IAMS TH
Puppy Basics: Feeding Tips and Tricks
Puppy Basics: Feeding Tips and Tricks

adp_description_block274
เทคนิคการให้อาหารลูกสุนัข

  • แบ่งปัน


 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คุณอาจรู้สึกสงสัยและไม่แน่ใจว่าควรให้อาหารน้องหมาอย่างไรจึงจะเหมาะสม แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเราช่วยคุณได้! ในบทความนี้ เราจะแชร์เคล็ดลับดี ๆ และคำแนะนำเกี่ยวกับการให้อาหารลูกสุนัข เพื่อให้คุณมั่นใจว่าพวกเค้าจะได้รับสารอาหารจำเป็นอย่างครบถ้วนเพื่อเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต

สิ่งสำคัญในการให้อาหารคือการกำหนดตารางเวลาที่ชัดเจน วิธีนี้จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยคุ้นเคยกับการกินอาหารเป็นเวลาและป้องกันพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก เช่น การตื๊อขออาหาร สำหรับการเลือกอาหารให้น้องหมานั้น ควรเลือกอาหารคุณภาพดี เหมาะกับช่วงวัยและขนาดสายพันธุ์ พยายามมองหาตัวเลือกที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงส่วนผสมจำพวกสารเติมแต่ง

การให้อาหารมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ การกำหนดปริมาณอาหารให้เพียงพอในแต่ละวันจึงสำคัญมาก โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

 

ตารางการให้อาหารลูกสุนัข – คำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่เหมาะสมและจำนวนมื้ออาหารในแต่ละวัน

ลูกสุนัขในแต่ละช่วงวัยมีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างกัน พวกเค้าจึงควรได้รับอาหารในปริมาณที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม คู่มือการให้อาหารลูกสุนัขของเราออกแบบมาเพื่อช่วยคุณให้อาหารเจ้าตัวน้อยได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะกับอายุและน้ำหนักตัวของพวกเค้าได้ หากทำตามคำแนะนำเหล่านี้ก็มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและมีสุขภาพที่แข็งแรง

 

การเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรสุนัขโตเต็มวัย - เวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยนอาหารให้ลูกสุนัข

เราสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อลูกสุนัขโตขึ้นหรือเริ่มมีขนาดตัวใกล้เคียงกับน้องหมาโตเต็มวัย ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อพวกเค้าอายุ 12 - 18 เดือน แต่อาจจะเปลี่ยนไปตามแต่สายพันธุ์ อย่างน้องหมาพันธุ์เล็กมักจะโตเต็มวัยเร็วกว่า ในขณะที่น้องหมาพันธุ์ใหญ่อาจใช้เวลานานกว่า

สภาพร่างกายและน้ำหนักตัวคือปัจจัยสำคัญที่บ่งบอกได้ว่าลูกสุนัขพร้อมสำหรับการเปลี่ยนอาหารแล้ว หากเจ้าตัวน้อยยังคงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีพลังงานมาก อาจยังไม่ถึงเวลาต้องเปลี่ยนอาหาร ในทางกลับกัน หากพวกเค้าเริ่มเติบโตช้าลงและมีขนาดตัวใกล้เคียงกับน้องหมาโตเต็มวัย นั่นแสดงว่าถึงเวลาเปลี่ยนสูตรอาหารกันแล้ว

คุณควรปรึกษากับสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำว่าควรเปลี่ยนสูตรอาหารเมื่อใด โดยคุณหมอจะช่วยกำหนดเวลาที่ดีที่สุดตามความต้องการและอัตราการเจริญเติบโตของลูกสุนัขแต่ละตัว

การเลือกอาหารที่เหมาะกับขนาดและสายพันธุ์ของลูกสุนัขเป็นสิ่งสำคัญ แนะนำให้เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการโดยรวมอย่างสมวัย ด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบและการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด คุณจะมั่นใจได้ว่าเจ้าตัวน้อยจะเติบโตเป็นน้องหมาโตเต็มวัยที่แข็งแรงและมีความสุขในทุกวัน

 

 article why dha is good for puppies header 0
 article puppy basics feeding tips and tricks header

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารลูกสุนัข

  1.  ควรให้ลูกสุนัขกินอาหารวันละกี่มื้อ?
  2. ลูกสุนัขควรกินอาหาร 3 – 4 มื้อต่อวัน จนกว่าจะมีอายุประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ ลดจำนวนมื้อลงได้ โดยปรับให้เหลือเพียง 2 มื้อต่อวัน ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการให้อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย ขนาดตัว และสายพันธุ์ของน้องหมา

