุณภาพดีแค่ไหนก็ตาม ก็จะต้องระบุว่า “กินไม่ได้ ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของมนุษย์” ดังนั้น เนื้อสัตว์ที่ใช้ในอาหารสัตว์เลี้ยงจะต้องระบุว่า “กินไม่ได้” โดยไม่ต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาหรือคุณภาพของเนื้อสัตว์ วิธีการเดียวในการทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงใช้ส่วนผสมที่ถือว่า 'กินได้' ก็คือ อย่าปล่อยให้เนื้อสัตว์ออกจากห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ และผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในโรงงานผลิตอาหารมนุษย์เท่านั้น รวมถึงต้องขนส่งโดยใช้รถบรรทุกอาหารของมนุษย์ด้วย ดังนั้น การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่มี 'ส่วนผสมเกรดเดียวกับมนุษย์' จึงไม่เป็นความจริง หากผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้ผลิตในโรงงานผลิตอาหารมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การที่อาหารสัตว์เลี้ยงไม่ได้ถูกวางตำแหน่งทางการตลาดว่าเป็น “เกรดสำหรับมนุษย์” ไม่ได้หมายความว่าส่วนผสมนั้นจะมีคุณภาพต่ำ

 

นี่เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณเข้าใจวัตถุดิบมากขึ้น

คุณไม่ควรใช้รายชื่อวัตถุดิบเพียงปัจจัยเดียว เพื่อตัดสินเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากรายชื่อของวัตถุดิบอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะบอกถึงคุณภาพของวัตถุดิบ หรือสารอาหารที่เพียงพอสำหรับสัตว์เลี้ยง

เจ้าของสัตว์เลี้ยงและสัตวแพทย์ควรให้ความสำคัญกับประกาศความเพียงพอด้านสารอาหารของ AAFCO และขั้นตอนควบคุมคุณภาพของผู้ผลิต แทนที่จะดูแค่วัตถุดิบเพียงอย่างเดียว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คุณสามารถดูโบรชัวร์ของสมาคมสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กสากล (World Small Animal Veterinary Association) หัวข้อ “วิธีเลือกอาหารที่เหมาะกับสัตว์เลี้ยงของคุณ” (“Selecting the Best Food for your Pet”) ได้ที่ www.wsava.org/nutrition-toolkit

รายชื่อวัตถุดิบมีการจัดทำขึ้นเพื่อดึงดูดผู้บริโภค รวมถึงลำดับของวัตถุดิบด้วย เช่น ใช้เนื้อแกะอยู่ในบรรทัดแรกของรายชื่อวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังมีการรายชื่อวัตถุดิบที่ดูเป็นที่ต้องการ แต่ในความเป็นจริงแล้ววัตถุดิบดังกล่าวผสมลงไปในปริมาณน้อยมากจนไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการเลย เช่น ใส่อาร์ทิโชกหรือราสป์เบอร์รี โดยใส่ไว้ถัดจากวิตามินและแร่ธาตุเสริม

ทั้งนี้การมีวัตถุดิบมากกว่าไม่ได้หมายความว่าคุณค่าทางสารอาหารจะเพิ่มขึ้น

 

  • cat article detail banner
    cat article detail banner
    adp_description_block176
    รวมประโยชน์น่ารู้ของอาหารแมวโปรตีนสูง

    • แบ่งปัน

    แมวเหมียวเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกันกับเสือและสิงโต แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่าและดุร้ายน้อยกว่า แต่ยังมีความต้องการทางกายภาพและโภชนาการที่คล้ายคลึงกัน โดยแมวและลูกแมวต้องการโปรตีนมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเหมาะสม ผู้เลี้ยงจึงควรเลือกอาหารแมวที่มีโปรตีนสูงให้กับพวกเค้า

    ลูกแมวต้องการโปรตีนสูงเพื่อเพิ่มพลังงาน การเลือกอาหารให้ลูกแมวจึงต้องพิจารณาจากปริมาณโปรตีนเป็นสำคัญ โดยอาหารแมวส่วนใหญ่จะเลือกใช้โปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์เพื่อให้ได้ปริมาณตรงตามความต้องการในแต่ละวันของลูกแมว แม้ว่าโปรตีนจะเป็นสารอาหารที่จำเป็นมาก แต่ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

    อาหารโปรตีนสูงสำหรับลูกแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนและสมดุลควบคู่ไปกับสารอาหารชนิดอื่น รวมถึงควรเลือกใช้แหล่งโปรตีนคุณภาพดีและย่อยง่ายด้วย

    กรดอะมิโนที่ควรมีอยู่ในอาหารแมว

    กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน และมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานในร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น แมวต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นเพียง 2 ชนิดสำหรับการเจริญเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดี โดยในอาหารแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นดังต่อไปนี้

