IAMS TH
cat article detail banner
cat article detail banner

adp_description_block398
วิธีอ่านฉลากอาหารแมวอย่างถูกต้อง

  • แบ่งปัน

เชื่อว่าทาสแมวทั้งหลาย ต้องเช็กข้อมูลส่วนผสมและคุณค่าทางโภชนาการอย่างละเอียด ก่อนเลือกซื้ออาหารให้น้องเหมียวสุดเลิฟ แต่บางครั้งข้อมูลเหล่านี้ก็อาจสร้างความสับสน ต้องเลือกแบบไหน? เลือกอย่างไร? ให้มีสารอาหารครบถ้วนและเหมาะสำหรับเจ้าตัวน้อยมากที่สุด ในบทความนี้ เราจึงรวบรวมจุดสังเกตสำคัญบนฉลากโภชนาการ เพื่อช่วยให้คุณอ่านและทำความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ตามมาดูกันเลย

ฉลากอาหารมีข้อมูลเกี่ยวกับอะไรบ้าง?

ฉลาก จะต้องบ่งบอกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้

  • คุณภาพอาหารสัตว์ทางเคมี
  • ข้อมูลบริษัทและการบริการลูกค้า
  • ส่วนผสมในการผลิตอาหาร
  • รหัสระบุผลิตภัณฑ์ และวันหมดอายุ
  • ปริมาณการให้อาหารที่แนะนำต่อวัน
  • มาตรฐาน AAFCO

คุณภาพอาหารสัตว์ทางเคมี

ข้อมูลในส่วนนี้จะบอกอัตราส่วนสูงสุดหรือต่ำสุดของปริมาณสารอาหารแต่ละชนิด โดยเปอร์เซ็นสูงสุด (ไม่น้อยกว่า %) หมายถึงสารอาหารที่มีปริมาณมากที่สุด ส่วนเปอร์เซ็นต่ำสุด (ไม่มากกว่า %) หมายความว่ามีปริมาณสารอาหารอย่างน้อยกี่เปอร์เซ็น ทั้งนี้ฉลากอาหารแมวควรระบุปริมาณส่วนประกอบและสารอาหารสำคัญจำนวน 4 ชนิด ซึ่งได้แก่

  • โปรตีน (ไม่น้อยกว่า %)
  • ไฟเบอร์ (ไม่มากกว่า %)
  • ไขมัน (ไม่มากกว่า %)
  • ความชื้น (ไม่มากกว่า %)

ตัวอย่างเช่น หากฉลากบนผลิตภัณฑ์ระบุว่ามี โปรตีน ไม่น้อยกว่า 25% แปลว่าคุณค่าของโปรตีนที่ได้รับต้องมีปริมาณอย่างน้อย 25% หรือมากกว่า การคำนวณคุณค่าสารอาหารเหล่านี้ต้องวิเคราะห์และทดสอบในห้องปฏิบัติการเท่านั้น

ฉลากอาหารอาจระบุส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วย เช่น แมกนีเซียม (ไม่น้อยกว่า %) ,ทอรีน (ไม่มากกว่า %) ,เถ้า หรือส่วนของสารอนินทรีย์ที่มีอยู่ในอาหารหลังการเผาผลาญ (ไม่น้อยกว่า %) และกรดลิโนเลอิก (ไม่มากกว่า %)

  • แม้ว่าคุณภาพอาหารสัตว์ทางเคมีจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างของอาหารแมวแต่ละชนิด อย่างไรก็ตาม มันไม่สามารถใช้วัดคุณภาพของอาหารหรือบ่งบอกคุณค่าของสารอาหารที่ได้รับโดยตรง วิธีเดียวที่จะเปรียบเทียบได้อย่างเหมาะสม คือการคำนวณปริมาณพลังงานที่ใช้ได้จากสารอาหาร โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ทางผู้ผลิตให้มานั่นเอง

