IAMS TH
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape

adp_description_block482
ทำความเข้าใจโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  • แบ่งปัน

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวคืออะไร?

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่ไม่ได้พบบ่อยในแมว และแมวทุกตัวที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจจะไม่ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อ้างอิงจากศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (NCBI) มีแมวเพียง 1 – 2% เท่านั้นที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่หากน้องแมวมีอาการก็จำเป็นต้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม
 

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

เนื่องจากเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและความไม่สบายอย่างรุนแรง เจ้าของจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการหรือสัญญาณเตือนต่าง ๆ ของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อยแต่มีปริมาณน้อย
  • มีเลือดปะปนในปัสสาวะ
  • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติ
  • ส่งเสียงร้องออกมาขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะนอกกระบะทราย

การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

ในการวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สัตวแพทย์จะทำการทดสอบตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย โดยคุณหมอจะดูดปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน เมื่อตรวจตัวอย่างปัสสาวะแล้ว คุณหมอก็จะทำการแยกเชื้อแบคทีเรียเพื่อศึกษาต่อไป ขั้นตอนนี้เรียกว่าการเพาะเชื้อและการทดสอบความไวของเชื้อต่อยา ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอกำหนดยาที่เหมาะสมต่อการรักษาได้
 

การติดเชื้อครั้งแรกหรือการติดเชื้อแบบเฉียบพลันมักจะรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง อย่างไรก็ตาม หากแมวของคุณมีอาการป่วยจากการติดเชื้อเรื้อรัง สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อเริ่มให้ยาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
 

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
  • การสอดใส่สายสวนปัสสาวะ
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

แม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยากและพบไม่บ่อย แต่ทางที่ดีก็ควรดูแลน้องแมวอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โดยการดูแลป้องกันที่แนะนำมีดังนี้

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวดื่มน้ำเพียงพอ แนะนำให้ทำความสะอาดชามน้ำเป็นประจำและหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน
  • ทำความสะอาดกระบะทรายวันละสองครั้ง และควรเปลี่ยนทรายใหม่ทุกสองสัปดาห์
  • หมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและสีของปัสสาวะ หากพบการความผิดปกติควรปรึกษาสัตวแพทย์
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคที่อาจนำไปสู่ปัญหากระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากแมวของคุณมีอาการของโรคดังกล่าว ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
  • สำหรับแมวสูงวัยและแมวที่มีน้ำหนักตัวเกิน อาจมีปัญหาในการขยับเขยื้อนตัวและไม่สามารถเลียตัวทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง เจ้าของอาจต้องช่วยดูแลเรื่องความสะอาดมากเป็นพิเศษ

สามารถรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวด้วยตนเองได้หรือไม่?

การดูแลรักษาน้องแมวที่มีอาการของโรคนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การให้กินน้ำแครนเบอร์รี แอปเปิลไซเดอร์ และซุปโครงกระดูก ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อกันว่าสามารถบรรเทาอาการของโรคได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาเหล่านี้อาจไม่ช่วยให้น้องแมวหายขาด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โอกาสที่จะเป็นซ้ำก็เพิ่มมากขึ้น ทางที่ดีจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวมีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ?
  2. น้องแมวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

    • ปัสสาวะบ่อยแต่ในปริมาณน้อย
    • อาจส่งเสียงร้องขณะปัสสาวะ
    • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติเนื่องจากอาการระคายเคือง
    • อาจมีเลือดปนในปัสสาวะ

    หากพบว่าน้องแมวมีอาการข้างต้น ควรพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที

  3. หากไม่รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการจะดีขึ้นเองได้หรือไม่?
  4. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบางชนิดสามารถหายได้เอง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าอาการไม่รุนแรงหรือเรื้อรัง คุณควรพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

  5. การกินน้ำน้อยเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวใช่หรือไม่?
  6. น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมว การกินน้ำน้อยอาจทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำและเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะด้วย เจ้าของจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวได้รับน้ำเพียงพอตลอดทั้งวัน