    1. อาร์จินีน – เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดสำหรับแมว หากขาดกรดอะมิโนชนิดนี้ ระดับแอมโมเนียในกระแสเลือดของลูกแมวจะสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการชักและเป็นอันตรายถึงชีวิตในบางสถานการณ์
    2. ทอรีน – ทอรีนจำเป็นต่อพัฒนาการของดวงตา หัวใจ และการสืบพันธุ์ของลูกแมว แมวสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนี้ได้ในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งมักจะไม่เพียงพอต่อพัฒนาการที่เหมาะสม ทั้งนี้ลูกแมวที่ขาดทอรีนอาจมีอาการจอประสาทตาเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจพองโต การสืบพันธุ์ล้มเหลว และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติในร่างกาย

    ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับแมว

    แน่นอนว่าอาหารแมวทุกประเภทมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ผู้เลี้ยงก็ยังคงต้องตรวจสอบปริมาณโปรตีนของอาหารแต่ละชนิด เพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของแมวในแต่ละช่วงวัย

    แมวส่วนใหญ่ต้องการโปรตีนประมาณ 35% – 45% เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี โดยคุณสามารถเช็กปริมาณโปรตีนที่แมวต้องการได้จากตารางด้านล่างนี้

    ช่วงวัย

    ปริมาณโปรตีนโดยเฉลี่ย (%)

    ลูกแมว

    40 – 50%

    แมวโตเต็มวัย

    35 – 40%

    แม่แมวตั้งท้องหรือให้นมลูก

    45 – 50%

    แมวสูงวัย

    35 – 38%

    แหล่งโปรตีนในอาหารแมว

    โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การเสริมสร้างความแข็งแรง และยังเป็นแหล่งพลังงานชั้นเยี่ยมด้วย อาหารสำหรับลูกแมวจึงควรมีโปรตีนสูง ไม่เพียงแต่ในช่วงปีแรกเท่านั้น แต่รวมถึงช่วงวัยเจริญเติบโตด้วย นอกจากปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมแล้ว แหล่งที่มาของโปรตีนก็สำคัญเช่นกัน โดยแหล่งโปรตีนที่พบบ่อยที่สุดในอาหารแมว มีดังนี้

    1. โปรตีนจากพืช กลูเตนข้าวโพด กลูเตนข้าวสาลี กากถั่วเหลือง และโปรตีนจากข้าวถือเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่เหมาะสำหรับลูกแมว
    2. โปรตีนจากสัตว์ – เนื่องจากเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารสำหรับแมวจึงต้องมีเนื้อสัตว์คุณภาพดีเป็นส่วนผสมหลัก เพื่อให้แน่ใจว่าแมวจะได้รับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม โดยแหล่งโปรตีนที่มีความเข้มข้นสูง ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ ปลา และไก่งวง เหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรมองหาในอาหารแมวโปรตีนสูง

    จะรู้ได้อย่างไรว่าแมวได้รับปริมาณโปรตีนเพียงพอแล้ว?

    แมวทุกตัวต้องการโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการโดยรวมที่ดี แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพวกเค้าได้รับโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการแล้ว? โดยแมวโตทั่วไปควรได้รับโปรตีนประมาณ 35% จากอาหาร อ้างอิงจากข้อกำหนดของ AAFCO (องค์กรควบคุมอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงแห่งอเมริกา) แมวต้องการโปรตีนอย่างน้อย 30% สำหรับการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ และโปรตีนประมาณ 26% สำหรับการบำรุงรักษาร่างกาย หากอาหารผลิตจากแหล่งโปรตีนคุณภาพต่ำหรือมีปริมาณโปรตีนต่ำ อาจทำให้แมวมีอาการอาหารไม่ย่อยและสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้

    วิธีคำนวณปริมาณโปรตีนในอาหารแมวแบบเปียก

    เนื่องจาก AAFCO กำหนดปริมาณโปรตีนในรูปแบบของวัตถุแห้ง ดังนั้นหากให้อาหารเปียกแก่ลูกแมวตัวน้อย คุณอาจต้องคำนวณปริมาณโปรตีนด้วยตนเอง โดยสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้

    ขั้นตอนที่ 1 – คำนวณหาปริมาณวัตถุแห้งของอาหารโดยหักลงจากปริมาณความชื้นสูงสุด(%) 

    ขั้นตอนที่ 2 – นำปริมาณโปรตีนดิบ(%) มาหารด้วยปริมาณวัตถุแห้งที่ได้

    ขั้นตอนที่ 3 – คูณผลลัพธ์ด้วย 100 เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนในรูปแบบร้อยละที่มีอยู่ในวัตถุแห้งของอาหาร

    ตัวอย่าง อาหารมีความชื้น 75% มีโปรตีนดิบ 12%

    1. 100 – 75(ความชื้น) = 25(ปริมาณวัตถุแห้งของอาหาร)
    2. 12(ปริมาณโปรตีนดิบ) / 25 = 0.48
    3. 0.48 x 100 = 48%