IAMS TH
Chicken: The Complete Protein Source for Your Cat
Chicken: The Complete Protein Source for Your Cat

adp_description_block361
แมวกินไก่ได้ไหม?

  • แบ่งปัน

แมวกินไก่ได้ไหม? นับเป็นหนึ่งในคำถามคาใจของทาสแมวส่วนใหญ่ เพราะหลายต่อหลายครั้งที่เจ้าเหมียวมักจะส่งสายตาอ้อนวอนเพื่อขอชิมเนื้อไก่ในจานของคุณ

ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารแมวหลายชนิด อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังบางอย่างที่ทาสแมวควรรู้ก่อนให้เจ้าเหมียวกินเนื้อไก่ ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาเปิดเผยเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกินไก่ให้ทุกคนได้รู้กัน

ประโยชน์ของการให้แมวกินไก่

ไก่ดีสำหรับแมวหรือไม่? ต้องบอกก่อนว่าแมวเป็นสัตว์กินเนื้อ ซึ่งหมายความว่าโปรตีนจากสัตว์มีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของพวกเค้า เนื้อไก่จัดเป็นแหล่งโปรตีนไร้ไขมันที่หาได้ง่าย มีประโยชน์มากมาย และเป็นที่โปรดปรานของแมวส่วนใหญ่ด้วย

  1. แหล่งโปรตีนคุณภาพเยี่ยม

    ไก่เป็นแหล่งโปรตีนจากสัตว์คุณภาพสูงซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การพัฒนากล้ามเนื้อ และการบำรุงร่างกายของแมว โปรตีนมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและช่วยให้ขนแข็งแรง

  2. กรดอะมิโนที่จำเป็น

    ไก่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็น เช่น ทอรีน ซึ่งมีความสำคัญต่อแมวมาก การขาดทอรีนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและความบกพร่องในการมองเห็น

  3. อุดมไปด้วยสารอาหาร

    ไก่มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น วิตามินบี 6 ไนอาซิน ฟอสฟอรัส และซีลีเนียม สารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดีและช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

  4. เพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย

    เนื้อไก่มีค่าความชื้นสูงโดยธรรมชาติ การกินเนื้อไก่จึงช่วยให้แมวได้รับปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การกินน้ำในปริมาณที่เหมาะสมยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพไตของแมวด้วย

  5. รสชาติอร่อย

    แมวส่วนใหญ่ชื่นชอบเนื้อไก่ มันจึงเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมในการดึงดูดใจเจ้าเหมียวเลือกกินหรือกินยาก

    แม้ว่าไก่จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพของแมว แต่ก็ควรให้ในปริมาณที่พอเหมาะและหลีกเลี่ยงการให้เป็นอาหารหลัก โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้

แมวกินไก่ดิบได้หรือไม่?

การให้แมวกินไก่ดิบมีความเสี่ยงสูง เพราะไก่ดิบก็เหมือนกับเนื้อดิบอื่น ๆ ที่อาจปนเปื้อนสารอันตราย เชื้อโรคเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหารอย่างรุนแรง รวมถึงอาจทำให้แมวอาเจียน ท้องเสีย และอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้การให้ไก่ดิบเป็นอาหารหลักยังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารด้วย 

เพื่อความปลอดภัยของแมว วิธีที่ดีที่สุดคือปรุงไก่ให้สุก โดยจะช่วยลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียและช่วยให้ย่อยได้ง่ายขึ้น

แมวกินกระดูกไก่ได้หรือไม่?

กระดูกไก่ โดยเฉพาะส่วนที่มีขนาดเล็กและเปราะ เช่น ปีกหรือน่อง เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก แมวต่างจากสุนัขตรงที่ระบบย่อยอาหารละเอียดอ่อนกว่าและไม่สามารถย่อยกระดูกได้อย่างปลอดภัย เมื่อแมวเคี้ยวหรือกลืนกระดูกเข้าไปก็อาจนำไปสู่ปัญหาเหล่านี้

  1. มีอาการสำลัก – กระดูกชิ้นเล็ก ๆ อาจติดอยู่ในลำคอแมว ทำให้เกิดการสำลัก ขย้อน และอาจเกิดการอุดตันในระบบทางเดินหายใจได้

  2. เกิดการทิ่มแทง – เศษกระดูกไก่มักจะมีความแหลมคม ซึ่งอาจทิ่มหรือบาดปาก คอ และทางเดินอาหารของแมวได้

  3. เกิดการอุดตัน – เศษกระดูกอาจทำให้เกิดการอุดตันในทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

  4. สร้างความบาดเจ็บแก่อวัยวะภายใน – เศษกระดูกแหลมคมสามารถเจาะลำไส้หรือกระเพาะอาหารของแมว ทำให้เกิดการบาดเจ็บภายในและการติดเชื้อได้

    เพื่อความปลอดภัยของเจ้าเหมียว ควรเอากระดูกออกจากไก่ก่อนเสิร์ฟเสมอ และควรปรุงไก่ให้สุกทุกครั้ง โดยหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องปรุงรส เครื่องเทศ และส่วนผสมที่อาจเป็นอันตราย

ไก่ดิบเป็นอันตรายต่อสุขภาพของแมวหรือไม่?