  7. แมวที่เลี้ยงในบ้านเสี่ยงต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่?
  8. การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ แม้ว่าแมวที่เลี้ยงในบ้านจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่ำกว่าแมวที่เลี้ยงนอกบ้าน แต่หากละเลยเรื่องความสะอาดหรือสุขอนามัย พวกเค้าก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน อย่างกระบะทรายที่ไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำ อาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียร้ายแรงนับไม่ถ้วน และแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในอุจจาระก็สามารถแพร่เข้าไปในท่อปัสสาวะได้ทุกครั้งที่น้องแมวขับถ่าย เจ้าของจึงควรทำความสะอาดกระบะทรายอย่างน้อยวันละสองครั้ง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันอย่างฉับพลัน ความเครียด และภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

  • เพราะอะไรอาหารแมวโปรตีนสูงจึงเป็นตัวเลือกที่ดี?
    เพราะอะไรอาหารแมวโปรตีนสูงจึงเป็นตัวเลือกที่ดี?
    adp_description_block471
    อาหารแมวโปรตีนสูง

    • แบ่งปัน

    โภชนาการเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของแมว แมวเป็นสัตว์กินเนื้อโดยธรรมชาติ พวกเค้าจึงต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง ซึ่งช่วยเสริมสุขภาพโดยรวม เป็นแหล่งพลังงาน เสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยังมีประโยชน์มากมายดังนี้

    1. ป้องกันการเกิดโรคอ้วน

      แมวต้องการโปรตีนจากสัตว์เป็นสารอาหารหลัก และการให้อาหารแมวโปรตีนสูงก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนได้เป็นอย่างดี

    2. ห่างไกลเบาหวาน

      โรคอ้วนในแมวมักนำไปสู่โรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การกินอาหารโปรตีนสูงถือเป็นวิธีป้องกันที่ดี เนื่องจากช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงลดโอกาสในการเกิดโรคเบาหวานได้

    3. ช่วยควบคุมน้ำหนัก

      หากต้องการให้แมวของคุณน้ำหนักลดลงประมาณ 1 – 2 กก. อาหารที่มีโปรตีนสูงคือตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม เพราะไม่เพียงแต่ช่วยควบคุมน้ำหนัก แต่ยังช่วยให้แมวรู้สึกอิ่มท้องนานขึ้นด้วย

    4. เสริมระบบภูมิคุ้มกัน

      อาหารแมวโปรตีนสูงอุดมด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ การเจริญเติบโต และระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง หากได้รับโปรตีนไม่เพียงพอต่อความต้องการ แมวเหมียวอาจสูญเสียกล้ามเนื้อและความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายยามเจ็บป่วย

    คู่มือการเลือกอาหารแมวโปรตีนสูงของไอแอมส์™

    1. อาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรเลี้ยงในบ้าน และบำรุงขน

      อาหารแมวเกรดพรีเมียมสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของแมวเลี้ยงในบ้านโดยเฉพาะ อัดแน่นไปด้วยโปรตีนจากส่วนผสมคุณภาพดี มาพร้อมแอล-คาร์นิทีน บีทพัลพ์ และไฟเบอร์จากธรรมชาติ ทำให้เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับการควบคุมน้ำหนักและป้องกันปัญหาก้อนขนอุดตัน

    จุดเด่น

    1. โปรตีนคุณภาพดี – ผลพลอยได้จากไก่ป่นถือเป็นแหล่งโปรตีนหลัก ซึ่งมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเสริมสุขภาพโดยรวมของแมวเลี้ยงในบ้าน

    2. ควบคุมน้ำหนัก – เนื่องจากมีแอล-คาร์นิทีนที่ช่วยสนับสนุนการเผาผลาญไขมัน จึงควบคุมน้ำหนักและป้องกันการเกิดโรคอ้วนได้ดี

    3. ป้องกันปัญหาก้อนขน – บีทพัลพ์และไฟเบอร์ช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาก้อนขน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในแมวบ้าน

    ข้อควรระวัง

    1. มีส่วนประกอบของธัญพืช – อาหารแมวของเรามีส่วนประกอบของข้าวโพด ข้าวสาลี และกลูเตนจากข้าวโพด ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับน้องแมวที่แพ้ธัญพืชหรือมีภาวะภูมิแพ้
    2. ความต้องการด้านโภชนาการ – เนื่องจากแมวทุกตัวมีความต้องการแตกต่างกัน โปรดปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการตรงตามความต้องการของเจ้าเหมียว

     

    1. อาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแม่และลูกแมว

      อาหารแมวเกรดพรีเมียมของเราได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกแมวตัวน้อย อุดมด้วยโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่และโอเมก้า 3 นอกจากนี้ยังมีสารอาหารที่จำเป็นอย่างโคลอสตรุมและดีเอชเอ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของดวงตาและสมอง

    จุดเด่น

    1. โปรตีนคุณภาพดี – แหล่งโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่และผลพลอยได้จากไก่ป่น อาหารแมวไอแอมส์™ จึงอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการพัฒนากล้ามเนื้อและสุขภาพโดยรวมของแมว
    2. โอเมก้า 3 – อาหารลูกแมวไอแอมส์™ มีส่วนผสมของกรดไขมันโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลา ช่วยให้ผิวหนังมีสุขภาพดีและขนสวยเงางาม
    3. โคลอสตรุมและดีเอชเอ – โคลอสตรุมช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนดีเอชเอช่วยในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ทำให้อาหารลูกแมวไอแอมส์™ เหมาะสมสำหรับลูกแมวในวัยเจริญเติบโตเป็นที่สุด

    ข้อควรระวัง

    1. มีส่วนประกอบของธัญพืช – อาหารแมวของเรามีส่วนประกอบของข้าวโพด ข้าวสาลี และกลูเตนจากข้าวโพด ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับลูกแมวที่แพ้ธัญพืชหรือมีภาวะภูมิแพ้

    2. การเปลี่ยนอาหาร – ควรเปลี่ยนมาให้อาหารลูกแมวไอแอมส์™ แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อป้องกันปัญหาในระบบทางเดินอาหาร

    3. ปรึกษาสัตวแพทย์ – หากต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการหรือการเปลี่ยนอาหารที่ถูกต้อง คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกแมวของคุณจะได้รับอาหารที่ตรงตามความต้องการ

    แมวต้องการโปรตีนปริมาณเท่าใด?

    เมื่อพูดถึงโภชนาการสำหรับแมว โปรตีนคือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพที่แข็งแรง เราจึงต้องอ่านข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อค้นหาว่าอาหารแมวมีปริมาณโปรตีนมากน้อยเท่าใด ซึ่งบางครั้งข้อมูลดังกล่าวก็สร้างความสับสน เราจึงรวบรวมเคล็ดลับง่าย ๆ ในการหาปริมาณโปรตีนที่แมวคุณต้องการจากผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหลาย

    หนึ่งในจุดที่คุณต้องสังเกตคือปริมาณความชื้น ฉลากอาหารสัตว์จะนำเสนอข้อมูล 2 รูปแบบ คือเสนอเป็นเปอร์เซ็นต์ของวัตถุแห้ง (Dry matter basis) และปริมาณสิ่งแห้งหรือวัตถุดิบที่มีจริง (As-fed basis) โดยส่วนใหญ่จะใช้แบบที่สอง โดยจะรวมปริมาณน้ำเข้าไปด้วย สิ่งนี้อาจทำให้สับสนได้เล็กน้อย

    วิธีง่าย ๆ ในการค้นหาปริมาณโปรตีน

    คำนวณหาปริมาณวัตถุแห้งของอาหารโดยหักลงจากปริมาณความชื้นสูงสุด(%) นำปริมาณโปรตีนดิบ(%) มาหารด้วยปริมาณวัตถุแห้งที่ได้ คูณผลลัพธ์ด้วย 100 เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนในรูปแบบร้อยละที่มีอยู่ในวัตถุแห้งของอาหาร

    อาหารแบบใดที่จัดว่าเป็นอาหารแมวโปรตีนสูง?

    1. ปริมาณโปรตีนดิบ – อาหารแมวโปรตีนสูงมักจะมีโปรตีน 25 – 30% ขึ้นไป โดยไม่นับรวมความชื้น
    2. แหล่งโปรตีนจากสัตว์ – แนะนำให้เลือกอาหารแมวที่มีโปรตีนจากสัตว์เป็นหลัก เช่น ไก่ ไก่งวง เนื้อวัว หรือปลา เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าเหมียวจะได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน
    3. จำกัดส่วนผสมบางชนิด – หลีกเลี่ยงอาหารแมวที่มีธัญพืชและแป้งมากเกินไป เพราะอาจทำให้ความเข้มข้นของโปรตีนโดยรวมในอาหารเจือจางลง
    4. หลีกเลี่ยงโปรตีนจากพืช – ตรวจเช็กรายการส่วนผสมให้ละเอียด ควรหลีกเลี่ยงอาหารแมวที่มีส่วนประกอบของโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลืองหรือโปรตีนถั่วเข้มข้น
    5. อาหารแมวเกรดพรีเมียม – เลือกแบรนด์อาหารแมวที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักกันดี และควรมีประวัติในการผลิตตัวเลือกอาหารแมวระดับพรีเมียมคุณภาพสูงและมีโปรตีนสูงด้วย

    ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับแมวของคุณ โดยจะพิจารณาจากอายุ กิจวัตรประจำวัน และสุขภาพของแมว เนื่องจากความต้องการของแมวแต่ละตัวแตกต่างกัน

    ข้อดีและข้อเสียของอาหารแมวโปรตีนสูง

    ข้อดี

    1. กล้ามเนื้อแข็งแรง – อาหารแมวโปรตีนสูงมีส่วนช่วยในการพัฒนาและบำรุงรักษากล้ามเนื้อให้แข็งแรง

    2. เป็นแหล่งพลังงาน – โปรตีนให้พลังงานที่จำเป็นต่อการทำกิจกรรมและเพิ่มความกระฉับกระเฉงให้กับเจ้าแมวตัวน้อย

    3. เสริมสุขภาพผิวหนังและเส้นขน – อาหารที่มีโปรตีนสูงช่วยให้ผิวหนังสุขภาพดีและมีขนสวยเงางาม

    4. ช่วยควบคุมน้ำหนัก – อาหารแมวโปรตีนสูงช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี มักจะมีแคลอรีน้อยและทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น

    ข้อเสีย

    1. ราคาสูง – ส่วนผสมคุณภาพดีย่อมมีราคา แต่การลงทุนเพื่อสุขภาพของแมวก็ถือว่าคุ้มค่า
    2. ปัญหาเกี่ยวกับไต – มีการถกเถียงกันว่าอาหารโปรตีนสูงอาจทำให้ไตทำงานหนัก แต่เป็นหัวข้อที่ยังไม่มีบทสรุปแน่ชัดและไม่ได้เกิดขึ้นกับแมวทุกตัว
    3. ภูมิแพ้อาหาร – ผู้เลี้ยงควรหมั่นสังเกตอาการของแมวที่มีต่อแหล่งโปรตีนชนิดต่าง ๆ เนื่องจากโปรตีนบางชนิดอาจทำให้แมวเกิดอาการแพ้ได้

    การเปลี่ยนมาให้อาหารแมวโปรตีนสูงหรือเปลี่ยนอาหารสูตรใหม่ ควรเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนอย่างกะทันหัน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหาร หากต้องการคำแนะนำหรือแมวของคุณมีปัญหาด้านสุขภาพ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนเปลี่ยนอาหารทุกครั้ง และขอแนะนำไอแอมส์™ อาหารแมวเกรดพรีเมียมที่มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุล มั่นใจได้เลยว่าเจ้าเหมียวจะมีสุขภาพดีและมีความสุขในทุกวัน

Close modal