IAMS TH
Chicken: The Complete Protein Source for Your Cat
Chicken: The Complete Protein Source for Your Cat

adp_description_block363
แมวกินไก่ได้ไหม?

  • แบ่งปัน

แมวกินไก่ได้ไหม? นับเป็นหนึ่งในคำถามคาใจของทาสแมวส่วนใหญ่ เพราะหลายต่อหลายครั้งที่เจ้าเหมียวมักจะส่งสายตาอ้อนวอนเพื่อขอชิมเนื้อไก่ในจานของคุณ

ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารแมวหลายชนิด อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังบางอย่างที่ทาสแมวควรรู้ก่อนให้เจ้าเหมียวกินเนื้อไก่ ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาเปิดเผยเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกินไก่ให้ทุกคนได้รู้กัน

ประโยชน์ของการให้แมวกินไก่

ไก่ดีสำหรับแมวหรือไม่? ต้องบอกก่อนว่าแมวเป็นสัตว์กินเนื้อ ซึ่งหมายความว่าโปรตีนจากสัตว์มีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของพวกเค้า เนื้อไก่จัดเป็นแหล่งโปรตีนไร้ไขมันที่หาได้ง่าย มีประโยชน์มากมาย และเป็นที่โปรดปรานของแมวส่วนใหญ่ด้วย

  1. แหล่งโปรตีนคุณภาพเยี่ยม

    ไก่เป็นแหล่งโปรตีนจากสัตว์คุณภาพสูงซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การพัฒนากล้ามเนื้อ และการบำรุงร่างกายของแมว โปรตีนมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและช่วยให้ขนแข็งแรง

  2. กรดอะมิโนที่จำเป็น

    ไก่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็น เช่น ทอรีน ซึ่งมีความสำคัญต่อแมวมาก การขาดทอรีนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและความบกพร่องในการมองเห็น

  3. อุดมไปด้วยสารอาหาร

    ไก่มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น วิตามินบี 6 ไนอาซิน ฟอสฟอรัส และซีลีเนียม สารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดีและช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

  4. เพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย

    เนื้อไก่มีค่าความชื้นสูงโดยธรรมชาติ การกินเนื้อไก่จึงช่วยให้แมวได้รับปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การกินน้ำในปริมาณที่เหมาะสมยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพไตของแมวด้วย

  5. รสชาติอร่อย

    แมวส่วนใหญ่ชื่นชอบเนื้อไก่ มันจึงเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมในการดึงดูดใจเจ้าเหมียวเลือกกินหรือกินยาก

    แม้ว่าไก่จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพของแมว แต่ก็ควรให้ในปริมาณที่พอเหมาะและหลีกเลี่ยงการให้เป็นอาหารหลัก โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้

แมวกินไก่ดิบได้หรือไม่?

การให้แมวกินไก่ดิบมีความเสี่ยงสูง เพราะไก่ดิบก็เหมือนกับเนื้อดิบอื่น ๆ ที่อาจปนเปื้อนสารอันตราย เชื้อโรคเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหารอย่างรุนแรง รวมถึงอาจทำให้แมวอาเจียน ท้องเสีย และอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้การให้ไก่ดิบเป็นอาหารหลักยังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารด้วย 

เพื่อความปลอดภัยของแมว วิธีที่ดีที่สุดคือปรุงไก่ให้สุก โดยจะช่วยลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียและช่วยให้ย่อยได้ง่ายขึ้น

แมวกินกระดูกไก่ได้หรือไม่?

