IAMS TH
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health
Kitten Basics: How to Keep Your Kitten in Good Health

adp_description_block487
เรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงลูกแมวให้มีสุขภาพดี

  • แบ่งปัน

ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าบรรดาลูกแมวตัวน้อยมอบความสุขและเสียงหัวเราะไม่รู้จบมาให้เราทุกครอบครัว ดังนั้นเพื่อตอบแทนความรักของพวกเค้า เจ้าของจำเป็นต้องทำความเข้าใจวิธีดูแลและข้อควรระวังต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแมว อย่างเรื่องอาหารการกิน ลูกแมวมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง พวกเค้าควรได้รับอาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล รวมถึงควรได้รับการดูแลความสะอาด ตัดแต่งขน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พวกเค้าแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ โดยคุณสามารถอ่านคำแนะนำและเทคนิคในการดูแลลูกแมวให้เติบโตเป็นแมวโตเต็มวัยที่มีความสุขและมีสุขภาพดีได้ในบทความนี้

สิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวให้มีสุขภาพดี

ทาสแมวมือใหม่หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าควรดูแลลูกแมวอย่างไรให้แข็งแรงและมีความสุข ต้องบอกก่อนเลยว่าการดูแลลูกแมวอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในช่วงแรก แต่ถ้ารู้วิธีที่ถูกต้องแล้ว ทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน เพื่อช่วยให้การดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณง่ายขึ้น คำแนะนำเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรรู้

  1. รักษาความสะอาด – การอาบน้ำและแปรงขนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลลูกแมวให้แข็งแรง วิธีนี้จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยแนะนำให้เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ออกแบบมาเพื่อลูกแมวโดยเฉพาะ และควรเช็ดตัวให้แห้งทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ
  2. ให้อาหารคุณภาพดีมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน – ลูกแมวมีความต้องการทางโภชนาการที่เฉพาะเจาะจง จึงควรเลือกให้อาหารที่มีคุณภาพสูงและมีสารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะ เพื่อให้เสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม
  3. ฝึกการเข้าสังคม – แมวก็เป็นสัตว์สังคมเช่นเดียวกันกับเรา เจ้าของควรเปิดโอกาสให้พวกเค้าได้ทำความรู้จักผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเค้าพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและป้องกันปัญหาของพฤติกรรมในอนาคต
  4. สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค – การตรวจเช็กสุขภาพ การฉีดวัคซีน และการดูแลป้องกันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกแมวแข็งแรงและปราศจากโรคต่าง ๆ ลูกแมวตัวน้อยของคุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้อยลงหากฉีดวัคซีนครบตามกำหนดหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

พัฒนาการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย

ทำความเข้าใจพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อยเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้

อายุ

พัฒนาการที่สำคัญ

5 – 6 เดือน

เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

8 เดือน

ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่

9 เดือน

ความสามารถในการย่อยอาหารเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

12 เดือน (ตัวเมีย) และ 18 เดือน (ตัวผู้)

น้ำหนักตัวเทียบเท่ากับน้องแมวโตเต็มวัย

อายุระหว่าง 10 – 12 เดือน

ความต้องการพลังงานลดลง

 

อยากรู้ไหมว่าน้องแมวอายุเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคน มาค้นหาคำตอบได้กันจากตารางเทียบอายุด้านล่างนี้

ช่วงวัย อายุแมว อายุแมวเปรียบเทียบกับคน
ลูกแมว 0 – 1 เดือน 0 – 1 ปี
2 เดือน 2 ปี
3 เดือน 4 ปี
4 เดือน 6 ปี
5 เดือน 8 ปี
6 เดือน 10 ปี
ลูกแมวในวัยเจริญเติบโต 7 เดือน 12 ปี
12 เดือน 15 ปี
18 เดือน 21 ปี
2 ปี 24 ปี
น้องแมวโตเต็มวัย 3 ปี 28 ปี
4 ปี 32 ปี
5 ปี 36 ปี
6 ปี 40 ปี
น้องแมวช่วงวัยอาวุโส 7 ปี 44 ปี
8 ปี 48 ปี
9 ปี 52 ปี
10 ปี 56 ปี
น้องแมวสูงวัย 11 ปี 60 ปี
12 ปี 64 ปี
13 ปี 68 ปี
14 ปี 72 ปี
น้องแมววัยชรา 15 ปี 76 ปี
16 ปี 80 ปี
17 ปี 84 ปี
18 ปี 88 ปี
19 ปี 92 ปี
20 ปี 96 ปี
21 ปี 100 ปี
22 ปี 104 ปี
23 ปี 108 ปี
24 ปี 112 ปี
25 ปี 116 ปี

 

เช็กลิสต์การตรวจสอบสภาพร่างกายของลูกแมว

การดูแลส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมว ซึ่งหนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการตรวจสภาพร่างกายของลูกแมวอย่างใกล้ชิด โดยคุณสามารถทำตามเช็กลิสต์ต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี

  1. หู – ตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น รอยแดงหรือของเหลวแปลก ๆ ในช่องหู วิธีนี้จะช่วยให้คุณพบสิ่งผิดปกติได้เร็วและหาวิธีดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที
  2. ดวงตา – คอยสังเกตสิ่งที่ไหลออกมาจากดวงตาหรือความขุ่นมัวในดวงตา ลูกแมวที่แข็งแรงควรมีดวงตาที่สดใสและไม่ขุ่นมัว
  3. จมูก – หากพบว่าลูกแมวมีน้ำมูกไหลผิดปกติหรือมีเลือดคั่งในจมูก ควรรีบไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุในทันที
  4. ช่องปาก – พยายามมองหาสัญญาณของการติดเชื้อหรืออาการอักเสบ โดยลูกแมวควรมีช่องปากที่สะอาดและไม่มีกลิ่นเหม็น
  5. ผิวหนังและเส้นขน – หมั่นตรวจเช็กเห็บหมัดเป็นประจำ โดยลูกแมวที่แข็งแรงจะมีเส้นขนที่นุ่มเงางาม
  6. เล็บ – คอยดูว่าเล็บของเจ้าตัวน้อยยาวเกินไปหรือไม่ มีเล็บหักหรือเปล่า เจ้าของควรตัดเล็บให้พวกเค้าเป็นประจำ และควรจัดหาเสาลับเล็บติดบ้านไว้ด้วย
  7. พฤติกรรม – เจ้าของควรสังเกตพฤติกรรมของลูกแมวอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการเซื่องซึมหรือภาวะซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะลูกแมวโดยทั่วไปจะมีความกระตือรือร้นและพร้อมเล่นสนุกได้ทั้งวัน
  8. การย่อยอาหาร – หากพบว่าลูกแมวมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที
  9. การกินน้ำ – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวดื่มน้ำเพียงพอในแต่ละวัน การได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพของลูกแมว

การสังเกตสภาพร่างกายของลูกแมวเป็นประจำมีประโยชน์มาก โดยจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าพวกเค้ามีสุขภาพที่ดีและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมแล้ว

 

โดยสรุปแล้ว การเลี้ยงลูกแมวต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่มีความสุขและมีสุขภาพดี หากมีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำหรือปรึกษาสัตวแพทย์ หากคุณมอบความรักและดูแลลูกแมวอย่างถูกวิธี พวกเค้าก็จะอยู่เคียงข้างพร้อมมอบความสุขให้คุณได้นานหลายปี

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแมวของเรามีสุขภาพที่ดี?
  2. คุณสามารถสังเกตได้จากสัญญาณสุขภาพดีเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยมีดวงตาใสไม่ขุ่นมัว ขนสะอาดเงางาม และกินอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ลูกแมวควรมีความกระตือรือร้น ไม่เซื่องซึมหรือดูอ่อนเพลียตลอดเวลา การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่บอกได้ว่าลูกแมวของคุณมีสุขภาพดี

  3. จะทำให้ลูกแมวมีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างไร?
  4. สิ่งสำคัญสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของลูกแมวคือการตรวจสุขภาพเป็นประจำ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย ตลอดจนการฉีดวัคซีนและการดูแลป้องกันโรคร้าย

  5. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในลูกแมวมีอะไรบ้าง?
  6. ลูกแมวมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ทั้งการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หนอนพยาธิ ปรสิตอย่างหมัดและเห็บ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาภาวะเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจในภายหลังได้ด้วย

  7. ลูกแมวป่วยง่ายใช่หรือไม่?
  8. แม้ว่าลูกแมวจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง แต่ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ลูกแมวของคุณก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้

  9. ลูกแมวควรกินน้ำในปริมาณมากใช่หรือไม่?
  10. ลูกแมวจำเป็นต้องกินน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ แต่ปริมาณที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ขนาดตัว และการทำกิจกรรมของลูกแมว โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

  • Feline Rhinotracheitis คืออะไร
    Feline Rhinotracheitis คืออะไร
    adp_description_block491
    Feline Rhinotracheitis คืออะไร

    • แบ่งปัน

    เจ้าเหมียวของคุณฉีดวัคซีนกันแล้วหรือยัง? สำหรับวัคซีน FVRCP หรือชื่อเต็มว่า Feline Viral Rhinotracheitis, Calicivirus และ Panleukopenia เป็นหนึ่งในวัคซีนกลุ่มหลักที่จำเป็นต่อน้องแมวทุกตัว

     

    วัคซีน FVRCP จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ Feline Rhinotracheitis หรือไวรัสอันตรายที่ทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในแมว แม้ส่วนใหญ่จะพบในแมวเลี้ยงนอกบ้าน แต่แมวที่เลี้ยงในบ้านก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยป้องกันเชื้อ Feline Calicivirus ที่ทำให้เกิดแผลในปากและการอักเสบ สุดท้ายคือเชื้อ Feline Panleukopenia ซึ่งมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน จัดเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต 
     

    การติดเชื้อเหล่านี้สร้างความเจ็บปวดและส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของแมวเป็นอย่างมาก การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ว่าแล้วก็มาติดตามเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีน FVRCP สำหรับแมวไปด้วยกัน
     

    แมวควรได้รับวัคซีน FVRCP เมื่อใด?