การควบคุมคุณภาพของอาหารแมว

  1. มาตรฐาน AAFCO

อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงต้องได้รับการตรวจสอบจาก AAFCO (Association of American Feed Control Officials) ซึ่งเป็นองค์กรภาครัฐในอเมริกาเหนือ ทำหน้าที่กำหนดมาตราฐานโภชนาการสำหรับอาหารสัตว์เลี้ยง หากตรวจสอบแล้วว่าการผลิตเป็นไปตามมาตรฐานและมีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม บนบรรจุภัณฑ์ก็จะมีสัญลักษณ์ของ AAFCO รับรองอยู่ ทั้งนี้มั่นใจได้เลยว่าการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงของ มาร์ส เพ็ทแคร์ เป็นไปตามมาตรฐานของ AAFCO รวมถึงมีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและสมดุลสำหรับเจ้าตัวน้อยที่คุณรัก

ส่วนผสมในการผลิตอาหาร

รายการของส่วนผสมจะเรียงลำดับตามปริมาณมากไปน้อย

แม้จะระบุรายการและอัตราส่วนของส่วนผสมต่าง ๆ มาให้ แต่เราก็ไม่สามารถพิจารณาคุณภาพของส่วนผสมได้อย่างชัดเจน การตรวจสอบคุณภาพของอาหารต้องผ่านการวิเคราะห์และทดสอบในห้องปฏิบัติการเท่านั้น

โดยฉลากอาหารแมวจำเป็นต้องระบุข้อมูลสำคัญเหล่านี้

  • ข้อมูลโดยรวม – ชื่อแบรนด์อาหารและส่วนผสมหลักในการผลิตอาหาร เช่น ข้าวและเนื้อไก่
  • ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย – เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตอาหาร เพื่อใช้สำหรับการติดต่อในกรณีที่พบปัญหาเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์
  • ปริมาณสุทธิของอาหาร – บอกถึงปริมาณอาหารทั้งหมดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์
  • รายการส่วนผสม –ส่วนผสมที่สำคัญจะแสดงเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ โดยจะเรียงลำดับจากปริมาณมากไปน้อย
  • การตามสอบ – เป็นข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบแหล่งผลิตอาหาร หรือตลอดทุกขั้นตอนในการผลิต
  • แถลงการณ์เรื่องความเพียงพอทางโภชนาการ – เพื่อชี้แจงว่าอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงต้องมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุลเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ รวมถึงอธิบายว่าเหมาะสำหรับน้องแมวช่วงวัยใดบ้าง
  • คุณภาพอาหารสัตว์ทางเคมี – จะบ่งบอกปริมาณสารอาหารในรูปแบบอัตราส่วนร้อยละ โดยต้องระบุปริมาณของโปรตีน ไขมัน ไฟเปอร์ และความชื้นอย่างครบถ้วน หรืออาจระบุส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วยได้
  • ปริมาณพลังงาน – อาจระบุเป็นกิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม หรือระบุด้วยหน่วยวัดอื่น ๆ ที่ใช้กันทั่วไป เช่น กิโลแคลอรีต่อถ้วย
  • ปริมาณการให้อาหารที่แนะนำต่อวัน – เป็นแนวทางในการกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมต่อวัน หรือปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของสัตว์เลี้ยงแต่ละตัว

แถลงการณ์เรื่องความเพียงพอทางโภชนาการของ AAFCO

อาหารสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ต้องมีข้อความเกี่ยวกับความเพียงพอทางโภชนาการของ AAFCO โดยจะมีการกำหนดหรือทดสอบตามขั้นตอนและคำแนะนำของ AAFCO

  • 'ตามสูตร' หมายความว่าผลิตภัณฑ์ได้รับการผลิตตามหลักเกณฑ์ด้านโภชนาการของ AAFCO แต่ไม่มีการทดสอบอาหารกับสัตว์เลี้ยงก่อนจำหน่าย
  • 'ทดสอบ' คือผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบด้านโภชนาการ และมีการทดสอบอาหารกับสัตว์เลี้ยงเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามเกณฑ์ด้านการเจริญเติบโต การบำรุงรักษา และ/หรือการสืบพันธุ์

ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์อาจระบุข้อความ เช่น 'ผลิตภัณฑ์นี้มีไว้สำหรับการให้อาหารชั่วระยะเวลาเท่านั้น' และ 'ใช้ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เท่านั้น'