  3. ควรให้ลูกสุนัขกินอาหารมากน้อยแค่ไหน?
  4. ปริมาณอาหารที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับขนาด ช่วงวัย และการทำกิจกรรมของลูกสุนัข โดยเจ้าของควรกำหนดปริมาณอาหารตามคำแนะนำของสัตวแพทย์หรือคำแนะนำที่ระบุอยู่บนฉลากอาหารสุนัข เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยจะได้รับปริมาณแคลอรีและสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการ

  5. การให้อาหารลูกสุนัขอย่างเหมาะสม ทำอย่างไรได้บ้าง?
  6. วิธีให้อาหารลูกสุนัขที่ดีคือการเลือกอาหารคุณภาพสูง เป็นสูตรสำหรับช่วงวัยและขนาดของลูกสุนัขโดยเฉพาะ ทั้งนี้เจ้าของควรกำหนดปริมาณและจำนวนมื้ออาหารตามคำแนะนำของสัตวแพทย์หรือคำแนะนำที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์อาหารสุนัข เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนอาหารใหม่ให้เจ้าตัวน้อย ให้เปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบเปลี่ยนอย่างกะทันหัน และควรสังเกตท่าทีของลูกสุนัขด้วยว่ามีอาการผิดปกติหลังกินอาหารใหม่หรือไม่ นอกจากเรื่องอาหารการกินแล้ว น้ำก็เป็นส่วนสำคัญ อย่าลืมเตรียมน้ำสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วยนะ

  • ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
    ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
    adp_description_block83
    ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    • แบ่งปัน

    ยินดีด้วย! หากคุณเพิ่งได้รับลูกสุนัขตัวใหม่ เรารู้ดีว่าการพาลูกสุนัขเข้าบ้านครั้งแรกเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกและตื่นเต้น แต่ในขณะเดียวกัน การเลี้ยงเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ก็มักจะมาพร้อมความท้าทายและความรับผิดชอบใหม่ ๆ ซึ่งหน้าที่แรกของพ่อแม่มือใหม่คือการเตรียมสิ่งของที่จำเป็นให้พร้อม เจ้าตัวน้อยของคุณจะได้อยู่ในบ้านหลังใหม่อย่างมีความสุข
     

    โดยควรเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นหลังรับลูกสุนัขเข้าบ้านแล้ว ทั้งนี้พ่อแม่มือใหม่บางคนอาจรู้สึกกังวลเมื่อต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัย เราจึงรวบรวมรายชื่อสิ่งของที่จำเป็น พร้อมด้วยเคล็ดลับดี ๆ อีกมากมายที่จะช่วยให้การต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ของคุณง่ายยิ่งขึ้น
     

    วิธีอุ้มลูกสุนัขที่ถูกต้อง

    ความน่ารักน่ากอดของลูกสุนัขไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ สิ่งนี้ทำให้ทุกคนอดรนทนไม่ไหว ต้องอุ้มพวกเค้าขึ้นมากอดมาคลอเคลียทุกครั้งที่พบเจอ อย่างไรก็ตาม ลูกสุนัขอยู่ในช่วงวัยกำลังพัฒนา หากอุ้มผิดวิธีอาจทำให้พวกเค้ารู้สึกไม่สบายตัวหรือถึงขั้นได้รับบาดเจ็บ จึงขอแนะนำให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

    1. ขั้นตอนที่ 1 – วางมือข้างหนึ่งไว้ใต้สะโพกของลูกสุนัข ส่วนอีกมือหนึ่งให้วางไว้ใต้หน้าอก
    2. ขั้นตอนที่ 2 – ยกลูกสุนัขขึ้นด้วยแขนทั้งสองข้าง คุณสามารถใช้เทคนิคนี้กับสุนัขตัวเล็กได้ แต่สำหรับสุนัขตัวใหญ่ ให้โอบแขนทั้งสองข้างรอบขา จากนั้นดึงไปที่หน้าอกแล้วค่อยยกขึ้น

    รวมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัข

    เช็กลิสต์สิ่งจำเป็นที่ควรเตรียมให้พร้อมก่อนพาเจ้าตัวน้อยกลับบ้าน มีดังนี้

    1. อาหารสุนัข – แนะนำให้เลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้าต้องการแคลเซียม ฟอสฟอรัส ไขมัน และโปรตีนปริมาณมาก ซึ่งทำให้อาหารสำหรับลูกสุนัขมีปริมาณแคลอรีสูงกว่าสูตรอื่น ๆ ทั้งนี้โภชนาการมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี ผู้เลี้ยงจึงควรเลือกอาหารคุณภาพดี เหมาะกับขนาดและช่วงวัย อย่างอาหารสุนัขไอแอมส์™ ที่ผลิตจากวัตถุดิบเกรดพรีเมียม ย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี มั่นใจได้เลยว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนแม้ว่าจะกินในปริมาณน้อย
    2. ขนมสำหรับสุนัข – ขนมสำหรับสุนัขมักจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือขนมสูตรเฮลตี้ ดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมขัดฟัน และขนมสำหรับใช้ฝึก
    3. เตียงนอน – น้องหมาควรได้ทิ้งตัวลงบนที่นอนนุ่ม ๆ หลังออกไปผจญภัยหรือวิ่งเล่นกันมาทั้งวัน โดยเตียงนอนที่ดีต้องเหมาะกับขนาดตัวของน้องหมา อาจเตรียมหมอนหนุนหรือผ้าห่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้พวกเค้าเพิ่มเติมได้
    4. ชามอาหารและชามน้ำ – เป็นอีกหนึ่งไอเทมสำคัญสำหรับน้องหมาทุกตัว โดยแนะนำให้เลือกจากขนาดและวิธีการกินของลูกสุนัข ไม่ควรใช้ชามใบเดียวกันทั้งสำหรับให้อาหารและให้น้ำ อาจเลือกใช้เป็นชามสเตนเลส เนื่องจากแข็งแรงทนทาน ทำความสะอาดง่าย และไม่ดูดซับกลิ่น
    5. กรงหรือกระเป๋าสำหรับสุนัข – ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเมื่อต้องพาน้องหมาออกนอกบ้านหรือเดินทางไกล ทั้งกรงและกระเป๋ามีให้เลือกหลากหลายแบบ แต่ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดและสายพันธุ์ของน้องหมา หรือหากต้องการพาน้องหมาขึ้นเครื่องบิน ก็ควรเลือกรูปแบบที่ได้รับการรับรองจากสายการบินนั้น ๆ เพราะจะทำให้เดินทางได้ง่ายขึ้น
    6. เสื้อผ้า – ในช่วงที่มีอากาศเย็นหรืออากาศชื้น ควรใส่เสื้อผ้าที่แห้งและสะอาดให้กับน้องหมา เพื่อเพิ่มความอบอุ่นและป้องกันไม่ให้เจ้าตัวน้อยของคุณเป็นหวัด ตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่าเนื้อผ้าไม่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง
    7. ปลอกคอและสายจูง – ขนาดของปลอกคอและสายจูงเป็นสิ่งสำคัญ น้องหมาต้องหายใจสะดวก ไม่อึดอัด และเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเมื่อสวมใส่ ควรเลือกปลอกคอที่ปรับขนาดได้และถอดออกง่าย เมื่อใส่แล้วควรมีพื้นที่ว่างระหว่างปลอกคอประมาณสองนิ้วมือ ส่วนสายจูงควรเลือกที่ทำจากเชือกไนลอนยาว 6 ฟุตหรือประมาณ 1.8 เมตร และควรมีความกว้างประมาณ ½ - ¾ นิ้ว
    8. ของเล่น – เพื่อความสุขและความสนุกของเจ้าตัวน้อย ผู้เลี้ยงควรเตรียมของเล่นหลาย ๆ ชนิดติดบ้านเอาไว้ เช่น ของเล่นสำหรับกัดแทะ ตุ๊กตานุ่มนิ่มสำหรับกอดนอน และของเล่นสำหรับฝึกทักษะ ของเล่นเหล่านี้จะช่วยให้พวกเค้ากระฉับกระเฉงและสดชื่น หลีกเลี่ยงการซื้อของเล่นขนาดเล็ก เพื่อป้องกันน้องหมากินหรือกลืนเข้าไปจนเกิดอันตราย
    9. ถุงเก็บมูลสัตว์ – เมื่อพาน้องหมาออกไปเดินเล่นในที่สาธารณะ เจ้าของควรเตรียมถุงเก็บมูลสัตว์เพื่อทำความสะอาดหลังน้องหมาขับถ่าย เพราะในหลายพื้นที่มีกฎและข้อกำหนดสำหรับเรื่องนี้ หากไม่ทำตามอาจถูกปรับและโดนตักเตือนได้
    10. อุปกรณ์สำหรับการกรูมมิ่ง – แชมพู แปรงและหวี กรรไกรตัดเล็บ ยาสีฟันและแปรงสีฟัน น้ำยาทำความสะอาดสำหรับสุนัข ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณ
    11. ป้ายชื่อ – อย่าลืมสั่งทำป้ายชื่อน่ารัก ๆ ห้อยกับปลอกคอของเจ้าตัวน้อยกันด้วย ป้ายชื่อควรระบุชื่อของลูกสุนัข หมายเลขโทรศัพท์ของคุณ หรือหมายเลขโทรศัพท์คลินิกสัตว์ที่คุณไปประจำ
    12. รั้วหรือประตูกั้น – สิ่งสุดท้ายที่ควรมีคือรั้วหรือประตูกั้น สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันการรบกวนเมื่อคุณต้องการเวลาส่วนตัวหรือเมื่อมีเด็กเล่นในบ้านได้เป็นอย่างดี

    การเตรียมพร้อมเพื่อช่วยให้ลูกสุนัขปรับตัวได้ดียิ่งขึ้น

    ผู้เลี้ยงอาจต้องจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งของบางอย่างเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ลูกสุนัขปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น โดยคุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้

    1. ขั้นตอนที่ 1 – จัดเตรียมพื้นที่ขับถ่ายให้พร้อมและเริ่มฝึกพวกเค้าให้ขับถ่ายเป็นที่ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากลูกสุนัขขับถ่ายในที่ที่ถูกต้อง ก็ควรให้ขนมเป็นรางวัล
    2. ขั้นตอนที่ 2 – วางกรงและเบาะนอนของลูกสุนัขไว้ในที่เฉพาะ เลือกพื้นที่ที่สงบและห่างจากความวุ่นวาย เพื่อให้พวกเค้าได้พักผ่อนอย่างเต็มที่โดยเฉพาะในช่วงวันแรก ๆ
    3. ขั้นตอนที่ 3 – ปล่อยให้เจ้าตัวน้อยได้สำรวจบ้านใหม่และทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ้าน แต่ก่อนอื่นควรเก็บกวาดบ้านให้เรียบร้อย เก็บของมีคมหรือข้าวของอันตรายให้มิดชิด และอย่าปล่อยให้พื้นลื่น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
    4. ขั้นตอนที่ 4 – แนะนำทุกคนให้รู้จักกับลูกสุนัขตัวใหม่กันตั้งแต่วันแรก คุณอาจพบว่าลูกสุนัขจะตื่นเต้นมากและจะพยายามคลุกคลีกับทุกคนรอบตัว โดยสามารถชวนลูกสุนัขเล่นด้วยได้ แต่ต้องไม่บังคับหรือทำให้พวกเค้ารู้สึกเครียด หากพวกเค้าพยายามซ่อนตัว ก็ควรปล่อยให้ใช้เวลาตามลำพัง อาจลองให้ขนมหรือลูบตัวเบา ๆ เพื่อให้พวกเค้ารู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

    การเลี้ยงลูกสุนัขตัวใหม่ให้อยู่ร่วมกับเด็กเล็ก

    ควรให้โอกาสลูก ๆ ของคุณมีส่วนร่วมในการรับเลี้ยงลูกสุนัขตัวใหม่ เพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกผูกพันกับสมาชิกใหม่ของครอบครัวมากขึ้น เมื่อได้ลูกสุนัขกลับบ้านแล้ว คุณสามารถปล่อยให้พวกเค้าเล่นด้วยกันได้ แต่ควรจำกัดเวลาการเล่นให้อยู่ในช่วง 15 – 30 นาที สองครั้งหรือสามครั้งต่อวัน เนื่องจากลูกสุนัขอยู่ในวัยที่ต้องการเวลาพักผ่อนมาก นอกจากนี้ช่วงเวลาที่เด็ก ๆ อยู่กับลูกสุนัข ควรมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย
     

    การแนะนำลูกสุนัขตัวใหม่กับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น

    ลูกสุนัขส่วนใหญ่มีนิสัยอยากรู้อยากเห็นและยังคงไร้เดียงสา จึงจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเมื่อต้องแนะนำให้พวกเค้ารู้จักกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้าน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการปะทะ เริ่มด้วยการพาลูกสุนัขไปหาสุนัขที่โตกว่า ปล่อยให้พวกเค้าใช้เวลาร่วมกัน ไม่ต้องกังวลหากพวกเค้าจะดมหรือเลียกันเพราะเป็นการทักทายกันตามปกติ แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มกัดหรือเห่าใส่กัน ให้รีบเข้าไปแยกออก
     

    แม้ว่าการนำลูกสุนัขกลับบ้านจะเป็นช่วงเวลาที่สนุกสนาน แต่อย่าลืมเตรียมสิ่งของที่จำเป็นทั้งหมดให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อุปกรณ์ดูแลขน เตียงนอน และขนมแสนอร่อย นอกจากนี้คุณควรสร้างสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยและมั่นคงเพื่อให้ลูกสุนัขเติบโตอย่างแข็งแรง