    ถึงตอนนี้เรารู้แล้วว่าวัคซีน FVRCP มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเป็นอยู่ที่ดีของแมว แต่เราควรพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนนี้ช่วงใด? ฉีดตอนไหนจึงจะเหมาะสม? มาหาคำตอบและทำความเข้าใจวัคซีนชนิดนี้กันให้มากขึ้น

     

    โรคหวัดแมว

    เกิดจากไวรัส Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) หรือไวรัส Feline Herpesvirus (FHV-1) ซึ่งเป็นหนึ่งในการติดเชื้อที่ร้ายแรงที่สุดในแมว มักจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น จาม เยื่อบุตาอักเสบ มีไข้ และมีอาการอ่อนเพลีย เชื้อเหล่านี้แพร่กระจายผ่านของเหลวในร่างกาย ทั้งน้ำลายและน้ำมูก หากไม่ได้รับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที แมวอาจเสียชีวิตได้
     

    ไวรัสคาลิไซในแมว

    Feline Calicivirus (FCV) จัดเป็นไวรัสที่อันตรายถึงชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วไวรัสนี้จะโจมตีระบบทางเดินหายใจและอวัยวะในช่องปาก หากคุณพบเห็นสัญญาณของการติดเชื้อ แนะนำให้พาเจ้าเหมียวไปพบสัตวแพทย์ทันที อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพที่น่ากังวลนี้ด้วยการฉีดวัคซีน FVRCP ตามคำแนะนำของคุณหมอ
     

    โรคไข้หัดแมว

    โรคไข้หัดแมวเกิดจากไวรัส Feline Panleukopenia (FPV) เป็นไวรัสที่ติดต่อง่ายและรุนแรง โดยจะโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของแมว ลักษณะอาการที่สำคัญคืออาเจียน เบื่ออาหาร และมีไข้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อไขกระดูกและต่อมน้ำเหลือง ทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง มีอัตราการตายสูง ถึงแม้จะเป็นโรคที่อันตราย แต่ไม่ต้องกังวล! เพราะการฉีดวัคซีน FVRCP ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     

    เพราะเหตุใดวัคซีน FVRCP จึงเป็นวัคซีนหลักสำหรับแมว?

    วัคซีน FVRCP ถือเป็นมาตรการป้องกันที่จำเป็นสำหรับแมวทุกตัวเช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจาก FVR, FCV และ FPV เป็นไวรัสที่ติดต่อได้ง่าย สามารถแพร่กระจายผ่านของเหลวในร่างกาย การฉีดวัคซีนจะช่วยให้ร่างกายลูกแมวเตรียมแอนติเจนเพื่อต่อต้านไวรัสร้ายแรงเหล่านี้ได้
     

    แมวควรฉีดวัคซีน FVRCP เมื่อมีอายุเท่าไหร่?

    ลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FVRCP ทุก 3 – 4 สัปดาห์ในช่วงอายุระหว่าง 16 – 20 สัปดาห์ โดย จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นเพื่อให้แน่ใจว่าระบบภูมิคุ้มกันพร้อมสำหรับการต่อสู้กับไวรัสอันตราย และลูกแมวควรได้รับ FVRCP เข็มสุดท้ายเมื่ออายุครบ 1 ปี หลังจากนั้นควรฉีดวัคซีนชนิดนี้ทุก ๆ สามปี เพื่อให้ภูมิคุ้มกันสมบูรณ์

     

    โดยก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน FVRCP แนะนำให้สอบถามสัตวแพทย์ดังนี้

    1. ผลข้างเคียงของ FVRCP มีอะไรบ้าง และผลข้างเคียงจะเกิดขึ้นนานแค่ไหน?

    2. ควรดูแลลูกแมวหลังฉีดวัคซีนอย่างไร?

    3. เมื่อพิจารณาจากไลฟ์สไตล์ อายุ และสายพันธุ์ ลูกแมวต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นกี่เข็ม?

    4. การฉีดวัคซีน FVRCP มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน FVRCP

    วัคซีน FVRCP อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย ลูกแมวอาจรู้สึกไม่สบายตัวหลังการฉีด โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดมีดังนี้

    1. อาการบวมหรือแดงบริเวณที่ฉีด

    2. ไข้ต่ำ

    3. ความอยากอาหารลดลง

    แมวบางตัวอาจมีอาการแพ้วัคซีน หากพบว่าลูกแมวของคุณอาเจียน มีอาการคัน หรือท้องเสีย ควรปรึกษาสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด