IAMS TH
Kitten Basics: Taking Care of Your Kitten’s Oral Health banner
Kitten Basics: Taking Care of Your Kitten’s Oral Health

adp_description_block29
คู่มือการดูแลสุขภาพช่องปากของแมวสำหรับทาสแมวมือใหม่

  • แบ่งปัน

การดูแลสุขภาพในช่องปากให้น้องแมวเป็นสิ่งสำคัญที่แนะนำให้ทำเป็นประจำ โดยเจ้าของควรเริ่มดูแลและฝึกแปรงฟันให้น้องแมวตั้งแต่ช่วงที่ฟันกำลังขึ้น เพื่อลดการสะสมของคราบพลัค หินปูน และป้องกันฟันผุ หากไม่แน่ใจว่าควรเริ่มดูแลกันอย่างไร มาติดตามข้อควรรู้ที่จำเป็นต่อการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของน้องแมวได้จากคู่มือนี้
 

ทำความเข้าใจพัฒนาการและลำดับการขึ้นของฟันแมว
 

เพื่อให้แน่ใจว่าจะดูแลฟันของน้องแมวได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจระยะการเจริญเติบโตของฟันเจ้าเหมียวกันก่อน โดยลูกแมวจะเริ่มมีฟันขึ้นเมื่ออายุ 2 หรือ 3 สัปดาห์ และภายใน 8 – 12 สัปดาห์ พวกเค้าก็จะมีฟันน้ำนมครบทุกซี่ ต่อมาฟันน้ำนมเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ ซึ่งในระหว่างการงอกของฟันอาจทำให้พวกเค้ารู้สึกไม่สบาย ปวด มีอาการบวม หรือมีเลือดออกตามไรฟัน เจ้าของสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับวิธีการดูแลและบรรเทาอาการเจ็บปวดเพิ่มเติมได้
 

วิธีแปรงฟันให้น้องแมว มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
 

หากต้องการให้น้องแมวมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี ทำตามขั้นตอนการแปรงฟันเหล่านี้กันได้เลย
 

  1. เริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ลูกแมวตัวน้อยรู้จักกับแปรงสีฟันและยาสีฟัน ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนของการแปรงฟัน ปล่อยให้พวกเค้าดมกลิ่นหรือเลียเพื่อทำความคุ้นเคยกับรสชาติและเนื้อสัมผัสของทั้งสองสิ่งกันก่อน
  2. เมื่อลูกแมวคุ้นเคยกับแปรงสีฟันและยาสีฟันแล้ว ค่อย ๆ ยกริมฝีปากพวกเค้าขึ้น จากนั้นขยับแปรงไปมาเป็นวงกลมตามแนวฟันจนครบทุกซี่ ควรเลือกแปรงสีฟันขนนุ่ม ทั้งแปรงและยาสีฟันควรออกแบบมาเพื่อน้องแมวโดยเฉพาะด้ว

  3. การแปรงฟันให้ลูกแมวจะใช้ยาสีฟันปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น และต้องคอยระวังไม่ให้พวกเค้ากลืนยาสีฟันลงไป

  4. หลังแปรงฟันเรียบร้อยแล้ว ควรให้รางวัลลูกแมวเป็นขนมสุดโปรดหรืออ้อมกอดอุ่น ๆ เพื่อสร้างความทรงจำที่ดี

  5. ค่อย ๆ เพิ่มความถี่และระยะเวลาในการแปรงฟันเมื่อลูกแมวคุ้นเคยกับกระบวนการนี้มากขึ้น ทั้งนี้ควรฝึกแปรงฟันอย่างค่อยเป็นค่อยไป เจ้าของควรมีความอดทนและปฏิบัติกับพวกเค้าอย่างอ่อนโยน
     

การดูแลและป้องกันปัญหาสุขภาพในช่องปาก
 

การรักษาสุขภาพช่องปากของลูกแมวเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังส่งผลดีกับสุขภาพโดยรวมของพวกเค้าด้วย ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับป้องกันการสะสมของคราบพลัคและหินปูน เพื่อให้เหงือกและฟันของลูกแมวแข็งแรง
 

  1. การแปรงฟันด้วยยาสีฟัน – การแปรงฟันเป็นประจำเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการสะสมของคราบพลัคและหินปูน ควรเริ่มฝึกแปรงฟันตั้งแต่เนิ่น ๆ และควรเลือกใช้ยาสีฟันสูตรเฉพาะสำหรับแมว เพราะยาสีฟันทั่วไปอาจเป็นอันตรายต่อแมวได้ การแปรงฟันอย่างน้อย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยขจัดคราบพลัคและหินปูนได้ดี รวมถึงช่วยให้ลูกแมวมีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีอีกด้วย
  2. ผ้าหรือกระดาษทำความสะอาดฟัน และน้ำยาบ้วนปาก – ผ้าหรือกระดาษสำหรับทำความสะอาดฟันเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีในการดูแลช่องปาก สามารถใช้แทนการแปรงฟันได้ สำหรับน้ำยาบ้วนปากจะช่วยให้ลมหายใจหอมสดชื่นและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย

  3. ขนมขัดฟัน – เป็นตัวช่วยที่มีทั้งประโยชน์และรสชาติอร่อย ขนมขัดฟันจะช่วยทำความสะอาดและเสริมให้ฟันแข็งแรง โดยแนะนำให้เลือกขนมสูตรสำหรับลดคราบพลัคและหินปูน แต่ให้หลีกเลี่ยงขนมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก

  4. ตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นประจำ – การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าเหงือกและฟันของลูกแมวแข็งแรง นอกจากนี้คุณหมอยังสามารถช่วยระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้น พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลอย่างเหมาะสมได้อีกด้วย

 

การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพโดยรวมของแมว เจ้าของทุกคนจึงควรดูแลและเอาใจใส่สุขอนามัยในช่องปากของแมวเหมียวตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการแปรงฟัน การให้ขนมขัดฟัน และการตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพเหงือกและฟันที่แข็งแรงเป็นเวลาหลายปี! ทั้งนี้สามารถปรึกษาสัตวแพทย์ได้เสมอหากคุณมีข้อกังวลหรือคำถามเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของลูกแมว

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของแมว

  1. ลูกแมวฟันขึ้นตอนอายุเท่าไหร่?
  2. ลูกแมวส่วนใหญ่จะมีฟันขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ และเมื่อมีอายุครบ 6 เดือน พวกเค้าจะมีฟันแท้ขึ้นครบ 30 ซี่ แต่ลูกแมวบางตัวอาจใช้เวลาถึง 9 เดือนกว่าฟันแท้จะขึ้นครบทุกซี่

     

  3. ลูกแมวในช่วงที่ฟันกำลังขึ้นจะมีพฤติกรรมกัดแทะหรือไม่?  
  4. เมื่อลูกแมวเข้าสู่ช่วงฟันขึ้น พวกเค้าอาจกัดแทะบ่อยขึ้นเพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายจากการงอกของฟันใหม่ เพื่อช่วยบรรเทาพฤติกรรมนี้ เจ้าของต้องจัดหาของเล่นสำหรับกัดแทะที่เหมาะสมมาให้พวกเค้า เพื่อป้องกันการกัดมือหรือข้าวของที่เป็นอันตรายอื่น ๆ ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

     

  5. ควรเริ่มแปรงฟันให้ลูกแมวตอนไหน?  
  6. แนะนำให้เริ่มแปรงฟันทันทีที่ลูกแมวมีฟันแท้ขึ้น หรือเมื่อมีอายุประมาณ 3 – 4 เดือน โดยจำเป็นต้องปรึกษากับสัตวแพทย์ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะดูแลพวกเค้าได้อย่างถูกต้อง รวมถึงควรตรวจสุขภาพฟันก่อนที่จะเริ่มแปรงฟันให้ลูกแมวตัวน้อย

     

  7. จะดูแลฟันของลูกแมวให้มีสุขภาพดีได้อย่างไร?  
  8. เพื่อให้สุขภาพช่องปากของลูกแมวแข็งแรง สิ่งสำคัญคือต้องนัดตรวจสุขภาพเป็นประจำกับสัตวแพทย์ แปรงฟันทุกวันโดยใช้ยาสีฟันสูตรสำหรับแมวโดยเฉพาะ นอกจากนี้ควรเลือกของเล่น ขนม และอาหารที่มีส่วนช่วยในการดูแลฟันให้เจ้าตัวน้อยด้วย

     

  9. นอกจากการแปรงฟัน เราสามารถดูแลความสะอาดฟันด้วยวิธีใดได้อีกบ้าง?  
  10. เราสามารถดูแลความสะอาดฟันของแมวได้ด้วยการให้อาหารเม็ดที่มีเนื้อสัมผัสกรุบกรอบ จัดหาของเล่นสำหรับกัดแทะ นัดตรวจสุขภาพฟันและทำความสะอาดกับสัตวแพทย์เป็นประจำ นอกจากนี้ควรสังเกตพฤติกรรมการกินของแมวและรีบไปพบคุณหมอทันทีหากมีอาการผิดปกติ

     

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    adp_description_block29
    รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนแมว

    • แบ่งปัน

    แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
     

    วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
     

    วัคซีนแต่ละชนิดและช่วงวัยที่เหมาะสมของแมว

    การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก

    1. วัคซีน FVRCP

    ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี

    1. วัคซีน FeLV

    วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์

    1. วัคซีน FPV

    วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี

    1. วัคซีนรวม 4 โรค

    วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี

    1. วัคซีนรวม 5 โรค

    วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

    หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้

    1. อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    2. อยากอาหารลดลง

    3. อาเจียน

    4. มีไข้ 

    5. ท้องเสีย

    6. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้