กระดูกไก่ โดยเฉพาะส่วนที่มีขนาดเล็กและเปราะ เช่น ปีกหรือน่อง เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก แมวต่างจากสุนัขตรงที่ระบบย่อยอาหารละเอียดอ่อนกว่าและไม่สามารถย่อยกระดูกได้อย่างปลอดภัย เมื่อแมวเคี้ยวหรือกลืนกระดูกเข้าไปก็อาจนำไปสู่ปัญหาเหล่านี้

  1. มีอาการสำลัก – กระดูกชิ้นเล็ก ๆ อาจติดอยู่ในลำคอแมว ทำให้เกิดการสำลัก ขย้อน และอาจเกิดการอุดตันในระบบทางเดินหายใจได้

  2. เกิดการทิ่มแทง – เศษกระดูกไก่มักจะมีความแหลมคม ซึ่งอาจทิ่มหรือบาดปาก คอ และทางเดินอาหารของแมวได้

  3. เกิดการอุดตัน – เศษกระดูกอาจทำให้เกิดการอุดตันในทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

  4. สร้างความบาดเจ็บแก่อวัยวะภายใน – เศษกระดูกแหลมคมสามารถเจาะลำไส้หรือกระเพาะอาหารของแมว ทำให้เกิดการบาดเจ็บภายในและการติดเชื้อได้

    เพื่อความปลอดภัยของเจ้าเหมียว ควรเอากระดูกออกจากไก่ก่อนเสิร์ฟเสมอ และควรปรุงไก่ให้สุกทุกครั้ง โดยหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องปรุงรส เครื่องเทศ และส่วนผสมที่อาจเป็นอันตราย

ไก่ดิบเป็นอันตรายต่อสุขภาพของแมวหรือไม่?

อย่างที่รู้กันว่าแมวเป็นสัตว์กินเนื้อ และไก่ดิบก็ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดี ไม่ผ่านการปรุงแต่งใด ๆ แต่มันก็มีความเสี่ยงร้ายแรงอยู่บ้าง ดังนั้นหากคุณกำลังวางแผนให้แมวกินไก่ดิบ มาติดตามข้อควรรู้ที่น่าสนใจกันก่อนดีกว่า

  1. พยาธิและแบคทีเรีย

    ไก่ดิบอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) และเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) ซึ่งเชื้อเหล่านี้อาจทำให้ทั้งแมวและคุณปวดท้องได้ แม้ว่าแมวจะไม่แสดงอาการ แต่ก็สามารถแพร่เชื้อมาให้คุณได้

  2. กระดูก

    กระดูกไก่ดิบหรือไก่สุกอาจแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะภายในของแมว อีกทั้งยังทำให้แมวมีอาการสำลัก บาดปาก บาดคอ หรืออาจอุดตันในทางเดินอาหาร

  3. ภาวะขาดสารอาหาร

    แม้ว่าไก่จะเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี แต่มันมีสารอาหารที่แมวต้องการไม่ครบถ้วน การให้ไก่ดิบเป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวอาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารได้ หากต้องการให้แมวได้รับสารอาหารที่เหมาะสม แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อจัดทำเมนูที่ทั้งอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการ

วิธีเตรียมไก่ดิบให้แมว

การกินไก่ดิบอาจมีความเสี่ยงมากมาย แต่หากเตรียมการอย่างดีก่อนเสิร์ฟให้เจ้าเหมียว เมนูนี้ก็จะปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ

  1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อสดใหม่

    ความสดใหม่เป็นปัจจัยที่สำคัญ ตรวจสอบวันหมดอายุและสัญญาณการเน่าเสีย เช่น กลิ่นผิดปกติหรือการเปลี่ยนสี

  2. เตรียมไก่ก่อนเสิร์ฟ

    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเขียง มีด และเครื่องใช้ของคุณสะอาดและถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันการปนเปื้อน แนะนำให้เตรียมเขียงสำหรับทำอาหารให้แมวโดยเฉพาะ

  3. ทำความสะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของแบคทีเรีย

    ล้างไก่ให้สะอาดด้วยน้ำเย็นเพื่อขจัดเศษซากต่าง ๆ จากนั้นซับให้แห้งด้วยผ้ากระดาษสะอาด ขั้นตอนนี้จะช่วยลดการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ทำให้อาหารแมวของคุณปลอดภัยและดีต่อสุขภาพมากขึ้น

    ไก่อาจมีข้อดีและประโยชน์มากมาย แต่การให้แมวกินไก่ก็มีข้อควรระวังที่คุณต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ โดยแนะนำให้เอากระดูกออก ปรุงสุกก่อนเสมอ และกำหนดปริมาณให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการให้ไก่ดิบ เนื่องจากมักจะมีการปนเปื้อนของแบคทีเรียและมีสารอาหารไม่ครบถ้วนตามที่แมวต้องการ

    หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ การปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเป็นวิธีที่ดีเสมอ หรือหากคุณไม่เวลาเตรียมอาหาร อาจเลือกให้อาหารสำเร็จรูปคุณภาพดีแทนก็ได้ ขอแนะนำไอแอมส์™ อาหารแมวเกรดพรีเมียมที่มีเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบหลัก และผ่านการคิดค้นสูตรให้ตรงตามความต้องการทางโภชนาการในแต่ละวันของแมว มั่นใจได้เลยว่าเจ้าเหมียวจะได้รับอาหารที่สมดุลและปลอดภัย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้แมวกินไก่

  1. แมวกินไก่ปรุงสุกได้ไหม?
  2. คุณสามารถให้แมวกินไก่ปรุงสุกได้ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการปรุงรส การใช้เครื่องเทศ สมุนไพร หรือน้ำมัน และต้องนำกระดูกออกให้หมด

  3. ลูกแมวกินไก่ได้หรือไม่?
  4. ลูกแมวก็สามารถกินไก่ได้ แต่ควรปรุงสุกและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้เคี้ยวง่าย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกเพื่อป้องกันการสำลัก และควรกำหนดปริมาณให้เหมาะสม

  5. แมวกินไก่ต้มได้ไหม?
  6. ไก่ต้มเป็นทางเลือกที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการและย่อยง่าย เหมาะสำหรับแมวที่มีปัญหาทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตาม ควรเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกหลงเหลืออยู่และไม่ต้องปรุงรสหรือเติมแต่งใด ๆ

  7. แมวกินหัวใจไก่และตับไก่ได้ไหม?
  8. แมวสามารถกินหัวใจและตับไก่ได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งสองส่วนเป็นแหล่งสารอาหารที่จำเป็นสำหรับแมว อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สมดุลทางโภชนาการ

  • Feline Rhinotracheitis คืออะไร
    Feline Rhinotracheitis คืออะไร
    adp_description_block491
    Feline Rhinotracheitis คืออะไร

    • แบ่งปัน

    เจ้าเหมียวของคุณฉีดวัคซีนกันแล้วหรือยัง? สำหรับวัคซีน FVRCP หรือชื่อเต็มว่า Feline Viral Rhinotracheitis, Calicivirus และ Panleukopenia เป็นหนึ่งในวัคซีนกลุ่มหลักที่จำเป็นต่อน้องแมวทุกตัว

     

    วัคซีน FVRCP จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ Feline Rhinotracheitis หรือไวรัสอันตรายที่ทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในแมว แม้ส่วนใหญ่จะพบในแมวเลี้ยงนอกบ้าน แต่แมวที่เลี้ยงในบ้านก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยป้องกันเชื้อ Feline Calicivirus ที่ทำให้เกิดแผลในปากและการอักเสบ สุดท้ายคือเชื้อ Feline Panleukopenia ซึ่งมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน จัดเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต 
     

    การติดเชื้อเหล่านี้สร้างความเจ็บปวดและส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของแมวเป็นอย่างมาก การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ว่าแล้วก็มาติดตามเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีน FVRCP สำหรับแมวไปด้วยกัน
     

    แมวควรได้รับวัคซีน FVRCP เมื่อใด?

    ถึงตอนนี้เรารู้แล้วว่าวัคซีน FVRCP มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเป็นอยู่ที่ดีของแมว แต่เราควรพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนนี้ช่วงใด? ฉีดตอนไหนจึงจะเหมาะสม? มาหาคำตอบและทำความเข้าใจวัคซีนชนิดนี้กันให้มากขึ้น

     

    โรคหวัดแมว

    เกิดจากไวรัส Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) หรือไวรัส Feline Herpesvirus (FHV-1) ซึ่งเป็นหนึ่งในการติดเชื้อที่ร้ายแรงที่สุดในแมว มักจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น จาม เยื่อบุตาอักเสบ มีไข้ และมีอาการอ่อนเพลีย เชื้อเหล่านี้แพร่กระจายผ่านของเหลวในร่างกาย ทั้งน้ำลายและน้ำมูก หากไม่ได้รับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที แมวอาจเสียชีวิตได้
     

    ไวรัสคาลิไซในแมว

    Feline Calicivirus (FCV) จัดเป็นไวรัสที่อันตรายถึงชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วไวรัสนี้จะโจมตีระบบทางเดินหายใจและอวัยวะในช่องปาก หากคุณพบเห็นสัญญาณของการติดเชื้อ แนะนำให้พาเจ้าเหมียวไปพบสัตวแพทย์ทันที อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพที่น่ากังวลนี้ด้วยการฉีดวัคซีน FVRCP ตามคำแนะนำของคุณหมอ
     

    โรคไข้หัดแมว

    โรคไข้หัดแมวเกิดจากไวรัส Feline Panleukopenia (FPV) เป็นไวรัสที่ติดต่อง่ายและรุนแรง โดยจะโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของแมว ลักษณะอาการที่สำคัญคืออาเจียน เบื่ออาหาร และมีไข้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อไขกระดูกและต่อมน้ำเหลือง ทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง มีอัตราการตายสูง ถึงแม้จะเป็นโรคที่อันตราย แต่ไม่ต้องกังวล! เพราะการฉีดวัคซีน FVRCP ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     

    เพราะเหตุใดวัคซีน FVRCP จึงเป็นวัคซีนหลักสำหรับแมว?

    วัคซีน FVRCP ถือเป็นมาตรการป้องกันที่จำเป็นสำหรับแมวทุกตัวเช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจาก FVR, FCV และ FPV เป็นไวรัสที่ติดต่อได้ง่าย สามารถแพร่กระจายผ่านของเหลวในร่างกาย การฉีดวัคซีนจะช่วยให้ร่างกายลูกแมวเตรียมแอนติเจนเพื่อต่อต้านไวรัสร้ายแรงเหล่านี้ได้
     

    แมวควรฉีดวัคซีน FVRCP เมื่อมีอายุเท่าไหร่?

    ลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FVRCP ทุก 3 – 4 สัปดาห์ในช่วงอายุระหว่าง 16 – 20 สัปดาห์ โดย จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นเพื่อให้แน่ใจว่าระบบภูมิคุ้มกันพร้อมสำหรับการต่อสู้กับไวรัสอันตราย และลูกแมวควรได้รับ FVRCP เข็มสุดท้ายเมื่ออายุครบ 1 ปี หลังจากนั้นควรฉีดวัคซีนชนิดนี้ทุก ๆ สามปี เพื่อให้ภูมิคุ้มกันสมบูรณ์

     

    โดยก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน FVRCP แนะนำให้สอบถามสัตวแพทย์ดังนี้

    1. ผลข้างเคียงของ FVRCP มีอะไรบ้าง และผลข้างเคียงจะเกิดขึ้นนานแค่ไหน?

    2. ควรดูแลลูกแมวหลังฉีดวัคซีนอย่างไร?

    3. เมื่อพิจารณาจากไลฟ์สไตล์ อายุ และสายพันธุ์ ลูกแมวต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นกี่เข็ม?

    4. การฉีดวัคซีน FVRCP มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน FVRCP

    วัคซีน FVRCP อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย ลูกแมวอาจรู้สึกไม่สบายตัวหลังการฉีด โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดมีดังนี้

    1. อาการบวมหรือแดงบริเวณที่ฉีด

    2. ไข้ต่ำ

    3. ความอยากอาหารลดลง

    แมวบางตัวอาจมีอาการแพ้วัคซีน หากพบว่าลูกแมวของคุณอาเจียน มีอาการคัน หรือท้องเสีย ควรปรึกษาสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด