IAMS TH
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape

adp_description_block17
ทำความเข้าใจโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  • แบ่งปัน

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวคืออะไร?

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่ไม่ได้พบบ่อยในแมว และแมวทุกตัวที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจจะไม่ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อ้างอิงจากศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (NCBI) มีแมวเพียง 1 – 2% เท่านั้นที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่หากน้องแมวมีอาการก็จำเป็นต้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม
 

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

เนื่องจากเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและความไม่สบายอย่างรุนแรง เจ้าของจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการหรือสัญญาณเตือนต่าง ๆ ของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อยแต่มีปริมาณน้อย
  • มีเลือดปะปนในปัสสาวะ
  • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติ
  • ส่งเสียงร้องออกมาขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะนอกกระบะทราย

การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

ในการวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สัตวแพทย์จะทำการทดสอบตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย โดยคุณหมอจะดูดปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน เมื่อตรวจตัวอย่างปัสสาวะแล้ว คุณหมอก็จะทำการแยกเชื้อแบคทีเรียเพื่อศึกษาต่อไป ขั้นตอนนี้เรียกว่าการเพาะเชื้อและการทดสอบความไวของเชื้อต่อยา ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอกำหนดยาที่เหมาะสมต่อการรักษาได้
 

การติดเชื้อครั้งแรกหรือการติดเชื้อแบบเฉียบพลันมักจะรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง อย่างไรก็ตาม หากแมวของคุณมีอาการป่วยจากการติดเชื้อเรื้อรัง สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อเริ่มให้ยาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
 

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
  • การสอดใส่สายสวนปัสสาวะ
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

แม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยากและพบไม่บ่อย แต่ทางที่ดีก็ควรดูแลน้องแมวอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โดยการดูแลป้องกันที่แนะนำมีดังนี้

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวดื่มน้ำเพียงพอ แนะนำให้ทำความสะอาดชามน้ำเป็นประจำและหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน
  • ทำความสะอาดกระบะทรายวันละสองครั้ง และควรเปลี่ยนทรายใหม่ทุกสองสัปดาห์
  • หมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและสีของปัสสาวะ หากพบการความผิดปกติควรปรึกษาสัตวแพทย์
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคที่อาจนำไปสู่ปัญหากระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากแมวของคุณมีอาการของโรคดังกล่าว ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
  • สำหรับแมวสูงวัยและแมวที่มีน้ำหนักตัวเกิน อาจมีปัญหาในการขยับเขยื้อนตัวและไม่สามารถเลียตัวทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง เจ้าของอาจต้องช่วยดูแลเรื่องความสะอาดมากเป็นพิเศษ

สามารถรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวด้วยตนเองได้หรือไม่?

การดูแลรักษาน้องแมวที่มีอาการของโรคนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การให้กินน้ำแครนเบอร์รี แอปเปิลไซเดอร์ และซุปโครงกระดูก ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อกันว่าสามารถบรรเทาอาการของโรคได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาเหล่านี้อาจไม่ช่วยให้น้องแมวหายขาด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โอกาสที่จะเป็นซ้ำก็เพิ่มมากขึ้น ทางที่ดีจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวมีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ?
  2. น้องแมวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

    • ปัสสาวะบ่อยแต่ในปริมาณน้อย
    • อาจส่งเสียงร้องขณะปัสสาวะ
    • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติเนื่องจากอาการระคายเคือง
    • อาจมีเลือดปนในปัสสาวะ

    หากพบว่าน้องแมวมีอาการข้างต้น ควรพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที

  3. หากไม่รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการจะดีขึ้นเองได้หรือไม่?
  4. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบางชนิดสามารถหายได้เอง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าอาการไม่รุนแรงหรือเรื้อรัง คุณควรพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

  5. การกินน้ำน้อยเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวใช่หรือไม่?
  6. น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมว การกินน้ำน้อยอาจทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำและเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะด้วย เจ้าของจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวได้รับน้ำเพียงพอตลอดทั้งวัน