อย่างที่รู้กันว่าแมวเป็นสัตว์กินเนื้อ และไก่ดิบก็ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดี ไม่ผ่านการปรุงแต่งใด ๆ แต่มันก็มีความเสี่ยงร้ายแรงอยู่บ้าง ดังนั้นหากคุณกำลังวางแผนให้แมวกินไก่ดิบ มาติดตามข้อควรรู้ที่น่าสนใจกันก่อนดีกว่า

  1. พยาธิและแบคทีเรีย

    ไก่ดิบอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) และเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) ซึ่งเชื้อเหล่านี้อาจทำให้ทั้งแมวและคุณปวดท้องได้ แม้ว่าแมวจะไม่แสดงอาการ แต่ก็สามารถแพร่เชื้อมาให้คุณได้

  2. กระดูก

    กระดูกไก่ดิบหรือไก่สุกอาจแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะภายในของแมว อีกทั้งยังทำให้แมวมีอาการสำลัก บาดปาก บาดคอ หรืออาจอุดตันในทางเดินอาหาร

  3. ภาวะขาดสารอาหาร

    แม้ว่าไก่จะเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี แต่มันมีสารอาหารที่แมวต้องการไม่ครบถ้วน การให้ไก่ดิบเป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวอาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารได้ หากต้องการให้แมวได้รับสารอาหารที่เหมาะสม แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อจัดทำเมนูที่ทั้งอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการ

วิธีเตรียมไก่ดิบให้แมว

การกินไก่ดิบอาจมีความเสี่ยงมากมาย แต่หากเตรียมการอย่างดีก่อนเสิร์ฟให้เจ้าเหมียว เมนูนี้ก็จะปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ

  1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อสดใหม่

    ความสดใหม่เป็นปัจจัยที่สำคัญ ตรวจสอบวันหมดอายุและสัญญาณการเน่าเสีย เช่น กลิ่นผิดปกติหรือการเปลี่ยนสี

  2. เตรียมไก่ก่อนเสิร์ฟ

    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเขียง มีด และเครื่องใช้ของคุณสะอาดและถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันการปนเปื้อน แนะนำให้เตรียมเขียงสำหรับทำอาหารให้แมวโดยเฉพาะ

  3. ทำความสะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของแบคทีเรีย

    ล้างไก่ให้สะอาดด้วยน้ำเย็นเพื่อขจัดเศษซากต่าง ๆ จากนั้นซับให้แห้งด้วยผ้ากระดาษสะอาด ขั้นตอนนี้จะช่วยลดการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ทำให้อาหารแมวของคุณปลอดภัยและดีต่อสุขภาพมากขึ้น

    ไก่อาจมีข้อดีและประโยชน์มากมาย แต่การให้แมวกินไก่ก็มีข้อควรระวังที่คุณต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ โดยแนะนำให้เอากระดูกออก ปรุงสุกก่อนเสมอ และกำหนดปริมาณให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการให้ไก่ดิบ เนื่องจากมักจะมีการปนเปื้อนของแบคทีเรียและมีสารอาหารไม่ครบถ้วนตามที่แมวต้องการ

    หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ การปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเป็นวิธีที่ดีเสมอ หรือหากคุณไม่เวลาเตรียมอาหาร อาจเลือกให้อาหารสำเร็จรูปคุณภาพดีแทนก็ได้ ขอแนะนำไอแอมส์™ อาหารแมวเกรดพรีเมียมที่มีเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบหลัก และผ่านการคิดค้นสูตรให้ตรงตามความต้องการทางโภชนาการในแต่ละวันของแมว มั่นใจได้เลยว่าเจ้าเหมียวจะได้รับอาหารที่สมดุลและปลอดภัย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้แมวกินไก่

  1. แมวกินไก่ปรุงสุกได้ไหม?
  2. คุณสามารถให้แมวกินไก่ปรุงสุกได้ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการปรุงรส การใช้เครื่องเทศ สมุนไพร หรือน้ำมัน และต้องนำกระดูกออกให้หมด

  3. ลูกแมวกินไก่ได้หรือไม่?
  4. ลูกแมวก็สามารถกินไก่ได้ แต่ควรปรุงสุกและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้เคี้ยวง่าย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกเพื่อป้องกันการสำลัก และควรกำหนดปริมาณให้เหมาะสม

  5. แมวกินไก่ต้มได้ไหม?
  6. ไก่ต้มเป็นทางเลือกที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการและย่อยง่าย เหมาะสำหรับแมวที่มีปัญหาทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตาม ควรเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกหลงเหลืออยู่และไม่ต้องปรุงรสหรือเติมแต่งใด ๆ

  7. แมวกินหัวใจไก่และตับไก่ได้ไหม?
  8. แมวสามารถกินหัวใจและตับไก่ได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งสองส่วนเป็นแหล่งสารอาหารที่จำเป็นสำหรับแมว อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สมดุลทางโภชนาการ

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับแมว
    adp_description_block231
    รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนแมว

    • แบ่งปัน

    แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
     

    วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
     

    วัคซีนแต่ละชนิดและช่วงวัยที่เหมาะสมของแมว

    การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก

    1. วัคซีน FVRCP

    ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี

    1. วัคซีน FeLV

    วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์

    1. วัคซีน FPV

    วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี

    1. วัคซีนรวม 4 โรค

    วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี

    1. วัคซีนรวม 5 โรค

    วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

    หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้

    1. อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    2. อยากอาหารลดลง

    3. อาเจียน

    4. มีไข้ 

    5. ท้องเสีย

    6. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้