IAMS TH
Recognizing the Signs of Bloat in Your Dog
Recognizing the Signs of Bloat in Your Dog

adp_description_block432
อาการบ่งบอกและวิธีดูแลสุนัขท้องอืดหรือมีแก๊สในกระเพาะอาหาร

  • แบ่งปัน

อาการท้องอืดเกิดขึ้นได้กับน้องหมาทุกตัว แต่อาจพบได้บ่อยในน้องหมาพันธุ์ใหญ่ที่มีหน้าอกลึกและแคบ ปัญหานี้ถือเป็นภาวะอันตรายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ดังนั้นการเรียนรู้วิธีสังเกตและดูแลเมื่อน้องหมามีอาการท้องอืดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของไม่ควรมองข้าม

อาการท้องอืดคืออะไร?

อาการท้องอืดหรืออีกชื่อหนึ่งคือภาวะกระเพาะอาหารขยายและบิดตัว เกิดจากการมีปริมาณลมหรือแก๊สสะสมมากกว่าปกติจนทำให้กระเพาะอาหารขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วและบิดหมุน ส่งผลให้ความดันภายในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น เกิดการกดทับของอวัยวะรอบข้าง ซึ่งทำให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติจนน้องหมาเกิดภาวะช็อกได้ และนอกจากลักษณะของอาการที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับอาการท้องอืดที่เจ้าของควรรู้ดังนี้: 

  • อาการท้องอืดจัดเป็นภาวะอันตรายต้องได้รับการดูแลรักษาโดยทันที
  • ภาวะท้องอืดอาจทำให้น้องหมาเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ
  • สาเหตุของอาการท้องอืดยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน
  • แต่ละปีในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีน้องหมากว่า 36,000 ตัวมีอาการท้องอืด และ 30% ของน้องหมาที่มีอาการเสียชีวิต
  • อาการท้องอืดเกิดขึ้นได้กับน้องหมาทุกช่วงวัย
  • น้องหมาบางสายพันธุ์มีโอกาสท้องอืดมากกว่าน้องหมาทั่วไป โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีหน้าอกลึกและแคบ
  • การที่กระเพาะอาหารขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณช่องท้องลดลง

 ลักษณะของอาการท้องอืด

ในระยะแรกของอาการ น้องหมาจะรู้สึกอึดอัดมาก อาจจะเดินวนไปมาและส่งเสียงร้อง หรือพยายามขยับไปมาเพื่อหาท่าทางที่สบายตัว พวกเค้าอาจมีท่าทีกังวล เลียหรือจ้องไปที่ท้องของตัวเอง รวมถึงอาจมีอาการคล้ายอาเจียน แต่ไม่มีอะไรออกมา

 

นอกจากนี้อาจพบอาการอื่น ๆ เพิ่มด้วยได้ เช่น อ่อนแรง ท้องพองขยายตัว และอาจเกิดภาวะช็อก ซึ่งส่งผลให้น้องหมาหัวใจเต้นเร็วและมีอาการหอบ;
 

หากพบว่าน้องหมามีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบสัตวแพทย์ในทันที!

  • หอนหรือส่งเสียงร้องครวญคราง
  • มีท่าทางไม่สบายตัว ดูอึดอัด
  • กระสับกระส่าย
  • เหงือกซีด
  • พยายามอาเจียนแต่ไม่มีอะไรออกมา
  • หอบหรือหายใจเร็ว
  • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
  • วิตกกังวล
  • อ่อนแรง
  • ท้องบวม (โดยเฉพาะด้านซ้าย)
     

 อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้เมื่อน้องหมาท้องอืด มีดังนี้:
 

กระเพาะอาหารขยายใหญ่ขึ้น:

เนื่องจากมีลมหรือแก๊สสะสมในท้อง


น้ำลายไหลมาก:

ปัญหาในระบบทางเดินอาหารอาจทำให้น้องหมาน้ำลายไหลมากกว่าปกติ
 

พฤติกรรมกระสับกระส่าย:

อาการกระสับกระส่ายเป็นสัญญาณที่พบได้ทั่วไปเมื่อน้องหมาท้องอืด และพวกเค้าอาจส่งเสียงร้องเมื่อโดนกดที่บริเวณท้อง
 

หอบ หายใจสั้น:

การขยายตัวของกระเพาะอาหารทำให้น้องหมาหายใจลำบาก
 

หัวใจเต้นเร็วขึ้น:

เนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมถูกกดไม่สามารถขยายตัวได้ ส่งผลให้เกิดภาวะหายใจลำบากและหัวใจมีอัตราการเต้นเร็วกว่าปกติ

 

สาเหตุของอาการท้องอืด

แม้ว่าจะหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ แต่ปัจจัยเหล่านี้ก็มีส่วนที่ทำให้น้องหมามีอาการท้องอืด:

  • กินอาหารปริมาณมากในมื้อเดียว แทนการแบ่งมื้ออาหารเป็น 2 – 3 ครั้งต่อวัน
  • กินมากเกินไปและดื่มน้ำเร็วเกินไป
  • อยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด เช่น ต้องอยู่ในกรงหรือต้องไปพบสัตวแพทย์
  • วิ่งเล่นทันทีหลังกินอาหาร

 

วิธีป้องกันอาการท้องอืด

การทำตามคำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยป้องกันอาการท้องอืดในสุนัขได้ แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่อาจรับประกันได้ว่าคำแนะนำจะเกิดผลจริงกับน้องหมาทุกตัว 

  • ให้กินอาหารทีละน้อย ๆ อาจแบ่งให้อาหารเป็น 2 – 3 มื้อต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายเป็นเวลา  1 – 2 ชั่วโมงหลังกินอาหาร
  • อย่าให้น้องหมาดื่มน้ำปริมาณมากก่อนหรือหลังกินอาหารและหลังออกกำลังกาย
  • หากที่บ้านมีน้องหมา 2 ตัวขึ้นไป ควรแยกให้อาหาร เพื่อป้องกันพฤติกรรมกินเร็วและภาวะเครียด
  • หากเป็นไปได้ ควรกำหนดเวลาให้อาหารในช่วงเวลาที่คุณว่างและสามารถสังเกตพฤติกรรมหลังการกินของพวกเค้าได้
  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน
  • หากพบว่าน้องหมามีอาการท้องอืด ควรรีบไปพบสัตวแพทย์ทันที


การดูแลรักษาอาการท้องอืด 
 

อาการท้องอืดสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่?

อาการท้องอืดในสุนัขจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทันที ในกรณีที่น้องหมาท้องอืดไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการกระเพาะบิด อาจได้รับการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา แต่หากตรวจพบว่ามีอาการท้องบวม กระเพาะขยายและบิดตัว บางกรณีก็อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด

 

ตัวเลือกในการรักษาอาการท้องอืด

การระบายลมหรือแก๊สออกมาโดยใช้วิธีสอดท่อเข้าไปในกระเพาะอาหาร จะช่วยบรรเทาแรงกดต่ออวัยวะโดยรอบและป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารเสื่อมสภาพ แต่ในบางกรณีก็ไม่สามารถใช้วิธีสอดท่อได้เพียงเดียว อาจมีต้องการผ่าตัดร่วมด้วย

 

นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยให้ของเหลวที่เสริมด้วยอิเล็กโทรไลต์ทางเส้นเลือดเพื่อปรับการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะที่สำคัญได้ตามปกติ ในหลายกรณีจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ และยาที่มีฤทธิ์ในการรักษาภาวะเลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลงอีกด้วย

 

เมื่อน้องหมาอยู่ในอาการคงที่พร้อมผ่าตัดแล้ว สัตวแพทย์จะทำการผ่าตัดที่เรียกว่า “Gastropexy” เพื่อทำให้กระเพาะอาหารกลับสู่ตำแหน่งปกติพร้อมเอาเนื้อเยื่อผนังกระเพาะอาหารที่ตายแล้วออกไป รวมถึงจะยึดผนังกระเพาะเข้ากับผนังของลำตัว ทำให้โอกาสที่กระเพาะอาหารจะบิดหมุนลดลง และช่วยป้องกันอาการท้องอืดได้ดีขึ้น

 

เลือกให้อาหารที่ย่อยง่าย

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันอาการท้องอืดได้คือการเลือกอาหารสุนัขคุณภาพดี มีส่วนประกอบของไฟเบอร์ ช่วยให้ย่อยง่าย 
 

การดูแลเรื่องอาหารถือเป็นวิธีลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาที่ดีสุด อย่างน้อยก็จนกว่าจะสามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของอาการท้องอืดได้ แม้ว่าอาจจะไม่ได้ผลเต็ม 100% แต่ก็ช่วยลดจำนวนน้องหมาที่ต้องเผชิญกับภาวะร้ายแรงที่อาจถึงแก่ชีวิตนี้ลงได้

 

สายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องอืด

  • เยอรมัน เชพเพิร์ด
  • บูวีเย เด ฟล็องเดรอะ
  • เกรทเดน
  • บ็อกเซอร์
  • เซนต์เบอร์นาร์ด
  • โดเบอร์แมน
  • เยอรมัน ชอร์ตแฮร์ พอยน์เตอร์
  • ไอริช เซทเทอร์
  • กอร์ดอน เซทเทอร์
  • บอร์ซอย
  • ไอริช วูล์ฟฮาวด์
  • ดัชชุน
  • ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์
  • บาสเซ็ต ฮาวด์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการท้องอืดในสุนัข

  1. จะดูแลน้องหมาท้องอืดได้อย่างไรบ้าง?
  2. การรักษาน้องหมาท้องอืดทำได้โดยการให้ของเหลวที่มีอิเล็กโทรไลต์ผ่านทางเส้นเลือดและการให้ยาแก้ปวด วิธีนี้จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและลดการเกิดภาวะช็อก อีกทั้งยังอาจป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อสำคัญตายเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดที่ผิดปกติ

     

  3. ทำไมน้องหมาถึงท้องใหญ่ขึ้นเมื่อมีอาการท้องอืด?
  4. ท้องของน้องหมาอาจบวมและใหญ่ขึ้นเนื่องจากมีแก๊สสะสมอยู่มาก ซึ่งการสะสมที่มากเกินไปนี้ทำให้กระเพาะอาหารขยายใหญ่ขึ้นจนไปกดทับอวัยวะรอบข้าง รวมถึงไปขัดขวางการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดและระบบย่อยอาหาร

     

  5. อาการท้องอืดสามารถหายเองได้มั้ย?
  6. หากเป็นอาการท้องอืดท้องเฟ้อแบบไม่รุนแรง อาการอาจดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ก็ถือว่ายังมีโอกาสเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาของอาการ

     

  7. สัญญาณเตือนเริ่มแรกของอาการท้องอืดมีอะไรบ้าง?
  8. อาการท้องอืดมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่มีการเตือนใด ๆ น้องหมาอาจเดินวนไปมา หอบ น้ำลายไหล หรือพยายามอาเจียนโดยที่ไม่มีอะไรออกมา อาการอื่น ๆ ที่สามารถพบได้อีก ได้แก่ วิตกกังวล มีท่าทีอึดอัด และไม่สบายท้อง ในกรณีที่มีอาการรุนแรง น้องหมาอาจหมดสติ หัวใจเต้นเร็ว และเหงือกสีซีด

     

     

  9. อาการท้องอืดในแต่ละครั้งจะเกิดขึ้นนานแค่ไหน?
  10. อาการท้องอืดในสุนัขมักจะเกิดขึ้นไม่เกิน 24 ชั่วโมงหากได้รับการรักษาและดูแลอย่างเหมาะสม รวมถึงควรระมัดระวังเลือกการกำหนดปริมาณอาหารและการออกกำลังกายหลังการกินให้มากขึ้นด้วย

     

  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block109
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน