IAMS TH
Our Favorite Tips to Train a Kitten
Our Favorite Tips to Train a Kitten

adp_description_block349
รวมเคล็ดลับฝึกลูกแมวให้เป็นเด็กดีและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม

  • แบ่งปัน

การรับลูกแมวตัวใหม่เข้าบ้านเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับเจ้าของทุกคน มีสิ่งสำคัญมากมายที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้เจ้าตัวน้อยทั้งหลายเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย และหนึ่งในนั้นคือการฝึกลูกแมวอย่างเหมาะสม ซึ่งจำเป็นต่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกายและทางพฤติกรรม โดยในช่วงวัยเจริญเติบโต สมองของลูกแมวเปรียบเสมือนฟองน้ำ พวกเค้าจะดูดซับข้อมูลและเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อรวมกับการดูแลเอาใจใส่ด้วยความรักจากเจ้าของ มั่นใจได้เลยว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะเติบโตเป็นสมาชิกในครอบครัวที่ปรับตัวได้ดี มีความสุข และมีสุขภาพดี โดยคุณสามารถติดตามทุกเรื่องน่ารู้และเคล็ดลับการฝึกลูกแมวได้จากบทความนี้ 

 

เคล็ดลับการฝึกลูกแมวให้ได้ผล

สำหรับทาสแมวมือใหม่ ต้องเข้าใจก่อนว่าการฝึกลูกแมวควรเป็นประสบการณ์ที่สนุกและเป็นการส่งเสริมในเชิงบวก คุณสามารถสอนลูกแมวได้ทุกอย่างตั้งแต่คำสั่งพื้นฐานไปจนถึงการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม เพียงแต่ต้องใช้ความอดทนและการฝึกอย่างสม่ำเสมอ หรือจะลองใช้เคล็ดลับง่าย ๆ ต่อไปนี้ด้วยก็ได้เช่นกัน

 

  1. ฝึกสอนคำสั่งที่สำคัญ

    การฝึกลูกแมวให้นั่งควรเป็นขั้นตอนแรกในการฝึก เริ่มด้วยการถือขนมไว้หน้าจมูกลูกแมว จากนั้นค่อย ๆ เลื่อนขึ้นไปเหนือหัว  เพื่อให้ลูกแมวเงยหน้าขึ้นมองตามขนม ซึ่งก้นของพวกเค้าจะค่อย ๆ ย่อลงกับพื้นตามธรรมชาติ ทันทีที่พวกเค้านั่งลง ให้พูดคำสั่งว่า 'นั่ง' แล้วค่อยยื่นขนมให้พวกเค้าเป็นลำดับต่อไป ทำขั้นตอนนี้ซ้ำหลาย ๆ ครั้งจนกว่าพวกเค้าจะเข้าใจคำสั่ง
     

  2. จัดเตรียมพื้นที่ส่วนตัว

    การจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัยและสะดวกสบายให้กับเจ้าตัวน้อยเป็นสิ่งสำคัญ คุณอาจจะเตรียมกล่องลังหรือกรงไว้ให้พวกเค้าภายในบ้าน สำหรับการฝึกให้อยู่ในกรง ให้วางผ้าห่มนุ่ม ๆ และของเล่นไว้ข้างใน จากนั้นปล่อยให้ลูกแมวสำรวจรอบ ๆ ด้วยตัวเอง เมื่อพวกเค้าเข้าไปข้างในกรงก็ให้รางวัลเป็นขนมหรือคำชม คุณสามารถปิดประตูเป็นช่วงสั้น ๆ และค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาในการฝึกครั้งต่อ ๆ ไป
     

  3. เปิดโอกาสให้สำรวจโลกรอบ ๆ ตัว

    การเข้าสังคมเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของการฝึกลูกแมว เริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ลูกแมวรู้จักกับเพื่อน คนในครอบครัว และสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้าน อาจจะพาเจ้าตัวน้อยเหล่านี้นั่งรถเล่นในระยะทางสั้น ๆ เพื่อให้สัมผัสบรรยากาศรอบ ๆ ตัว ทั้งภาพ เสียง และกลิ่น ยิ่งได้สัมผัสกับผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากเท่าไร พวกเค้าก็จะยิ่งมีความมั่นใจและปรับตัวได้ดีเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
     

  4. ช่วงเวลาเล่นสนุกสำคัญที่สุด

    การฝึกลูกแมวให้เล่นเป็นวิธีที่ดีในการกระตุ้นพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ เริ่มต้นด้วยการแนะนำเจ้าลูกเหมียวให้รู้จักกับของเล่นชนิดต่าง ๆ และคอยสังเกตว่าของเล่นชิ้นไหนที่พวกเค้าสนใจมากที่สุด เมื่อเจ้าตัวน้อยเริ่มสนุกแล้ว คุณอาจชวนพวกเค้าเล่นเกมสนุก ๆ เช่น คาบของ ตะครุบเหยื่อ และชักเย่อ
     

  5. ฝึกใช้กระบะทราย

    เจ้าของควรเริ่มฝึกให้พวกเค้าใช้กระบะทรายตั้งแต่ยังเด็ก โดยวางลูกแมวไว้ในกระบะทรายทุกครั้งหลังมื้ออาหารและหลังการงีบหลับ เมื่อพวกเค้าใช้กระบะทราย ก็ให้รางวัลเป็นขนมหรือคำชมเชย ทั้งนี้ควรวางกระบะทรายไว้ในมุมที่สงบและเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงต้องทำความสะอาดกระบะทรายเป็นประจำด้วย
     

  6. ปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม

    พฤติกรรมการกินอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีของเจ้าเหมียว จึงควรฝึกให้พวกเค้ามีพฤติกรรมที่เหมาะสม เริ่มต้นด้วยการสอนให้พวกเค้ากินอาหารจากชามและดัดนิสัยชอบขอของกิน นอกจากนี้ควรให้อาหารลูกแมวเป็นเวลาและกำหนดปริมาณตามคำแนะนำ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
     

  7. ฝึกให้จำชื่อตัวเอ

    เป็นการฝึกที่สำคัญและมีประโยชน์ไม่น้อยเลย โดยคุณอาจเริ่มต้นด้วยการเรียกชื่อเจ้าตัวน้อยของคุณ จากนั้นให้รางวัลหรือชมเชยเมื่อพวกเค้าตอบสนองต่อการเรียก โดยแนะนำให้ฝึกเรียกชื่อพวกเค้าบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกลูกแมวเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความอดทนและความสม่ำเสมอ เจ้าเหมียวอาจใช้เวลาสักพักในการเรียนรู้คำสั่งหรือทักษะต่าง ๆ ทั้งนี้เจ้าของควรเลือกฝึกในเชิงบวกและต้องทำให้การฝึกเป็นเรื่องสนุก! อย่าลืมมอบความรัก พูดชมเชย และให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัลตลอดการฝึกด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝึกลูกแมว

  1. ลูกแมวฝึกยากหรือไม่?  
  2. แม้ว่าเราควรฝึกทักษะและการเข้าสังคมให้เจ้าเหมียวตั้งแต่ยังเด็ก แต่ลูกแมวอาจติดนิสัยชอบเล่นและว่อกแว่กง่ายจนทำให้ฝึกยากกว่าแมวโต อีกทั้งสมองยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงอาจไม่เข้าใจคำสั่งได้อย่างครบถ้วน แต่ด้วยความอดทนและความสม่ำเสมอ เจ้าตัวน้อยของคุณจะเรียนรู้คำสั่งและทักษะพื้นฐานได้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกใช้กระบะทรายหรือการตอบสนองเมื่อถูกเรียก

     

  3. ควรเริ่มฝึกลูกแมวตั้งแต่อายุเท่าไหร่?  
  4. ช่วงอายุที่ดีที่สุดในการเริ่มฝึกลูกแมวคือ 8 – 12 สัปดาห์ ในช่วงวัยนี้ ลูกแมวจะเปิดรับการเรียนรู้มากขึ้นและมีโอกาสน้อยที่จะติดนิสัยที่ไม่ดี สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับสัตวแพทย์ก่อนเริ่มการฝึก เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวมีสุขภาพแข็งแรงและพร้อมสำหรับการฝึก

     

  5. เราสามารถสานสัมพันธ์กับลูกแมวด้วยวิธีใดได้บ้าง?
  6. เพื่อสร้างความผูกพันกับลูกแมว คุณอาจใช้เวลาร่วมกับพวกเค้าให้มากขึ้น พยายามทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยกันเป็นประจำ เช่น การเล่น การดูแล และการกอด นอกจากนี้การจัดตารางกิจวัตรประจำวัน การฝึกเข้าสังคม การฝึกทักษะพื้นฐาน และการตรวจสุขภาพเป็นประจำก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการสานสัมพันธ์ที่ดีกับลูกแมวของคุณเช่นกัน

     

  7. จะบอกลูกแมวว่า “ไม่” ได้อย่างไร?  
  8. ในการบอกปฏิเสธลูกแมวหรือพูดคำว่า "ไม่" ให้ใช้น้ำเสียงที่หนักแน่นแต่ต้องไม่รุนแรง จากนั้นจึงค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมที่ไม่น่ารักของพวกเค้าด้วยการฝึกอย่างสม่ำเสมอและส่งเสริมในเชิงบวก เพื่อให้ลูกแมวเข้าใจว่าพฤติกรรมไหนดีและแบบไหนที่ไม่ดี ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

     

  9. การฝึกลูกแมวใช้เวลานานแค่ไหน?  
  10. โดยทั่วไปจะใช้เวลาหลายเดือนในการฝึกลูกแมว ความสม่ำเสมอและความอดทนเป็นกุญแจสำคัญ เนื่องจากลูกแมวมีสมาธิสั้นและอาจไม่เข้าใจคำสั่งทั้งหมดจนกว่าพวกเค้าจะมีอายุประมาณ 6 เดือน แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้ฝึกสอนมืออาชีพ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณใช้เทคนิคการฝึกที่ถูกต้องและเหมาะสม

     

  • kitten constipation image
    kitten constipation image
    adp_description_block64
    เมื่อลูกแมวท้องผูก วิธีแก้และการดูแลอย่างถูกต้อง

    • แบ่งปัน

    ลูกแมวมักจะเต็มไปด้วยพลังและความสดใส ทำให้บ้านของคุณเต็มไปด้วยความสุขและความสนุก อย่างไรก็ตาม เจ้าตัวเล็กเหล่านี้ก็อาจมีวันที่ไม่ดีได้เช่นกัน คุณอาจพบว่าพวกเค้าดูไม่สบายตัว กินอะไรแทบไม่ได้เลย และขับถ่ายไม่ออก เป็นไปได้ว่าพวกเค้าอาจมีอาการท้องผูก
     

    อาการท้องผูกในลูกแมว คืออะไร?

     

    อาการท้องผูกเป็นภาวะที่ทำให้ขับถ่ายลำบาก ขับถ่ายน้อยกว่าปกติ ในบางกรณี อาการไม่สบายนี้อาจรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ยิ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานกว่า 48 ชั่วโมง
     

    ลูกแมวท้องผูก มีอาการอย่างไรบ้าง?

     

    ลูกแมวแต่ละตัวจะแสดงอาการแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปมักจะมีอาการดังนี้
     

    1. ขับถ่ายน้อยหรือไม่ขับถ่ายเลย – หากลูกแมวของคุณไม่ขับถ่ายเป็นเวลา 24 – 48 ชั่วโมง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการท้องผูก

    2. ขับถ่ายลำบาก – ลูกแมวอาจใช้กระบะทรายนานผิดปกติ อาจเดินวนไปวนมาไม่ยอมขับถ่ายสักที หรือถ่ายออกมาเป็นอุจจาระก้อนเล็กและแข็ง

    3. เบื่ออาหาร – ลูกแมวที่มีอาการท้องผูกมักจะกินอาหารน้อยลง

    4. เซื่องซึม – จากที่ชอบเล่นและสำรวจ ลูกแมวกลับนอนมากขึ้นและดูไม่ค่อยสนใจทำกิจกรรมต่าง ๆ

    5. ท้องอืดหรืออาเจียน – หากลูกแมวอาเจียนหรือท้องดูป่อง อาจเป็นเพราะท้องผูก
       

    สาเหตุของอาการท้องผูกในแมว

     

    อาการท้องผูกเกิดจากหลายปัจจัย เช่น
     

    1. ภาวะขาดน้ำ – หากได้รับน้ำไม่เพียงพอ ลูกแมวก็อาจมีอาการท้องผูกได้

    2. กลืนสิ่งของที่ไม่สามารถย่อยได้ – ลูกแมวสำรวจสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวด้วยการดมกลิ่นและการกัดแทะ พวกเค้าอาจเผลอกลืนสิ่งของต่าง ๆ ลงไป เช่น ริบบิ้นหรือยางรัดผม สิ่งเหล่านี้อาจไปอุดตันในทางเดินอาหารได้

    3. ขาดการกระตุ้น – ลูกแมวที่ยังไม่หย่านมจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นขับถ่าย ไม่เช่นนั้น พวกเค้าอาจมีอาการท้องผูก

    4. พยาธิในลำไส้ – การติดเชื้อพยาธิหรือปรสิตอย่างหนักในลำไส้อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้

    5. โรคทางระบบประสาทหรือปัญหาอื่น ๆ – ภาวะทางระบบประสาทหรือโรคบางอย่างที่ส่งผลต่อส่วนหลังของลำตัวอาจทำให้ลูกแมวมีอาการท้องผูกได้

     

    หลังทราบสาเหตุและอาการเบื้องต้นกันไปแล้ว เรามาเจาะลึกถึงวิธีดูแลรักษาอาการท้องผูกในแมวกันบ้าง
     

    การรักษาอาการท้องผูกในแมว

     

    ในกรณีที่ลูกแมวกินอาหารได้ตามปกติและยังคงกระฉับกระเฉง เราสามารถบรรเทาอาการไม่สบายได้ด้วยตนเองที่บ้าน แต่หากลูกแมวมีอาการท้องผูกอย่างต่อเนื่อง หรือกระตือรือร้นน้อยลงและไม่ยอมกินอาหาร ควรพาไปพบสัตวแพทย์
     

    โดยคุณหมออาจรักษาด้วยการให้สารน้ำบำบัด การสวนทวาร หรืออาจต้องเอกซเรย์เพื่อตรวจหาการอุดตัน และในกรณีที่ร้ายแรง คุณหมออาจต้องผ่าตัดนำอุจจาระที่อุดตันออก

     

    การดูแลเยียวยาอาการท้องผูกในลูกแมวที่บ้าน

     

    สุขภาพและความเป็นอยู่ของลูกแมวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เลี้ยงทุกคน หากสังเกตเห็นสัญญาณเริ่มแรกของอาการท้องผูก คุณสามารถดูแลพวกเค้าด้วยวิธีเหล่านี้ก่อนไปพบสัตวแพทย์ได้

     

    1. ให้ลูกแมวกินน้ำมากขึ้น – การให้น้ำเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันอาการท้องผูก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเตรียมน้ำสะอาดเพียงพอ วางชามน้ำในจุดที่เข้าถึงง่าย หากลูกแมวชอบอาหารเม็ดให้ลองผสมน้ำอุ่นเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำที่ลูกแมวควรจะได้รับ

    2. เพิ่มไฟเบอร์ในอาหาร – ไฟเบอร์แค่เพียงเล็กน้อยก็สามารถบรรเทาอาการท้องผูกได้อย่างมหัศจรรย์ คุณอาจเติมฟักทองหนึ่งช้อนลงในอาหารของเจ้าตัวน้อย หรือเลือกให้อาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแม่และลูกแมว ที่มีพรีไบโอติกจากธรรมชาติ (FOS) ช่วยเสริมการทำงานของลำไส้และระบบย่อยอาหาร

    3. กระตุ้นให้แมวเคลื่อนไหวร่างกาย – การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ชวนลูกแมวของคุณทำกิจกรรมที่สนุกสนานและได้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ

    4. หมั่นสังเกตพฤติกรรมลูกแมว – สังเกตพฤติกรรมของลูกแมวอย่างใกล้ชิด หากอาการแย่ลงหรือคงอยู่นานกว่าหนึ่งวัน ถึงเวลาต้องพบสัตวแพทย์แล้ว

     

    การฟื้นฟูและการจัดการกับอาการท้องผูกในแมว

     

    เมื่อกำจัดสิ่งที่อุดตันออกไปแล้ว ลูกแมวมักจะฟื้นตัวจากอาการท้องผูกได้อย่างรวดเร็ว แต่เราก็ยังคงต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ รวมถึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ทั้งการให้ยาตามที่กำหนด การถ่ายพยาธิและตรวจอุจจาระเป็นประจำ การทำความเข้าใจอาการท้องผูกช่วยให้ลูกแมวของคุณมีความสุข มีสุขภาพดี และพร้อมที่จะสำรวจโลกที่น่าตื่นเต้นได้อย่างเต็มที่
     

    ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และการเยียวยาอาการท้องผูกอย่างเหมาะสม ลูกแมวของคุณจะกลับมากระตือรือร้นและมีพลังได้ในเวลาไม่นาน หากคุณไม่แน่ใจหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ อย่าลังเลที่จะปรึกษาสัตวแพทย์

Close modal