รหัสระบุผลิตภัณฑ์ และวันหมดอายุ

รหัสการผลิตจะถูกใช้ในการติดตามผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา ใช้ตรวจสอบสินค้าคงคลัง และจัดการกับปัญหาที่ลูกค้าพบเจอได้ดีขึ้น

วันหมดอายุหรือวันที่ “ควรบริโภคก่อน” ใช้ในการพิจารณาความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์และอายุการเก็บรักษา

วิธีอ่านฉลากโภชนาการ

เคล็ดลับง่าย ๆ ในการอ่านฉลากโภชนาการ มีดังนี้

  • สังเกตชื่อผลิตภัณฑ์ – เพื่อเช็กชนิดและรสชาติของอาหาร โดยชื่อผลิตภัณฑ์มักจะเน้นส่วนผสมหลักหรือรสชาติของอาหาร
  • สังเกตประเภทของอาหาร – ต้องระบุว่าเป็นอาหารสำหรับน้องแมวโดยเฉพาะ เพราะพวกเค้ามีความต้องการทางโภชนาการที่เฉพาะเจาะจง และแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ
  • เลือกอาหารที่ใช่ – ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ช่วยให้เราเลือกอาหารได้ดีขึ้น โดยสามารถตรวจสอบได้ว่าอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุลหรือไม่ เหมาะกับช่วงวัยของน้องแมวหรือเปล่า อาหารบางชนิดก็อาจระบุว่าเหมาะสำหรับแมวทุกช่วงอายุ สำหรับแมววัยผสมพันธุ์ หรือแมวที่เลี้ยงแบบระบบปิด

ข้อมูลบริษัทและการรับประกันความพึงพอใจ

ข้อมูลของผู้ผลิตควรประกอบด้วยชื่อบริษัท ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว

ควรมีหมายเลขโทรศัพท์โทรฟรีเพื่อความสะดวกของลูกค้า และเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการเรียกเก็บเงินเมื่อมีการโทรขอข้อมูลเพิ่มเติม

นอกจากจะระบุการรับประกันสินค้าแล้ว ผู้ผลิตต้องระบุด้วยว่ามีขั้นตอนดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เป็นไปตามความพึงพอใจของลูกค้า (เช่น การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ การคืนเงิน ฯลฯ)

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์

  1. อาหารแมวควรมีโปรตีนกี่เปอร์เซ็นต์?
  2. อาหารแมวควรมีปริมาณโปรตีนอย่างน้อย 26% หลังหักปริมาณความชื้นออกไปแล้ว จึงจะถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุลตามมาตรฐาน AAFCO

  3. อาหารแมวสูตรแมวโต (+1) และสูตรแมวโต (+7) แตกต่างกันอย่างไร?
  4. สิ่งที่แตกต่างกันคือปริมาณใยอาหารและปริมาณแคลอรี โดยอาหารสูตรแมวโต (+7) จะมีใยอาหารสูงกว่าและมีแคลอรีน้อยกว่า แต่สัดส่วนของโปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุจะเท่ากันกับสูตรแมวโต (+1)

  5. ข้อมูลใดที่ไม่จำเป็นต้องระบุบนฉลากอาหารแมว?
  6. ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพของส่วนผสมอาหารบนฉลากอาหารแมว

  7. อาหารสัตว์เลี้ยงถูกควบคุมโดยองค์การอาหารและยาด้วยใช่หรือไม่?
  8. ใช่ การผลิตอาหารและขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงจะอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาหารและยา

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    adp_description_block251
    รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนแมว

    • แบ่งปัน

    แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
     

    วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
     

    วัคซีนแต่ละชนิดและช่วงวัยที่เหมาะสมของแมว

    การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก

    1. วัคซีน FVRCP

    ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี

    1. วัคซีน FeLV

    วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์

    1. วัคซีน FPV

    วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี

    1. วัคซีนรวม 4 โรค

    วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี

    1. วัคซีนรวม 5 โรค

    วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

    หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้

    1. อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    2. อยากอาหารลดลง

    3. อาเจียน

    4. มีไข้ 

    5. ท้องเสีย

    6. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้