IAMS TH
Understanding Kitten Food Nutrition Labels
Understanding Kitten Food Nutrition Labels

adp_description_block106
ทำความเข้าใจกับฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์อาหารลูกแมว

  • แบ่งปัน

 

คุณกำลังสับสนกับชื่อวัตถุดิบในอาหารแมวอยู่หรือไม่ ไม่ต้องกังวลเพราะไม่ได้มีแค่คุณคนเดียว อาหารแมวที่ทำการตลาดโดยใช้ “วัตถุดิบเกรดอาหารคน” กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะดูเป็นที่สนใจของเจ้าของแมวอยู่สมพอควร แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าคำว่า “เกรดอาหารคน” ไม่ได้มีคำจำกัดความทางกฎหมายและมีจุดประสงค์หลักเพื่อการตลาดเท่านั้น

 

อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์โดยทั่วไปแล้วจะมีป้ายกำกับว่า “กินได้” หรือ “กินไม่ได้ ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของมนุษย์” เมื่ออาหารออกจากห่วงโซ่อาหารของมนุษย์แล้ว แม้ว่าอาหารนั้นจะมีคุณภาพดีแค่ไหนก็ตาม ก็จะต้องระบุว่า “กินไม่ได้ ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของมนุษย์” ดังนั้น เนื้อสัตว์ที่ใช้ในอาหารสัตว์เลี้ยงจะต้องระบุว่า “กินไม่ได้” โดยไม่ต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาหรือคุณภาพของเนื้อสัตว์ วิธีการเดียวในการทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงใช้ส่วนผสมที่ถือว่า 'กินได้' ก็คือ อย่าปล่อยให้เนื้อสัตว์ออกจากห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ และผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในโรงงานผลิตอาหารมนุษย์เท่านั้น รวมถึงต้องขนส่งโดยใช้รถบรรทุกอาหารของมนุษย์ด้วย ดังนั้น การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่มี 'ส่วนผสมเกรดเดียวกับมนุษย์' จึงไม่เป็นความจริง หากผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้ผลิตในโรงงานผลิตอาหารมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การที่อาหารสัตว์เลี้ยงไม่ได้ถูกวางตำแหน่งทางการตลาดว่าเป็น “เกรดสำหรับมนุษย์” ไม่ได้หมายความว่าส่วนผสมนั้นจะมีคุณภาพต่ำ

 

นี่เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณเข้าใจวัตถุดิบมากขึ้น

คุณไม่ควรใช้รายชื่อวัตถุดิบเพียงปัจจัยเดียว เพื่อตัดสินเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากรายชื่อของวัตถุดิบอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะบอกถึงคุณภาพของวัตถุดิบ หรือสารอาหารที่เพียงพอสำหรับสัตว์เลี้ยง

เจ้าของสัตว์เลี้ยงและสัตวแพทย์ควรให้ความสำคัญกับประกาศความเพียงพอด้านสารอาหารของ AAFCO และขั้นตอนควบคุมคุณภาพของผู้ผลิต แทนที่จะดูแค่วัตถุดิบเพียงอย่างเดียว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คุณสามารถดูโบรชัวร์ของสมาคมสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กสากล (World Small Animal Veterinary Association) หัวข้อ “วิธีเลือกอาหารที่เหมาะกับสัตว์เลี้ยงของคุณ” (“Selecting the Best Food for your Pet”) ได้ที่ www.wsava.org/nutrition-toolkit

รายชื่อวัตถุดิบมีการจัดทำขึ้นเพื่อดึงดูดผู้บริโภค รวมถึงลำดับของวัตถุดิบด้วย เช่น ใช้เนื้อแกะอยู่ในบรรทัดแรกของรายชื่อวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังมีการรายชื่อวัตถุดิบที่ดูเป็นที่ต้องการ แต่ในความเป็นจริงแล้ววัตถุดิบดังกล่าวผสมลงไปในปริมาณน้อยมากจนไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการเลย เช่น ใส่อาร์ทิโชกหรือราสป์เบอร์รี โดยใส่ไว้ถัดจากวิตามินและแร่ธาตุเสริม

ทั้งนี้การมีวัตถุดิบมากกว่าไม่ได้หมายความว่าคุณค่าทางสารอาหารจะเพิ่มขึ้น

 

  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    adp_description_block494
    การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและการดูแล

    • แบ่งปัน

    โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการถูกกัดและข่วนโดยสัตว์ที่ติดเชื้อ เนื่องจากไม่มียาในการรักษา ทางออกเดียวที่จะต่อสู้กับไวรัสร้ายแรงนี้คือการฉีดวัคซีนป้องกัน

     

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักสำหรับแมว มันช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่ก่อนจะพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีน เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดของโรคและวิธีป้องกันไปด้วยกันในบทความนี้
     

    โรคพิษสุนัขบ้าแพร่กระจายได้อย่างไร?

    โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ซึ่งติดต่อได้ทั้งในสัตว์และคน ไม่ใช่แค่สุนัขอย่างที่เข้าใจผิดกัน เชื้อชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลเปิด ผ่านเยื่อเมือกในตา ปาก และจมูก รวมถึงแพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อด้วย โดยแมวส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจใช้เวลานานถึงสองสามปีหลังได้รับเชื้อ
     

    เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรง พ่อแม่แมวจึงควรเรียนรู้สัญญาณเตือนและลักษณะอาการของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

    1. มีไข้

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. หายใจลำบาก

    5. น้ำลายไหลมาก

    6. กลืนลำบาก

    7. พฤติกรรมผิดปกติ

    การรักษาโรคพิษสุนัขบ้าอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มียารักษา การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าแมวของคุณจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้
     

    แมวที่เลี้ยงในบ้านจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่?

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมวทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพราะแมวมักจะเข้าสังคมด้วยการเลีย ดม หรือเกาตัวให้กัน แมวในบ้านจึงยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่ลูกแมวจะติดเชื้อ วัคซีนจะกระตุ้นการสร้างแอนติเจนในร่างกาย ทำให้แมวสามารถรับมือกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้
     

    แมวควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าบ่อยแค่ไหน?

    การฉีดวัคซีนจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ สายพันธุ์ และไลฟ์สไตล์ของลูกแมว รวมถึงประเภทของวัคซีนด้วย วัคซีนบางชนิดก็ต้องฉีดทุกปี บางชนิดอาจฉีดทุก ๆ 3 ปี โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนของแมวเพิ่มเติมได้

     

    แมวควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อใด?

    ลูกแมวควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรกเมื่อมีอายุ 12 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรก ต้องฉีดวัคซีนทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีน
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    หลังจากการฉีดวัคซีน น้องแมวอาจมีอาการผิดปกติเล็กน้อย โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้มีดังนี้

    1. มีไข้ต่ำ

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว พ่อแม่แมวควรพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนหลักอื่น ๆ ด้วย เช่น วัคซีนรวม F4 วัคซีนรวม FeVac 5 และวัคซีน FVRCP การฉีดวัคซีนควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้ลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี