IAMS TH
Our Favorite Tips to Train a Kitten
Our Favorite Tips to Train a Kitten

adp_description_block429
รวมเคล็ดลับฝึกลูกแมวให้เป็นเด็กดีและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม

  • แบ่งปัน

การรับลูกแมวตัวใหม่เข้าบ้านเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับเจ้าของทุกคน มีสิ่งสำคัญมากมายที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้เจ้าตัวน้อยทั้งหลายเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย และหนึ่งในนั้นคือการฝึกลูกแมวอย่างเหมาะสม ซึ่งจำเป็นต่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกายและทางพฤติกรรม โดยในช่วงวัยเจริญเติบโต สมองของลูกแมวเปรียบเสมือนฟองน้ำ พวกเค้าจะดูดซับข้อมูลและเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อรวมกับการดูแลเอาใจใส่ด้วยความรักจากเจ้าของ มั่นใจได้เลยว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะเติบโตเป็นสมาชิกในครอบครัวที่ปรับตัวได้ดี มีความสุข และมีสุขภาพดี โดยคุณสามารถติดตามทุกเรื่องน่ารู้และเคล็ดลับการฝึกลูกแมวได้จากบทความนี้ 

 

เคล็ดลับการฝึกลูกแมวให้ได้ผล

สำหรับทาสแมวมือใหม่ ต้องเข้าใจก่อนว่าการฝึกลูกแมวควรเป็นประสบการณ์ที่สนุกและเป็นการส่งเสริมในเชิงบวก คุณสามารถสอนลูกแมวได้ทุกอย่างตั้งแต่คำสั่งพื้นฐานไปจนถึงการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม เพียงแต่ต้องใช้ความอดทนและการฝึกอย่างสม่ำเสมอ หรือจะลองใช้เคล็ดลับง่าย ๆ ต่อไปนี้ด้วยก็ได้เช่นกัน

 

  1. ฝึกสอนคำสั่งที่สำคัญ

    การฝึกลูกแมวให้นั่งควรเป็นขั้นตอนแรกในการฝึก เริ่มด้วยการถือขนมไว้หน้าจมูกลูกแมว จากนั้นค่อย ๆ เลื่อนขึ้นไปเหนือหัว  เพื่อให้ลูกแมวเงยหน้าขึ้นมองตามขนม ซึ่งก้นของพวกเค้าจะค่อย ๆ ย่อลงกับพื้นตามธรรมชาติ ทันทีที่พวกเค้านั่งลง ให้พูดคำสั่งว่า 'นั่ง' แล้วค่อยยื่นขนมให้พวกเค้าเป็นลำดับต่อไป ทำขั้นตอนนี้ซ้ำหลาย ๆ ครั้งจนกว่าพวกเค้าจะเข้าใจคำสั่ง
     

  2. จัดเตรียมพื้นที่ส่วนตัว

    การจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัยและสะดวกสบายให้กับเจ้าตัวน้อยเป็นสิ่งสำคัญ คุณอาจจะเตรียมกล่องลังหรือกรงไว้ให้พวกเค้าภายในบ้าน สำหรับการฝึกให้อยู่ในกรง ให้วางผ้าห่มนุ่ม ๆ และของเล่นไว้ข้างใน จากนั้นปล่อยให้ลูกแมวสำรวจรอบ ๆ ด้วยตัวเอง เมื่อพวกเค้าเข้าไปข้างในกรงก็ให้รางวัลเป็นขนมหรือคำชม คุณสามารถปิดประตูเป็นช่วงสั้น ๆ และค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาในการฝึกครั้งต่อ ๆ ไป
     

  3. เปิดโอกาสให้สำรวจโลกรอบ ๆ ตัว

    การเข้าสังคมเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของการฝึกลูกแมว เริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ลูกแมวรู้จักกับเพื่อน คนในครอบครัว และสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้าน อาจจะพาเจ้าตัวน้อยเหล่านี้นั่งรถเล่นในระยะทางสั้น ๆ เพื่อให้สัมผัสบรรยากาศรอบ ๆ ตัว ทั้งภาพ เสียง และกลิ่น ยิ่งได้สัมผัสกับผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากเท่าไร พวกเค้าก็จะยิ่งมีความมั่นใจและปรับตัวได้ดีเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
     

  4. ช่วงเวลาเล่นสนุกสำคัญที่สุด

    การฝึกลูกแมวให้เล่นเป็นวิธีที่ดีในการกระตุ้นพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ เริ่มต้นด้วยการแนะนำเจ้าลูกเหมียวให้รู้จักกับของเล่นชนิดต่าง ๆ และคอยสังเกตว่าของเล่นชิ้นไหนที่พวกเค้าสนใจมากที่สุด เมื่อเจ้าตัวน้อยเริ่มสนุกแล้ว คุณอาจชวนพวกเค้าเล่นเกมสนุก ๆ เช่น คาบของ ตะครุบเหยื่อ และชักเย่อ
     

  5. ฝึกใช้กระบะทราย

    เจ้าของควรเริ่มฝึกให้พวกเค้าใช้กระบะทรายตั้งแต่ยังเด็ก โดยวางลูกแมวไว้ในกระบะทรายทุกครั้งหลังมื้ออาหารและหลังการงีบหลับ เมื่อพวกเค้าใช้กระบะทราย ก็ให้รางวัลเป็นขนมหรือคำชมเชย ทั้งนี้ควรวางกระบะทรายไว้ในมุมที่สงบและเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงต้องทำความสะอาดกระบะทรายเป็นประจำด้วย
     

  6. ปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม

    พฤติกรรมการกินอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีของเจ้าเหมียว จึงควรฝึกให้พวกเค้ามีพฤติกรรมที่เหมาะสม เริ่มต้นด้วยการสอนให้พวกเค้ากินอาหารจากชามและดัดนิสัยชอบขอของกิน นอกจากนี้ควรให้อาหารลูกแมวเป็นเวลาและกำหนดปริมาณตามคำแนะนำ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
     

  7. ฝึกให้จำชื่อตัวเอ

    เป็นการฝึกที่สำคัญและมีประโยชน์ไม่น้อยเลย โดยคุณอาจเริ่มต้นด้วยการเรียกชื่อเจ้าตัวน้อยของคุณ จากนั้นให้รางวัลหรือชมเชยเมื่อพวกเค้าตอบสนองต่อการเรียก โดยแนะนำให้ฝึกเรียกชื่อพวกเค้าบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกลูกแมวเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความอดทนและความสม่ำเสมอ เจ้าเหมียวอาจใช้เวลาสักพักในการเรียนรู้คำสั่งหรือทักษะต่าง ๆ ทั้งนี้เจ้าของควรเลือกฝึกในเชิงบวกและต้องทำให้การฝึกเป็นเรื่องสนุก! อย่าลืมมอบความรัก พูดชมเชย และให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัลตลอดการฝึกด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝึกลูกแมว

  1. ลูกแมวฝึกยากหรือไม่?  
  2. แม้ว่าเราควรฝึกทักษะและการเข้าสังคมให้เจ้าเหมียวตั้งแต่ยังเด็ก แต่ลูกแมวอาจติดนิสัยชอบเล่นและว่อกแว่กง่ายจนทำให้ฝึกยากกว่าแมวโต อีกทั้งสมองยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงอาจไม่เข้าใจคำสั่งได้อย่างครบถ้วน แต่ด้วยความอดทนและความสม่ำเสมอ เจ้าตัวน้อยของคุณจะเรียนรู้คำสั่งและทักษะพื้นฐานได้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกใช้กระบะทรายหรือการตอบสนองเมื่อถูกเรียก

     

  3. ควรเริ่มฝึกลูกแมวตั้งแต่อายุเท่าไหร่?  
  4. ช่วงอายุที่ดีที่สุดในการเริ่มฝึกลูกแมวคือ 8 – 12 สัปดาห์ ในช่วงวัยนี้ ลูกแมวจะเปิดรับการเรียนรู้มากขึ้นและมีโอกาสน้อยที่จะติดนิสัยที่ไม่ดี สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับสัตวแพทย์ก่อนเริ่มการฝึก เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวมีสุขภาพแข็งแรงและพร้อมสำหรับการฝึก

     

  5. เราสามารถสานสัมพันธ์กับลูกแมวด้วยวิธีใดได้บ้าง?
  6. เพื่อสร้างความผูกพันกับลูกแมว คุณอาจใช้เวลาร่วมกับพวกเค้าให้มากขึ้น พยายามทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยกันเป็นประจำ เช่น การเล่น การดูแล และการกอด นอกจากนี้การจัดตารางกิจวัตรประจำวัน การฝึกเข้าสังคม การฝึกทักษะพื้นฐาน และการตรวจสุขภาพเป็นประจำก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการสานสัมพันธ์ที่ดีกับลูกแมวของคุณเช่นกัน

     

  7. จะบอกลูกแมวว่า “ไม่” ได้อย่างไร?  
  8. ในการบอกปฏิเสธลูกแมวหรือพูดคำว่า "ไม่" ให้ใช้น้ำเสียงที่หนักแน่นแต่ต้องไม่รุนแรง จากนั้นจึงค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมที่ไม่น่ารักของพวกเค้าด้วยการฝึกอย่างสม่ำเสมอและส่งเสริมในเชิงบวก เพื่อให้ลูกแมวเข้าใจว่าพฤติกรรมไหนดีและแบบไหนที่ไม่ดี ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

     

  9. การฝึกลูกแมวใช้เวลานานแค่ไหน?  
  10. โดยทั่วไปจะใช้เวลาหลายเดือนในการฝึกลูกแมว ความสม่ำเสมอและความอดทนเป็นกุญแจสำคัญ เนื่องจากลูกแมวมีสมาธิสั้นและอาจไม่เข้าใจคำสั่งทั้งหมดจนกว่าพวกเค้าจะมีอายุประมาณ 6 เดือน แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้ฝึกสอนมืออาชีพ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณใช้เทคนิคการฝึกที่ถูกต้องและเหมาะสม

     

  • ทำไมไฟเบอร์จึงมีบทบาทสำคัญในอาหารแมว?
    ทำไมไฟเบอร์จึงมีบทบาทสำคัญในอาหารแมว?
    adp_description_block449
    ประโยชน์ของอาหารแมวไฟเบอร์สูง

    • แบ่งปัน

    ไฟเบอร์นับเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของอาหารแมว มีทั้งหมด 2 ชนิด หนึ่งคือไฟเบอร์ละลายน้ำได้ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด สองคือไฟเบอร์ไม่ละลายน้ำ จะเพิ่มกากใยในลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายง่าย รวมถึงก่อให้เกิดกรดไขมันสายสั้น (SCFA) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์และช่วยเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีในลำไส้ ไฟเบอร์ในอาหารแมวยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี ทำให้อิ่มท้องนาน ป้องกันการกินอาหารมากเกินไป
     

    แม้ไฟเบอร์จะมีประโยชน์มากมาย แต่ถ้าได้รับมากเกินความต้องการ อาจขัดขวางการดูดซึมสารอาหารบางชนิดได้ ดังนั้นควรตรวจสอบและกำหนดปริมาณของไฟเบอร์ให้เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบย่อยอาหาร ซึ่งมีส่วนช่วยให้แมวอายุยืนยาว มีชีวิตชีวา และมีความเป็นอยู่ที่ดี
     

    สิ่งที่ดีสำหรับคุณอาจไม่ดีสำหรับแมวของคุณ

    ทุกวันนี้ ผู้คนต่างตระหนักถึงประโยชน์และบทบาทของไฟเบอร์มากขึ้น หลายคนปรับเปลี่ยนวิธีการเลือกอาหารของตัวเองและสัตว์เลี้ยง แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่ดี แต่ผู้ผลิตบางรายกลับคิดค้นอาหารแมวที่มีไฟเบอร์สูงตามหลักโภชนาการของคน ซึ่งอาจไม่เหมาะกับสุขภาพของแมว เนื่องจากแมวมีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างจากเรา พวกเค้าเป็นสัตว์กินเนื้อ จึงต้องการสารอาหารจากเนื้อสัตว์มากกว่าพืช อีกทั้งยังมีระบบทางเดินอาหารสั้นกว่าเรามาก นี่เป็นเหตุผลที่นักโภชนาการสัตว์เลี้ยงของไอแอมส์ทุ่มเทศึกษานานกว่า 60 ปี เพื่อคิดค้นอาหารที่ตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของแมวโดยเฉพาะ
     

    ไมโครไบโอมในแมวคืออะไร?

    ไมโครไบโอมคือชุมชนของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ไมโครไบโอมส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของแมว มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร สนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และยังส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมด้วย การรักษาความสมดุลภายในไมโครไบโอมจึงถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นอยู่โดยรวมของแมว
     

    การตอบสนองของไมโครไบโอมในลำไส้ต่ออาหารที่มีไฟเบอร์

    เมื่อพูดถึงโภชนาการและสุขภาพลำไส้ของแมว ไฟเบอร์ส่งผลอย่างมากต่อการรักษาและเปลี่ยนแปลงความสมดุลของไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหาร โดยก่อให้เกิดการตอบสนองและผลลัพธ์ดังนี้
     

    การตอบสนองแบบไดนามิก –

    เมื่อแมวกินอาหารที่มีไฟเบอร์เข้าไป ไมโครไบโอมในลำไส้จะปรับตัวให้เข้ากับการทะลักเข้ามาของไฟเบอร์ที่ย่อยไม่ได้
     

    แบคทีเรียพรีไบโอติก –

    ไฟเบอร์บางชนิดก็ทำหน้าที่เป็นพรีไบโอติก ส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ เช่น บิฟิโดแบคทีเรียมและแลคโตบาซิลลัส ซึ่งจำเป็นต่อสุขภาพของลำไส้
     

    ผลิตกรดไขมันสายสั้น –

    การหมักไฟเบอร์ด้วยแบคทีเรียในลำไส้ส่งผลให้เกิดการผลิตกรดไขมันสายสั้น (SCFA) รวมถึงอะซิเตท โพรพิโอเนต และบิวทิเรต
     

    บำรุงเซลล์ในลำไส้ –

    กรดไขมันสายสั้นมีบทบาทสำคัญในการบำรุงเซลล์เยื่อบุลำไส้ มีส่วนช่วยให้เยื่อเมือกสมบูรณ์ เสริมการดูดซึมสารอาหารและการทำงานของลำไส้โดยรวม
     

    ควบคุมความเป็นกรด-ด่าง (pH) –

    การหมักย่อยของไฟเบอร์ก่อให้เกิดแก๊สและผลพลอยได้อื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อระดับ pH ในลำไส้ ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่สนับสนุนการเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นอันตราย
     

    ปริมาณไฟเบอร์และการหมักย่อย

    จากการวิจัยของไอแอมส์ เราพบว่าปริมาณไฟเบอร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแมวจะอยู่ในช่วง 1.4 – 3.5% เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อการสลายตัวของสารอาหาร แต่ในบางกรณี เช่น แมวมีปัญหาก้อนขนอุดตัน อาหารที่มีไฟเบอร์สูงกว่านี้อาจเป็นประโยชน์
     

    ลักษณะเด่นของไฟเบอร์คือความสามารถในการหมักย่อยหรือความสามารถในการย่อยสลายโดยแบคทีเรียในลำไส้ได้เป็นอย่างดี การย่อยสลายนี้ทำให้เกิดกรดไขมันสายสั้นซึ่งเป็นแหล่งพลังงานแก่ลำไส้ ไฟเบอร์แตกต่างกันไปตามความสามารถในการหมักย่อย แหล่งไฟเบอร์ที่ใช้ในอาหารสัตว์เลี้ยงได้แก่ เซลลูโลส ซึ่งหมักย่อยได้ไม่ค่อยดี บีทพัลพ์หมักย่อยได้ในระดับปานกลาง ส่วนยางไม้และเพกทินหมักย่อยได้ดีมาก อย่างไรก็ตาม การวิจัยแสดงให้เห็นว่าไฟเบอร์ที่หมักย่อยได้ในระดับปานกลางนั้น มีประโยชน์และให้พลังงานได้มากโดยไม่มีผลกระทบ เช่น อุจจาระมากไปหรือมีแก๊สในทางเดินอาหารมากเกินไป มันจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
     

    ข้อดีของอาหารแมวไฟเบอร์สูง

    การเพิ่มไฟเบอร์เข้าไปในอาหารแมวมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่โดยรวมของแมว โดยข้อดีของอาหารแมวที่มีไฟเบอร์สูงมีดังนี้
     

    เสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร –

    ไฟเบอร์มีส่วนช่วยเสริมการย่อยอาหารและเพิ่มกากใย ทำให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายง่าย และลดอาการท้องผูก
     

    ช่วยควบคุมน้ำหนัก –

    ไฟเบอร์ในอาหารจะทำให้แมวรู้สึกอิ่มท้องนานขึ้น ป้องกันการกินอาหารมากเกินพอดี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมน้ำหนัก
     

    ลดปัญหาก้อนขนอุดตัน –

    ปริมาณไฟเบอร์ที่เพิ่มขึ้นช่วยควบคุมและลดก้อนขนที่อุดตันอยู่ในระบบทางเดินอาหาร โดยกากใยจะช่วยจับเส้นขนรวมกันเป็นก้อน ทำให้เคลื่อนผ่านทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น 
     

    ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด –

    อาหารแมวไฟเบอร์สูงมีบทบาทสำคัญในการจัดการโรคเบาหวานในแมว กากใยที่เพิ่มขึ้นช่วยให้การย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตช้าลง ส่งผลให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
     

    ลดไขมันในเลือด –

    ไฟเบอร์ละลายน้ำได้มีคุณสมบัติในการลดไขมันในเลือดหรือคอเลสเตอรอล ด้วยการจับกับโมเลกุลของคอเลสเตอรอลและส่งเสริมการขับถ่าย
     

    ตัวเลือกของแมวที่มีอาการป่วยเฉพาะ –

    อาหารแมวไฟเบอร์สูงเหมาะสำหรับแมวที่เป็นโรคอ้วน เบาหวาน หรือมีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากช่วยน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
     

    ข้อเสียของอาหารแมวไฟเบอร์ต่ำ

    ในบางกรณี อาจมีการแนะนำให้เลือกอาหารแมวที่มีไฟเบอร์ต่ำ แต่คุณก็ต้องพิจารณาข้อเสียที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแมวด้วย
     

    ความเสี่ยงต่ออาการท้องผูก –

    อาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาท้องผูกในแมวได้ เนื่องจากขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้อาการท้องผูกอาจส่งผลให้แมวรู้สึกไม่สบายและเกิดอาการแทรกซ้อนได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
     

    ประสิทธิภาพการย่อยอาหารลดลง –

    อาหารแมวไฟเบอร์ต่ำอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร ทำให้ดูดซึมสารอาหารที่ไม่เพียงพอ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ของแมว
     

    ความเสี่ยงต่อโรคอ้วน –

    แม้ว่าอาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ แต่หากไม่ดูแลอย่างระมัดระวัง เจ้าเหมียวอาจกินอาหารมากขึ้นเพื่อชดเชยปริมาณแคลอรีที่ลดลง
     

    ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ –

    การกินอาหารไฟเบอร์ต่ำอย่างต่อเนื่องอาจทำให้แมวได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลทางโภชนาการและปัญหาด้านสุขภาพ
     

    การตระหนักถึงข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจและเลือกอาหารแมวได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวมของแมว
     

    ไฟเบอร์ในอาหารแมวไอแอมส์™

    ในการเลือกอาหารสัตว์เลี้ยง ไฟเบอร์ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่พ่อแม่แมวทุกคนต้องพิจารณา แนะนำให้เลือกอาหารที่มีปริมาณไฟเบอร์เหมาะสม มีแหล่งที่มาจากบีทพัลพ์ เพราะมีประโยชน์และให้พลังงานได้ดีโดยไม่ส่งผลกระทบด้านลบ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารแมวที่มีไฟเบอร์ต่ำ เพราะอาจทำให้แมวได้รับแคลอรีน้อยลงและขาดสารอาหารที่ต้องการ
     

    ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงทั้งหมดของไอแอมส์™ เช่น ไอแอมส์ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแมวโตเต็มวัย มีส่วนผสมของบีทพัลพ์ซึ่งหมักย่อยได้ในระดับปานกลาง ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีของลำไส้ เป็นสูตรเฉพาะของไอแอมส์™ และได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาหมายเลข 5,616,569 สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงที่มีไฟเบอร์ที่หมักย่อยได้และใช้ในกระบวนการรักษาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
     

    การควบคุมปริมาณไฟเบอร์ในอาหารแมวไอแอมส์™

    การดูแลและกำหนดปริมาณไฟเบอร์ให้เพียงพอต่อความต้องการของแมวถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยคุณสามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้ได้
     

    อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ –

    บนบรรจุภัณฑ์ของอาหารแมวไอแอมส์™ มีการระบุข้อมูลทางโภชนาการโดยละเอียด คุณสามารถตรวจสอบปริมาณไฟเบอร์ที่แนะนำและเพียงพอต่อความต้องการของแมวในแต่ละวันได้
     

    เลือกสูตรอาหารที่เหมาะสม –

    อาหารแมวไอแอมส์™ มีให้เลือกหลากหลายประเภท รวมถึงสูตรที่ออกแบบมาเพื่อความต้องการเฉพาะ เช่น การควบคุมน้ำหนัก การจัดการปัญหาก้อนขน และการดูแลสุขภาพทางเดินอาหาร 
     

    เปลี่ยนอาหารแบบค่อยเป็นค่อยไป –

    หากคุณอยากเปลี่ยนมาให้อาหารแมวไอแอมส์™ สูตรใหม่ แนะนำให้เปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ระบบย่อยอาหารของแมวปรับตัว
     

    ปรึกษาสัตวแพทย์ –

    แมวแต่ละตัวมีความต้องการและพฤติกรรมการกินแตกต่างกัน ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดปริมาณไฟเบอร์ที่เหมาะสม โดยคุณหมอจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ น้ำหนัก และสุขภาพโดยรวม
     

    กำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสม –

    ไอแอมส์ระบุแนวทางการให้อาหารบนบรรจุภัณฑ์ คุณสามารถตรวจสอบและปรับเปลี่ยนปริมาณอาหารได้ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาได้จากระดับกิจกรรมหรือเป้าหมายในการควบคุมน้ำหนัก
     

    เพิ่มความหลากหลาย –

    อาหารแมวไอแอมส์™ มีให้เลือกทั้งแบบเปียกและแบบเม็ด การให้อาหารทั้งสองชนิดจะช่วยให้คุณมั่นใจว่าแมวจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
     

    ตรวจสุขภาพเป็นประจำ –

    การตรวจสุขภาพจะทำให้คุณรู้ว่าแมวแข็งแรงหรือไม่ มีปัญหาแอบแฝงอยู่หรือเปล่า รวมถึงสามารถตรวจสอบการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้ด้วย หากมีข้อสงสัยหรือความกังวลเกี่ยวกับการบริโภคไฟเบอร์ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้ในระหว่างการนัดตรวจเหล่านี้
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารแมวไอแอมส์™ จะช่วยให้แมวของคุณได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล นอกจากอาหารของเรายังมีไฟเบอร์สูง ช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ของแมวด้วย

Close modal