  7. แมวที่เลี้ยงในบ้านเสี่ยงต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่?
  8. การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ แม้ว่าแมวที่เลี้ยงในบ้านจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่ำกว่าแมวที่เลี้ยงนอกบ้าน แต่หากละเลยเรื่องความสะอาดหรือสุขอนามัย พวกเค้าก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน อย่างกระบะทรายที่ไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำ อาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียร้ายแรงนับไม่ถ้วน และแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในอุจจาระก็สามารถแพร่เข้าไปในท่อปัสสาวะได้ทุกครั้งที่น้องแมวขับถ่าย เจ้าของจึงควรทำความสะอาดกระบะทรายอย่างน้อยวันละสองครั้ง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันอย่างฉับพลัน ความเครียด และภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

  • kitten constipation image
    kitten constipation image
    adp_description_block410
    เมื่อลูกแมวท้องผูก วิธีแก้และการดูแลอย่างถูกต้อง

    • แบ่งปัน

    ลูกแมวมักจะเต็มไปด้วยพลังและความสดใส ทำให้บ้านของคุณเต็มไปด้วยความสุขและความสนุก อย่างไรก็ตาม เจ้าตัวเล็กเหล่านี้ก็อาจมีวันที่ไม่ดีได้เช่นกัน คุณอาจพบว่าพวกเค้าดูไม่สบายตัว กินอะไรแทบไม่ได้เลย และขับถ่ายไม่ออก เป็นไปได้ว่าพวกเค้าอาจมีอาการท้องผูก
     

    อาการท้องผูกในลูกแมว คืออะไร?

     

    อาการท้องผูกเป็นภาวะที่ทำให้ขับถ่ายลำบาก ขับถ่ายน้อยกว่าปกติ ในบางกรณี อาการไม่สบายนี้อาจรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ยิ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานกว่า 48 ชั่วโมง
     

    ลูกแมวท้องผูก มีอาการอย่างไรบ้าง?

     

    ลูกแมวแต่ละตัวจะแสดงอาการแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปมักจะมีอาการดังนี้
     

    1. ขับถ่ายน้อยหรือไม่ขับถ่ายเลย – หากลูกแมวของคุณไม่ขับถ่ายเป็นเวลา 24 – 48 ชั่วโมง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการท้องผูก

    2. ขับถ่ายลำบาก – ลูกแมวอาจใช้กระบะทรายนานผิดปกติ อาจเดินวนไปวนมาไม่ยอมขับถ่ายสักที หรือถ่ายออกมาเป็นอุจจาระก้อนเล็กและแข็ง

    3. เบื่ออาหาร – ลูกแมวที่มีอาการท้องผูกมักจะกินอาหารน้อยลง

    4. เซื่องซึม – จากที่ชอบเล่นและสำรวจ ลูกแมวกลับนอนมากขึ้นและดูไม่ค่อยสนใจทำกิจกรรมต่าง ๆ

    5. ท้องอืดหรืออาเจียน – หากลูกแมวอาเจียนหรือท้องดูป่อง อาจเป็นเพราะท้องผูก
       

    สาเหตุของอาการท้องผูกในแมว

     

    อาการท้องผูกเกิดจากหลายปัจจัย เช่น
     

    1. ภาวะขาดน้ำ – หากได้รับน้ำไม่เพียงพอ ลูกแมวก็อาจมีอาการท้องผูกได้

    2. กลืนสิ่งของที่ไม่สามารถย่อยได้ – ลูกแมวสำรวจสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวด้วยการดมกลิ่นและการกัดแทะ พวกเค้าอาจเผลอกลืนสิ่งของต่าง ๆ ลงไป เช่น ริบบิ้นหรือยางรัดผม สิ่งเหล่านี้อาจไปอุดตันในทางเดินอาหารได้

    3. ขาดการกระตุ้น – ลูกแมวที่ยังไม่หย่านมจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นขับถ่าย ไม่เช่นนั้น พวกเค้าอาจมีอาการท้องผูก

    4. พยาธิในลำไส้ – การติดเชื้อพยาธิหรือปรสิตอย่างหนักในลำไส้อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้

    5. โรคทางระบบประสาทหรือปัญหาอื่น ๆ – ภาวะทางระบบประสาทหรือโรคบางอย่างที่ส่งผลต่อส่วนหลังของลำตัวอาจทำให้ลูกแมวมีอาการท้องผูกได้

     

    หลังทราบสาเหตุและอาการเบื้องต้นกันไปแล้ว เรามาเจาะลึกถึงวิธีดูแลรักษาอาการท้องผูกในแมวกันบ้าง
     

    การรักษาอาการท้องผูกในแมว

     

    ในกรณีที่ลูกแมวกินอาหารได้ตามปกติและยังคงกระฉับกระเฉง เราสามารถบรรเทาอาการไม่สบายได้ด้วยตนเองที่บ้าน แต่หากลูกแมวมีอาการท้องผูกอย่างต่อเนื่อง หรือกระตือรือร้นน้อยลงและไม่ยอมกินอาหาร ควรพาไปพบสัตวแพทย์
     

    โดยคุณหมออาจรักษาด้วยการให้สารน้ำบำบัด การสวนทวาร หรืออาจต้องเอกซเรย์เพื่อตรวจหาการอุดตัน และในกรณีที่ร้ายแรง คุณหมออาจต้องผ่าตัดนำอุจจาระที่อุดตันออก

     

    การดูแลเยียวยาอาการท้องผูกในลูกแมวที่บ้าน

     

    สุขภาพและความเป็นอยู่ของลูกแมวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เลี้ยงทุกคน หากสังเกตเห็นสัญญาณเริ่มแรกของอาการท้องผูก คุณสามารถดูแลพวกเค้าด้วยวิธีเหล่านี้ก่อนไปพบสัตวแพทย์ได้

     

    1. ให้ลูกแมวกินน้ำมากขึ้น – การให้น้ำเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันอาการท้องผูก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเตรียมน้ำสะอาดเพียงพอ วางชามน้ำในจุดที่เข้าถึงง่าย หากลูกแมวชอบอาหารเม็ดให้ลองผสมน้ำอุ่นเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำที่ลูกแมวควรจะได้รับ

    2. เพิ่มไฟเบอร์ในอาหาร – ไฟเบอร์แค่เพียงเล็กน้อยก็สามารถบรรเทาอาการท้องผูกได้อย่างมหัศจรรย์ คุณอาจเติมฟักทองหนึ่งช้อนลงในอาหารของเจ้าตัวน้อย หรือเลือกให้อาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแม่และลูกแมว ที่มีพรีไบโอติกจากธรรมชาติ (FOS) ช่วยเสริมการทำงานของลำไส้และระบบย่อยอาหาร

    3. กระตุ้นให้แมวเคลื่อนไหวร่างกาย – การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ชวนลูกแมวของคุณทำกิจกรรมที่สนุกสนานและได้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ

    4. หมั่นสังเกตพฤติกรรมลูกแมว – สังเกตพฤติกรรมของลูกแมวอย่างใกล้ชิด หากอาการแย่ลงหรือคงอยู่นานกว่าหนึ่งวัน ถึงเวลาต้องพบสัตวแพทย์แล้ว

     

    การฟื้นฟูและการจัดการกับอาการท้องผูกในแมว

     

    เมื่อกำจัดสิ่งที่อุดตันออกไปแล้ว ลูกแมวมักจะฟื้นตัวจากอาการท้องผูกได้อย่างรวดเร็ว แต่เราก็ยังคงต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ รวมถึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ทั้งการให้ยาตามที่กำหนด การถ่ายพยาธิและตรวจอุจจาระเป็นประจำ การทำความเข้าใจอาการท้องผูกช่วยให้ลูกแมวของคุณมีความสุข มีสุขภาพดี และพร้อมที่จะสำรวจโลกที่น่าตื่นเต้นได้อย่างเต็มที่
     

    ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และการเยียวยาอาการท้องผูกอย่างเหมาะสม ลูกแมวของคุณจะกลับมากระตือรือร้นและมีพลังได้ในเวลาไม่นาน หากคุณไม่แน่ใจหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ อย่าลังเลที่จะปรึกษาสัตวแพทย์

Close modal